วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อคติทางเพศ ในเศรษฐกิจ-การเมืองกระแสหลัก

ภาพเหมารวมของความเป็นหญิง-ความเป็นชาย กับบทบาทผู้จัดการ: เวลาได้เปลี่ยนภาพนี้ไหม?

บทคัดย่อ

ในแรมปีที่ผ่านมา อัตราส่วนของผู้จัดการหญิงได้เพิ่มขึ้นจาก 21% ในปี 1976 เป็น 46% ในปี 1999   การเพิ่มสัดส่วนเช่นนี้ ทำให้เกิดเสียงเรียกร้อง ภาวะผู้นำสตรีเพศ   งานศึกษาชิ้นนี้ตรวจสอบว่า มีการเปลี่ยนแปลงในภาพเหมารวมของชายหญิงที่เป็นผู้จัดการหรือไม่ นั่นคือ การเน้นว่าผู้จัดการจะต้องมีลักษณะชายชาตรี ได้ลดลงหรือไม่   จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บจากนักศึกษาสาขาวิชาธุรกิจระดับปริญญาตรี และปริญญาโทกึ่งเวลา 348 คน พบว่า แม้จะมีการลดในจุดเน้นดังกล่าวเมื่อเทียบกับผลการศึกษาก่อนหน้านี้  ความคาดหมายยังคงเดิม คือ ผู้จัดการที่ดีจะต้องมีลักษณะของความเป็นชาย

Gender and Managerial Stereotypes: Have the Times Changed?

There has been a considerable increase in the proportion of women managers in recent years, from 21% in 1976 to 46% in 1999, and a call for “feminine leadership” to capitalize on this increase. The present study examines whether there has been a corresponding change in men’s and women’s stereotypes of managers such that less emphasis is placed on managers’ possessing masculine characteristics. Data from 348 undergraduate and part-time graduate business students indicate that although managerial stereotypes place less emphasis on masculine characteristics than in earlier studies [Academy of Management Journal 22 (1979) 395; Group and Organization Studies 14 (2) (1989) 216], a good manager is still perceived as predominantly masculine
..............
ราคาของอำนาจ: การแสวงอำนาจและแรงต้านตลบกลับสู่นักการเมืองสตรี

บทคัดย่อ

งานศึกษาขั้นทดลองสองชิ้นนี้ ตรวจสอบผลกระทบของบุคลิกที่ส่อถึงความตั้งใจในการแสวงอำนาจต่อปฏิกิริยาต้านที่ตลบกลับสู่ผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  มีสมมติฐานว่า ความก้าวหน้าในอาชีพของนักการเมืองหญิงมักจะถูกขัดขวางด้วยความเชื่อที่ว่า พวกเธอแสวงอำนาจ  เพราะความปรารถนานี้ขัดกับความคาดหมายของสาธารณชนต่อผู้หญิง ทำให้เกิดการลงโทษตัวต่อตัว  ผลการศึกษาพบว่า ความตั้งใจที่จะแสวงอำนาจของผู้สมัครหญิง (ทั้งที่เกิดขึ้นจริงหรือเข้าใจกันเอง) มีผลกระทบเชิงลบต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิลงคะแนน  แต่บุคลิกเช่นเดียวกันนี้ในผู้สมัครชาย ไม่มีผลต่อผู้เลือกตั้ง

ปฏิกิริยาที่ต่างกันเช่นนี้ ส่วนหนึ่งอธิบายได้ว่า มาจากการขาดการยอมรับของสาธารณะต่อความตั้งใจแสวงอำนาจของหญิง  ผลคือ พวกเธอถูกมองว่ามีความสามารถไม่พอและพาลหาว่าพวกเธอบกพร่องเชิงศีลธรรม   ปฏิกิริยาอารมณ์-ศีลธรรมเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า แรงต้านตลบกลับนี้ เกิดจากการละเมิดข้อกำหนด/ความคาดหมายของสาธารณะ (ในมิติหญิงชาย) มากกว่าเป็นการผิดเพี้ยนจากปทัสถาน/มาตรฐานทั่วไป  การค้นพบนี้ สะท้อนให้เห็นสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ของอคติทางเพศในการเมือง

The Price of Power: Power Seeking and Backlash Against Female Politicians.
Tyler G. Okimoto, and Victoria L. Brescoll. Personality and Social Psychology Bulletin July 1, 2010 36: 923-936

Two experimental studies examined the effect of power-seeking intentions on backlash toward women in political office. It was hypothesized that a female politician’s career progress may be hindered by the belief that she seeks power, as this desire may violate prescribed communal expectations for women and thereby elicit interpersonal penalties. Results suggested that voting preferences for female candidates were negatively influenced by her power-seeking intentions (actual or perceived) but that preferences for male candidates were unaffected by power-seeking intentions. These differential reactions were partly explained by the perceived lack of communality implied by women’s power-seeking intentions, resulting in lower perceived competence and feelings of moral outrage. The presence of moral-emotional reactions suggests that backlash arises from the violation of communal prescriptions rather than normative deviations more generally. These findings illuminate one potential source of gender bias in politics.


วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โลกร้อน

ความผันผวนของอากาศ

Averting the Grimmest ScenariosBy Amanda Bransford
UNITED NATIONS, Sep 22, 2010 (IPS)

ความอุทกภัยหายนะในปากีสถาน เพิ่มแรงกดดันในที่ประชุมสุดยอดของยูเอ็นในสัปดาห์นี้  ผู้แทนส่วนใหญ่จากประเทศในเอเชียใต้ได้รวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องให้เพิ่มการถ่ายเทเทคโนโลยีจากประเทศร่ำรวยกว่า และให้มีการเปรียบเทียบยุทธวิธีในการเบนทิศทางผลกระทบทีร้ายแรงที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ

การเปลี่ยนแปลงของอากาศได้กลายเป็นความจริง นายกรัฐมนตรีบังคลาเทศกล่าวในวงย่อยในที่ประชุมสุดยอดเรื่องเป้าหมายพัฒนาสหัสวรรษ (MDGs) ซึ่งจบลงในวันพุธ  พวกเราในเอเชียใต้รู้จากประสบการณ์  การโจมตีของมหันตภัยธรรมชาติได้เพิ่มทั้งความถี่และความเกรี้ยวกราดในภูมิภาคของเรา  ยิ่งกว่านั้น ความผิดปกติ หิมะที่ละลายอย่างรวดเร็วในเทือกเขาหิมาลัย และการเพิ่มระดับน้ำทะเล ล้วนเป็นลางส่อถึงความพินาศ

สาเหตุหลายปัจจัยที่ทำให้เอเชียใต้เปราะบางต่อผลของการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ความยากจนสูง ต้องพึ่งพาอุตสาหกรรม เช่น การประมงที่เปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล และต้องเผชิญกับพายุกำลังแรง  สภาวะกดดันด้านสุขภาพ เช่น เอดส์ และการไม่รู้หนังสือ  ระบบสาธารณูปโภคด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ย่ำแย่ในหลายๆ แห่ง และการขาดแคลนเทคโนโลยีและทรัพยากร ได้ทำให้การปรับตัวยากลำบาก

แม้ว่าประเทศด้อยพัฒนาจะมีส่วนเพียงเล็กน้อยในการทำให้โลกร้อน พวกเขามักจะเป็นพวกแนกๆ ที่ต้องรับผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น พายุหมุน ความแห้งแล้ง และอุทุกภัย   ผลผลิตทางเกษตรถูกทำลาย และโรคภัย เช่น มาเลเรีย และไข้เลือดออก ล้วนเพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ

การเปลี่ยนแปลงของอากาศยังเพิ่มภาระมากขึ้นให้กับกลุ่มคนที่ยกาจนและเปราะบางที่สุดของโลก และกำลังคุกคามผลลัพธ์จากการพัฒนาที่ได้มาด้วยความลำบาก  เฮเลน คลาร์ก หัวหน้าของ UNDP กล่าว  หายนะจากภัยธรรมชาติได้ทำให้ความก้าวหน้าสู่เป้าหมายสหัสวรรษ ในปี 2015 หยุดชะงักลง

ผู้แทนได้อภิปรายถึงหนทางที่จะบรรเทาปัญหาในอนาคต  คลาร์กเน้นว่า จำเป็นต้องลงทุนในด้านการลดความเสี่ยงและเพิ่มการเตรียมพร้อม ซึ่งถูกกว่าและรักษาชีวิตได้มากกว่าการรอคอยจนกว่าภัยธรรมชาติมาถึง  ประเทศในเอเชียใต้ กำลังทำงานด้วยกัน เพื่อสร้างระบบเตือนภัยและจัดการกับความเสี่ยงในระดับภูมิภาค

