วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แก่นของ ท้อง-แท้ง และเสียงหญิงไทย

11-19-10
สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล
เรียน สมาชิกเครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมฯ ทุกท่าน
ขอส่งต่อแถลงการณ์ "จุดยืนของเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม  ต่อกรณีพบชิ้นส่วนตัวอ่อนมนุษย์ (ซากทารก) ที่วัดไผ่เงิน" มาเพื่อทราบ  และหากมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม  กรุณาสื่อสารกันให้ทราบด้วย   เพื่อเป็นการส่งเสียงต่อกรณีปัญหาดังกล่าว

"จุดยืนของเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม*
ต่อกรณีพบชิ้นส่วนตัวอ่อนมนุษย์ (ซากทารก) ที่วัดไผ่เงิน"

กรณีดังกล่าวควรถือเป็นบทเรียนของสังคมไทยต่อความอ่อนแอของมาตรการป้องกันการท้องและการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาท้องไม่พร้อม สังคมและสื่อมวลชนจึงไม่ควรมุ่งเป้าไปที่ประเด็นในเชิงศีลธรรมต่อผู้หญิงและผู้ให้บริการเท่านั้น  แต่ควรเสนอข่าวให้รอบด้าน   เพื่อสร้างความเข้าใจต่อปัญหาและหาทางออกร่วมกัน  เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม  จึงมีจุดยืนต่อกรณีนี้ ดังต่อไปนี้

1. สังคมไทยควรมีมุมมองต่อผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมในเชิงเข้าใจมากกว่าการประณาม  เพราะทำให้ผู้หญิงต้องเผชิญปัญหาอย่างหลบซ่อน  ขาดข้อมูลและเข้าไม่ถึงบริการ  จึงนำไปสู่การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย  ติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง  ทำให้อัตราการเสียชีวิตของผู้ทำแท้งสูงถึง 300 คนต่อแสนต่อปี หรือราว 1,380  คนจากจำนวนผู้ป่วย 45,990 คนในปี 2542
2. ภาครัฐ อกชน และทุกภาคส่วนของสังคมไทย  ควรร่วมกันสร้างมาตรการป้องกันการท้องให้เข้มเข็งขึ้น โดยให้ทั้งชายและหญิงมีบทบาทรับผิดชอบอย่างเสมอกัน
3.  ภาครัฐควรจริงจังต่อการพัฒนาบริการปรึกษาทางเลือกที่เป็นมิตรให้กับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม  เพื่อให้ผู้หญิงที่ประสบปัญหามีทางออกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับชีวิต
4. ควรจัดให้มีบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยที่สอดคล้องกับข้อกฏหมาย ในกรณี 1) ถูกข่มขืน  2) ผู้หญิงอายุต่ำกว่า 15 ปี และ 3) การท้องนั้นส่งผลต่อสุขภาพกายและใจของผู้หญิง  เพราะการขาดบริการที่เข้าถึงได้นี้  ทำให้ผู้หญิงต้องเข้าสู่การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย
5. ควรมีบ้านพักรอคลอด  และการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งก่อนและหลังคลอดที่เพียงพอ เข้าใจ เข้าถึงได้ และมีคุณภาพ  เพื่อให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมมีความเชื่อมั่นและไม่พบทางตันต่อทางเลือกในการตั้งครรภ์ต่อไป
ในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในเด็กและเยาวชน  ทางเครือข่ายฯ หวังว่า รัฐจะให้ความสำคัญโดยดำเนินงานอย่างจริงจัง จริงใจ  และต่อเนื่อง  เพื่อคลี่คลายปัญหาเหล่านี้ในสังคมไทยได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://choicesforum.wordpress.com/ หรือที่
เมทินี พงษเวช บ้านพักฉุกเฉิน 081-7501399
ณัฐยา บุญภักดี มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง 083-7033325
ทัศนัย ขันตยาภรณ์ องค์การแพธ 081-6675254
อุษาสินี ริ้วทอง โครงการเพศศึกษาเพื่อเยาวชน องค์การแพธ 089-4497074
กานต์รวี ดาวเรือง ผู้ประสานงานเครือข่ายท้องไม่พร้อมฯ 082-4508514

* เป็นเครือข่ายขององค์กรภาครัฐและเอกชน 45 องค์กร มีภาระกิจทำงานครอบคลุมทุกมิติของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม  ตั้งแต่เรื่องเพศศึกษา  การคุมกำเนิด การปรึกษาทางเลือก  การดูแลผู้หญิงที่ตัดสินใจท้องต่อตั้งแต่ก่อน-หลังคลอด  และการดูแลแม่และเด็กในระยะยาว  รวมทั้งการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย   โดยมีเป้าหมายสูงสุดที่คุณภาพชีวิตของผู้หญิงที่ประสบปัญหาและเด็กเป็นหลัก


เมทินี พงษ์เวช
เรียนสมาชิกค่ะ 

ตามที่มีข่าวเกี่ยวกับการพบซากชิ้นส่วนทารก จำนวนมากนั้น   ทุกคนเป็นห่วงเป็นกังวล    เนื่องจากบ้านพักฉุกเฉินของสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ   เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้หญิงที่ประสบปัญหาการท้องไม่พร้อม   ให้การดูแลมาตลอด 30 ปีของการทำงาน  ซึ่งในช่วง  3 -4 ปีที่ผ่านมา  เราได้ทำโครงการเพิ่มต้นทุนชีวิตแม่วัยรุ่น-ลูก  ที่ให้การสนับสนุนอย่างรอบด้านและเต็มที่  โดยให้เรียนหนังสือ และดูแลตลอดจนจบการศึกษา มีใบเบิกทางในชีวิต   

เนื่องจากบางท่าน  อาจรู้จักบ้านพักฉุกเฉิน  แต่ในแง่มุมของการทำงานเรื่องนี้  ยังไม่มีรายละเอียกมาก  จึงขออนุญาตส่งบทความ และบันทึกประสบการณ์ของแม่วัย 15 มาเพื่อได้ทราบการทำงานของเราค่ะ

(นอกเหนือจากกลุ่มท้องไม่พร้อม  การดูแลของเราครอบคลุมถึงผู้หญิงและเด็กที่ถูกกระทำรุนแรง  ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวี/ เอดส์  เรียกว่าถูกละเมิดทุกประเภท  มีคนที่เราดูแลอยู่โดยเฉลี่นประมาณ 140 คนในแต่ละวัน   หากมีเวลา  มาเยี่ยมชม ให้กำลังใจกันผุ้ประสบปัญหาได้นะคะ)  
 
