ภาพเหมารวมของความเป็นหญิง-ความเป็นชาย กับบทบาทผู้จัดการ: เวลาได้เปลี่ยนภาพนี้ไหม?
บทคัดย่อ
ในแรมปีที่ผ่านมา อัตราส่วนของผู้จัดการหญิงได้เพิ่มขึ้นจาก 21% ในปี 1976 เป็น 46% ในปี 1999 การเพิ่มสัดส่วนเช่นนี้ ทำให้เกิดเสียงเรียกร้อง “ภาวะผู้นำสตรีเพศ” งานศึกษาชิ้นนี้ตรวจสอบว่า มีการเปลี่ยนแปลงในภาพเหมารวมของชายหญิงที่เป็นผู้จัดการหรือไม่ นั่นคือ การเน้นว่าผู้จัดการจะต้องมีลักษณะชายชาตรี ได้ลดลงหรือไม่ จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บจากนักศึกษาสาขาวิชาธุรกิจระดับปริญญาตรี และปริญญาโทกึ่งเวลา 348 คน พบว่า แม้จะมีการลดในจุดเน้นดังกล่าวเมื่อเทียบกับผลการศึกษาก่อนหน้านี้ ความคาดหมายยังคงเดิม คือ ผู้จัดการที่ดีจะต้องมีลักษณะของความเป็นชาย
Gender and Managerial Stereotypes: Have the Times Changed?
There has been a considerable increase in the proportion of women managers in recent years, from 21% in 1976 to 46% in 1999, and a call for “feminine leadership” to capitalize on this increase. The present study examines whether there has been a corresponding change in men’s and women’s stereotypes of managers such that less emphasis is placed on managers’ possessing masculine characteristics. Data from 348 undergraduate and part-time graduate business students indicate that although managerial stereotypes place less emphasis on masculine characteristics than in earlier studies [Academy of Management Journal 22 (1979) 395; Group and Organization Studies 14 (2) (1989) 216], a good manager is still perceived as predominantly masculine
..............
ราคาของอำนาจ: การแสวงอำนาจและแรงต้านตลบกลับสู่นักการเมืองสตรี
บทคัดย่อ
งานศึกษาขั้นทดลองสองชิ้นนี้ ตรวจสอบผลกระทบของบุคลิกที่ส่อถึงความตั้งใจในการแสวงอำนาจต่อปฏิกิริยาต้านที่ตลบกลับสู่ผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีสมมติฐานว่า ความก้าวหน้าในอาชีพของนักการเมืองหญิงมักจะถูกขัดขวางด้วยความเชื่อที่ว่า พวกเธอแสวงอำนาจ เพราะความปรารถนานี้ขัดกับความคาดหมายของสาธารณชนต่อผู้หญิง ทำให้เกิดการลงโทษตัวต่อตัว ผลการศึกษาพบว่า ความตั้งใจที่จะแสวงอำนาจของผู้สมัครหญิง (ทั้งที่เกิดขึ้นจริงหรือเข้าใจกันเอง) มีผลกระทบเชิงลบต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิลงคะแนน แต่บุคลิกเช่นเดียวกันนี้ในผู้สมัครชาย ไม่มีผลต่อผู้เลือกตั้ง
ปฏิกิริยาที่ต่างกันเช่นนี้ ส่วนหนึ่งอธิบายได้ว่า มาจากการขาดการยอมรับของสาธารณะต่อความตั้งใจแสวงอำนาจของหญิง ผลคือ พวกเธอถูกมองว่ามีความสามารถไม่พอและพาลหาว่าพวกเธอบกพร่องเชิงศีลธรรม ปฏิกิริยาอารมณ์-ศีลธรรมเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า แรงต้านตลบกลับนี้ เกิดจากการละเมิดข้อกำหนด/ความคาดหมายของสาธารณะ (ในมิติหญิงชาย) มากกว่าเป็นการผิดเพี้ยนจากปทัสถาน/มาตรฐานทั่วไป การค้นพบนี้ สะท้อนให้เห็นสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ของอคติทางเพศในการเมือง
The Price of Power: Power Seeking and Backlash Against Female Politicians.
Tyler G. Okimoto, and Victoria L. Brescoll. Personality and Social Psychology Bulletin July 1, 2010 36: 923-936
Two experimental studies examined the effect of power-seeking intentions on backlash toward women in political office. It was hypothesized that a female politician’s career progress may be hindered by the belief that she seeks power, as this desire may violate prescribed communal expectations for women and thereby elicit interpersonal penalties. Results suggested that voting preferences for female candidates were negatively influenced by her power-seeking intentions (actual or perceived) but that preferences for male candidates were unaffected by power-seeking intentions. These differential reactions were partly explained by the perceived lack of communality implied by women’s power-seeking intentions, resulting in lower perceived competence and feelings of moral outrage. The presence of moral-emotional reactions suggests that backlash arises from the violation of communal prescriptions rather than normative deviations more generally. These findings illuminate one potential source of gender bias in politics.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น