ผู้แทนต่างๆ บอกว่า การสนับสนุนจากประชาคมนานาชาติ ด้วยการเงินและถ่ายเทเทคโนโลยี เป็นเรื่องสำคัญ

การให้ความช่วยเหลือโดยตรงก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหลายประเทศไม่สามารถรอให้นานาชาติตกลงร่วมมือกัน เช่น มาลดีฟส์ ได้ช่วยตัวเองด้วยการตั้งเป้าว่า จะกลายไม่มีคาร์บอนภายใน 10 ปี โดยได้ออกกฎหมายควบคุมการปล่อยก๊าส

แม้ว่าเหล่าผู้แทนจะแสดงความผิดหวังต่อความล้มเหลวที่ประเทศสมาชิกยูเอ็นไม่สามารถตกลงร่วมกันในการรับรองสนธิสัญญาว่าด้วยอากาศเปลี่ยนแปลงเมื่อปีก่อนในโคเปนเฮเก็น  พวกเขากำลังเตรียมตัวที่จะนำเสนอความคิดต่อที่ประชุม U.N. Climate Change Conference ที่จะจัดขึ้นในปลายปีที่ คานคูน Cancún

เลขาฯ ของกระทรวงการต่างประเทศเม็กซิโก กล่าวว่า ประเทศต่างๆ ไม่สามารถนั่งรอให้ผู้ชำนาญหาทางแก้ไข แต่ต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจริงๆ  นี่เป็นประเด็นการเมืองที่เจาะลึกไปถึงขั้วหัวใจของการจัดรูปองค์กรของสังคมของเรา

กลุ่มประชาสังคมได้ประชุมกันในวันอังคารเพื่อหาทางบรรเทาความพืนาศในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเชื่อมโยงกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม (MDG 7) และสุขภาพมารดา (MDG 5)

สภาวะประชากรล้นโลกได้เพิ่มความเครียดแก่ทั้งมารดาและสิ่งแวดล้อม  ประเทศที่มีอัตราการเกิดสูงและมีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศจะตกที่นั่งลำบากยิ่ง

การให้ประชาชนเข้าถึงการบริการสาธารณสุขด้านการเจริญพันธุ์ จะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงอากาศ  ผู้หญิงนับล้านทั่วโลกต้องการที่จะคุมภาวะเจริญพันธุ์ของตัวเองได้ แต่ขาดการเข้าถึงบริการนี้ (Population Action International')

การมีครรภ์โดยไม่ได้วางแผนไว้ก่อน ได้เพิ่มอัตราการตายของมารดาและขัดขวางการพัฒนา  ความล้มเหลวที่จะสนองตอบความต้องการสำหรับการวางแผนครอบครัว เป็นการจำกัดโอกาสของผู้หญิง และบังคับให้ผืนดินที่มีจำกัดในประเทศที่มีทรัพยากรจำกัดให้เลี้ยงดูประชากรเกินความสามารถที่จะรองรับ (Population and Reproductive Health Programme at the Packard Foundation)

……………….
หยุดคิดสักนิด...
  1. บทความนี้เป็นสไตล์ของยูเอ็นที่เน้นกระแสหลัก คือ ยังวนเวียนอยู่ที่เทคโนโลยี การคุมกำเนิด ฯลฯ ไม่แตะโครงสร้างและจิตใจ
  2. ดูเหมือนคนไทยเริ่มเตรียมพร้อมกันดีอยู่ เช่น เขาใหญ่ค่อยๆ กลายเป็นแหล่งหนีน้ำ โดยฝืนเปลี่ยนป่า (มรดกโลก?) ให้อำนวยความสะดวกชีวิตเมือง (ของผู้มีโอกาส) ... น่าเศร้านะ
  3. ก็เหมือนกับการสร้างเขื่อนรัดคอแม่โขง ด้วยข้ออ้างว่า จะต้องผลิตพลังงาน เพราะ อุตสาหกรรม วิถีเมือง (บริโภคนิยม) ต้องดำเนินต่อไป ในนามของ พัฒนาเพื่อขจัดความยากจน 
  4. อุตสาหกรรมต้องเดินเครื่องต่อไป เพื่อสร้างงาน
  5. แรงงานเริ่มแพง (เรื่องมาก) เกินไป เจ้าของก็ต้องหันไปใช้หุ่นยนตร์แทน
  6. จะมีทางตัดวงจรอุบาทว์นี้ไหม หรือเยียวยาพฤติกรรม เสพติด นี้ไหม จะเริ่มต้นที่ไหน
  7. โลกมีน้ำมากกว่าแผ่นดิน  แต่ทุกวันนี้ เราต้องกินน้ำในขวดพลาสติก...เมื่อ 10 กว่าปีนี้เอง 
  8. จะโทษประชากรล้นโลกอีกหรือ? หรือที่การเสพติดบริโภคเมือง monoculture และการ บินก่อนจ่ายทีหลัง”?

น้ำ Vandana Shiva

การแปลงวิถีชีวิตให้เป็นทุน

THE PRIVATISATION OF LIVELIHOOD
Vandana Shiva OCTOBER 2009 (IPS)

นโยบายโลกาภิวัตน์และการค้าเสรีได้นำไปสู่การแปลงน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นทรัพย์สินเอกชน และการกระจุกตัวของการเป็นเจ้าของที่ดิน พลิกผันทิศทางของการปฏิรูปที่ดินในหกทศวรรษที่ผ่านมาให้ถอยหลัง และนำรูปแบบใหม่ของ corporate zamindari ซึ่งเป็นระบบ ศักดินา ที่อาศัยกลไก เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ วันทนา ศิวะนักเขียนและนักรณรงค์นานาชาติสำหรับผู้หญิงและสิ่งแวดล้อมเขียน

โครงการปฏิรูปน้ำของธนาคารโลก กำลังแปรสิทธิการใช้น้ำ ด้วยการให้กู้เงิน  เป็นการแก้ไขคำจำกัดความของ พรบ. น้ำในอินเดีย และเขียนนโยบายและกฎหมายว่าด้วยเรื่องน้ำใหม่  นี่จะเป็นการให้คนนอกประเทศ (outsource) จัดการกับกฎหมายที่จะกัดกร่อนรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยของอินเดีย  ลักขโมยสิทธิการใช้น้ำของประชาชน และกฎหมายน้ำที่ได้มาด้วยวิถีประชาธิปไตย และด้วยวิถีของสภาหมู่บ้าน (panchayati raj) สมาชิกสภานิติบัญญัติ และรัฐสภาแห่งชาติ

MDG สัญญาอีก 5 ปี

การพัฒนา
เชื่อมรอยแตกระหว่างพูดแต่ปากกับความเป็นจริง

DEVELOPMENTBridging the Chasm Between Rhetoric and Reality
By Aprille MuscaraUNITED NATIONS, Sep 18, 2010 (IPS)

ในคืนก่อนที่จะเริ่มการประชุมสุดยอด MDG ของสหประชาชาติ ซึ่งผู้นำโลกทั้งหลายจะมารวมตัวกันเพื่อย้ำปณิธานต่อเป้าหมาย 8 ประการ  ภาคประชาสังคมยังคงกังขาอยู่มาก

การประชุมสุดยอด ได้แสดงถึงช่องว่างระหว่างการพร่ำพูดกับความเป็นจริง Mirjam van Reisen กล่าว Reisen เป็นผู้อำนวยการของ คณะที่ปรึกษานโยบายภายนอกยุโรป และเป็นนักเขียนคนหนึ่งใน Social Watch เล่มใหม่ที่จะออกตลาดในวันศุกร์นี้

การประชุมสุดยอด 20-22 กันยายน ต้องการเร่งฝีก้าวสู่เป้าหมาย MDG ซึ่งได้ขีดเส้นตายไว้ที่ปี 2015   แต่ จะเกิดขึ้นได้จริงๆ อย่างไร? Roberto Bissio ถาม (ผู้อำนวยการแห่งสถาบันโลกที่สาม และผู้เขียนอีกคนของ Social Watch)ถ้ามีใครสักคนที่เอาจริงเอาจังกับการผลักดันให้บรรลุเป้า MDG ก็ต้องไม่ใช่ยังคงย่ำเท้าอยู่ที่เดิมอย่างนี้