โครงการเพิ่มต้นทุนชีวิตให้แม่วัยรุ่นและลูก
บ้านพักฉุกเฉิน   สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ฯ

            ในช่วงทศวรรษเศษที่ผ่านมา  ปัญหาการท้องไม่พร้อม เป็นปัญหาที่เพิ่มความกังวลให้กับสังคมมากขึ้น  การทอดทิ้งลูกเป็นปรากฏการณ์ที่สังคมรับรู้บ่อยขึ้น ปัญหาการทำแท้งที่ไม่ปลอด ภัย ถูกฉายภาพให้เห็นกันมากขึ้น   และในระยะหลัง  ปัญหาการท้องในเด็กวัยรุ่น ก็ได้รับการพูดถึงด้วยความห่วงใย   บ้านพักฉุกเฉิน ของสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้หญิงที่ประสบปัญหาเหล่านั้น   ระยะเวลาของการดำเนินงานบ้านพักฉูกเฉินมา 30 ปีนั้น  มีผู้ประสบปัญหาท้องไม่พร้อมที่มาขอความช่วยเหลือประมาณเกือบ  5,000  ราย   ในบรรดาผู้ที่ไม่สามารถคืนสู่ครอบครัว  โดยรับความช่วยเหลือจนหลังคลอดนั้น  เฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะมีจำนวนเกือบ 1,500 ราย  ในกลุ่มดังกล่าว  สาเหตุของการมารับความช่วยเหลือ นั้น  มาจากความไม่พร้อม ด้วยถูกทอดทิ้งให้สู้กับปัญหาตามลำพัง  ผู้ชายไม่รับผิดชอบ  หรือ  อาจถูกข่มขืนที่เจ้าตัวเก็บเงียบ ไม่กล้าบอกใคร เพราะอาย เพราะถูกขู่   หลายๆกรณี เมื่ออายุน้อย  หนทางข้างหน้าดูตีบตัน  แม้จะต้องการที่จะเลี้ยงลูกเองเพียงไร  ก็มองได้ไม่ง่าย   เพราะลำพังตนเอง ก็ยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ และเมื่อครอบครัวก็อยู่ในสถานะที่จะเอื้อมมือมารับผิดชอบค่าใช้จ่าย ก็เป็นไปได้ยาก  การส่งลูกสู่สถานสงเคราะห์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งภายใต้ข้อจำกัดต่างๆที่แต่ละคนประสบ  ซึ่งประสบการณ์ในการทำงานของบ้านพักฉุกเฉินที่ดูแลผู้ประสบปัญหามานั้น  เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า ความอบอุ่น ความรักที่ได้จากครอบครัว หรือจากผู้ที่ดูแลอย่างต่อเนื่อง จะเป็นภูมิคุ้มกันให้รอดพ้นจากปัญหาต่างๆ ได้พอสมควร  ทางเลือกนั้น จึงไม่น่าจะใช่ทางเลือกของผู้เป็นลูกแต่อย่างใด                    
ในบริบทที่ทางเลือกในชีวิตมีจำกัดนั้น  ซึ่งหาก แม่อายุน้อย ยังอยู่ในวัยเรียน ไม่มีอาชีพ    หลายคน มองไม่เห็นทางออกในการเลี้ยงดูลูก   ประเด็นตรงนี้ จึงต้องจัดการ  เพื่อให้เขาเหล่านั้น  ไม่เดินมาพบกับทางตัน   ดังนั้น  เพื่อลดการยกลูก ส่งลูกสู่สถานสงเคราะห์ บ้านพักฉุกเฉิน จึงได้มุ่งสร้างทางเลือก  สร้างโอกาสให้กับแม่วัยรุ่น  โดยเริ่มโครงการเพิ่มต้นทุนชีวิตให้แม่วัยรุ่นและลูก ขึ้นตั้งแต่ปี  2549  เป็นต้นมา 
            จุดยืนและสาระของโครงการเพิ่มต้นทุนให้แม่วัยรุ่น  คือ   เพื่อสร้างชีวิตและสายสัมพันธ์ที่มีความหมายของแม่และลูก มุ่งที่จะให้แม่ที่แม้จะอายุน้อยที่ประสบปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อม  ได้มีโอกาสที่จะเรียนหนังสือต่อ  และเอื้อให้สามารถที่จะเลี้ยงลูกเองไปพร้อมกัน  โดยให้การสนับสนุนรอบด้านอย่างเต็มที่   เป็นโครงการที่ท้าทายในกระบวนการ และต้องอาศัยความผูกพันมุ่งมั่นในการที่จะให้การสนับสนุนที่ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี   แต่ผลลัพธ์ต่อสังคมนั้น  เชื่อได้ว่า มากมาย  เพราะเป็นการช่วยสร้าง 2 ชีวิตให้เติบโตอย่างเต็มตามศักยภาพ
                ความช่วยเหลือที่บ้านพักฉุกเฉินให้แก่แม่วัยรุ่นนั้น  จะครอบคลุมเช่นเดียวกับกรณีปัญหาอื่นๆ  คือ ดูแลในด้านสุขภาพ  ฟื้นฟูสภาพจิตใจ  สร้างความเข้มแข็ง  ให้ความรู้ ทักษะชีวิต และฝึกอาชีพ  รวมทั้งติดตามกรณีเป็นคดีความ (ดูในกรอบ ) และเยี่ยมบ้าน   

การช่วยเหลือหลักๆ ของบ้านพักฉุกเฉิน สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี
สำหรับกรณีท้องไม่พร้อม  เมื่อตัดสินใจเข้ารับความช่วยเหลือ  จะได้รับความช่วยเหลือหลักๆ ดังนี้
·        ที่พักอาหาร  การดูแลสุขภาพ  ฝากครรภ์
·        ฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ    ให้คำปรึกษารายบุคคล / กลุ่ม  เพื่อช่วยในกระบวนการคิด  การตัดสินใจและการวางแผนชีวิต
·        จัดกิจกรรมกลุ่มให้ความรู้และทัศนคติที่เกี่ยวข้อง  เช่น การดูแลตนเองระหว่าง และ หลังคลอด การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก   สิทธิสตรี  ทักษะชีวิต  โรคเอดส์  การดูแลสุขภาพทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์  การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก  ฯลฯ
·        ให้ฝึกทักษะ/อบรมวิชาชีพตามความสนใจ  เช่น  ตัดเย็บเสื้อผ้า  ทำผม  คอมพิวเตอร์  นวด  ทำอาหาร  การดูแลเด็ก  ขับรถ ฯลฯ
·        ให้การศึกษา ทั้งในระบบ หรือ นอกระบบ
·        ติดตาม ให้ความช่วยเหลือในด้านคดี
·        เยี่ยมบ้าน  ฟื้นฟูครอบครัว รวมทั้งให้คำปรึกษาผู้ปกครอง


