วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ผู้ใช้แรงงานและความปลอดภัย

18 ปี แห่งความผิดหวัง
ชีวิตต้องเสี่ยงต่อไปของผู้ใช้แรงงาน
(18 ปี ตุ๊กตาเคเดอร์ 188 ศพ บาดเจ็บ 469 ราย...
จะสูญเปล่าหรือไม่?)

เวทีสาธารณะ
18 ปีโศกนาฎกรรมเคเดอร์ กับ การจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ...
ในฝันของผู้ใช้แรงงานจะเป็นจริงหรือไม่?
10 พฤษภาคม 2554
วันความปลอดภัยในการทางานแห่งชาติ
จัดโดย
สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย
(Council of Work & Environment Related Patient’s Network of Thailand, wept)
เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และ
องค์กรพันธมิตร[1]
สนับสนุนโดย
แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน
ณ ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร


โปรดอ่านด้วยวิจารณญาณ เพราะเรียบเรียงจากเก็บตกคำพูดในเวทีสาธารณะ 10 พค 2554
หากเห็นข้อผิดพลาด ขอโปรดชี้แจง แก้ไขด้วย จักเป็นวิทยาทาน  ด้วยความขอบคุณ
ดรุณี  5-14-11


จากท้องนา สู่ โรงงาน

เศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เป็นผลจากนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย ที่บีบให้แรงงานเคลื่อนย้ายจากภาคเกษตรชนบทสู่ภาคอุตสาหกรรมเมือง ตั้งแต่ทศวรรษ 2500[2]   กึ่งศตวรรษแห่งการพัฒนาที่ผ่านมา แรงงานส่วนหนึ่ง ได้สังเวยชีวิตเงียบๆ ไปกับการขับเคลื่อนเครื่องจักรกลการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเพื่อหล่อเลี้ยงวิถีมือง เพื่อสร้างความมั่งคั่งและสะดวกสบายแก่สังคมบริโภคนิยม    ความที่ถูกมองว่าเป็นเพียงวัตถุดิบ เป็นแรงงานราคาถูก  เจ้าหน้าที่ภาครัฐจึงไม่สามารถรู้สึกถึงความเป็นมนุษย์ของผู้มีเพียงแรงงานเป็นต้นทุนในการยังชีพ  หน่วยงานรัฐต่างๆ จึงไม่ใส่ใจต่อสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานหากินตั้งแต่ต้น  มองไม่เห็นภัยมลภาวะในการทำงานที่ทำร้าย มนุษย์แรงงาน  กระทรวงแรงงานเองมีอำนาจน้อยกว่ากระทรวงอื่น และมักเข้าข้างนายทุน/นายจ้าง  กระทรวงอุตสาหกรรมมี มาตรฐานสองระดับ เข้าข้างการลงทุนและเม็ดเงินกำไร มากกว่าสวัสดิการและศักดิ์ศรีมนุษย์ของแรงงาน  กระทรวงสาธารณสุขที่ดูแลสุขภาพของประชาชนทั้งมวล ก็ขาดกลไกบูรณาการกับสองกระทรวงดังกล่าว
            ในทางตรงข้าม ภาคอุตสาหกรรมสะกัดคั้นพลังงานหนุ่มสาวที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ด้วยค่าแรงต่ำ แต่ให้รางวัลหากยอมทำงานล่วงเวลา (ทำลายระบบสามแปดที่ขบวนการแรงงานในอดีตดิ้นรนต่อสู้ให้ได้มา) ซึ่งเป็นการลงทุนที่ประหยัดกว่าการจ้างแรงงานเพิ่ม  ในขณะที่ความมั่งคั่งจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้สังคมไทยเบนสู่วัฒนธรรมวัตถุนิยม  ที่ดึงดูดหนุ่มสาวชนบทผู้ด้อยโอกาส ให้ใฝ่ฝันที่จะเป็นแรงงานในเมือง ที่ให้ค่าแรงสูงกว่ารายได้จากภาคเกษตร หรือทำงานฟรีในครัวเรือน

18 ปี แห่งการรอคอย...เพื่อหลักประกันคุณภาพชีวิตของแรงงาน

            วันที่ 10 พค เมื่อ 18 ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2536) ชาวไทยต้องตกตะลึงกับโศกนาฏกรรมไฟไหม้ โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ ในย่านอุตสาหกรรมนครปฐม ที่คร่าชีวิตหนุ่มสาว 188 ราย และบาดเจ็บ 469 ราย เพราะโรงงานมีมาตรการป้องกันที่แข็งแรง ไม่ให้คนงานขโมยตุ๊กตาออกไปได้ แต่ไม่มีมาตรการรักษาชีวิตคนงาน...คาดไม่ถึงว่าโรงงานจะติดไฟได้
            ก่อนหน้านี้ (พ.ศ. 2533) ในโรงงานทอผ้า เริ่มมีคนงานนับร้อย (2-300 คน) มีอาการป่วยโรคปอด ได้ลุกขึ้นเรียกร้อง ให้แก้ไขสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ที่อบอวลไปด้วยฝุ่นฝ้าย และกลิ่นไอสารเคมี  นายจ้างแทนที่จะเห็นใจ กลับฟ้องเอาผิดกับคนงานเหล่านี้  หลายคนไม่มีทางสู้
            จากวันนั้น ถึงวันนี้ การต่อสู้ของผู้ป่วยจากการทำงาน ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้ประสบความสำเร็จอีกก้าว เมื่อ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน พ..2554 จะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 16 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป แต่ สถาบันฯ ที่ฝ่ายแรงงานเรียกร้องมากว่า ๑๖ ปี จะเป็นองค์กรอิสระในการทำงาน ด้านการส่งเสริมป้องกัน และการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยในการทำงาน จริงขนาดไหน หรือจะเป็นเพียง เสือกระดาษ ก็ขึ้นอยู่กับการดิ้นรนต่อสู้ต่อไปของฝ่ายแรงงาน นักวิชาการ และความตื่นตัวของสาธารณชน
            บทเรียบเรียงนี้ มีจุดประสงค์ บันทึก (จากเวทีสาธารณะนี้) ให้สาธารณชนเห็นเส้นทาง และเค้าโครงการรณรงค์ ซึ่งแท้จริง ครอบคลุมทุกชีวิต เพราะโลกยุคใหม่ และวิถีเมือง ได้เชื่อมโยงสุขภาพและความปลอดภัยของทุกคนเข้าด้วยกัน  สุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ถูกสุขลักษณะต่อกายและจิตใจ ความปลอดภัยในการหากินและเลี้ยงชีพ ล้วนเป็นผลประโยชน์ร่วมของประชาชนทุกคน...ไม่แบ่งแยกชนชั้น  พรมแดน  ชนชาติ หรือเพศ
            บทเรียบเรียงนี้ มี 4 ส่วน (ก) เส้นทางเหตุการณ์และการรณรงค์เรียกร้อง  (ข) สถิติความไม่ปลอดภัยและการสูญเสียที่ควรจะหลีกเลี่ยงได้  (ค) กระบวนการเชิงนโยบายในการสร้างหลักประกันความปลอดภัยและอุปสรรค  และ (ง) เสียงสะท้อนจากวงเสวนาผู้ใช้แรงงาน และผู้กำหนดทิศทางของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ก.      เส้นทางการรณรงค์ของผู้ป่วยจากการทำงาน

โศกนาฏกรรมเคเดอร์ (10 พค 2536) เป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่กระตุ้นให้ขบวนการแรงงานเริ่มระดมพลัง เรียกร้องให้ภาครัฐจัดตั้งสถาบันเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองความปลอดภัยและสุขภาพของผู้ใช้แรงงาน