ต้องเอาประชาชนเป็นตัวตั้งแรก มันไม่มีอะไรผิดพลาดในสาส์นจากรายงาน Bisso กล่าวในการเปิดตัว Social Watch ซึ่งเรียกร้องให้เอาจริงเอาจังในการดำเนินการ MDG ให้เกิด ความเท่าเทียมเชิงโอกาส อ่อนไหวในมิติเจนเดอร์ และเป็นมิตรกับคนยากจนในระดับนโยบายมากยิ่งขึ้น

เขายังได้อธิบายถึงแนวโน้มสองประการที่อยู่ในรายงาน: ความไม่เสมอภาคเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในบางแห่ง และความช่วยเหลือระหว่างประเทศได้ถูกผันไปใช้ในกองทัพ

ในปี 2008 มีเพียง 5.7% ของความช่วยเหลือจาก European Commission ที่ถูกจัดสรรไปใช้ในสาธารณสุขขั้นมูลฐาน และ
การศึกษา ลดลงจาก 11% ในปี 2005 ตามรายงาน  นี่ทำให้เกิดคำถามว่า เงินที่เหลือหายไปไหน ถ้าไม่ใช่เพื่อ MDG?”

ในวันจันทร์ วันแรกของการประชุมสุดยอด ประธาน European Commission ได้ถูกคาดหวังว่าจะประกาศให้เงินช่วยเหลือ 1 พันล้านดอลลาร์ เพื่อให้บรรลุเป้า

ปริมาณของเงินช่วยเหลือไม่มีความหมายเท่าไร van Reisen กล่าว [คำมั่นสัญญา Barroso] ไม่มีความหมายเพราะมันเป็นเงินช่วยเหลือเก่าที่นำกลับมาใช้ใหม่  ไม่มีเงินก้อนใหม่บนโต๊ะเลย

ธนาคารโลก ก็ถูกคาดหมายว่าจะประกาศสัญญาให้เงิน 750 ล้านดอลลาร์สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานในวันจันทร์  และในวันอังคารก็หวังกันว่า จะเติมเต็มกองทุน Global Fund to Fight Aids, Malaria and Tuberculosis

เห็นชัดๆ ว่า จุดเน้นของการประชุมสุดยอด คือ เงิน Amnesty International กล่าว แต่ลำพังเงิน ไม่สามารถจะแก้ปัญหารากเหง้าของความยากจน ซึ่งผูกรวมอยู่กับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

อันที่จริง Amnesty International, Social Watch และเอ็นจีโออื่นๆ ได้ผลักดันเป็นเวลาหลายปี ให้ใช้แนวทางสิทธิ ในการแก้ปัญหาความยากจนและความหิวโหย  การศึกษาอย่างทั่วถึง  ความเท่าเทียมระหว่างเพศ  สุขภาพเด็กและมารดา การต่อสู้กับโรคเอดส์  มาเลเรียและวัณโรค  ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และการเป็นหุ้นส่วนระดับโลก เป้าหมายทั้ง 8 ประการ

เอกสารว่าด้วยผลพวง ที่จะถูกรับรองในวันสุดท้ายของการประชุม ได้เสนอเค้าโครงของวาระปฏิบัติการ (Action Agenda) สำหรับเป็นแนวทางให้ดำเนินการให้บรรลุ MDG ภายใน 2015 รวมถึงการยอมรับ สิทธิมนุษยชน ว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานในการขจัดความยากจน และการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม อันเป็นความก้าวหน้าที่มีความหมาย ที่กลุ่มภาคประชาสังคมชื่นชม

แต่พวกเขาเห็นว่าส่วนที่เหลือของเอกสารชิ้นนี้ ซึ่งได้ผ่านการต่อรองมานับเดือน และตั้งใจว่า จะให้เป็นพิมพ์เขียวของโลกสำหรับการดำเนินงานในอีกห้าปีข้างหน้า ล้วนเป็นความถอยหลัง

เมื่อคุณเปิดดูเอกสารนี้ คุณจะเห็นแต่เรื่องน่าผิดหวัง Barbara Adams, senior fellow ของ the Global Policy Forum and Social Watch กล่าวในโต๊ะอภิปราย ไม่มีคำสัญญาผูกพันใหม่ๆ เลย

Truscott สะท้อนความรู้สึกเหล่านี้ด้วยการตราหน้าเอกสารนี้ว่า เป็น วาระไม่ปฏิบัติการ (Inaction Agenda) เพราะไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรม หรือกลไกที่จะสร้างหลักประกันความน่าเชื่อถือ  มันน่าสลดใจมาก  ในความเป็นจริง ผู้นำโลกกล่าวว่า เชื่อพวกเรานะ... แต่พูดกันตามตรง พวกเราไม่เชื่อพวกเขาเลย เพราะเรารู้ว่า ในระหว่างการต่อรอง มีการต่อสู้กันยกใหญ่เกี่ยวกับการใช้ภาษาสิทธิมนุษยชน และก็เป็นคนยากจนนั่นแหละที่กำลังจ่ายในราคานั้น

ในระหว่างการให้ข่าวสัปดาห์ที่แล้ว เลขาธิการสหประชาชาติ บัน คี-มูน กล่าวต่อนักข่าวว่า แม้เอกสารว่าด้วยผลพวงจะได้ทำเสร็จแล้ว มันก็ยังแก้ไขได้ในระหว่างการประชุมสุดยอด ถ้าผู้นำโลกมีความเห็นเพิ่ม หรือมีข้อแนะนำใหม่

แต่เอ็นจีโอกังวลว่า สัปดาห์หน้า อะไรๆ ก็จะยังคงเหมือนเดิม  Bisso กล่าวเตือน นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในที่ประชุมสุดยอดทั้งหลาย... มีการพูดมากมาย แต่ไม่มีปฏิบัติการ

เงินช่วยคนยากจน Africa

อาฟริกาใต้

เงินทุนเล็กน้อย สร้างความแตกต่างมาก
Small Amounts of Cash Make a Big Difference
By Busani Bafana*
TSHWANE, South Africa, Sep 16, 2010 (IPS)

หลังจากที่ถูกวินิฉัยว่าเป็น HIV+ มาร์กาเร็ตไม่สามารถแม้แต่จะจัดการกับงานบ้านที่ง่ายที่สุด ไม่ต้องพูดถึงงานหารายได้สำหรับตัวเธอและลูกชายสองคน

ตั้งแต่การวินิจฉัยโรคของเธอในปี 2005 และในปีต่อๆ มา อนาคตของครอบครัวของมาร์กาเร็ตก็เริ่มมืดมน  จนกระทั่งเธอได้รับความช่วยเหลือในโครงการสวัสดิการ ในปี 2007 และเธอเริ่มได้รับเงิน 10 เหรียญทุกเดือน

เงินเล็กน้อยที่เพิ่มมานี้ ได้มีผลมหาศาลแก่ครอบครัวของมาร์กาเร็ต  มันหมายถึงการเข้าถึงการบริการสุขภาพ  มาร์กาเร็ตอาศัยอยู่ใน Lilongwe, Malawi สามารถใช้เงินจำนวนนี้เดินทางไปศุนย์อนามัยที่ใกล้ที่สุด เพื่อรับการบำบัดฟรี (free antiretroviral therapy)   การบำบัดได้ช่วยฟื้นฟูสุขภาพของเธอ ทำให่เธอกลับมีพละกำลังที่จะทำงานหาเลี้ยงครอบครัวอีกครั้ง

และเดี๋ยวนี้ ลูกชายของเธอก็เข้าเรียนได้เช่นกัน เงินช่วยเหลือได้ช่วยให้ฉันมีความหวังใหม่ต่อกาอนาคตของลูกๆ   ที่ผ่านมาฉันไม่มีเงินพอจะส่งลูกเข้าโรงเรียน   วันนี้ ฉันสามารถส่งลูกไปโรงเรียนอย่างอิ่มท้องด้วย และมีหนังสือในมือ  ฉันรู้ว่า ถ้าเขาได้รับการศึกษาที่เหมาะสม เขาจะไปได้ดี  มาร์กาเร็ตพูดถึงอนาคตของลูกๆ เมื่อปราศจากเธอ