แต่จะมีลักษณะพิเศษ   คือ 
กระบวนการของโครงการเพิ่มต้นทุนชีวิตแม่วัยรุ่น เริ่มด้วยการให้ข้อมูลความช่วย เหลือเพื่อให้แม่วัยรุ่นตัดสินใจได้ ความช่วยเหลือที่ให้นั้นมีเงื่อนไขในเรื่องการศึกษา คือ ต้องเรียนต่อจนจบขั้นมัธยมต้นหรือปลายแล้วแต่กรณี และดูแลลูกด้วยตัวเองระหว่างที่เรียน  ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดนั้น  บ้านพักฉุกเฉินของสมาคมฯ รับผิดชอบ     การดำเนินการ จึงเริ่มต้นตั้งแต่ยังท้อง  เริ่มจากการสร้างสายสัมพันธ์กับลูกในระหว่างท้อง  การให้ความรู้ ดูแลตนเองก่อนคลอด และหลังคลอด รวมทั้ง การให้ความรู้ต่างๆในแง่ทักษะชีวิต ความรู้ด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์    ซึ่งได้สอดแทรกให้ตลอดเวลาที่พักที่บ้านพักฉุกเฉิน  รวม ทั้งเพิ่มทักษะอาชีพที่แต่ละคนสนใจด้วย
ในกรณีที่แม่วัยรุ่นตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ นั่นหมายถึงว่า  จะต้องดำเนินการในเรื่องโรงเรียน  ซึ่งอาจเป็นการเรียนในระบบ หรือ การเรียนนอกระบบ การศึกษาผู้ใหญ่   ซึ่งแต่ละคนก็เลือกตามที่ต้องการ   ในขณะที่เรียนหนังสือนั้น  สำหรับกรณีที่พักที่บ้านพักฉุกเฉินสมาคมฯ ก็ได้ฝากเงินในธนาคารให้เดือนละ 1,500 บาท  ซึ่งแม่วัยรุ่นไม่มีสิทธิถอนเงิน  จนกระทั่งเรียนสำเร็จ  และพร้อมที่จะก้าวออกจากบ้านพักพร้อมลูก
ภารกิจตรงนี้  มีใช่มีเพียงกับแม่วัยรุ่น  แต่จะต้องทำงานกับพ่อแม่ และครอบครัวที่แม่วัยรุ่นจะคืนสู่ด้วย    การให้คำปรึกษาและเตรียมครอบครัวของแม่วัยรุ่น  การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างแม่วัยรุ่นและพ่อแม่จึงเป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญของโครงการ
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา  มีแม่วัยรุ่นที่เลือกกลับไปอยู่ที่บ้าน   ปัจจุบัน  แม่วัยรุ่นกรณีนี้เรียนชั้นมัธยม 5  ลูกอยู่อนุบาล 3  ซึ่งสมาคมฯ ก็ให้การดูแลในเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกที่ต้องฝากเพื่อนบ้านเลี้ยงช่วงกลางวันในระหว่างที่แม่ไปโรงเรียน  และดูแลด้านการเรียนของแม่ทั้งหมด    อีกราย เลือกที่จะเรียนในระบบเพื่อให้สำเร็จ ม .3  โดยอาศัยที่บ้านพักฉุกเฉิน  ลูกอายุ 1 ปีเศษเมื่อแม่เริ่มกลับไปเรียน  ซึ่งการดำเนินชีวิต คือ  เลี้ยงลูกเอง  พร้อมๆกับที่เรียนหนังสือ  โดยในระหว่างไปโรงเรียนนั้น  เนอสเซอรีของสมาคมฯ  ช่วยดูแลลูกให้   สำหรับกรณีอื่นๆที่อยู่ในโครงการนี้  ประมาณ 12 รายเลือกเรียนในระบบการศึกษานอกโรงเรียนและเลี้ยงลูกเองเช่นเดียวกัน     
ถึงปัจจุบัน  (ธันวาคม 2553)  มีแม่วัยรุ่นเรียนสำเร็จการศึกษามัธยมต้น และปลาย รวม   5 คน แต่ละรายใช้เวลารวมที่บ้านพักฉุกเฉินดูแลตั้งแต่เริ่ม ประมาณ 3 ปีโดยเฉลี่ย   และปัจจุบันได้ออกไปตั้งต้นชีวิตใหม่ที่มีต้นทุนสูงขึ้นพร้อมกับลูกแล้ว 
เราเชื่อว่า  3 ปี ของการเลี้ยงลูกเอง สร้างความผูกพัน และสะกัดการส่งลูกเข้าสู่สถานสงเคราะห์ได้อย่างดี    ต้นทุนความรู้ที่เพิ่มขึ้นไปในขณะเดียวกัน  พร้อมกับเงินสนับสนุน แม้จะไม่มากนัก  แต่ก็เพียงพอที่ให้ชีวิตเริ่มต้นใหม่ได้อย่างมีความหวัง  เป็นชีวิตที่มีความรักและผูกพันกับลูกเป็นฐานที่นำทางการก้าวเดินต่อไปได้  ความท้าทายมีมากมายทั้งต่อตัวแม่วัยรุ่น และในส่วนของบ้านพักฉุกเฉินในการที่จะประคองให้เขาเหล่านั้นยืนหยัดในความมุ่งมั่นที่จะเรียน ที่จะดูแลลูก และมีอนาคตที่มั่นคง  ปัจจัยที่เอื้อที่สำคัญ  คือ การที่จะต้องให้การสนับสนุนที่ต่อเนื่องที่ฝ่ายผู้รับ คือ แม่วัยรุ่นมองเห็นชัดเจนถึงเส้นทางที่จะเดินไปสู่เป้าหมายปลายทาง แต่ที่สำคัญที่สุดนั้น  คือ ปณิธานและความมุ่งมั่นของแม่วัยรุ่นที่ต้องช่วยกันสร้างขึ้น เขาเหล่านั้นทำได้ (อ่านบันทึกประสบการณ์ของแม่วัย 15 ท้ายบทความนี้)   เรามั่นใจว่า  โครงการนี้น่าจะนับว่าได้มีส่วนที่สร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมไทยได้ในระดับหนึ่ง 

