วิกฤตการณ์โลก: แรงงานหญิงจะถูกกระทบมากที่สุด
โดย ศุภชัย พานิชภักดิ์ (ดรุณีแปล)
GLOBAL CRISIS: WOMEN WORKERS WILL BE HIT HARDEST By Supachai Panitchpakdi (877 words)
IPS COLUMNIST SERVICE, APRIL 2008
IPS COLUMNIST SERVICE, APRIL 2008
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกยังคงลุกลามต่อไป มันได้ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการค้าระหว่างประเทศ อังถัด (UNCTAD) ประเมินว่า ในปีนี้ สินค้าส่งออกจากประเทศกำลังพัฒนาจะลดลง 15.5% ในระดับภูมิภาค เราคาดว่าการขยายตัวของการส่งออกจะลดลง 16.8% ในเอเชีย 12.5% ในอาฟริกา และ 10% ในลาตินอเมริกา ศุภชัย พานิชภักดิ์—เลขาธิการของอังถัด (United Nations Conference on Trade and Development-UNCTAD)—รายงาน
นี่จะมีผลอย่างแรงต่อการจ้างงานแน่นอน องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) คาดว่า คนงาน 51 ล้านคน จะต้องถูกลอยแพในปีนี้ ในจำนวนนี้ 22 ล้านคนจะเป็นผู้หญิง ภาคส่วนที่ถูกกระทบแรงที่สุดก่อนเพื่อน--เช่น การเงิน ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้าง และอุตสาหกรรม—ล้วนมีผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ แต่วิกฤตนี้กำลังแผ่เข้าไปในภาคบริการ ซึ่งในหลายๆ ประเทศ คนงานส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง
ทฤษฎีเบื้องหลังการค้าเสรี คือ คนงานที่ถูกลอยแพจากภาคธุรกิจที่แข่งกันนำเข้า จะสามารถถูกจ้างใหม่ในธุรกิจส่งออกที่ขยายตัว แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ที่ไม่สามารถปรับตัว จะกลายเป็นคนตกขอบและแย่ลงกว่าเดิม โชคไม่ดี การปรับตัวมักจะสร้างปัญหาเฉพาะสำหรับผู้หญิง เพราะมีความเสียเปรียบอยู่แล้วในด้านการศึกษา การควบคุมทรัพยากรการผลิต และการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ เทคโนโลยีใหม่ๆ การฝึกอบรม และช่องทางตลาด ปัญหานี้จะเกิดขึ้นมากในประเทศกำลังพัฒนาที่มีความเหลื่อมล้ำทางเพศสูง และที่ๆ รัฐบาลไม่มีสถาบัน/กลไกที่มีประสิทธิผล ที่จะเป็นข่ายรองรับความมั่นคงปลอดภัยทางสังคม และนโยบายชดเชยความเสียหาย การปรับตัวของผู้หญิงจะยากลำบากมาก
ระบบสุขภาพของพลโลกอยู่ในภาวะอันตราย
GLOBAL HEALTH SYSTEM IN STATE OF ALARM
Margaret Chan
FEBRUARY 2009 (IPS)
Margaret Chan
FEBRUARY 2009 (IPS)
วิกฤตการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันกลายเป็นปัญหามหาศาลที่ท้าทายต่อสุขภาพมนุษยชาติในโลก แต่มันก็เปิดโอกาสให้วางพื้นฐานของระบบสุขภาพให้มีความเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพสำหรับอนาคต และทบทวนวิเคราะห์ ปรับปรุงวิธีการที่องค์กรระหว่างประเทศทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพของประชาชนทั่วโลก มาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการขององค์กรสุขภาพโลก (WHO) เขียน