จากสถิติประเมินว่ามีเด็ก 15.2 ล้านคน ที่สูญเสียพ่อ หรือแม่ หรือทั้งคู่ด้วยโรคเอดส์ การคุ้มครองทางสังคม เป็นทางออกทางหนึ่งที่จะสร้างความแตกต่างในชีวิตของพวกเขา

ในขณะที่โลกกำลังเตรียมตัวเก็บเกี่ยวให้บรรลุเป้าหมาย MDG ในการประชุมสหประชาชาติเมื่อ 22 กันยายน นี้ องค์กรพัฒนาและวิจัยต่างๆ ได้ชี้ให้เห็นว่า การกระจายเงินจำนวนน้อย เป็นการกระเตื้องชีวิตของกลุ่มผู้ยากไร้และเปราะบาง

แต่จะมีเพียงบางประเทศในตอนใต้ของอาฟริกา ที่จะสามารถลดความยากจนสุดขั้งได้ ตามรายงาน โปรแกมความหิวโหยและความเปราะบางในภูมิภาค (Regional Hunger and Vulnerability Programme-RVHP)   องค์กรนี้กล่าวว่า การให้เงินช่วยเหลือทางสังคม (social cash transfer) ดังกล่าว ยังเป็นโอกาสสุดท้ายของการขจัดความยากจน เมื่อโปรแกมอื่นๆ ล้วนล้มเหลว

RVHP กับ Southern African Development Community Parliamentary Forum (SADC PF) และสถาบันศึกษาความยากจนและความไม่เท่าเทียม ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพการเจรจานโยบายระดับสูงในหัวข้อ การขจัดความยากจนและหิวโหยสุดโต่งในอาฟริกาตอนใต้ ที่ Tshwane ระหว่าง 16 ถึง 17 กันยายน

การเจรจาในช่วงสองวัน จะพิจารณาบทบาทของการคุ้มครองทางสังคมให้เป็นวิธีหนึ่งในการขจัดความยากจนสุดโต่ง ก่อนหน้าการประชุม MDG ของสหประชาชาติ

Angela Penrose ผู้ประสานงานของ Grow up Free from Poverty Coalition กล่าวว่า เสียงวิจารณ์หนึ่งต่อเงินช่วยทางสังคม คือ มันทำให้คนติดการขอ และบางคนอาจใช้เงินในทางที่ผิดจุดประสงค์

เราพบว่า ทั่วอาฟริกา การอัดฉีดเงินช่วยสังคมจำนวนน้อยเช่นนี้ ได้กระเตื้องสถานการณ์ให้ดีขึ้น ไม่เพียงแต่กับปัจเจกบุคคล แต่รวมถึงชุมชนและเศรษฐกิจโดยรวม Penrose กล่าว

ทำไมคนจะไม่รู้จักใช้เงินอย่างมีหัวคิดเพื่อซื้ออาหาร ช่วยให้ลูกตัวเองได้เข้าเรียน ได้นั่งรถโดยสาร ซื้อเสื้อผ้าดี ๆ และได้งานทำ?

Penrose กล่าวว่า เงินจำนวนเล็กน้อย 15 ถึง 25 ดอลลาร์ต่อเดือน ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามีผลกระทบต่อชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็กติดเชื้อเอดส์ และคนชรา

จากรายงานของ RVSP อาฟริกาใต้ และ Lesotho ได้ประสบความสำเร็จในการช่วยให้พลเมืองของพวกเขาให้พ้นจากความหิวโหยและความยากจนโดยใช้กลไก เช่น เงินบำนาญสำหรับคนสูงอายุ และเงินให้เปล่าสำหรับเด็ก ด้วยเชื่อว่า เงินจำนวนน้อยในมือของคนจน มีความหมายต่อชีวิตของพวกเขามาก

ในอาฟริกาใต้ รัฐบาลได้ริเริ่มเงินให้เปล่าเพื่อเกื้อกูลเด็ก เป็นเงิน 28 ดอลลาร์ ซึ่งจะให้แก่ผู้ใหญ่ผู้ต้องดูแลเด็กอายุ 14 ปี  โครงการ Foster Care Grant ของอาฟริกาใต้ ได้ให้เงินให้เปล่าแก่พ่อแม่บุญธรรม และ Care Dependency Grant แก่ผู้ต้องดูแลเด็กที่มีความพิการ ป่วยหนัก และต้องมีการดูแลพิเศษตลอดเวลา

โครงการ เงินบำนาญสำหรับผู้สูงอายุ ใน Lesotho ได้ช่วยชูประเด็นความยากจนเรื้อรัง และความเปราะบางในประเทศ เพราะมันสามารถไปถึงพลเมืองทุกคนที่อายุมากกว่า 70  จำนวนเด็กติดเชื้อเอดส์ ที่อาศัยอยู่กับคนอายุมากกว่า ที่ไม่มีรายได้แน่นอน ได้เป็นแรงดลใจให้ริเริ่มการให้เงินบำนาญในปี 2004

ในขณะที่การให้เงินช่วยอย่างเดียวไม่อาจเป็นทางแก้ไขได้ มันเป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งของชุดความดูแลช่วยเหลือสำหรับเด็กได้ ตามรายงานของคณะทำงานเรื่อง การคุ้มครองทางสังคมสำหรับทีมงานระหว่างหน่วยงาน (Working Group Report on Social Protection for the Inter-Agency Task Team--IATT) ปี 2008 เกี่ยวกับเด็ก และ HIV และเอดส์   รายงานนี้ได้เน้นว่า การจ่ายเงินที่เป็นไปอย่างปกติ คาดหวัง เชื่อถือได้ จะมีผลดีในระยะยาวต่อเด็กที่ติดเชื้อเอดส์ และครอบครัว

ผู้แทนราษฎรมีบทบาทสำคัญในการผลักดันมาตรการคุ้มครองทางสังคม ให้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งยังคงเป็นวาระหลักในอาฟริกาใต้ เลขาธิการของ SADC PF กล่าว

ถึงบัดนี้ MDG ได้ดำเนินการมา 15 ปีแล้ว และวันนี้ มีเพียง 2 ใน 13 ประเทศในอาฟริกาตอนใต้ ที่อาจจะบรรลุเป้าหมาย MDG ได้  นั่นคือ ลดระดับความหิวโหยและยากจนสุดโต่งครึ่งหนึ่ง  คือ อาฟริกาใต้และแซมเบีย

คำถามไม่ใช่อยูที่ว่า มันจะเกิดขึ้นไหม แต่จะเกิดขึ้นเมื่อไร  สิ่งท้าทายขณะนี้ คือ ทำให้มันก้าวหน้าวันี้ มากกว่าพรุ่งนี้

กฎหมาย-ความเกลียดชัง Rwanda

นิ่งเสียปลอดภัยกว่า:  
ผลกระทบที่เสียวสันหลังของกฎหมายราวันดาว่าด้วย
อุดมการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และ ลัทธิการแบ่งพรรคแบ่งพวก


กฎหมายราวันดาว่าด้วย อุดมการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ “genocide ideology” และ ลัทธิการแบ่งพรรคแบ่งพวก “sectarianism”, ที่รู้จักกันทั่วไปในนาม ลัทธิการแบ่งแยก “divisionism”, ได้ถูกนำมาใช้หลังจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในปี 1994  ที่ชาวราวันดาถูกฆ่าตายถึง 800,000 คน ส่วนมากเป็นชนเผ่าตุ๊ตซี่ (Tutsi) แต่ก็มีชนเผ่า ฮูตู (Hutu) รวมอยู่ด้วยบางคนที่ต่อต้านการล้างฆ่าที่จัดตั้งขึ้นและกระแสพลังที่นำให้ไปสู่ทิศทางนั้น    ด้วยความตระหนักถึงบทบาทของคำพูดที่เร้าความเกลียดชัง และสถานีวิทยุแห่งความเกลียดชังอันมีชื่อ Radio Télévision Libre des Milles Collines (RTLM) ที่ยุยงให้คนมีส่วนร่วมในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งนั้น   รัฐบาลภายหลังเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งนำโดย แนวร่วมราวันดารักชาติ (Rwandan Patriotic Front-RPF) ได้ออกกฎหมายปลุกใจให้เกิดความสามัคคี และระวังคำพูดที่กระพือความเกลียดชัง   หลังจากการปฏิรูปขนานใหญ่ในระบบยุติธรรมได้ 6 ปี รัฐบาลราวันดาได้แถลงการณ์ ทบทวนกฎหมายว่าด้วย อุดมการ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในเดือนเมษายน 2010   Amnesty International ต้อนรับการริเริ่มนี้ของรัฐบาล   รายงานฉบับนี้ ระบุถึงข้อห่วงใยของ Amnesty International ต่อฝ่ายนิติบัญญัติ และการนำกฎหมายฉบับนี้มาใช้ในบริบทของกระบวนการทบทวนของรัฐบาลราวันดา  รายงานนี้เป็นผลจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของ Amnesty International ใน ราวันดา ระหว่างเดือน พฤษจิกายน 2009 และ มีนาคม 2010  ... รายงานฉบับนี้ ไม่ได้ตั้งใจที่จะฉายภาพรวมของกรณีทั้งหมดผู้ต้องโทษ และผู้พ้นโทษ--ของ อุดมการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และ ลัทธิการแบ่งพรรคแบ่งพวก  แต่เป็นการบันทึกแนวโน้มของปัญหาที่เกิดจากวิธีการที่กฎหมายเหล่านี้ถูกประยุกต์ใช้

http://www.humansecuritygateway.com/showRecord.php?RecordId=33717

ผู้หญิงในข่าว

ผู้หญิงในข่าว--น้อยและบิดเบือน
Women still significantly underrepresented and misrepresented in news media