ตารางที่ 1 ประวัติศาสตร์การรณรงค์เรียกร้องให้สร้างหลักประกันความปลอดภัยในการทำงาน
พ.ศ.
เหตุการณ์และกิจกรรมสำคัญ
2537
-ตั้ง คกก รณรงค์ความปลอดภัย เพื่อติดตามคดีเคเดอร์และเรียกร้องให้ติดตั้งอุปกรณ์ส่งเสริมความปลอดภัยในที่ทำงาน ต่อกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการลงทุน และกรรมาธิการแรงงานของรัฐสภา  พร้อมทั้งเรียกร้องให้กำหนด 10 พค เป็นวันแห่งความปลอดภัยในการทำงาน
2538
-จัดตั้งสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานฯ (ธค) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคปอด (ฐานสำคัญตั้งแต่ 2537) และร่วมกับสมัชชาคนจน ได้ยื่นจดหมายต่อพลเอกชวลิต ทำให้ข้อเรียกร้องเข้าสู่โครงสร้างการตัดสินใจระดับชาติเป็นครั้งแรก จนในที่สุด กลายเป็นมติ ครม เมื่อ 26 มีค 2540
2540
-มติ ครม (มีนาคม) ให้ตั้ง คกก เพื่อยกร่าง พรบ สถาบันคุ้มครองฯ แต่ถูกระงับ เพราะเปลี่ยนรัฐบาล
-มติ ครม (26 สิงหาคม) กำหนดให้วันที่ 10 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ
2542
-10 พค เครือข่ายฯ อาศัย รธน 2540 ยื่นรายชื่อเสนอร่างกฎหมายจัดตั้งสถาบันคุ้มครองฯ  แต่ไม่มีผล เพราะต้องมีสำเนาทะเบียนบ้านประกอบชื่อ
2544
-จัดตั้ง คกก สมานฉันท์แรงงานไทย เพื่อแก้ไขปัญหาความแตกแยกในขบวนการแรงงานไทย และภารกิจหลักประการหนึ่ง คือ ผลักดันให้เกิดสถาบันคุ้มครองความปลอดภัยฯ จึงมีการยื่นข้อเรียกร้องมาคลอด ในวันสตรีสากล (8 มีนา)  วันแรงงาน (1 พต) และ วันปลอดภัย (10 พค)
-14 กค รมต แรงงาน (ลัดดาวัลย์) รวมร่าง พรบ 2 ฉบับ (กระทรวงแรงงาน และเครือข่ายองค์กรแรงงาน) เป็นร่าง พรบ ส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัย หลักการ คือ เป็นองค์กรอิสระ บริหารแบบไตรภาคี บริการครบวงจร จัดตั้งกองทุนภายใน 5 ปี
2547
-ครม รับหลัการให้รวม ร่าง พรบ เป็น พรบ คุ้มครองความปลอดภัย อาชีวอนามัย ใช้กองทุนเงินทดแทน และจัดตั้งกองทุนความปลอดภัยในการทำงาน บริหารโดยกรมสวัสดิการแรงงาน
-แต่ พรบ ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการตั้งสถาบันคุ้มครองฯ เพียงแต่ระบุว่า พร้อมเมื่อไร ก็ให้จัดตั้งสถาบันฯ เป็นองค์กรอิสระ  เครือข่ายองค์กรแรงงานจึงคัดค้าน
2550
-อาศัย รธน 2550 เครือข่ายฯ ได้รวบรวมชื่ออีก แต่สามปีผ่านไปก็ยังไม่ได้ครบ 10,000 ชื่อ 
2552
-ภายใต้รัฐบาลประชาธิปัตย์ กระทรวงแรงงานได้ยกร่าง พรบ และผ่านการรับรองในหลักการโดยสภาผู้แทนฯ เมื่อ 11 พค (มีร่าง 7 ฉบับ)
2554
-สส และ สว ได้รับรอง พรบ ประกาศในกิจจานุเบกษา (17 พค) มีผลบังคับใช้ (16 กค) และจะต้องตั้ง สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมการทำงาน ภายใน 1 ปี

-18 ปีแห่งการรณรงค์ประเด็นสุขภาพความปลอดภัย ร่วมกับสมัชชาคนจน ขบวนการแรงงาน นักวิชาการ NGOs ในที่สุด การรอคอย ก็เหมือนฝันที่ใกล้เป็นจริง  แต่อุปสรรคยังมีอีกมาก
-บางคน (เช่นพี่ทองใบ) เสียชีวิตก่อนได้เห็นชัยชนะ หลังจากต่อสู้มา 15 ปี



ข.       สถิติผู้เสียหายจากการทำงาน

สถิติต่อไปนี้ เก็บจากวีดีทัศน์ และการแถลงข่าว (โปรดเช็คตัวเลข)

10 พค 2536  โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ พื้นที่อ้อมน้อยอ้อมใหญ่ จ.นครปฐม เกิดไฟไหม้ ตึกถล่มทำให้คนงานวัยหนุ่มสาวเสียชีวิตถึง 188 ราย บาดเจ็บ 469 ราย แม้จะรอดชีวิต แต่หลายคนกลายเป็นคนพิการทางกาย และ/หรือจิตใจ  แทนที่จะเป็นเสาหลักหาเลี้ยงครอบครัว กลับหมดสภาพ ต้องให้ครอบครัวที่ยากจนอยู่แล้ว ดูแล  หลายกรณีประสบปัญหาครอบครัวแตกแยก กลายเป็นปัญหาสังคม

สถิติ ระหว่าง 2531-2552  แรงงานทั้งหมด 3.59 ล้านคน มีผู้สูญเสียอวัยวะกว่า 70,000 คน  เป็นโรคกว่า 50,000 คน และเสียชีวิตกว่า 16,000 คน

ผู้ใช้แรงงานยังมีความเสี่ยงสูงในการทำงาน สำนักงานกองทุนเงินทดแทนรายงานว่า ในแต่ละปีมีผู้ใช้แรงงาน (ในระบบ) 8-9 ล้านราย อยู่ในระบบภาคอุตสาหกรรม 2 แสนราย  ซึ่งต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยงชีวิตอันเกิดจากสารพิษ สารเคมี และเครื่องจักรในที่ทำงาน

ตัวเลขนี้ ยังไม่ได้รวมแรงงานที่กฏหมายกองทุนเงินทดแทนครอบคลุมไม่ถึง เช่น แรงงานในภาคเกษตร แรงงานข้ามชาติ (3 ล้านคน)  แรงงานป่วย พิการ หรือตาย ในมุมมืดนี้ จึงเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ในปี พศ. 2553 สถิติคนงานประสบอันตรายจากเครื่องจักร (พิการแขน-ขาขาด จากการทำงาน) สูงถึง  146,511 ราย เฉลี่ยเดือนละ 12,209.25 ราย หรือวันละ 406.96 ราย  มีคนงานเสียชีวิตปีละ 619 ราย หรือเกือบ 2 คนทุกวัน  สถิตินี้ยังไม่รวมถึงคนงานที่ป่วยจากมลพิษและสารเคมีในโรงงาน หรือตายจากการทำงานอื่นๆ เพราะพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงสิทธิกองทุนเงินทดแทนได้ และนี่คือต้นทุนที่ไม่มีใครมองเห็น[3]

สาเหตุของการเข้าไม่ถึง : คนงานป่วยถูกผลักไปให้ใช้สิทธิประกันสังคม ใช้สิทธิประกันสุขภาพหมู่ โครงการลดอุบัติเหตุเป็นศูนย์ (Zero-Accident) ฯลฯ

ทุกวันนี้ หน่วยงานรัฐได้ก้าวหน้าขึ้น มีหน่วยงาน อาชีวแพทย์ และคลีนิคตรวจรักษาโรคจากการทำงานถึง 68 แห่ง แต่แรงงานก็ยังเข้าไม่ถึง เพราะกลไกไม่เอื้อ  แรงงานอาจได้รับบรับรองแพทย์ แต่นายจ้างก็ยังสามารถบ่ายเบี่ยงเกี่ยงสาเหตุโรค และปลดคนงานนั้นๆ ได้  ในความสัมพันธ์นี้ แรงงานก็ยังด้อยอำนาจต่อรอง ด้อยโอกาสและหย่อนสิทธิ์  ร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง เป็นต้นทุนอย่างเดียวที่แรงงานจะใช้หาเลี้ยงชีพและครอบครัวได้

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ภาครัฐจะทบทวน ความเจริญก้าวหน้า ที่ตั้งอยู่บนการพัฒนาอุตสาหกรรม ให้ผู้ขายแรงงานไม่ต้องสูญเสียสุขภาพและเลือดเนื้อต่อไป

ค.      กระบวนการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน และอุปสรรค

รัฐธรรมนูญไทย ปี 2550 มาตรา 44 ระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งหลักประกันในการดำรงชีพทั้งในระหว่างการทำงานและเมื่อพ้นภาวการณ์ทำงาน   ภาครัฐจึงมีหน้าที่ ให้บริการความจำเป็นขั้นพื้นฐาน และดูแลผู้ใช้แรงงานที่เจ็บป่วยหรือพิการ จากการทำงาน   พรบ. เงินทดแทน  เป็นกองทุนหนึ่งที่เป็นผลจากการเรียกร้องของขบวนการแรงงาน  เพื่อชดเชยค่ารักษาและดูแลคนงานที่ป่วยจากการทำงาน แต่กระบวนการเข้าถึงสิทธิต่างๆ ยุ่งยากซับซ้อน ใช้เวลายาวนาน