รายละเอียดเพิ่มเติม  ติดต่อได้ที่
เมทินี  พงษ์เวช  / กรวิณฑ์  วรสุข  โทร 02 929 2301  

บันทึกประสบการณ์ชีวิต 
วัย 15  ... เป็นนักเรียน  และเป็นแม่

ชีวิตที่ผ่านการข่มขืนซ้ำซาก 
ชีวิตที่ต้องเป็นแม่ในวัย 15 ปีนั้นหนักหนาสาหัส
แต่ด้วยความมุ่งมั่น 
โอกาสที่ถูกยื่นให้
จึงทำให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตนักเรียน
ได้เหมือนกับเด็กอื่นๆในวัยเดียวกัน
แม้จะมีภาระของความเป็นแม่ที่ต้องแบกไปพร้อมกัน

น้องเก๋เป็นชาวใต้ เป็นลูกสาวคนเล็กในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 3 คน ซึ่งเกิดจากพ่อและแม่เดียวกัน เนื่องจากพ่อแม่ของน้องเก๋แยกทางกันตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์น้องเก๋ได้เพียง 7 เดือน พี่ชายทั้งสองคนจึงอาศัยอยู่กับพ่อ ส่วนเธออยู่ในความดูแลของแม่และพ่อเลี้ยงซึ่งรักเธอเหมือนลูกและเลี้ยงดูแบบตามใจ   
  เมื่อน้องเก๋อายุได้ราว 11 ปี  แม่ให้พี่ชายมารับน้องเก๋ไปอยู่กับพ่อจริง  ซึ่งขณะนั้นพ่อของน้องเก๋ได้แต่งงานมีครอบครัวใหม่ เธออาศัยอยู่กับครอบครัวนี้โดยนอนห้องเดียวกับพ่อและแม่เลี้ยง คืนหนึ่งแม่เลี้ยงออกไปเล่นไพ่ น้องเก๋อยู่บ้านกับพ่อตามลำพัง  และถูกพ่อข่มขืนเป็นครั้งแรก และหลังจากนั้นพ่อยังคงทำซ้ำอีก 17 ครั้ง  น้องเก๋ไม่กล้าเล่าให้ใครฟัง เธอรู้สึกเครียดและกดดันมาก    ต่อมา น้องเก๋มีโอกาสเล่าให้พี่ชายคนโตฟัง และในที่สุด   แม่ทราบเรื่อง  ได้พาไปแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรประจำอำเภอ  โดยตำรวจดำเนินการสอบสวนและส่งน้องเก๋ไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล   มีนักสังคมสงเคราะห์โรงพยาบาลเข้ามาช่วยเหลือดูแล
ศาลตัดสินจำคุกพ่อของเธอ 100 กว่าปี และลดโทษลงมาเป็นจำคุก 54 ปี ซึ่งแม้ว่าน้องเก๋จะรู้สึกโล่งใจ ที่พ่อไม่สามารถออกมาทำร้ายเธอได้อีกแล้ว แต่เธอก็รู้สึกเสียใจที่มีส่วนทำให้พ่อต้องมาติดคุก   หลังจากนั้น  น้องเก๋ย้ายมาอยู่ที่สถานสงเคราะห์ของรัฐประมาณ 10 เดือน     แม่กับพี่ชายจึงมารับกลับ โดยให้น้องเก๋ไปอาศัยอยู่กับครอบครัวของพ่อ ส่วนแม่อยู่กับพ่อเลี้ยงในอำเภอเมือง  
ในช่วงเวลานั้น น้องเก๋เริ่มสนิทสนมกับญาติผู้ชายคนหนึ่ง  จนกระทั่งมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่ได้ป้องกัน   ต่อมาประจำเดือนไม่มา  เมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ 5 เดือน  แม่จึงรู้เรื่องและได้บอกให้น้องเก๋ไปทำแท้ง แต่คลินิกไม่ทำให้   แม่จึงพาน้องเก๋มาเช่าบ้านอยู่ที่จังหวัดใกล้เคียงกรุงเทพมหานคร  จนเมื่อคลอด   โรงพยาบาลแนะนำให้มาพักที่บ้านพักฉุกเฉิน   เธอจึงตัดสินใจให้แม่พามาเข้าพักพร้อมกับบุตรที่เพิ่งคลอด