รายงานการติดตามสื่อโลก ครั้งที่ 4 เปิดตัว 29 กันยายน 2010
4th Global Media Monitoring Report Launched 29 September 2010

ผู้หญิงยังถูกนำเสนอน้อยมากหรือนำเสนอผิดๆ ในข่าวสาร ตามรายงานของ โครงการติดตามสื่อโลก (GMMP) ที่ครอบคลุม 108 ประเทศ ประสานโดยสมาคมโลกเพื่อการสื่อสารคริสเตียน (World Association for Christian Communication) ทั้งๆ ที่การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญได้เกิดขึ้นแล้วกว่า 15 ปีที่แล้ว

76% ของบุคคลในข่าวโลกที่คนทั่วไปได้ยินหรือได้อ่าน เป็นผู้ชาย  โลกยังเห็นคนในข่าวส่วนใหญ่เป็นชาย

โครงการ GMMP ดังกล่าว ติดตามหนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์และวิทยุ และข่าวอินเตอร์เน็ต ทั้งหมด 1,365 แหล่ง    บทความข่าว 17,795 เรื่อง และบุคคลในข่าว 38,253 คน ใน 108 ประเทศ ซึ่งเป็นที่อยู่ของประชากรโลก 82%

รายงาน ใครเป็นข่าว? โครงการติดตามสื่อโลก 2010 (http://www.whomakesthenews.org/gmmp2010/globalreport-en) เผยว่า
24% ของคนในข่าว เป็นผู้หญิง เทียบกับ 17% ในปี 1995
44% ของผู้แสดงความเห็นต่อสาระของข่าว เป็นผู้หญิง เทียบกับ 34% ในปี 2005

สื่อข่าวแสดงอคติทางเพศอย่างมีนัยสำคัญ คือ
46% ของบทความข่าว ตอกย้ำอคติทางเพศ
13% ของบทความข่าว มีผู้หญิงเป็นศูนย์กลาง

ความเห็นของผู้ชำนาญส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย มีผู้หญิงเพียง 1 คนในผู้ชำนาญทุกๆ 5 คน

อายุของผู้หญิงในข่าวจะถูกกล่าวถึงบ่อยกว่าถึงสองเท่า และสถานภาพครอบครัว เกือบสี่เท่า มากกว่าผู้ชาย

ทุกวันนี้ นักข่าวหญิงรับผิดชอบบทข่าว 37% เทียบกับ 28% เมื่อ 15 ปีก่อน และบทความของพวกเธอท้าทายอคติทางเพศเป็นสองเท่า เมื่อเทียบกับบทความของนักข่าวชาย

อคติทางเพศในข่าวอินเตอร์เน็ตคล้ายกับ และบางทีอาจจะเข้มข้นกว่าข่าวในสื่อแบบเดิม

ในรายงาน 2010 มีแผนปฏิบัติการสำหรับนักวิชาชีพสื่อและบุคคลอื่นๆ ที่มุ่งทำงานส่งเสริมจริยธรรมทางเพศในสื่อข่าว

GMMP เป็นโครงการวิจัยและรณรงค์ที่ใหญ่และยาวนานที่สุด เพื่อสร้างความเป็นธรรมและความสมดุลในการนำเสนอเพศสภาพต่างๆ ในข่าว  องค์กรประสานงานนี้ คือ WACC เครือข่ายการสื่อสารโลกเพื่อส่งเสริมการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ด้วยความร่วมมือกับการวิเคราะห์ข้อมูล อาฟริกาติดตามสื่อ และด้วยการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาสตรีของสหประชาชาติ

9-30-10

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

ผู้หญิงให้ทุนผู้หญิง

ให้แก่ผู้หญิง หมายถึงการได้มากขึ้น
องค์กรมนุษยธรรมมุ่งเน้นที่ผู้หญิงและการเปลี่ยนแปลงโลก

เครือข่ายกองทุนสตรี

Giving to Women Means Getting More
A Philanthropic Organization Is Focusing on Women and Changing the World

Women's Funding Network

ความสำคัญของเงินในขบวนการเคลื่อนไหวสตรี มักจะถูกมองข้าม  แต่เงินได้เป็นเชื้อเพลิงที่ช่วยให้ผู้หญิงขับเคลื่อนพ้นอุปสรรคขวางกั้นความเสมอภาคทั่วโลก  เครือข่ายกองทุนสตรี เป็นการร่วมมือของมูลนิธิมากกว่า 145 องค์กร ที่ให้ทุนสำหรับแก้ไขปัญหาของผู้หญิงทั่วโลก  งานของพวกเขาในการจัดการและส่งเสริมกองทุนสตรี ได้ช่วยกรุยทางสู่ความก้าวหน้าสำหรับผู้หญิงทั่วโลก

เครือข่ายกองทุนสตรีเป็นตัวแทนของกว่า 145 กองทุนของผู้หญิง ที่ดำเนินงานอยู่ในกว่า 30 ประเทศใน 6 ทวีป  ส่วนใหญ่ดำเนินงานอยู่ในสหรัฐฯ แต่มีสมาชิกอยู่ในบราซิล อินเดีย เซอร์เบีย ยูเครน อาฟริกาใต้ ออสเตรเลีย และประเทศต่างๆ

ตั้งแต่เริ่มต้นในต้นทศวรรษ 1970  มูลนิธิสตรีหลายร้อยแห่งได้ก่อตั้งขึ้นทั่วโลก เพื่อระดมทุนและกระจายให้องค์กรสตรีต่างๆ  แต่องค์กรเหล่านี้ ไม่ได้แค่ทำงานกับผู้หญิงเท่านั้น พวกเขาทำงานที่แก้ไขปัญหาสำคัญๆ ที่กระทบต่อประชาชนทั้งหมด ตั้งแต่ประเด็น ความยากจน และความรุนแรงจนถึง ความไม่พอเพียงในการเข้าถึงการบริการสาธารณสุขและการศึกษา   การให้ทุนแก่ผู้หญิงและองค์กรที่นำโดยผู้หญิง ได้พิสูจน์ว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่ดีสำหรับกองทุนและมูลนิธิอื่นๆ เพราะ ไม่ว่าจะเป็นที่ไหน ผู้หญิงจะกระจายทรัพยากรสู่ครอบครัวและชุมชน ทำให้เกิดการขยายตัวทวีคูณและเกิดผลกระทบจากเงินมากที่สุด

กองทุนสตรี ได้จุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในเชิงพฤติกรรมและการให้คำนิยาม  ยกตัวอย่าง ก่อนที่กองทุนสตรีจะเริ่มทำให้เกิดความสนใจต่อประเด็นความรุนแรงในครอบครัว  ๆ ถูกมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัวภายในครอบครัว และตำรวจก็มักจะหันหน้าไปทางอื่น หรือไม่ยอมตอบสนองเมื่อผู้หญิงถูกคู่รักตบตี   ปัจจุบัน ต้องขอบคุณการรณรงค์ที่สนับสนุนด้วยเงินทุนจากกองทุนสตรี  ชุมชนทั่วโลกมองความรุนแรงในลักษณะต่างกัน และมีการกำหนดนโยบายเพื่อป้องกันการกระทำรุนแรงต่อผู้หญิง  องค์กรที่นำโดยผู้หญิงที่สนับสนุนโดยกองทุนสตรี กำลังให้ความรู้แก่ชุมชนมากขึ้น เกี่ยวกับรากเหง้าของความรุนแรง และแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวพันกับความเหลื่อมล้ำอย่างอื่น  ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ด้วยเงินทุนเหล่านี้  มูลนิธิของผู้หญิง สามารถถ่ายทอดสู่องค์กรรากหญ้าและชุมชน ถึงองค์ความรู้ จุดเชื่อม และความชำนาญที่สั่งสมกันมา จากประสบการณ์หลายทศวรรษในการทำงานกับผู้หญิงที่ถูกกระทบโดยตรงจากประเด็นที่พวกเขากำลังทำงานเพื่อแก้ไข