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระดับนโยบาย[4]
พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน พ..2554” จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2554 ถือเป็นพระราชบัญญัติ ด้านแรงงานภายใต้รัฐบาล นายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่สำคัญต่อแรงงาน  พรบ.ฉบับนี้ได้มีบทบัญญัติ (หมวด 7 มาตรา 52)
o       จัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ภายในระยะเวลาหนึ่งปี หลังกฎหมายมีผลบังคับใช้
o       ปัจจุบันกาลังอยู่ในชั้นอนุกรรมการยกร่างกฎหมายดังกล่าว ที่มีฝ่ายผู้ใช้แรงงานร่วมประชุมยกร่าง
อนุกรรมการยกร่างกฎหมายสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ที่ 1/54 ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2554 โดยมีนางอัมพร นิติศิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นประธาน

แต่หลังจากได้ประชุมไป 3 ครั้ง ข้อขัดแย้งระหว่างฝ่ายแรงงานกับกระทรวงแรงงาน ที่ไม่สามารถลงตัว คือ
o       อำนาจหน้าที่ ภารกิจ
o       การได้มาซึ่งคณะกรรมการ และ
o       ความเป็นอิสระในการบริหาร

รูปแบบของสถาบันฯ ที่ผู้ใช้แรงงานฝันอยากจะให้เป็น คือ สามารถคุ้มครองแรงงานทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบ หรือนอกระบบ แรงงานก่อสร้าง แรงงานข้ามชาติและแรงงานเกษตรพันธสัญญา แรงงานที่เป็นลูกจ้างของรัฐ และรัฐวิสาหกิจเพื่อนำาข้อสรุปจากเวทีนี้ ร่วมกันนำไปขับเคลื่อนต่อไป

ตารางที่ 2  เปรียบเทียบกระบวนการและรูปแบบที่กำลังดำเนินอยู่ในอนุกรรมการยกร่างสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ กับสิ่งที่ฝ่ายแรงงานต้องการ

กระบวนการจริง (ภาคราชการครอบงำ)
ฝ่ายแรงงานวิจารณ์
ความต้องการของฝ่ายผู้ใช้แรงงาน
ทีมาของอนุกรรมการ
โดยการแต่งตั้งของคณะกรรมการความปลอดภัยแห่งชาติ

จำนวน
ผู้แทนแรงงานเพียง 3 คน ในกรรมการทั้งหมด 19 คน (ฝ่ายตัวแทนภาครัฐที่เป็นฝ่ายเสียงข้างมากมีความเห็นที่ต่างและเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุหลักการของฝ่ายแรงงานฯ)

มุมมอง
ฝ่ายรัฐมองว่าสถาบันฯ ควรเป็นเพียงหน่วยงาน ระดับกองภายใต้กรมสวัสดิการ
ให้สถาบันฯ เป็นองค์กรอิสระในการบริหารจัดการ  ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน
ลำดับความสำคัญ
-จัดตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี หลังกฎหมาย พ.ร.บ.ความปลอดภัย ฯ ถูกบังคับใช้
-อ้างภารกิจในการยกร่างพระราชกฤษฎีกา ที่ใช้ พรบ องค์กรมหาชน พ.ศ. 2552
ใช้เวลาออกแบบให้เอื้อต่อผู้ใช้แรงงานอย่างแท้จริง เช่น รูปแบบ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และที่มาของกรรมการสถาบันฯ รวมถึงงบประมาณ
วัตถุประสงค์
-ปรับกลไกรัฐ รักษากฎระเบียบราชการ
-ส่งเสริม ป้องกัน แก้ไข ปัญหาสุขภาพ ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
อำนาจหน้าที่
ฝ่ายรัฐวิจารณ์ข้อเสนอในฝันของฝ่ายแรงงาน
-การระบุอำนาจหน้าที่ในการมีศูนย์ข้อมูลและรับเรื่องราวร้องทุกข์ เป็นการขัดต่อกฎหมาย


-ติดตามการแก้ไขปัญหาโดยหน่วยงานรัฐ จำเป็นต้องมีองค์ความรู้เท่าทัน จึงต้องมี
   1-ศูนย์ข้อมูลและศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์
   2-เข้าไปทำการศึกษาวิจัยในสถานประกอบการได้
   3-ให้คำแนะนำด้านความปลอดภัยได้
-สร้างมาตรฐานด้านความปลอดภัยและพัฒนาบุคลากร ด้วยการรณรงค์เผยแพร่
ความยั่งยืน
ฝ่ายรัฐวิจารณ์
-เป็นการซ้ำซ้อนที่จะให้มีรายได้จากกองทุนเงินทดแทนโดยตรง ต้องผ่านการพิจารณาของกรมสวัสดิการฯ ก่อน
-รัฐจัดสรรทุนประเดิมอย่างเพียงพอ
-ทุกปี ให้ได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยจากกองทุนเงินทดแทน
ที่มาของกรรม การบริหารสถาบันฯ
รัฐมนตรีจะเป็นผู้ออกระเบียบในการสรรหากรรมการ (เปิดช่องให้ข้าราชการเข้ามาเป็นประธานสถาบันฯ)
โดยการสรรหาและต้องไม่ใช่ข้าราชการที่มีเงินเดือนประจำ
สัดส่วน กรรมการ 11 คน

ประธาน 1 คน
ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง 2 คน
ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 2 คน
ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน
กรรมการโดยตำแหน่ง 2 คน
-ผู้แทนกระทรวงแรงงาน
-ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข  ผู้อำนวยการสถาบันฯ และเลขานุการต้องได้รับการคัดเลือกจากกรรมการสถาบันฯ


การที่อนุกรรมการชุดนี้ พยายามใช้วิธีลงมติด้วยการถามความเห็นกรรมการทีละคน  ทำให้ข้อเสนอของผู้ใช้แรงงานไม่สามรถผ่านด่านอนุกรรมการยกร่างชุดนี้ได้ เพราะด้วยสัดส่วนที่ไม่เท่าเทียมกันและทัศนคติต่อสถาบันฯที่ต่างกัน ระหว่างฝ่ายรัฐและฝ่ายแรงงาน  ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดเวทีสาธารณะนี้ จึงมีมติว่า   “ขอให้ชะลอการประชุมเพื่อยกร่าง พรก.การจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์กรมหาชน) พ.ศ.... และให้กระทรวงแรงงาน ดำเนินการจัดเวทีประชาพิจารณ์ร่วมกับผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ  เพื่อรับฟังความคิดเห็น และนำมาเป็นแนวทางในการยกร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวต่อไป” [5]


ง. เสียงสะท้อนจากเวทีเสวนา

ภาคเช้า เสียงจากผู้ใช้แรงงานที่ป่วยจากการทำงาน

จันทร์มณี กลิ่นหอม ในระบบ (เสื้อผ้าสำเร็จรูป-ส่งออก)
ป่วยจากการทำงาน การฟ้องเรียกร้องยืดเยื้อ กระบวนศาล
ทำงาน 2531 ถึง 2552 ถูกเลิกจ้าง
โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออก ตนอยู่แผนกรีด เข้างาน 8.00 น. ยืนตลอดเวลา เท้าซ้ายเหยียบแท่นควบคุมเตารีด  บางวันทำโอที ถึง เช้าวันรุ่งขึ้น 7.00 น.
-          ตนเริ่มรู้สึกป่วยในปลายปี 2549 พบหมอครั้งแรก ไม่ระบุว่าป่วยเนื่องจากการทำงาน รักษาไม่หาย จนได้ติดต่อกับประธานสภาเครือข่ายผู้ป่วยฯ (สมบุญ) ได้มีการเข้าไปตรวจดูสภาพการทำงานในโรงงาน จึงสรุปได้ว่า เป็นผลจากการทำงาน
-          ในที่ทำงานเดียวกัน มีผู้ป่วยด้วยอาการเดียวกัน 6 คน แต่จันมณีเป็นเพียงคนเดียวที่ติดตาม
-          ครั้งแรกได้ยื่นขอกองทุนเงินทดแทน แต่ถูกปฏิเสธ เพราะไม่ยอมรับสาเหตุการป่วยว่าจากการทำงาน
-          จึงยื่นอุธรณ์ ขอประกันสังคม ซึ่งจัดงบมาจ่ายค่ารักษา พองบหมดก็ยื่นอุธรณ์อีกเพื่อให้ขยายวงเงิน แต่ถูกปฏิเสธ
-          สภาเครือข่ายฯ จึงแนะให้ฟ้องศาลแรงงาน เมื่อต้น 2554
-          ตั้งแต่ 2552 เป็นต้นมา จันมณีไม่ได้รับเงินเดินเลย ได้แต่เงินชดเชยให้ออกจากงาน เพราะหมดสภาพ
-          หลังจากทำงานมา 20 ปี ส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งออก ผลสุดท้ายคือ ตกงาน แถมอาการปวดตลอดเวลาตั้งแต่หัวถึงเท้าแถบซ้ายทั้งหมด ทำให้จันมณีดูแลตัวเองไม่ได้ ต้องอาศัยสามี
-          หันไปใช้ประกันสังคม ก็มีงบจำกัด เนื่องจากเป็นแรงงาน จะใช้บัตรทองฟรี เช่นประชาชนทั่วไป ก็ไม่ได้