เปิดเส้นทางชีวิตใหม่
บ้านพักฉุกเฉินให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นด้านการดูแลตนเองและบุตร ให้คำปรึกษาน้องเก๋ในด้านอารมณ์ความรู้สึกและสภาพจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นความรู้สึกผิดบาปที่พ่อต้องติดคุก ความรู้สึกผิดที่ตนเองมีความสัมพันธ์ชู้สาวกับญาติสนิท  ความรู้สึกกลัวที่จะต้องเลี้ยงลูกคนเดียวตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งนักสังคมสงเคราะห์ได้ให้คำแนะนำดูแลด้านการปรับตัว เพื่อให้เธอมีกำลังใจที่เข้มแข็ง     ส่วนในด้านการศึกษา น้องเก๋ตัดสินใจเข้าเรียนต่อในโรงเรียนในภาคปกติ โดยในระหว่างที่ไปโรงเรียนก็ได้ฝากลูกไว้ที่เนอสเซอรีของบ้านพักฉุกเฉิน และก็เลี้ยงลูกเอง
น้องเก๋ถ่ายทอดความรู้สึกต่อการทำหน้าที่แม่ด้วยวัยเพียง 15 ปีไว้ว่า
การเลี้ยงลูกคนเดียวทำให้หนูเหนื่อยมาก เพราะต้องเรียนไปด้วย แต่ก็มีเพื่อนๆ  พี่ๆเจ้าหน้าที่ที่บ้านพักเป็นกำลังใจให้  หนูจะต้องเตรียมคำตอบจากคำถามของลูกไว้ว่า พ่อไปไหน ซึ่งสำหรับหนูมันไม่ง่ายเลย ถ้าหากเขารู้ความจริง  หนูไม่อยากให้ลูกมีปมด้อย  แต่หนูมั่นใจว่าหนูสามารถทำให้ลูกได้ดียิ่งกว่าที่เขาจะมีพ่อ หนูจะทำทุกอย่างเพื่อลบปมด้อยของลูก
ใครบอกว่าเด็กวัยรุ่นเลี้ยงลูกไม่ได้ ใช่  ยอมรับว่าเรายังเด็กอยู่ก็จริง แต่การเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ สามารถทำให้เราเป็นผู้ใหญ่ และเป็นแม่ที่ดีได้ในพริบตา  พยายามศึกษาค้นคว้าในสิ่งที่เราควรรู้  ทำวันนี้ให้ดี แล้วสิ่งที่จะตามมาก็ดีทั้งนั้น   ...ไม่ใช่คิดแต่ว่าหนูยังเด็ก เลี้ยงลูกไม่ได้หรอก เราทำได้ ถ้าเราจะทำซะอย่าง   ตอนแรก หนูก็เลี้ยงลูกไม่เป็นหรอก  แต่เมื่อลองได้ทำ ได้เลี้ยงดู ก็รู้เลยว่าหนูก็ทำได้ และสามารถทำได้ดีด้วย
ภาพน้องเก๋สะพายกระเป๋ากลับจากโรงเรียนมัธยม เข้ามาอุ้มบุตรชายวัยขวบเศษไปดูแลหลังเลิกเรียน เป็นภาพที่ยืนยันถึงความรักความผูกพัน และพลังต่อสู้ฟันฝ่าวิกฤติชีวิตของน้องเก๋ ด้วยความหวังว่าแม่ลูกวัยเยาว์จะประคับประคองกันไปให้ถึงฝั่งฝัน ซึ่งทั้งคู่จะมีอนาคตที่ดียิ่งขึ้นต่อไป  ความรู้สึกนี้ตรึงจิตใจของใครหลายต่อหลายคนที่รับรู้เรื่องราวของน้องเก๋


Virada Somswasdi, Chiang Mai University [http://www.soc.cmu.ac.th/~wsc/]
มีรายงานวิจัยหลายฉบับ เกี่ยวกับเรื่องการทำแท้งของผู้ที่ตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม และล่าสุดของผู้หญิงชาติพันธุ์ (ศูนย์สตรีศึกษา มช /มูลนิธิผู้หญิงกฎหมายและการพัฒนาชนบท(ผกฎ) พบว่าผู้หญิงที่ทำแท้งส่วนใหญ่เป็นผู้ไม่พร้อมทางเศรษฐกิจ ดังนั้นควรพิจารณาข้อนี้ด้วยว่า การแก้ไขกฎหมายเพื่ออนุญาตในกรณีที่การตั้งครรภ์จะเป็นอันตรายต่อหญิงมารดามิใช่เฉพาะทางกายเท่านั้นแต่หมายถึงทางจิตใจด้วยหากไม่สามารถเลี้ยงดูทารกที่จะคลอดออกมาด้วย


๓๐ ปีกฎหมายการทำแท้งเสรีในฝรั่งเศส (โดย อ. ปิยบุตร แสงกนกกุล)
http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?ID=674


พลิกโฉม...สู่สังคมสมดุล อยู่ดี รู้ทุกข์

พลิกโฉม : มิติเศรษฐกิจ
-- สิทธิ์ปากท้อง

ข้อมูลจาก สำนักอิสระเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (School for Wellbeing Studies & Research)
                เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (SVN) / UN Global Compact 2010

ดรุณี ตันติวิรมานนท์

สิ่งที่ดิฉันจะขอนำมาเล่าสู่กันฟังวันนี้ ได้รับแรงดลใจจากการที่คุณกรวิภาต่อว่าในอีเมล์ และในที่ประชุมวันก่อนว่า มีไม่กี่คนที่ร่วมเสวนาในกลุ่มเศรษฐกิจ ในวันเปิดตัวเครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย  ดิฉันคิดว่า มิติเศรษฐกิจ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะทุกประเทศกำลังติดหล่มเศรษฐกิจอยู่    จึงเริ่มถามตัวเองว่าจะตอบคำต่อว่าของคุณกรวิภาได้อย่างไร
เผอิญได้ไปฟังสัมมนาสองที่ ที่หนึ่งจัดโดย สำนักอิสระเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (School of Wellbeing)  อีกที่โดยเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social Venture Network, SVN Asia) ทำให้เกิดความคิดว่า น่าจะเป็นกรอบคิดนำทางเพื่อพลิกโฉมมิติเศรษฐกิจ
ที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นการยืมความคิดคนอื่นมายำ เพื่อนำเสนอให้ลองพิจารณาดูว่า พอจะเป็นกรอบคิดต่อ ต่อยอดได้ไหม อย่างไร

เครือข่ายพลิกโฉมฯ เป็นการรวมพลังผู้หญิงครั้งสำคัญ แต่ต้องการจะพลิกอะไร
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้ตั้งธงไว้ 8 ประการ ว่า พลังผู้หญิงจะช่วยในการปฏิรูปได้ (ดูตาราง 1)
พลิกโฉมฯ มีชุดธงที่กระทัดรัด 6 ข้อ ซึ่งไม่ต่างกับของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี นัก เพียงแต่พลิกโฉมมีประเด็นเศรษฐกิจเพิ่มมา
แต่ธงเศรษฐกิจก็ยังไม่เคลื่อนเหมือนธงอื่นๆ ซึ่งก็ไม่น่าประหลาดใจ เพราะเศรษฐกิจกำลังหลอมละลาย และสับสนอลหม่าน รวมทั้งภาครัฐ
ที่จะนำเสนอต่อไป เป็นการเหลียวดูว่า คนอื่นเขาคิดและขับเคลื่อนกันอย่างไร
#1
พลังผู้หญิง ... พลิกอะไร?
ศ.นพ.ประเวศ วะสี (8 ข้อ)
28 ต.ค. 53
พลิกโฉมฯ (6 ข้อ)
14 ต.ค. 53
ต่อต้านคอรัปชั่น สร้างสรรค์ศีลธรรม
ประชาธิปไตยชุมชนท้องถิ่น
พัฒนาคุณภาพเยาวชนและครอบครัว
จัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม
นวัตกรรมการเรียนรู้
ปฏิรูประบบราชการ
รัฐธรรมนูญ
สื่อสารสร้างสรรค์
การสร้างเสมอภาคในกระแสหลัก
50:50 พลิกโฉมการเมืองไทย
เศรษฐกิจเพื่อความเสมอภาค
สวัสดิการและการจัดทรัพยากร
การศึกษาเพื่อสร้างอำนาสตรี
ปฏิรูปกระบวนยุติธรรม


