การพัฒนา
เชื่อมรอยแตกระหว่างพูดแต่ปากกับความเป็นจริง
DEVELOPMENTBridging the Chasm Between Rhetoric and Reality
By Aprille MuscaraUNITED NATIONS, Sep 18, 2010 (IPS)
By Aprille MuscaraUNITED NATIONS, Sep 18, 2010 (IPS)
ในคืนก่อนที่จะเริ่มการประชุมสุดยอด MDG ของสหประชาชาติ ซึ่งผู้นำโลกทั้งหลายจะมารวมตัวกันเพื่อย้ำปณิธานต่อเป้าหมาย 8 ประการ ภาคประชาสังคมยังคงกังขาอยู่มาก
“การประชุมสุดยอด ได้แสดงถึงช่องว่างระหว่างการพร่ำพูดกับความเป็นจริง” Mirjam van Reisen กล่าว Reisen เป็นผู้อำนวยการของ คณะที่ปรึกษานโยบายภายนอกยุโรป และเป็นนักเขียนคนหนึ่งใน Social Watch เล่มใหม่ที่จะออกตลาดในวันศุกร์นี้
การประชุมสุดยอด 20-22 กันยายน ต้องการเร่งฝีก้าวสู่เป้าหมาย MDG ซึ่งได้ขีดเส้นตายไว้ที่ปี 2015 แต่ “จะเกิดขึ้นได้จริงๆ อย่างไร?” Roberto Bissio ถาม (ผู้อำนวยการแห่งสถาบันโลกที่สาม และผู้เขียนอีกคนของ Social Watch) “ถ้ามีใครสักคนที่เอาจริงเอาจังกับการผลักดันให้บรรลุเป้า MDG ก็ต้องไม่ใช่ยังคงย่ำเท้าอยู่ที่เดิมอย่างนี้”
“ต้องเอาประชาชนเป็นตัวตั้งแรก – มันไม่มีอะไรผิดพลาดในสาส์นจากรายงาน” Bisso กล่าวในการเปิดตัว Social Watch ซึ่งเรียกร้องให้เอาจริงเอาจังในการดำเนินการ MDG ให้เกิด “ความเท่าเทียมเชิงโอกาส อ่อนไหวในมิติเจนเดอร์ และเป็นมิตรกับคนยากจนในระดับนโยบายมากยิ่งขึ้น”
เขายังได้อธิบายถึงแนวโน้มสองประการที่อยู่ในรายงาน: ความไม่เสมอภาคเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในบางแห่ง และความช่วยเหลือระหว่างประเทศได้ถูกผันไปใช้ในกองทัพ
ในปี 2008 มีเพียง 5.7% ของความช่วยเหลือจาก European Commission ที่ถูกจัดสรรไปใช้ในสาธารณสุขขั้นมูลฐาน และ
การศึกษา – ลดลงจาก 11% ในปี 2005 ตามรายงาน “นี่ทำให้เกิดคำถามว่า เงินที่เหลือหายไปไหน ถ้าไม่ใช่เพื่อ MDG?”