สุบิน ศรีทอง ในระบบ (ก่อสร้าง)
ทำงานให้ บ. เอ็มโก ประกอบโครงสร้างหลังคา   สุบินซ่อมหลังคารั่ว แต่พลัดตกที่สูงกว่า 10 เมตร ข้อมือและหลังหัก ต้องใส่เหล็ก
-          เริ่มงาน 6 มิย อุบัติเหตุ 4 กย 2551
-          บริษัทดูแลค่ารักษา และให้เงินเดือน 60% ในขณะอยู่ศูนย์ฟื้นฟูแรงงาน 1 ปีกว่า
-          จากนั้นก็ได้เงินเดือนเต็ม จนถึง 8 มิย 2553 หมอสรุปว่าสุบิน ทุพลภาพ บริษัท จึงบอกว่า จะจ่ายให้เดือนละ 3,500 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 15 ปี เป็นการชดเชยให้สุบินลาออก เพราะทำงานไม่ได้ต่อไป  แต่สุบินไม่กล้าลา เพราะมีภาระเลี้ยงครอบครัว (ลูก 1 คน) และไม่มีใครจะรับเข้าทำงานอีก
-          คำถามของสุบิน คือ กฎหมายมีเงินทดแทนจ่ายให้ไหม เพราะ 3,500 บาท ไม่พอใช้จ่าย

เกษม ศรีมุกดา ในระบบ (ผลิตอุปกรณ์กีฬา)
ทำงานที่บรษัทผลิตอุปกรณ์กีฬาดำน้ำ ที่ชลบุรี  ทำงานได้ 26 วัน ก็เกิดอุบัติเหตุ เครื่องฉีดพลาสติกหล่น สองนิ้วมือหัก แม้ต่อได้แต่เส้นเลือดไม่ผ่าน ในที่สุดต้องตัดนิ้วทั้งสองทิ้ง
-          ในขณะอยู่ศูนย์ฟื้นฟูแรงงานที่ระยอง บริษัทจ่ายค่ารักษาทุกเดือน และได้รับ 60% ของประกันสังคม
-          ตอนนี้อาการดีขึ้น กำมือได้
-          คำถาม ทำไมบริษัทไม่มีนโยบายจ่ายค่าชดเชยการสูญเสีย หรือจ่ายเพิ่ม
-          หลังจากออกจากศูนย์ บริษัท บอกว่าจะมีการประเมินสภาพ และจะหยุดจ่ายเงินเดือน (ไม่เกิน 60%) แล้วประกันสังคมจะจ่ายให้ 3,500 บาทต่อเดือน
-          เกษมต้องการเงินก้อน แต่จำนวนต้องขึ้นกับการประเมินของหมอ และยังต้องเสียภาษี

สุนี ไชยรส (ผู้ดำเนินรายการ)
ตั้งข้อสังเกต: สุบินเล่าว่า จะได้เงินจากกองทุนเงินทดแทน แต่เกษมว่าจะได้จากประกันสังคม  ในส่วนกองทุนเงินทดแทน นายจ้างจ่ายสมทบด้วย
-          นี่เป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งที่ไม่เพียงจะต้องมีสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ  แต่ต้องมีกรรมการ หลักเกณฑ์ การวินิจฉัย ประเมินสภาพที่เป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย
-          การหักภาษีจากเงินก้อนชดเชย ไม่สมควร เพราะรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน ที่ลดหย่อนภาษีมหาศาลให้นักลงทุน  ทำไมต้องมาเก็บกับคนงานเล็กๆ ผู้เสียหาย
-          แม้มีกฎหมายระบุให้บริษัทจะต้องจ้างคนงานพิการ 1 คนต่อคนงานทั้งหมด 100 คน  คนงานที่เข้ารับการฟื้นฟูที่ศูนย์ระยอง ก็มีสภาพเหมือนถูกโยนไปมา

เตือนใจ บุญที่สุด ในระบบ (ทอผ้า)
ต่อสู้ในกระบวนศาลมา 15 ปี ตั้งแต่ 2535
ทำงานที่โรงงานทอผ้ากรุงเทพ ป่วยเป็นโรคปอด นายจ้างฟ้องกลับคนงานป่วย ที่ไปยื่นฟ้องเรียกร้องให้คุ้มครองความปลอดภัยและการรักษา  คนงานหลายคนไม่มีทางสู้ คนงานที่เหลือจึงแยกต่อสู้เป็นกลุ่ม กลุ่มแรก 28 คน ต่อมา 18 และ 32
-          พวกเราป่วย จึงยื่นขอกองทุน เพื่อเป็นค่ารักษา แต่นายจ้างไประงับ
-          พวกเราต่อสู้จนในที่สุด ศาลยกฟ้อง และเชื่อว่าคนงานป่วยจริงจากการทำงาน
o       กระบวนการศาลยุติธรรมเยิ่นเย้อ กินเวลากว่า 10 ปี
การต่อสู้
-          2533     คนงานทอผ้าเริ่มป่วย และเรียกร้อง
-          2536     เริ่มต่อสู้ ร่วมกับโศกนาฎกรรมเคเดอร์
-          2538     เป็นฝ่ายรุกขั้นศาล หลายคนท้อถอย เพราะพวกเขาเดินทางกลับไปอยู่ต่างจังหวัด ขึ้นศาลที ก็ต้องมาให้การ เสียค่าใช้จ่ายเป็นพันเอง  บางคนก็ตาย
ก. เริ่มต้น คนงานฟ้อง มอบอำนาจให้ทนายจัดการ
-          ทนายยอมรับข้อตกลงว่า ให้ใช้หมอของบริษัท/นายจ้างเป็นผู้ตรวจ 
-          หมอจากแพทยสภามาให้การศาล แค่อ่านจากเวชระเบียนเก่า โดยไม่มีการตรวจร่างกายคนงาน และแถลงต่อศาลว่า ไม่ป่วย
-          พวกเราได้รักษาอยู่กับหมออรพันธุ์ มาก่อน บางคนอาการดีขึ้น อยู่ในภาวะฟื้นตัว
ข. บริษัทฟ้องต่อกองทุน ไม่ยอมจ่ายให้คนงานที่ฟื้นตัว พวกเราจึงรวมตัวกับผู้ป่วยให้เป็นจำเลยร่วม
-     ผู้ป่วยทั้งหมดมีกว่า 300 คน แต่ที่ออกมาต่อสู้ มีเพียง40 กว่าคน ไม่มีใครมารองรับพวกเรา มีสมบุญเป็นหัวหอก มีคณะทำงาน 8-9 คน
-          กระทรวงแรงงานกล่าวหาพวกเราว่า เป็นม๊อบ เห็นแก่ตัว 
ค.       คนงานต้องฟ้องกลับ ว่าสภาพงานทำให้พวกเราป่วย  ตอนนั้น พวกเราไม่มีทิศทาง  เพียงแต่รู้ว่า นายจ้างต้องรับผิดชอบสุขภาพของเราแทนที่จะปลด (ประมาณครึ่งหนึ่งของคนงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวหัวหน้าที่ออกมาขับเคลื่อน)
-          เราฟ้องศาลแรงงาน ซึ่งส่งต่อไปยังสภาทนายความ แต่ไม่มีเสียงตอบ นอกจากว่า เราไม่ซีก จะไปงัดไม้ซุงไม่ไหว  สมบุญตอบว่า หลายไม้ซีก ก็เข้มแข็งได้ เพียงแต่ต้องใช้เวลาต่อสู้ พวกเราจึงสู้ต่อไป (ปี 2538)
ง. ผ่านไปกว่า 10 ปี
-          ต้นปี คดีถึงขั้นศาลฎีกา ๆ บอกว่าตัดสินไม่ได้ เพราะมีข้อสงสัย ส่งกลับลงมาศาลแรงงาน ซึ่งให้คนงานชนะ
-          ใช้เวลา 2-3 ปี กว่าจะถึงศาลฎีกาอีก และอีกครั้ง ศาลฎีกาก็ส่งเรื่องกลับลงไป ให้ศาลแรงงานสืบสวนใหม่อีก ต้องเสียเวลาอีก 1-2 ปี และคนงานก็ชนะอีก
-          ส่งกลับขึ้นไปศาลฎีกา เรื่องเงียบไป ประมาณ 5 ปี ในที่สุดก็ตัดสินให้คนงานป่วยชนะ
o       พวกเราต้องสู้กลับ เพราะถูกฟ้อง  ความเจ็บป่วยจากการทำงานทำให้พวกเราทุกข์มากอยู่แล้ว แต่ที่มาซ้ำเติมนี่เป็นการทำร้ายจิตใจ เป็นแผลใจ  พวกเรามีครอบครัวต้องเลี้ยงดู
o       สิ่งที่พวกเราต่อสู้ คือ ให้สังคมรับรู้ และมีหน่วยงานดูแลความปลอดภัยของคนงาน มากกว่าเรียกร้องตัวเงิน
o       ศาลพิพากษาให้ได้รับเงินชดเชยคนละ ตั้งแต่ 6 หมื่น ถึง 1 แสนบาท แต่ภายหลังประเมินกันใหม่ เงินลดลงเหลือ 40 60 %
o       พี่น้องบางคนเสียชีวิตก่อน คำตัดสินของศาลฎีกา เช่น พี่ทองใบ
o       สภาพที่ทำงานเป็นเหมือนอุโมง ไม่มีที่ระบายอากาศ ฝุ่น สารเคมีสะสม
o       ทุกวันนี้ อายุ 50 ความเหนื่อยง่าย ทำให้เดินข้ามสะพานลอยไม่ไหว พอเป็นหวัดหน่อย ก็ทรุดนาน
o       แฟนทำงาน  15 ปี ได้เงินชดเชย 2 แสนบาท แต่กองทุนเงินทดแทนจะให้เพียง 5 ปี
o       ถ้าเรายังแข็งแรง ทำงานได้เงินเดือน ปีหนึ่งๆ ก็จะได้เป็นแสน
o       ทุกวันนี้ เราไม่มีอะไรรองรับ ลูกไม่มีอนาคต  ตัวเองป่วย อยู่รอดไปวันๆ