ทุกวันนี้ นักวิชาการและผู้นำโลกหลายคน ยอมรับว่า โครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม ทำให้เศรษฐกิจเติบโต สวนทางกับเจตนารมณ์ของการพัฒนา เพราะ ตัวชี้วัดบกพร่อง หรือเข็มทิศไม่ดี
จีดีพี ทำให้เกิดความมั่งคั่ง แต่ผิดทาง ทำให้มนุษยชาติระส่ำระสาย ขาดความมั่นคงในชีวิต วิกฤตต่างๆ ในสังคมและสิ่งแวดล้อม...คุกคามความเป็นอยู่/ความอยู่รอดของคน และระบบนิเวศ
  • การกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม เพิ่มความเหลื่อมล้ำในสังคม ในขณะที่สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมรวดเร็ว
  • เนื่องจากจีดีพีไม่แยกถูก-ผิด ธุรกิจอบายมุขเช่น เหล้า พนัน ฯลฯ กระตุ้นให้พฤติกรรมรุนแรงแพร่หลาย
  • การส่งเสริมบริโภคนิยม ฯลฯ นำไปสู่หนี้สิน การย้ายถิ่น ฯลฯ  ผลข้างเคียง เช่น ปํญหาครอบครัว และการล่มสลายของภาคเกษตรชนบท อันเป็นฐานรากของสังคมไทย
  • จีดีพี ไม่ให้คุณค่าบทบาทผู้หญิงซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานสร้างสรรค์สังคม
  • แต่จีดีพีได้เปิดช่องโหว่ให้โกงกินอย่างมหาศาลทั้งระดับชาติและระดับโลก
การเรียกร้องของขบวนการผู้หญิงส่วนใหญ่เน้นที่อาการ เช่น หญิง-ชายได้รับผลกระทบต่างกัน ฯลฯ และคาดคั้นให้ภาครัฐและสังคมแก้ไข  มีส่วนน้อยที่ตั้งคำถามกับกรอบ / ทิศทางการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือดัชนีจีดีพี
#2
เศรษฐกิจโต สวนทาง การพัฒนา เพราะดัชนี                                (จาก สำนักอิสระฯ / School for Wellbeing Studies & Research)
n      วิพากษ์จีดีพี 
        การกระจายรายได้ไม่เป็นธรรม
        จีดีพีเพิ่ม สิ่งแวดล้อมเสื่อม
        จีดีพีเพิ่มจากกิจกรรมเศรษฐกิจลบ
n      อบายมุข à พฤติกรรมรุนแรง
n      หนี้สิน à ย้ายถิ่น à ปัญหาครอบครัว / เกษตรชนบท
        ไม่นับกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม (งานบ้าน งานผู้หญิง)
n      คอรัปชั่น

เนื่องจากดัชนี มีความสำคัญต่อการวางนโยบาย จึงมีความตื่นตัวทั่วโลกในการแสวงหาดัชนีใหม่ที่เน้นการพัฒนาสังคม (ความก้าวหน้าทางสังคม)  ที่เด่นๆ มี 8 สำนักคิด ดังแสดงในตาราง 3
#3
ทางเลือก ... ทางรอด?  ดัชนี
  1. คณะกรรมการวัดผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจ & ความก้าวหน้าทางสังคม (Commission on Economic Performance & Social Progress)
        ฝรั่งเศส : โจเซฟ สติกลิซต์ + อมาตยา เซน (รางวัลโนเบล 2544 & 41)
  1. โครงการระดับโลกเรื่องการวัดความก้าวหน้าทางสังคม
        OECD
  1. ดัชนีวัดความก้าวหน้าที่แท้จริง (Genuine Progress Index, GPI)
        แคนาดา
  1. ดัชนีโลกมีสุข (Happy Planet Index, HPI)
        อังกฤษ: มูลนิธิเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Foundation, nef)
  1. ดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าของประเทศ (Nat’l Progress Index, NPI) .... สสส
  2. แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
  3. พุทธเศรษฐศาสตร์
  4. ความสุขมวลรวมประชาชาติ GNH
        นโยบายพัฒนาของภูฐาน ที่รับรองโดยรัฐธรรมนูญ 2551

จาก 8 สำนักคิด สำนักอิสระฯ (School of Wellbeing) เห็นว่ามี 3 แนวคิดที่น่าจะเป็นหลักนำสู่ปฏิบัติการได้ คือ ดัชนีความสุขมวลรวมประชาชาติ (GNH)  ดัชนีเศรษฐกิจพอพียง และดัชนีโลกมีสุข ซึ่งแต่ละแนวคิดมีจุดเน้นคล้ายๆ กัน เพียงแต่เรียกต่างกัน ดังแสดงในตาราง 4
#4
3 แนวคิด สู่ ปฏิบัติการ
n      GNH
        การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างยั่งยืนและเสมอภาค
        การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
        การรักษาและส่งเสริมคุณค่าทางสังคม
        การส่งเสริมการปกครองที่ดี ธรรมาภิบาล
n      เศรษฐกิจพอเพียง: ทางสายกลาง
        3 ห่วง 2 เงื่อนไข
n      พอประมาณ + มีเหตุผล + มีภูมิคุ้มกัน
n      ความรู้ + คุณธรรม
        ชีวิต / เศรษฐกิจ / สังคม / สิ่งแวดล้อม / สมดุล / มั่นคง / ยั่งยืน
n      ดัชนีโลกมีสุข (HPI), 2550
             HPI = อายุขัย + ความพึงพอใจในชีวิต
                                รอยเท้านิเวศ

จากกระบวนการแลกเปลี่ยนขบคิดต่างๆ ได้ออกมาเป็นแผนภูมิ สี่เสาหลัก เพื่อนำไปสู่การสร้างความสุขมวลรวมประชาชาติ โดยคำนึงถึงโลกว่าเป็นทรัพย์สินร่วมของมนุษยชาติ