ในวันจันทร์ วันแรกของการประชุมสุดยอด ประธาน European Commission ได้ถูกคาดหวังว่าจะประกาศให้เงินช่วยเหลือ 1 พันล้านดอลลาร์ เพื่อให้บรรลุเป้า
“ปริมาณของเงินช่วยเหลือไม่มีความหมายเท่าไร” van Reisen กล่าว “[คำมั่นสัญญา Barroso] ไม่มีความหมายเพราะมันเป็นเงินช่วยเหลือเก่าที่นำกลับมาใช้ใหม่ ไม่มีเงินก้อนใหม่บนโต๊ะเลย”
ธนาคารโลก ก็ถูกคาดหมายว่าจะประกาศสัญญาให้เงิน 750 ล้านดอลลาร์สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานในวันจันทร์ และในวันอังคารก็หวังกันว่า จะเติมเต็มกองทุน Global Fund to Fight Aids, Malaria and Tuberculosis
“เห็นชัดๆ ว่า จุดเน้นของการประชุมสุดยอด คือ เงิน” Amnesty International กล่าว “แต่ลำพังเงิน ไม่สามารถจะแก้ปัญหารากเหง้าของความยากจน ซึ่งผูกรวมอยู่กับการละเมิดสิทธิมนุษยชน”
อันที่จริง Amnesty International, Social Watch และเอ็นจีโออื่นๆ ได้ผลักดันเป็นเวลาหลายปี ให้ใช้แนวทางสิทธิ ในการแก้ปัญหาความยากจนและความหิวโหย การศึกษาอย่างทั่วถึง ความเท่าเทียมระหว่างเพศ สุขภาพเด็กและมารดา การต่อสู้กับโรคเอดส์ มาเลเรียและวัณโรค ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และการเป็นหุ้นส่วนระดับโลก – เป้าหมายทั้ง 8 ประการ
เอกสารว่าด้วยผลพวง ที่จะถูกรับรองในวันสุดท้ายของการประชุม ได้เสนอเค้าโครงของ “วาระปฏิบัติการ” (Action Agenda) สำหรับเป็นแนวทางให้ดำเนินการให้บรรลุ MDG ภายใน 2015 รวมถึงการยอมรับ สิทธิมนุษยชน ว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานในการขจัดความยากจน และการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม – อันเป็นความก้าวหน้าที่มีความหมาย ที่กลุ่มภาคประชาสังคมชื่นชม
แต่พวกเขาเห็นว่าส่วนที่เหลือของเอกสารชิ้นนี้ ซึ่งได้ผ่านการต่อรองมานับเดือน และตั้งใจว่า จะให้เป็นพิมพ์เขียวของโลกสำหรับการดำเนินงานในอีกห้าปีข้างหน้า ล้วนเป็นความถอยหลัง
“เมื่อคุณเปิดดูเอกสารนี้ คุณจะเห็นแต่เรื่องน่าผิดหวัง” Barbara Adams, senior fellow ของ the Global Policy Forum and Social Watch กล่าวในโต๊ะอภิปราย “ไม่มีคำสัญญาผูกพันใหม่ๆ เลย”
Truscott สะท้อนความรู้สึกเหล่านี้ด้วยการตราหน้าเอกสารนี้ว่า เป็น “วาระไม่ปฏิบัติการ” (Inaction Agenda) เพราะไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรม หรือกลไกที่จะสร้างหลักประกันความน่าเชื่อถือ “มันน่าสลดใจมาก ในความเป็นจริง ผู้นำโลกกล่าวว่า ‘เชื่อพวกเรานะ’... แต่พูดกันตามตรง พวกเราไม่เชื่อพวกเขาเลย เพราะเรารู้ว่า ในระหว่างการต่อรอง มีการต่อสู้กันยกใหญ่เกี่ยวกับการใช้ภาษาสิทธิมนุษยชน – และก็เป็นคนยากจนนั่นแหละที่กำลังจ่ายในราคานั้น”
ในระหว่างการให้ข่าวสัปดาห์ที่แล้ว เลขาธิการสหประชาชาติ บัน คี-มูน กล่าวต่อนักข่าวว่า แม้เอกสารว่าด้วยผลพวงจะได้ทำเสร็จแล้ว มันก็ยังแก้ไขได้ในระหว่างการประชุมสุดยอด ถ้าผู้นำโลกมีความเห็นเพิ่ม หรือมีข้อแนะนำใหม่
แต่เอ็นจีโอกังวลว่า สัปดาห์หน้า อะไรๆ ก็จะยังคงเหมือนเดิม Bisso กล่าวเตือน “นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในที่ประชุมสุดยอดทั้งหลาย... มีการพูดมากมาย แต่ไม่มีปฏิบัติการ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น