ชาลี อยู่ดี แรงงานข้ามชาติ-พม่า (ก่อสร้าง)
ทำงานก่อสร้าง ฉาบปูน ทำได้ 2 เดือนกว่า เกิดอุบัติเหตุ กำแพงที่ทำงานอยู่ล้มทับเขา สะโพกหัก ไส้แตก
นายจ้างตรงของชาลีหนี แต่เจ้าของสถานที่เป็นผู้พาส่งโรงพยาบาล
-          ชาลีไม่สามารถจ่ายค่ารักษาแก่โรงพยาบาล
-          โรงพยาบาลแจ้ง ตร เพราะเป็นแรงงานข้ามชาติ
-          ตร แจ้ง ตม
-          ชาลีถูกล่ามโซ่ตรวนที่โรงพยาบาล ทั้งๆ ที่แขนขาหัก และลำไส้อยู่ข้างนอก เพราะกลัวหนี
ชาลีได้จดทะเบียน มีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครอง แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ กว่าความช่วยเหลือจะไปถึงก็ 15 วันผ่านไป
-          มูลนิธิ เป็นผู้เริ่มประสาน ชี้แจงต่อผู้สื่อข่าว
-          เครือข่ายแรงงานข้ามชาติ และคกก สมานฉันท์จึงตามมา
-          ปรากฏว่า รพ ตร และ ตม ไม่ได้ตรวจสอบก่อนว่าถูกกฎหมายหรือไม่ ทำให้การล่ามโซ่เป็นการละเมิดสิทธิ์ของชาลี เรื่องนี้ใครรับผิดชอบ?
o       นายจ้าง (ผู้รับเหมา) หลบหนีไปแล้ว  เจ้าของสถานที่ไม่เกี่ยว
-          ทุกวันนี้ มูลนิธิ จ้าง ชาลี เพื่อธำรงสิทธิ์ลูกจ้าง กองทุนเงินทดแทนจะต้องจ่ายชดเชย

สุจินต์ รุ่งสว่าง แรงงานนอกระบบ (ผู้แทน)
แรงงานนอกระบบ มี 3 ภาค คือ การผลิต บริการ และการเกษตร
-          ยังไม่มีกองทุนเงินทดแทน เพราะกฎหมายถือว่าไม่มีนายจ้าง ดังนั้น เมื่อเจ็บป่วยจากการทำงาน ก็ยิ่งลำบากใหญ่
-          แรงงานนอกระบบมีความเสี่ยงไม่แพ้ในระบบ
o       เกษตร ไม่จะเป็นพันธสัญญา หรือเป็นอิสระ ต้องเสี่ยงต่อสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าแมลง หรือยาเร่งโต ล้วนทำให้ปอดพิการได้
-          แม้แรงงานนอกระบบจะใช้ บัตร 30 บาท เป็นหลักประกันสุขภาพฟรีได้ แต่มักจะไปโรงพยาบาลต่อเมื่อป่วยหนักแล้ว ซึ่งตอนนั้น ไม่มีสวัสดิการใดๆ มารองรับ
o       ดังนั้น การที่สภาเครือข่ายผู้ป่วยฯ เรียกร้องให้มีศูนย์รับเรื่องร้องเรียน และช่วยเดินเรื่อง  จึงสำคัญ เพราะคนงานส่วนใหญ่ ยังไม่เข้าใจเรื่องสิทธิ์ ยังไม่มีองค์ความรู้ในการเข้าถึงการเป็นผู้ประกันตนเอง
-          คนงานในโรงงานทอผ้า ปอดหาย คนรับงานไปเย็บผ้าที่บ้าน ก็พิการได้เช่นกัน เช่น รายหนึ่ง เย็บผ้านานเกินไป ปอดหายไปครึ่งหนึ่ง จึงมายืนขายน้ำแทน แต่ก็ยกของหนักไม่ได้
o       พรบ ความปลอดภัย ต้องครอบคลุมแรงงานทุกมิติ ต้องระบุให้ชัดเจนในคำนิยาม เพื่อจะได้ร่างกฎหมายลูกได้ถูกต้อง
o       แรงงานนอกระบบ ก็มีนายจ้างเช่นกัน เพียงแต่หลบหลีกความรับผิดชอบ
-          แม้มี พรบ คุ้มครองคนรับงานไปทำที่บ้าน แต่ก็ยังเข้ามาตรา 33 ไม่ได้
-          แม้ทำงานอย่างเดียวกันและมีนายจ้าง แต่เพราะมองกันไม่เห็น จะช่วยกันได้อย่างไร
-          อยากให้มีองค์กรอิสระ เพื่อแรงงานนอกระบบจะได้มีส่วนร่วม และมีตัวแทนช่วยเดินเรื่องได้

สุธาสินี แก้วเหล็กไหล (โฆษกเวที ผอ. คกก โครงการรณรงค์แรงงานไทย)
-          ยังจำได้ถึงความรันทดในการต่อสู้ มันไม่ใช่เพื่อเงิน แต่เพื่อร่างกายให้คืนความแข็งแรงมา
-          ในที่ประชุมอาเซียน มีผู้แทนสูงอายุจากเชียงใหม่ บอกว่า ทุกอย่างดีหมด
-          ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้กลายเป็นว่าขัดแย้งกัน จึงเสนอไปว่า เราเรียกร้องกันมา10 กว่าปีแล้ว
o       ยังขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง
o       ยังมีข้อจำกัดในการใช้เงินกองทุน ซึ่งมีหลายกอง
o       หมอมักให้ยาไม่ตรงโรค
o       ไม่ว่าจะใช้วิธีใด ไม่ควรมีการเลือกปฏิบัติ