#5
เสาแรก คือ ธรรมาภิบาล
   มีรัฐบาลเป็นตัวละครเอก
เสาที่สอง คือ การส่งเสริมวัฒนธรรม
   มีภาคประชาสังคมเป็นเอก
เสาที่สาม คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม
   มีภาคธุรกิจเป็นตัวขับเคลื่อนนำ
เสาที่สี่ คือ การปกป้องสิ่งแวดล้อม
   อันนี้ สามเสาต้องร่วมกันดูแล
   เพราะโลกใบนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่ และ
   เป็นความจริงหนึ่งเดียวที่รองรับความอยู่รอดของมนุษย์

ถ้าเปรียบเทียบกรอบสี่เสาหลักกับการจัดกระบวนทัพของพลิกโฉม ก็จะเห็นว่าพลิกโฉมทุ่มเทไปที่ เสาธรรมาภิบาล  การศึกษา เพื่อ empower ผู้หญิง อาจจัดอยู่ในเสาวัฒนธรรม และการจัดการสิ่งแวดล้อม อยู่ในเสาสิ่งแวดล้อม
ลองมาดูกันว่า ภาคธุรกิจบอกอะไรเราบ้าง
#6
พลิกโฉม และสี่เสาหลัก
n      ธรรมาภิบาล / รัฐบาล
        เสมอภาคกระแสหลัก
        50:50
        กระบวนยุติธรรม
        สวัสดิการ
n      พัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม / ธุรกิจ
        ???

n      วัฒนธรรม / ประชาสังคม
        การศึกษา



n      สิ่งแวดล้อม
        การจัดการทรัพยากร


เชื่อว่ายังคงจำกันได้ถึงเมื่อครั้งโลกย่างก้าวเข้าสู่ปี 2543 (หรือ ค.ศ. 2000) ทั่วโลกต่างคาดหวังว่า ศตวรรษที่ 21 จะเป็น ยุคพระศรีอาริย์ มีแต่สันติสุข และมั่งคั่ง  ในช่วงเวลานั้น มีการตั้งองค์กร โครงการมากมาย
สหประชาชาติมีกิจกรรมหลายเรื่อง กิจกรรมหนึ่งคือส่งสาส์นไปยัง CEO ทั่วโลกให้มารวมตัวกันเป็น Global Compact  ครั้งนั้น มี CEO ขานรับ 50 คน กลายเป็นสมาชิกริเริ่มของ UNGC  ในจำนวนนั้น มีคุณปรีดา เตียสุวรรณ์ จากประเทศไทย เข้าร่วมด้วย หลายคนคงรู้จักคุณปรีดา เจ้าของบริษัท Pranda และเป็นประธานอยู่หลายปีของ SVN, Social Venture Network
แต่ศตวรรษที่ 21 ไม่ได้เป็นไปตามคาด และพอถึงปี 2550 วิกฤตรุนแรงต่างๆ ปะทุขึ้นเป็นระลอกๆ ไล่หลังกันมา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญให้ผู้นำโลกเริ่มยอมรับว่า ดัชนีจีดีพี เป็นเข็มทิศที่บกพร่อง ล้าสมัย จำเป็นต้องคิดค้นดัชนีตัวใหม่ อย่างที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้า
ในปีเดียวกัน UNGC ก็ได้ทำการสำรวจความเห็น หรือความตื่นตัวของ CEO ทั่วโลก ต่อประเด็นความยั่งยืน
สามปีต่อมาในปีนี้ ซึ่งครบรอบ 10 ปีของ UNGC ก็มีการสำรวจวิจัยอีก เพื่อเปรียบเทียบกับ 3 ปีที่แล้ว พิมพ์เป็นรายงาน “UN Global Compact Accenture CEO Study 2010” (สนใจหาอ่านจากอินเตอร์เน็ต / เว็บไซต์ UNGCได้)
พบว่า CEO มีความตื่นตัวเพิ่มขึ้น และสูงขึ้น ถึงความรับผิดชอบของภาคส่วนตนต่อความอยู่รอดของโลก และเห็นว่าจะต้องมีการคิดใหม่ ทำใหม่ เช่น จะเอากำไรสูงสุดอย่างเดียวไม่ได้ ต้องคำนึงถึงคุณค่า   สาเหตุสำคัญหนึ่ง คือ ผู้บริโภคมีความตื่นตัวสูงขึ้นเรื่องสิทธิมนุษยชน และปัญหาสิ่งแวดล้อม ธุรกิจต้องใส่ใจ (“customers / consumers are kings”)  และที่สำคัญ ธุรกิจจะอยู่รอดท่ามกลางความย่ำแย่ของสังคมได้อย่างไร
จึงได้ทบทวนและยึดบัญญัติ 10 ประการของ UNGC
#7
ภาคธุรกิจ : UN Global Compact
n      2543 ก่อตั้ง
        เริ่ม 50 CEO ขานรับ UN
        ไทย : คุณปรีดา เตียสุวรรณ์ (SVN, Social Venture Network)
n      2550 วิกฤตเศรษฐกิจ + สิ่งแวดล้อม
        วิวาทะจีดีพี แสวงดัชนีใหม่
        UNGC สำรวจความเห็น CEO โลก
n      2553 “UN Global Compact Accenture CEO Study 2010”
n      CEO ตื่นตัว à วิสัยทัศน์ และมาตรฐานใหม่
        เป้าหมาย = กำไรเม็ดเงิน + คุณค่า
        ผู้บริโภคตื่นตัวเรื่องสิทธิมนุษยชน (แรงงาน) และสิ่งแวดล้อม
        อยู่รอดตามลำพัง???
n      UNGC – พันธะภาคธุรกิจตรวจสอบกันเอง เพื่อยกระดับสังคม
        บัญญัติ 10 ประการ (รับผิดชอบต่อสังคม)


บัญญัติ 10 ประการนี้ อาจรวบเป็น 4 หมวด คือ สิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และคอรัปชั่น
#8
บัญญัติ 10 ประการของภาคธุรกิจ (ที่พึงประสงค์):  UN Global Compact
1-2
สิทธิมนุษยชน : สนับสนุนข้อตกลง  &  ไม่ละเมิด
3-6
แรงงาน: สนับสนุนการต่อรองรวมหมู่
   ขจัดแรงงานบังคับ / เด็ก / เลือกปฏิบัติการจ้าง-อาชีพ
7-9
สิ่งแวดล้อม: ระวังป้องกัน
   รับผิดชอบ  & เทคโนโลยี...มิตรต่อสิ่งแวดล้อม
10.
คอรัปชั่น: ต่อต้านทุกรูปแบบ