ในทศวรรษที่ผ่านมาตั้งแต่กองทุนสตรีแห่งแรกก่อตั้งขึ้น  ผู้หญิงในหลายประเทศได้มีรายได้เพิ่มขึ้น และสัดส่วนความมั่งคั่งที่อยู่ในมือผู้หญิงก็ได้เพิ่มขึ้นด้วย   ด้วยเหตุนี้ กองทุนผู้หญิงจึงได้เติบโตขึ้นเมื่อการบริจาคเพิ่มขึ้นในปริมาณและความถี่   ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งที่เพิ่งออกมาใน 2009 โดยเครือข่ายกองทุนสตรี ซึ่งเป็นตัวแทนของ 145 กองทุนของสตรีทั่วโลก และ ศูนย์มูลนิธิ (The Foundation Center) รายงานการสำรวจทรัพย์สินของกองทุนของสตรี 55 แหล่ง ว่าได้เพิ่มขึ้นกว่า 17% ระหว่าง 2004 ถึง 2006   ในระหว่าง 2006 ถึง 2009 กองทุนสตรีที่อยู่ในเครือข่ายของกองทุนของสตรี ได้เพิ่มขึ้นมากกว่า $181 ล้านเหรียญ อันเป็นส่วนหนึ่งของผลการรณรงค์เพื่อระดมทุนให้เกิน $1 พันล้าน ภายใต้คำขวัญการรณรงค์ ผู้หญิงขับเคลื่อนเงินล้าน Women Moving Millions.
ในขณะที่มูลนิธิดั้งเดิมได้ประสบความสำเร็จในการลงทุนในผู้หญิง  กองทุนสตรีได้ขยายตัวในด้านอิทธิพลและชื่อเสียง   เช่น กองทุนโลกสำหรับสตรี (Global Fund for Women) ซึ่งเป็นกองทุนสตรีที่มีฐานอยู่ที่ซานฟรานซิสโก ได้เจาะจงสนับสนุนผู้หญิงนอกสหรัฐฯ ได้ให้ทุน $8 ล้าน ในปี 2007   แม้ว่ากองทุนสตรีนี้ จะเป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆ เมื่อเทียบกับมูลนิธิบิลล์และเมลินดา เก็ตส์ ที่ให้แก่ผู้หญิงและเด็กนอกสหรัฐฯ  มันก็เป็นจำนวนเงินที่มีนัยสำคัญ คือ เป็นเงินที่ระดมโดยผู้หญิง สำหรับกิจกรรมของผู้หญิงที่แหล่งทุนใหญ่กระแสหลักมองข้าม

แต่การเติบโตนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากสมาชิกชุมชนและผู้บริจาค ผู้ช่วยสร้างโปรแกมและลำดับความสำคัญของการให้ทุน  คุณสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับกองทุนสตรี รวมทั้งที่แหล่งที่ใกล้ตัวคุณ โดยเยี่ยมชมที่เว็บไซต์ของเครือข่าย http://www.womensfundingnetwork.org/

9-30-10

หญิงมุสลิม กับความรุนแรงภาคใต้

ประเทศไทย
เหตุการณ์ก่อความรุนแรงทำให้ผู้หญิงไทยมุสลิม (มุสลิม-มาเลย์) กลายเป็นผู้นำ
Insurgency Turns Malay-Muslim Women into Leaders
By Marwaan Macan-Markar
SONGKHLA, Thailand, Sep 23, 2010 (IPS)

เมื่อสามีของเธอถูกจับในข้อหาเชื่อมโยงกับขบวนการผู้ก่อความรุนแรงในภาคใต้ ปัทมา ฮีมมิมา ติดอันดับหญิงไทยมุสลิม (ในต้นฉบับเรียก มุสลิม-มาเลย์) ที่ถูกบังคับให้เข้าสู่กิจวัตรประจำวันที่ไม่คุ้นเคยในการเข้าพบที่สถานีตำรวจ ค่ายทหาร และศาล เพื่อช่วยให้สามีของเธอหลุดจากการจองจำ

ในขณะเดียวกัน ไม่มีองค์กรท้องถิ่นใดที่เธอจะสามารถหันหน้าพึ่งได้เพื่อช่วยสามีนาวาวี เดาฮุมโซ ผู้ถูกตำรวจไทยจับกุมเมื่อมีนาคม 2008 ด้วยข้อหาฆ่าคนตาย

แต่เมื่อถึงเวลาที่ศาลได้ปล่อยตัว นาวาวี ในเดือนมีนาคม 2010 ทำให้เขาและปัทมา (อายุ 34) เริ่มสานชีวิตแต่งงานที่มีอายุเพียง 2 เดือนเมื่อตำรวจจับตัวผิด ปัทมาก็พบคำตอบในการค้นหาความช่วยเหลือท้องถิ่น

เธอและพี่สาว อัญชนา เสมมินา ได้หาทางออกด้วยการเล่นบทนักกิจกรรมเองในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม   ในกลางปี 2009 สองพี่น้องได้ตั้งกลุ่ม กำลังใจ (Hearty Support Group) ในจังหวัดสงขลา เพื่อช่วยครอบครัวต่างๆ ดิ้นรนต่อสู้ให้ปล่อยตัว พ่อ สามี และลูกชาย

ฉันต้องการจะช่วยผู้หญิงที่ตกทุกข์ระทมเหล่านั้น หลังจากที่สามีและลูกชายถูกตำรวจ ทหาร จับไป ปัทมาพูด ฉันได้เรียนรู้มากมายหลังจากที่สามีของฉันถูกจับกุม จนฉันต้องการจะแบ่งปันความรู้เหล่านั้นกับคนอื่นในชุมชนของฉัน

ทุกวันนี้ เครือข่ายการช่วยเหลือเฉพาะกิจที่หญิงทั้งสองตั้งขึ้น ได้ช่วยเหลือครอบครัวของชาย 16 คนจากคณะกรรมการจัดการของมัศยิดท้องถิ่น ผู้ถูกตำรวจจับในปี 2008 และกำลังรอการคิวการพิจารณาของศาล  วันๆ ปัทมาใช้เวลาส่วนใหญ่เข้าพบทนายความ หรือตำรวจแทน 50 ครอบครัวที่เครือข่ายให้ความช่วยเหลืออยู่

ความสำเร็จของกลุ่มกำลังใจ ไม่ใช่ข้อยกเว้น  แต่เป็นหนึ่งในการขยายตัวของจำนวนกลุ่มประชาสังคมในท้องถิ่นที่กำลังจะแปรเปลี่ยนโฉมหน้าของการเมืองในจังหวัดที่ถูกทึ้งทำลายด้วยการก่อความรุนแรงใน ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา ซึ่งอยู่เขตชายแดนไทย-มาเลเซีย

นี่เป็นการต่อกรกับความขัดแย้ง  กลุ่มเหล่านี้ที่จับประเด็นความเป็นธรรม ส่วนใหญ่นำโดยผู้หญิง อังคนา ลีละไพจิตร ผู้เขียนผลการศึกษา บทบาทและสิ่งท้าทายของหญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่หัวแข็ง  กล่าว   พวกเธอจะเป็นคนที่คุณเห็นข้างนอกเรือนจำ ค่ายทหาร หรือในศาล

พวกผู้ชายกลัวที่จะพูดหรือเผชิญหน้ากับผู้มีอำนาจ อังคณาเผย  สามีของเธอเองต้อง หายสาปสูญ ในมีนาคม 2004 เพราะเปิดโปงทารุณกรรมของตำรวจ  เดี๋ยวนี้ กลุ่มผู้หญิงเข้มแข็งมาก มีจำนวนมากกว่าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว

แต่การแปรเปลี่ยนนี้ ต้องเผชิญกับแรงต่อต้านอย่างแรงจากบางภาคส่วนของชุมชนไทยมุสลิมอนุรักษ์รุนแรง ที่คาดหมายให้ผู้หญิงเล่นบทในครัวเรือน และในประวัติศาสตร์ ก็ได้กีดกันไม่ให้ผู้หญิงเล่นบทผู้นำในโครงสร้างสังคมและการเมือง  พวกนักการศาสนาหัวรุนแรง พยายามใส่ร้ายป้ายสีผู้หญิงเหล่านี้ อังคณากล่าว

สัญญาณที่ผู้หญิงก้าวขึ้นมาแถวหน้า เริ่มเกิดขึ้นในปี 2004  ปีที่วงจรความรุนแรงในปัจจุบันปะทุขึ้น หลังจากการบุกรุกค่ายทหารโดยกลุ่มผู้ก่อการกบฏไทยมุสลิม (มุสลิม-มาเลย์) ลึกลับ ในเดือนมกราคม   ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน  ผู้ประท้วงมุสลิม 78 คนสำลักอากาศตาย หลังจากถูกลำเลียงซ้อนกันเหมือนท่อนซุงในรถบรรทุกทหาร ที่วิ่งเป็นชั่วโมงกว่าจะถึงค่ายทหาร

หญิงที่สูญเสียชายในครอบครัว ส่วนใหญ่มาจากหมู่บ้านตากใบในจังหวัดนราธิวาส -- ได้บุกเบิกก่อตั้งเครือข่ายเฉพาะกิจด้วยความร่วมมือและสนับสนุนจากกลุ่มสิทธิในกรุงเทพฯ  ผู้ชาย แม้แต่อิมาม ไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมของพวกเรา เพราะกลัวทหาร หญิงคนหนึ่งจากตากใบเล่า โดยขอให้ไม่เปิดเผยชื่อ แต่พวกเราต้องการจะรักษาสามีและบิดาที่ตายไปแล้วในความทรงจำของพวกเราในกิจกรรมประจำวันตามปกติ

ในรายการวิทยุที่เริ่มออกอากาศครั้งแรกต้นปีนี้ กลุ่มเพื่อนของครอบครัวเหยื่อผู้ถูกกระทบ ที่ตั้งอยู่ในปัตตานี ได้สัมภาษณ์ผู้หญิงในหมู่บ้าน ให้เล่าถึงผลกระทบของความรุนแรงต่อพวกเธอ

กลุ่มอื่น เช่น กลุ่ม We Peace ที่ยะลา ได้จัดสัมมนาสาธารณะ ได้เชิญผู้หญิงที่มีญาติในคุก ให้มาพูดถึงความห่วงใยของพวกเธอ แม้ว่าตอนนั้นจะมีทหารอยู่ในที่นั้นด้วย

ทหารคนหนึ่งที่เคยไปเข้าร่วมสัมมนาเช่นนี้ ยอมรับว่า ผู้หญิงในกลุ่มภาคประชาสังคมแสดง ความกล้าหาญและความมุ่งมั่น ในการเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่  พวกเธอได้เป็นที่รู้จัก ตั้งแต่ปี 2005  พวกเธอส่งเสียงมากกว่าผู้ชาย เจ้าหน้าที่ทหารหน่วยประจัญบานให้สัมภาษณ์ ในขณะเดินทางปฏิบัติภารกิจในภาคใต้

ชะตากรรมของชายไทยมุสลิมประมาณ 450 คนในคุกภาคใต้ ด้วยข้อหาผู้ก่อการร้าย ยังคงเป็นข้อห่วงใยต้นๆ ของนักกิจกรรมหญิง   คนอื่นๆ เช่น หญิงจากตากใบ ได้ใช้วิธีอื่นในการโต้ตอบกับการสังหารในความขัดแย้ง  ประชาชนกว่า 4,300 คนตาย และ 11,000 คน บาดเจ็บในช่วง 6 ปีครึ่ง

ความรุนแรงที่ระเบิดขึ้นอีกตอนนี้ เป็นความขัดแย้งล่าสุดที่มีรากเหง้าในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่เมื่อประเทศไทยยังเป็นที่รู้จักกันว่า สยาม ที่ได้ผนวก 3 จังหวัดภาคใต้มาในปี 1902   ก่อนหน้านั้น พวกเขาเป็นชาวมุสลิม-มาเลย์ในราชอาณาจักรปัตตานี

ตั้งแต่ถูกผนวก ชาวมุสลิม-มาเลย์ได้แสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับวัฒนธรรม ภาษา และเศรษฐกิจที่ถูกเบียดให้ตกอยู่ชายขอบ นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการดิ้นรนเพื่อแบ่งแยกดินแดนในทศวรรษ 1970

ในขณะที่พวกก่อการกบฏ ไม่ส่งสัญญาณลดถอยลงสักนิด ปัทมามองเห็นปัญหาอุปสรรคข้างหน้า  ประชาชนที่นี่มีชีวิตอยู่ด้วยความกลัว และพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ ถ้าพ่อหรือสามีถูกจับกุม เธอกล่าว มันได้กลายเป็นบทบาทของผู้หญิงที่จะนำและขอความช่วยเหลือ
9-28-10

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

"เศรษฐกิจแม่"

แม่...ไม่คิดเงิน

เจ้าเด็กชายตัวน้อยของเราเข้าไปหาแม่ และส่งกระดาษให้
หลังจากแม่เช็ดมือกับผ้ากันเปื้อนแล้ว เธอก็ก้มลงอ่าน
ค่าตัดหญ้า 5 บาท
ค่าทำความสะอาดห้องผมอาทิตย์นี้ 1 บาท
ค่าซื้อของให้แม่ 2.5 บาท
ค่าดูแลน้องชาย 2.5 บาท
ค่าเอาขยะไปทิ้ง 1 บาท
ค่าได้คะแนนดี 5 บาท
ค่ากวาดสนาม 2 บาท
รวมค้างชำระ 19 บาท

แม่หยิบปากกาขึ้นมา พลิกไปด้านหลังแล้วเขียน
เก้าเดือนที่แม่อุ้มท้อง ไม่คิดเงิน
เวลาแม่พยาบาลลูก และสวดมนตร์ให้ลูก ไม่คิดเงิน
ค่าที่ลูกทำให้แม่เสียน้ำตา ไม่คิดเงิน
ของเล่น อาหาร เสื้อผ้า พาเที่ยว ไม่คิดเงิน
แม้แต่เช็ดน้ำมูกให้ ไม่คิดเงินหรอกจ๊ะลูก
เมื่อรวมทั้งหมด เป็นราคาเต็มของความรัก ไม่คิดเงินเหมือนกัน

เมื่อลูกชายของเราอ่านสิ่งที่แม่เขียน น้ำตาหยดโต ก็ไหลออกมา
เขาสบตาแม่และพูดว่า แม่ครับ ผมรักแม่จริงๆ นะครับ
แล้วเขาก็เอาปากกา
เขียนหนังสือตัวโตว่า จ่ายหมดแล้ว
แม่จ่ายหมดแล้ว แต่ลูกทอนให้ยังไม่หมด ...