ศุกาญจน์ตา สุขไผ่เงิน (ผู้ร่วมประชุม อดีตผู้นำสหภาพแรงงาน)
-          ทำงานด้านแรงงานข้ามชาติ
-          ยังไม่มีความยุติธรรมในขบวนการแรงงานไทย  แรงงานข้ามชาติ ก็ยิ่งลำบากกว่า เพราะตกอยู่ในระบบทาส เพราะ
o       สถิติที่ว่า คนงานตาย 11 คนต่อปี ไม่รวมแรงงานข้ามชาติ ที่สมุทรสาคร มีแรงงานข้ามชาติมากมาย แต่พวกเขาเข้าไม่ถึงกฎหมาย
o       เพราะต้องใช้เอกสารมากมายที่เขามักไม่มี จึงกลายเป็น ตายแล้วก็แล้วกันไป
-          แรงงานข้ามชาติมีกว่า 2 ล้านคน ต้องผนึกกับแรงงานไทย เพื่อเรียกร้องศักดิ์ศรีของคน
-          หน่วยงานรัฐพึงตระหนักถึงปัญหานี้ และดูแลจริงจัง
o       นายจ้างพึงรับผิดชอบ มากกว่าโยนความผิดไปที่ รพ
o       ศาลใช้เวลาวินิจฉัยและตีความกฎหมายนาน กว่าคนงานจะได้รับสิทธิ์ 
o       หน่วยงานรัฐจึงมักใช้วิธีไกล่เกลี่ย
o       แต่ก็ควรป้องกันแรงงานที่สูญเสียอวัยวะ โดยคำนึงว่า ถ้าเหตุการณ์เช่นนี้ เกิดขึ้นกับตนเองหรือลูกหลานบ้าง
o       อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดซ้ำๆ สามารถเลี่ยงได้

สรุป เสียงเพรียกจากผู้ใช้แรงงาน
-          ให้มีความเข้มงวด ในการบังคับใช้มาตรการตรวจสอบดูแลความปลอดภัยของเครื่องจักร และอุปกรณ์ในการทำงาน (รวมทั้งการปีนหลังคา)
-          มีที่ปรึกษาสำหรับคนงานเจ็บป่วยจากการทำงาน (ในระบบ นอกระบบ ข้ามชาติ... รวมอาชีพ แท๊กซี่ มอเตอร์ไซค์ นักร้อง ฯลฯ) และช่วยดำเนินเรื่อง
-          ไม่ควรหักภาษีจากเงินชดเชย
-          เงินช่วยเหลือ 3,500 บาทต่อเดือนไม่เพียงพอสำหรับเลี้ยงตนและครอบครัว
-          นโยบายปรับให้สถานประกอบการรับคนพิการทำงาน เป็น 1 ต่อ 100 คน นั้น นายจ้างสามารถเลี่ยงด้วยการจ่ายเงินเข้ากองทุน 
o       คนอยากทำงานต่อไป มากกว่ารอ/ขอ
o       สหภาพต้องช่วยไม่ให้เลิกจ้าง แม้คนงานจะป่วย ควรประสานงานกับสภาเครือข่ายผู้ป่วยฯ เพื่อตรวจดูพื้นที่ ก่อนที่อาการจะสายเกินแก้ (เพราะสะสมนานกว่าอาการกำเริบ)
o       ระบบตรวจสุขภาพประจำปี ควรมีแพทย์เฉพาะทาง (สารเคมี ฝุ่น ฯลฯ) และจริงจังกว่านี้
o       คลีนิคอาชีวอนามัย ควรขยายไปในพื้นที่ ๆ มีแรงงานหนาแน่น

ภาคบ่าย เสียงสะท้อนจากผู้กำหนดทิศทางของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ

กาญจนา กาญจนวิโรจน์ ผอ. สำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
-          กระทรวงแรงงานได้ปรึกษา กพส เรื่องการจัดตั้งสถาบันฯ ซึ่งแนะนำว่า ตั้งเป็นองค์กรมหาชน จะเป็นวิธีที่เร็วที่สุด (พรบ องค์กรมหาชน 2542)
-          เพื่อให้มีส่วนร่วม คกก ความปลอดภัยฯ ซึ่งเป็นไตรภาคีระดับชาติ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน มีผู้แทนนายจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง และส่วนราชการ 
o       ประธานได้แต่งตั้งอนุกรรมการ ประกอบด้วย
1.     ส่วนราชการ มี อธิบดีกรมสวัสดิ  กพร  กพ  งบประมาณ  กฤษฎีกา
2.     ตัวแทนนายจ้าง
3.     ตัวแทนลูกจ้าง
4.     ผู้ทรงคุณวุฒิ (สมบุญ   อ.วรวิทย์  อ.พรชัย)
-          ได้ประชุมไป 3 แล้ว สรุปว่า สถาบันฯ จะเป็นองค์กรมหาชน
o       โอนงานส่วนส่งเสริม ป้องกัน ออกจากกรมสวัสดิฯ ไปให้สถาบันฯ
o       กรมสวัสดิฯ ยังทำหน้าที่ออกกฎหมาย และบังคับใช้

รศ.ดร. วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ที่ปรึกษาสภาเครือข่ายฯ
ฐานอนุกรรมการมีข้อจำกัด ทำให้สถาบันฯ ทำงานได้ไม่ครบวงจร
-          สถาบันควรจะมีองค์ประกอบอย่างไร เพื่อทำให้เกิดการป้องกันจริงในสถานประกอบการ
o       ที่กำลังพิจารณาอยู่ แยกส่วนกัน เช่น กระทรวงแรงงานมีหน้าที่ตรวจสถานที่ทำงาน (บังคับใช้กฎหมาย)  ดูแลกองทุนเงินทดแทน (ฟื้นฟู รักษา) ส่วนสถาบันฯเพียงป้องกัน
-          ข้อขัดแย้ง
o       เพื่อก้าวข้ามอุปสรรคระบบราชการที่ไม่คล่องตัว เราผลักดันให้คำนิยามของสถาบัน ให้เป็นองค์กรอิสระ  นั่นคือ ให้คนนอกระบบราชการมีส่วนร่วมในการบริหารสถาบันฯ
o       ที่มาของคณะกรรมการจึงสำคัญ  ซึ่งมาได้จาก 3 ช่องทาง
1.     แต่งตั้ง
2.     ไตรภาคี
3.     สรรหา
o       เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีประสบการณ์ ชำนาญเรื่องความปลอดภัย จึงควรจะมาจากการสรรหา ซึ่งที่ประชุมครั้งที่แล้ว อนุกรรมการตกลงร่วมกันให้ใช้วิธี สรรหา โดยเลือกสรรจากตัวแทนนายจ้างและลูกจ้างที่มีประสบการณ์
-          คำถามคือ
o       เขียนไว้ที่ไหน
1.     ควรจะระบุลงในกฎหมายว่า คณะกรรมการมีองค์ประกอบอย่างไร หรือ
2.     เพียงเขียนเป็นกรอบระเบียบ ซึ่งแก้ไขง่ายกว่า กฎหมาย
o       อิสรภาพที่ยั่งยืน
1.     แหล่งเงินทุนเพื่อการทำงาน
Ø     รัฐประเดิม
Ø     รัฐให้งบรายปี
Ø     หักเปอร์เซ็นต์ จากดอกผลของกองทุนทดแทน 15-20%
o       คำถามคือ ถ้าแบ่งมาจากกองทุนเงินทดแทน จะติดมิติลูกจ้าง-นายจ้าง เกี่ยวโยงกับ พรบ แรงงาน
1. นี่เป็นความคิดที่ยืมมาจากสังคมตะวันตก ที่แรงงานกว่า 90% อยู่ในภาคอุตสาหกรรม
2. แต่สังคมไทยยังไม่ใช่ประเทศอุตสาหกรรม แรงงานส่วนใหญ่ตกงาน
3. แรงงานในระบบเพียง 8-9 ล้านคน 
4. แรงงานนอกระบบ 24 ล้านคน
5. กองทุนจะต้องคุ้มครองอีก 24 ล้าน ไม่ใช่เพียง 9 ล้าน
o       จะต้องขยายกองทุน ซึ่งต้องมาจากรัฐ
-          อิสระ จึงหมายถึง คณะกรรมการต้องมาจากการสรรหา และ สถาบันฯ ต้องมีความมั่นคงทางการเงิน
-          สถาบันฯ จะทำงานป้องกันได้อย่างไร
o       ทำงานเชิงวิชาการ ไม่เพียงเก็บข้อมูล แต่สร้างองค์ความรู้ด้วย เพื่อเผยแพร่ ผลักดันให้มีการป้องกันในระดับปฏิบัติการ และระดับนโยบาย
o       เป็นศูนย์ข้อมูลด้านความปลอดภัย
1. สถิติ รายงานอุบัติเหตุ
·        จากกองทุนเงินทดแทน และ
·        จากการรับแจ้ง / ร้องทุกข์ (กรรมการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย)
2. เรียกข้อมูลจากสถานประกอบการได้
·        เข้าตรวจในโรงงานเพื่อการศึกษา (ไม่ใช่สืบค้น ซึ่งเป็นหรน้าที่กระทรวง)
·        เพื่อสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ส่งเสริมการป้องกัน สร้างความปลอดภัย
·        เพื่อใช้อบรมนายจ้าง ลูกจ้าง ทั้งในและนอกระบบ
·        เพื่อสนับสนุนการวางนโยบาย ด้วยการรณณงค์การจัดมาตรฐานความปลอดภัย
-          เมื่อยังมีความเห็นขัดแย้ง การจัดตั้งควรชะลอ เพื่อสถาบันฯ จะได้ไม่เป็นจริงมากกว่ากระดาษ

วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธาน คกก สมานฉันท์แรงงานไทย
หัวใจของความเป็นอิสระของสถาบันฯ คือ ความคล่องตัว การมีส่วนร่วมของแรงงาน แต่นั่นไม่ใช่เป้าหมายของร่างการจัดตั้งสถาบันฯ ซึ่งมีราชการเป็นส่วนใหญ่
-          คณะกรรมการบริหาร
o       ควรกำหนดคุณสมบัติชัดเจน ให้ได้ผู้เชี่ยวชาญจริง
o       ควรมาจากการสรรหา ไม่ฝักใฝ่/เป็นกลาง ทำงานด้วยหัวใจ (เห็นใจความทุกข์ร้อนของพี่น้องแรงงาน) มากกว่าผลประโยชน์
-          หน้าที่ เมื่อสถาบันฯ ไม่สามารถตรวจสอบ ก็ควรสามารถเก็บข้อมูล เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้แรงงาน
-          รายรับ ควรมีการจัดสรรงบให้อย่างพอเพียง
o       รัฐให้งบประเดิม
o       แบ่งดอกผลจากกองทุนเงินทดแทน
-          ให้บริการแรงงานทั้งหมดไม่แยกส่วน ใน/นอก/ข้ามชาติ
o       กองทุนทดแทน ไม่ใช่เงินนายจ้างอย่างเดียวเป็นเงินคนทำงานด้วย จึงควรใช้ดูแลพี่น้องคนทำงานทั้งหมด เพราะเป็นเหยื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม
o       สถิติ 2552
1.             มีสถานประกอบการทั้งสิ้น 329,000 กว่าแห่ง จ้างคนงานประมาณ 8 ล้านคน
2.             ประกันสังคมมีสมาชิก 9-10 ล้านคน
3.             ในมาตรา 93  มี 7 แสนคน ไม่อยู่ในระบบ
4.             กองทุนเงินทดแทนมี 30,000 กว่าล้าน
5.             อุบัติเหตุ 2552 ทั้งหมด แสนกว่าราย มีทั้งในระบบ/โรงงาน (ส่วนใหญ่เกิดจากการขับขี่ยานพาหนะ และไฟช๊อค) และนอกระบบ เช่นงานเหมาก่อสร้าง
o       กฎหมายควรดูแลคนงาน อย่าให้เขาต้องพิการหรือเสียชีวิต เพราะคนยากจนไม่มีต้นทุนอื่น นอกจากแรงกาย และคนงานแต่ละคน มีหลายชีวิตต้องเลี้ยงดู

รศ. สราวุธ สุธรรมมาลา สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
นี่เป็น 18 ปีแห่งความผิดหวัง เพราะใน พรบ พูดถึงสถาบันฯ เพียง 10 บรรทัด ไม่ถึง 10 % ของบทบัญญัติ
-          พูดถึงแต่หน้าที่ในด้านวิชาการ แต่ไม่กำหนดว่าจะทำงานได้อย่างไร
-          ต่างกับที่แรงงานเสนอในร่าง พรบ ผลคือ สถาบันใน พรบ ไม่มีอำนาจ ไม่มีเงิน
-          พรบ กล่าวถึง กองทุนความปลอดภัย แต่ไม่ได้ให้กับสถาบันฯ กองทุนดังกล่าว แต่เพื่อกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัย ซึ่งใครๆ ก็ขอได้ ส่วนที่เหลือจึงเป็นของสถาบัน เช่น
o       หน่วยงานรัฐ
o       ให้มหาวิทยาลัยเปิดสอนวิชาความปลอดภัย
o       มูลนิธิทำโครงการเสนอ
o       ค่าบริหาร เช่น เบี้ยประชุม
o       ให้นายจ้างกู้ยืมไปแก้ไขปัญหา (อันนี้ดี เพราะจะช่วยโรงงานขนาดเล็กได้)
o       สนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันรายปี
-          มาตรา 24 และ 48 เป็นบริบทของกองทุนความปลอดภัย แต่ไม่มีคนจากสถาบันฯ ร่วม
-          การทำงานวิจัย สร้างมาตรฐาน เป็นงานซ้ำซ้อนและซ้ำซาก ที่ทุกกระทรวงทำอยู่
o       การถ่ายโอนต้องเขียนให้ชัดเจน การให้กรมสวัสดิ ทำหน้าที่ตรวจสอบ จะทำให้บังคับใช้กฎหมายได้ แต่ต้องเขียนให้ชัดเจน
o       ต้องเขียนให้ชัดว่า สถาบันมีอำนาจขอข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำมาตรฐานคุ้มครอง
-          ในสหรัฐฯ เขามี พรบ อาชีวอนามัย ในปี 1970 (2513) จัดตั้งเป็นสองส่วน คือ NIAS (วิชาการ) และ OCHA (บังคับใช้กฎหมาย)
o       NIAS มีอำนาจเข้าไปศึกษาวิจัยในโรงงาน  ประเมินอันตรายต่อสุขภาพ 
o       ลูกจ้าง และนายจ้าง สามารถร้องขอให้ NIAS เข้ามาประเมินหรือวิจัย โดยไม่ต้องเปิดเผยชื่อได้
o       ประสานหน่วยงานแพทย์จบใหม่ให้มาทำอาชีวเวชศาสตร์ได้
-          เงินทุน
o       พรบ เขียนเพียง รายปีตามความเหมาะสม
o       จะต้องระบุให้ชัด เพราะปกติ 50% ของงบสถาบัน เป็นเงินเดือนเจ้าหน้าที่ จะต้องมีกองทุนที่มีเงินมากพอที่สถาบันใช้ทำงานได้ (มาตรา 7)
-          สถาบันสามารถให้บริการส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัย ในแง่ตรวจวัด ในขณะที่กรมสวัสดิฯ ถือกฎหมาย เป็นบริการหารายได้ ที่นายจ้างทั่วประเทศจะต้องมาใช้บริการ ดังนั้น สถาบันฯ ต้องมีห้องแล็บ
-          โครงสร้าง มี 3 ส่วน
o       คกก บริหาร
o       กองอำนวยการ ไตรภาคี ที่มาจากการ เลือกตั้งหรือ สรรหา ตามความเหมาะสม
o       คกก บริหาร แต่งตั้ง ให้ได้มืออาชีพ มีความรู้ทางเทคนิค ที่ปฏิบัติงานได้จริง
1.       ในฝ่ายต่างๆ เช่น ความปลอดภัย สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน สุขภาพ
2.       ในการให้ความรู้
-          ความเป็นอิสระ
o       ไม่ใช่เพียงที่มาของ คกก อย่างเดียว
o       แต่ต้องมีความคล่องตัว มีอำนาจออกกฎระเบียบเกี่ยวกับอัตราความเสี่ยง  ทำงานได้มากกว่า ต้องขออนุมัติทุกย่างก้าว
o       ถูกประเมินได้
o       ต้องทำรายงานประจำปี
-          หากมีระบบที่ดี และทำงานได้ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องที่มาของ คกก

บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ  ผู้อำนวยการ มูลนิธิอารมณ์พงศ์พงัน
-          ข้อจำกัดที่ทำให้สถาบันฯ ไม่มีอิสระอย่างแท้จริง คือ พ่อแม่ (พรบ 2 ฉบับ) ไม่แข็งแรง
o       พรบ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย 2554 (ปรับปรุงจาก ร่าง พรบ 2541)
o       พรบ องค์การมหาชน 2542
1.             ทำให้มาตรา 52 อยู่ภายใต้ รัฐมนตรี ดังนั้น ผอ. จึงไม่สามารถต่อรองกับ ครม ได้
-          เมื่อสถาบันฯ เป็นองค์กรมหาชนแล้ว จะมีอิสระแค่ไหน?
o       บังคับใช้กฎหมายไม่ได้ ลงโทษผู้ละเมิดไม่ได้ มีแต่ศึกษา แนะนำ
o       ไม่เชื่อมกับกองทุนโดยตรง จึงไม่มีอำนาจจ่าย มีแต่ส่งเสริมด้วยการทำวิจัย สร้างมาตรฐานการบริการและรักษา
1.       ต้องร่วมมือไตรภาคี
2.       ส่งต่อกระทรวงให้บังคับใช้กฎหมาย
-          ด้วยอำนาจหน้าที่ ๆ อิง มาตรา 52 หากเราต้องการออกแบบให้ชัดเจนขึ้น ให้มีศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ กระทรวงแรงงาน ก็จะแย้งว่า ราชการมีอยู่แล้ว เป็นการซ้ำซ้อน  แล้วจะทำอย่างไรให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้?
-          เงินทุน บอกว่ามาจาก 2 แหล่ง
o       งบรัฐ (มาจากภาษี) = งบประเดิม + งบรายปี
1.       ขึ้นอยู่กับความจริงจังของหน่วยงานรัฐ ว่าเห็นความสำคัญของสถาบันฯ ขนาดไหน
o       กองทุน (เงินทดแทน + ควมปลอดภัย) ซึ่งขึ้นกับภารกิจ
1.       ทั้งสองกองทุน ยังไม่กำหนดอัตราที่แน่นอนและต่อเนื่อง
2.       สมบุญขอ 20% จากดอกผลของกองทุนเงินทดแทนคงไม่สำเร็จ
·        คงต้องทำเป็นแผนงานเสนอปีต่อปี
3.       ส่วนกองทุนความปลอดภัย ก็เปิดให้หน่วยงานเข้าถึง ไม่ใช่เพียงสถาบันฯ
o       โจทย์  ควรกำหนดสัดส่วนการจัดสรรให้แน่นอนแก่สถาบัน
1.       แต่เป็นเรื่องที่ต้องแก้กฎหมายใหญ่ คือ พรบ ความปลอดภัย และ พรบ ทดแทน
2.       เป็นเรื่องการเมือง
3.       ที่อ.สราวุธ เสนอมา จึงเป็นไปไม่ได้ เพราะ พรบ ไม่ใช่การจัดตั้ง สถาบันฯ โดยตรง
4.       จึงขึ้นอยู่กับ คกก 11 คน (กก 10 + ผอ 1) ดังนั้น จะต้องกำหนดสัดส่วนบุคลากร และใช้วิธี สรรหา
·        ในตำแหน่ง ... ให้ระบุจากหน่วยงานไหน
·        นอกตำแหน่ง 
o       ผู้แทนลูกจ้าง 2
o       ผู้แทนนายจ้าง 2
o       ผู้ทรงคุณวุฒิ 2
·        ควรมาจากองค์กรทำงานระดับนโยบาย จากวิชาชีพ (เชี่ยวชาญ ประสบการณ์) มีความเป็นกลาง (ไม่ฝักใฝ่)
o       ไม่ควรให้ ครม มีอำนาจเบ็ดเสร็จ

อ.เฉลิมชัย ชัยอำนาจพร  สาขาสุขภาพและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยมหิดล
-          พวกเราเดินทางกันมาไกล ได้เรียนรู้จากการแก้ไขปัญหาต่างๆ มาก
-          ปัจจัยให้สำเร็จ และช่องทางออก
o       ผู้นำเข้มแข็ง เสริมด้วยนักวิชาการจริงจัง
o       คณะทำงานต่างๆ  ทำงานร่วมกับคนดีๆ ในระบบราชการ
-          อำนาจหน้าที่ของเรา
o       เดิมกรมสวัสดิฯ บังคับใช้กฎหมาย ส่วนสถาบันความปลอดภัย เป็นสำนักงานความปลอดภัยแรงงาน...เป็นกองตรวจการ
o       ตอนนี้ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย จะเดินคู่กับสำนักงานฯ อย่างไร ในเชิงบังคับใช้กฎหมาย
-          คนงานทั้งหมด 7-8 ล้านคน ในแผนห้าปี ฉบับที่ 9 แรงงานที่เสียหาย 1 ล้านคน
o       สถาบันฯ ที่ทำหน้าที่ป้องกัน จะมีความเป็นอิสระเพียงไร
o       จะให้ทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐ ตามแบบ NIAS และ OCHA จะต้องกำหนดบทบาท ความสัมพันธ์ระหว่าง สถาบันฯ และ สำนักงานฯ ให้ชัดเจน
o       สำนักงานควรเน้นด้านความไม่ปลอดภัย เป็นช่องทางรับเรื่องร้องทุกข์ และเผยแพร่ข่าวสาร
o       สถาบันฯ เน้น งานศึกษาวิจัย และพัฒนาบุคลากร
-          เงินทุน
o       ให้ร่าง พรบ กฤษฎีกา
o       โอนอำนาจหน้าที่ จาก สนง ความปลอดภัยแรงงาน ไปสู่สถาบันฯ ซึ่งคิดเป็นทรัพย์สิน ประมาณ 70 ล้านบาท รวมทั้งงบประมาณ
o       พนักงาน ด้านแรงงานสัมพันธ์ และด้านตรวจสอบความปลอดภัย มาจาก
1.       ข้าราชการที่โยกย้าย หรือขอย้าย ผ่านการกลั่นกรอง
2.       เลือกคนใหม่
o       รัฐต้องจัดสรร = ทุนประเดิม + งบอุดหนุนรายปี + ส่วนแบ่งจากดอกผลกองทุน
1.       เดิมให้ปันจากกองทุนมา 22% เพื่อการฟื้นฟูผู้ป่วยแรงงานในคลีนิค
2.       แต่คลีนิคอาชีวอนามัยกระจายใน 68 จังหวัด เป็นการแก้ ปลายน้ำซึ่งงบน่าจะมาจากกระทรวงสาธารณสุข
3.       เงินจำนวนนี้ น่าจะนำมาใช้แก้ปัญหา ต้นน้ำ ในเชิงป้องกัน ส่งเสริมของสถาบันฯ
o       ความยั่งยืนเชิงรายได้ จะทำให้สถาบันฯ มีความเป็นอิสระและต่อเนื่อง
1.       กองทุนความปลอดภัย ควรให้ 20% จากดอกผล


ความปลอดภัย หรือการลดความเสี่ยงในที่ทำงาน เป็นเรื่องของทุกๆ คน
หากที่ทำงานยังมีความเสี่ยงสูง หมายถึง หน่วยงานรัฐ และผู้ประกอบการ/นายจ้าง
ยังตั้งอยู่ในความประมาท
แต่ผลักความเสี่ยงแก่ผู้ทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ใช้แรงงาน
ทำให้คนทำงานทุกคน ... มีโอกาสพิการได้ ... ในชีวิตประจำวัน

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ที่ทำงานได้จริงจัง
เป็นการสร้างความเป็นธรรมในสังคม



 
ภาคผนวก 1
คณะทำงาน และวิทยากร

สมบุญ สีคำดอกแค
ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย
The Council of Work and Environment Related Patient’s Network of Thailand (wept)
32 . 2 .ทรายทอง 22 .ติวานนท์ 45 .ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 02-951-2710      โทรสาร 02-951-3037       มือถือ   081-813-28-98  

ชื่อ
ตำแหน่ง สังกัด
มือถือ
คุณสมบุญ สีคำดอกแค 
ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ  
081-813-28-98  
คุณชาลี ลอยสูง
ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
089-030-91-78
รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ 
คณะเศรษฐศษสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ที่ปรึกษาสภาเครือข่ายฯ
081-423-01-50
คุณจะเด็จ  เชาน์วิไล 
มูลนิธิเพื่อนหญิง
ที่ปรึกษาสภาเครือข่ายฯ  
081-702-11-69
คุณพรชัย ตันติวิทยาพิทักษ์       
ที่ปรึกษาสภาเครือข่ายฯ
086-319-00-47
คุณนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์
แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน
083-133-13-34

   
คุณกาญจนา กาญจนวิโรจน์
ผอ. สำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
คุณบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ
ผู้อำนวยการ มูลนิธิอารมณ์พงศ์พงัน
คุณวิไลวรรณ แซ่เตีย
รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
รศ.สราวุธ สุธรรมาสา
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช




[1] สมัชชาคนจน  สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย เครือข่ายผู้ใช้แรงงานในพื้นที่อุตสาหกรรมต่างๆ  เครือข่ายแรงงานนอกระบบ  เครือข่ายชุมชนกทม.  เครือข่ายแรงงานข้ามชาติ  องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน และนักวิชาการ
[2] พรบ ส่งเสริมการลงทุน 2503 (ตั้งกรมส่งเสริมการลงทุน),  แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ 5 ปี ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2504
[3] สมบุญ ศรีคำดอกแค
[4] แถลงข่าว
[5] แถลงข่าว