จากกรอบของ สี่เสาหลัก ช่องทางการลงมือเรื่องเศรษฐกิจ-สังคม คือ ภาคธุรกิจ และจาก UNGC กรอบบัญญัติ 10 ประการ และพันธกิจในกลุ่มธุรกิจก็เปิดช่องให้พลิกโฉม ดำเนินการผลักดันในมิติการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม ดังที่นำเสนอแนะในตาราง 9 ในฐานะผู้บริโภค (ต่อผู้ผลิต) ในตาราง 10 สาธารณชน (เกาะเกี่ยวกับภาคประชาสังคม / ประชาชนกลุ่มต่างๆ) และในตาราง 11 พลเมือง (ต่อภาครัฐ)
#9
พลิกโฉม...รณรงค์ 1: ในฐานะผู้บริโภค
n      ให้คะแนน / รางวัล ธุรกิจ (อุตสาหกรรม บริการ ฯลฯ) ที่พึงประสงค์
        ดูแลคนงานหญิงดี
        การผลิต และผลิตภัณฑ์
        ไมใช่แค่ CSR เพื่อจัดฉากประชาสัมพันธ์
        เช่น บริษัท สยามแฮนด์ ของคุณอมรา ชมพูนุท (การ์เม้นท์แตงโม)
n      สมาชิกจุดเชื่อมเครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉม
        สหพันธ์สมาคมสตรี นักธุรกิจฯ
        กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี


.
#10
รณรงค์ 2: ในฐานะสาธารณชนที่ตื่นตัว
n      ให้ความรู้สาธารณะ
        ข้อผูกพันในวงการธุรกิจ (ที่พึงประสงค์) UN Global Compact
n      เชื่อมต่อกับกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี ฯลฯ การอย่างมีประสิทธิภาพ
n      ติดตามตรวจสอบการคอรัปชั่น  เช่น
        ทุนยักษ์ที่ครอบงำการเมือง
        "เครือข่ายจับตาทุจริตหลังน้ำลด (คุณสมลักษณ์ หุตานุวัตร/SVN)


#11
รณรงค์ 3 : ในฐานะพลเมืองต่อรัฐ
n      สนับสนุนนโยบายเกษตรทางเลือกให้เป็นวาระแห่งชาติ ในระดับเดียวกับอุตสาหกรรม (ให้บูรณาการมิติหญิงชาย)
        มาตรการปลดหนี้เกษตรกร ... ปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานที่ใส่ใจเกษตรทางเลือก
        ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) ในโครงการลงทุนต่างๆ
        ฯลฯ

.
#12
พลิกโฉม... สร้างองค์ความรู้
n      ศึกษาวิจัย ร่วมวิวาทะเรื่องดัชนี  เช่น
        มูลค่างานของผู้หญิง ในภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเศรษฐกิจนอกระบบ
n      ฟื้นฟูภูมิปัญญาของผู้หญิง
        วิถีการผลิตต่างๆ
        วิถีชีวิต  การปรับตัวให้ครอบครัวและตนอยู่รอด
n      ไม่เป็นแค่เหยื่อ แต่เป็นผู้คิด ตัดสินใจ และกระทำ
n      เช่น ประเด็นคนย้ายถิ่น การปรับภาระ/บทบาทซ้อน พ่อ/แม่เลี้ยงเดี่ยว หญิงบริการ ฯลฯ
n      กรณีศึกษา (กึ่งปฏิบัติการ)
        กิจการแรงงานหญิงที่ถูกลอยแพช่วยตัวเอง เช่นSolidarity, Try Arm
        กิจการที่ผู้บริหารใช้หลักธรรมาภิบาล เช่น Siam Hands (คุณอมรา)


#13
... สร้างผู้นำ
n      หลักสูตรอบรม พัฒนาผู้นำหญิงชุมชน
        ผู้ประกอบการสังคม = จิตสำนึกสังคม-การเมือง  +  ทักษะการจัดการและการตลาด
        การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจการเมือง...พัฒนาสู่ประชาธิปไตย
n      จัดการประชุมสานเสวนา
        ตลาดประสบการณ์
        ตลาดความรู้ ความสัมพันธ์ ผู้ผลิต-บริโภค


#14
พลิกโฉม = ผู้ประกอบการสังคม
n      เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมฯ
        มีต้นทุนสังคมสูง ความน่าเชื่อถือ
        มีความหลากหลายทักษะ
        เป้าหมายร่วม สังคมที่ดี เป็นธรรม และยั่งยืน ... วิสัยทัศน์ของความเป็นแม่
n      วงจรที่เชื่อมด่อกับ ตลาด ทางเลือก
n      เศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง พัวพัน อิงอาศัยกัน

.
#15
ครม เห็นชอบนิยาม ผู้ประกอบการสังคม”:  Social Entrepreneur  (15 พ.ย. 53)
n      ภาคประชาชนเป็นเจ้าของ
n      รายรับจากการบริการ ไม่เพื่อกำไรแก่เจ้าของ/ผู้ถือหุ้น
n      การผลิตไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
n      มีการจัดการดูแลที่ดี
n      ยั่งยืนทางการเงิน
n      ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

.
#16
ท้าทาย: ความจริง และ ความฝัน….
n      กลไก / ค่านิยม / ผลประโยชน์ :   เก่า ... ใหม่
n      พลังความโลภ            ...    พลังปัญญา
        ทักษะ (สมอง) ...    ตื่นรู้ (จิตวิญญาณ จิตสำนึก มโนธรรม)
n      การช่วงชิงพื้นที่/ทรัพยากร     ...  การต่อรอง
        แพ้-ชนะ / ความกลัว  ...  ชนะ-ชนะ / พรหมวิหาร 4
n      การเรียนรู้ ปฏิสัมพันธ์ ตื่นรู้ ปฏิบัติการ (สุขภาวะกาย-อารมณ์-จิตวิญญาณ):
              ปัจเจก ... สังคม ... นิเวศ
        ใช้เวลา
        ความอดทน
        วิจารณญาณ ดุลยพินิจ


 [http://bcl.or.th/]
- ติดตามรณรงค์ ตัดวงจรอุบาทว์คอรัปชั่น ของ ดร.นิคม วัฒนพนม และ FM100.5 (เสาร์ 9-10 น.)
- "ทุกคนบอกว่า ธุรกิจหมายถึงการทำเงิน คำกล่าวนี้เปรียบเหมือนว่า มนุษย์มีเพียงมิติเดียว  ซึ่งไม่เป็นความจริง"    - มูฮัมมัดห์ ยานูส