(ลอกจากอีเมล์เวียน)

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

MDG3 หญิงรากหญ้า 9/2010

เสียงของหญิงรากหญ้าในที่ประชุมสุดยอด MDG

Voices of Grassroots Women at the MDG Summit
By Kim-Jenna Jurriaans

ด่วนที่สุด และ การขยายตัว เป็นคำติดปากทุกคนในระหว่างการประขุมสุดยอด MDG ที่นิวยอร์ค 20-22 กันยายน ในวาระครบ 10 ปีของการประกาศความมุ่งมั่นของนานาชาติที่จะยุติความยากจนภายในปี 2015   ยังมีเวลาเหลืออีก 5 ปี ที่จะทำนานาชาติจะทำตามสัญญา    ในการประชุมครั้งนี้ ผู้นำรัฐต่างๆ จะต้องแสดงปาฐกถาร่วมกับผู้กำหนดนโยบายระหว่างประเทศ ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่ปี 1930s เพื่อย้ำปณิธานร่วมต่อ MDG และผลักดันครั้งสุดท้ายให้เพิ่มเงินช่วยเหลือ  แต่ที่ประชุมก็ยังปิดปากเงียบไม่พูดถึงรูปธรรมของก้าวต่อไปเพื่อเอาชนะสิ่งท้าทายที่มีอยู่ เช่น การปราศจากผู้หญิงในตำแหน่งการตัดสินใจ  อัตราประชากรที่อาศัยอยู่ในสลัมที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ และจำนวนคนยากจนที่มากขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ 2007

กรรมาธิการ ไหวหรู (Huairou Commission) ได้อาศัยการประชุมกลุ่มย่อย ในการรณรงค์ให้ผู้หญิงรากหญ้ามีส่วนร่วมโดยตรงมากขึ้น Esther Mwaura-Muiru ของ GROOTS จากเคนยา พูดถึงความจำเป็นที่จะต้องยอมรับผู้หญิงรากหญ้าว่า เป็นผู้ทรงความรู้และเป็นผู้ฝึกที่มีความสามารถ     Relinda Sosa Perez แห่ง CONAMOVIDI (เครือข่ายระดับชาติของผู้หญิงเปรูที่จัดทำครัวประชาชนเพื่อการพัฒนา) เน้นถึงความสำคัญของการลงทุนในผู้นำหญิงรากหญ้า ให้มีส่วนร่วมด้วยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการบริการ เพื่อรัฐบาลจะได้ให้บริการได้ดียิ่งขึ้น

ให้ผู้หญิงมีส่วนร่วม
ผู้นำทุกคนต่างพูดถึงความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มตำแหน่งของผู้หญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในชุมชนชนบท ชี้ให้เห็นว่า ความเปราะบางโดยรวมของผู้หญิงยังมีมาก แม้ว่าการศึกษาของผู้หญิงและมาตรการพิเศษรับรองสิทธิของผู้หญิงจะประสบความสำเร็จเมื่อเร็วๆ นี้  แต่พวกเขาก็ไม่ได้พูดถึงความจำเป็นที่จะต้องชูประเด็นว่าต้องให้ผู้หญิงรากหญ้ามีส่วนร่วมโดยตรงในการวางแผนพัฒนา แม้ว่าใน เอกสารว่าด้วยผลพวง ที่ร่างโดยสมัชชาสามัญ จะได้ชี้ให้เห็นถึงความตื่นตัวเพิ่มขึ้นในการที่จะต้องทำให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ

ในฐานะผู้ผลักดันการสร้างสมรรถนะท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของรากหญ้า คณะกรรมาธิการไหวหรู มีกำลังใจขึ้น จากคำสัญญาของผู้นำสุดยอดในการเร่งให้เกิดความก้าวหน้าในด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ (MDG3) โดยจะ เริ่มปฏิบัติการเพื่อเพิ่มจำนวนและการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในทุกกระบวนการตัดสินใจทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมทั้งด้วยการลงทุนในความเป็นผู้นำของผู้หญิงในโครงสร้างและกระบวนการตัดสินใจ

กระทรวงการต่างประเทศของดัทช์ ได้ลงทุนโดยตรง $70 ล้านเหรียญกับองค์กรสตรีรากหญ้าในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งยังคงเป็นเรื่องที่ไม่เคยมีมาก่อน  ไหวหรู หวังว่า จะมีการยอมรับมากขึ้นถึงบทบาทสำคัญของภาคประชาสังคม และการมีส่วนร่วมของหญิงรากหญ้าในการดำเนินการเชิงยุทธศาสตร์

เหนือกว่าการเมือง
ผู้นำชุมชนชาวเปรู และสมาชิกของเครือข่ายไหวหรู เรลินดา โซซา เป็นหนึ่งในผู้หญิงหลายๆ คน ที่ความช่วยเหลือของดัทช์ ได้เพิ่มช่วยความเข้มแข็งแก่งานของเธอ  ในกลุ่มย่อย ทำ MDG ให้เป็นเรื่องท้องถิ่น เธอเจาะจงที่งานการพัฒนาในสลัม เธอพูดถึงความสำคัญในการเชื่อมรัฐบาลในท้องถิ่นกับหญิงรากหญ้า เพื่อออกแบบและดำเนินการตามมาตรการพัฒนาอย่างมีประสิทธิผล  การทำ MDG ให้เป็นเรื่องท้องถิ่นนั้น มีมากกว่าแค่ลงทุนในรัฐบาลท้องถิ่น แต่ยังรวมถึงการยอมรับและสร้างความเข้มแข็งแก่บทบาทของผู้หญิงและผู้จัดองค์กรชุมชน  ให้ความช่วยเหลือแก่พวกเขา ให้เข้าใจกระบวนการรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อจะได้ให้บริการประชาชนได้ดียิ่งขึ้น   ในฐานะที่เป็นผู้หญิงเพียงคนเดียวและเป็นผู้แทนจากชุมชนคนยากในเมือง ในการอภิปรายร่วมกับนักวิชาการและองค์กรพัฒนา เธอได้แลกเปลี่ยนถึงความสำเร็จในการทำแผนที่เมือง Cañete ในเปรู ที่ชุมชนเป็นคนผลักดันเชื่อมช่องว่างเชิงข้อมูลระหว่างชุมชนกับรัฐบาลท้องถิ่น ได้ช่วยเสริมอำนาจทางการเมืองแก่ผู้หญิง

ผู้ช่วยเลขาธิการของ UN-Habitat, Inga Klevby ผู้เป็นพิธีกรในการอภิปราย ได้ย้ำคำพูดของ โซซา ว่า จะต้องมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้างในปฏิบัติการพัฒนาด้านปรับปรุงสลัมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

Macharia Kamau ประธานของคณะกรรมการผู้แทนถาวรแห่งเคนยา ได้พูดถึงความตั้งใจของประเทศในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ซึ่ง 15% ของงบประมาณประเทศ จะกระจายให้ท้องถิ่นบริหาร และจะกำหนดให้ หนึ่งในสามของเจ้าหน้าที่วิชาชีพจะต้องเป็นผู้หญิง  เธอกล่าวว่า สิ่งท้าทายต่อเคนยาขณะนี้ คือ หาผู้หญิงมาเติมเต็มโควต้านี้  จนกระทั่งเร็วๆ นี้ ผู้หญิงเป็นประเด็นสุดท้ายของวาระชาติ

หญิงรากหญ้าพร้อมที่จะเข้าไปนั่งในตำแหน่งดังกล่าว Mwaura Muiru พูดอย่างมั่นใจ ในการอภิปรายโต๊ะกลม ประเด็นที่อุบัติขึ้น  ด้วยการถ่ายทอดความรู้แก่กัน ผู้หญิงรากหญ้ากำลังส่งเสริมให้มีการขยับวิธีและกรอบคิด (paradigm shift) ในแง่ที่ว่า ใครกำลังสอนใคร เธอกล่าว   Mwaura Muirualso เรียกร้องให้ผนวกภูมิปัญญาดั้งเดิมและความจริงที่ว่า ส่งที่ๆ ประชุมสุดยอดนี้ เรียกว่า ปัญหาที่อุบัติขึ้น   ในชีวิตจริงผู้หญิงในชุมชนได้ผจญอยู่เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว    เพื่อให้การพัฒนามีความยั่งยืน ผู้หญิงเหล่านี้ จะต้องถูกผนวกให้เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในสิ่งที่กระทบชีวิตประจำวันของพวกเธอ

ในขณะที่เป็นสัญญาณเชิงบวก ที่ผู้นำระดับโลกในที่ประชุมสุดยอดนี้ ได้รับทราบความสำคัญของผู้หญิงที่เป็นแกนกลางผลักดันให้ก้าวหน้าสู่ MDG ในหลายๆ ด้าน ยังจำเป็นที่จะต้องมีปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นเพื่อเชื่อมต่อผู้หญิงในกระบวนการตัดสินใจระดับชุมชน  ท้องถิ่น และชาติ    ด้วยการทำให้ผู้หญิงและภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมมากขึ้นเท่านั้น ที่ผู้นำนานาชาติจะสามารถเพิ่มความก้าวหน้าสูงสุดในโค้งสุดท้ายเพื่อให้บรรลุเป้า MDG ในปี 2015

Contact the Huairou Commission:
คณะกรรมาธิการไหวหรู : ประสานภาคียุทธศาสตร์ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของหญิงรากหญ้าทั่วโลก เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสรรค์สร้างชุมชนยั่งยืน

Huairou Commission
249 Manhattan Avenue, Brooklyn, New York 11211, USA

http://www.huairou.org, info@huairou.org