ในบทความนี้ ผู้เขียนกล่าวว่า การหดตัวของเศรษฐกิจที่ผ่านมา ได้มีการตัดงบการพัฒนาในเวลาที่วงการสุขภาพต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด เหตุการณ์เช่นนี้ จะต้องไม่เกิดขึ้นอีก เราไม่สามารถจะสังเวยความก้าวหน้าในสุขภาพของเด็กและผู้หญิง ที่เราได้มาด้วยความยากลำบาก ในการต่อสู้กับเอดส์ วัณโรค และมาเลเรีย และการสร้างระบบการให้บริการสุขภาพที่เข้มแข็ง การตัดงบสุขภาพเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว อาจใช้ได้กับประเทศที่แข็งแรงพอ การให้ความช่วยเหลือยังจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับประเทศยากจน
วิกฤตการเงินทำให้วงการสุขภาพระหว่างประเทศต้องตั้งคำถามระดับรากฐานเกี่ยวกีบวิธีการที่เรากำลังทำธุรกิจกัน เราไม่สามารถทำงานซ้ำซ้อนในองค์กรต่างกันอีกต่อไป เราจะต้องผลักดันให้มีกลไกในการประสานการทำงานร่วมกัน เพื่อเป็นหลักประกันว่าโครงการสุขภาพต่างๆ จะเดินหน้าเกาะเกี่ยวร่วมมือไปด้วยกันให้มากที่สุด วิกฤตควรจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปในระบบการพัฒนาในสหประชาชาติ ไม่ใช่อุปสรรค
ประเทศยากจนถูกต้อนให้ยอมรับการประนีประนอมที่เสียเปรียบในที่ประชุมสุดยอดทางการเงินของสหประชาชาติ
POOR COUNTRIES RAILROADED INTO WEAK COMPROMISE AT UN FINANCIAL SUMMIT By Sylvia Borren (935 words)
IPS COLUMNIST SERVICE, JULY 2009
IPS COLUMNIST SERVICE, JULY 2009
หลังจากการเจราต่อรองผ่านไปหลายสัปดาห์ การประชุมระดับสูงของสหประชาชาติว่าด้วยวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจ (24-26 มิย 2009) กลับจบลงด้วยบทสรุปที่น่าผิดหวัง ซิลเวีย บอณ์เรน ประธานร่วมของ เสียงประชาคมโลกต่อต้านความยากจน (Global Call to Action Against Poverty-GCAP) และ กลุ่มผู้เชื่อมต่อโลก (Worldconnectors) กล่าว
ในบทความนี้ บอร์เรน รายงานว่า ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ได้ถูกต้อนให้ยอมรับการประนีประนอมที่อ่อนแอมาก ที่มีเพียงคณะทำงานยูเอ็นเฉพาะกิจในการดำเนินการต่อ ภาคประชาสังคมมีความโกรธเคืองเพราะที่ประชุมไม่สามารถตกลงกันได้ ในการกำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรมที่จะสามารถช่วยภาคส่วนที่ถูกกระทบมากที่สุด—ผู้หญิงและคนชายขอบ
ในการรณรงค์สหัสวรรษของยูเอ็น ผู้นำของโลกได้ใช้เงินมากกว่า 10 เท่า เพื่อกู้การเงินโลกในปีผ่านมา เมื่อเทียบกับ ปริมาณเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาใน 49 ปีที่ผ่านมา ผู้นำการเมืองที่มีอำนาจที่สุดของโลก ต่างพากันมองข้ามสิทธิมนุษยชน โดยไม่รับผิดชอบต่อผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและความผันผวนของอากาศที่พวกเขาเป็นผู้ก่อ
ข่าวดี คือ ได้มีการนำเสนอหนทางแก้ไขที่จะแปรเปลี่ยนหลายๆ อย่างต่อที่ประชุมยูเอ็น ต่างชี้ไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ ต้องลงทุนในประชาชน แต่ข่าวร้ายคือ ที่ประชุมไม่เห็นว่ามันเป็นเรื่องเร่งด่วน และขาดความมุ่งมั่นทางการเมืองที่จะขับเคลื่อนให้การแก้ไขเกิดขึ้นได้จริงๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น