วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

หญิงมุสลิม กับความรุนแรงภาคใต้

ประเทศไทย
เหตุการณ์ก่อความรุนแรงทำให้ผู้หญิงไทยมุสลิม (มุสลิม-มาเลย์) กลายเป็นผู้นำ
Insurgency Turns Malay-Muslim Women into Leaders
By Marwaan Macan-Markar
SONGKHLA, Thailand, Sep 23, 2010 (IPS)

เมื่อสามีของเธอถูกจับในข้อหาเชื่อมโยงกับขบวนการผู้ก่อความรุนแรงในภาคใต้ ปัทมา ฮีมมิมา ติดอันดับหญิงไทยมุสลิม (ในต้นฉบับเรียก มุสลิม-มาเลย์) ที่ถูกบังคับให้เข้าสู่กิจวัตรประจำวันที่ไม่คุ้นเคยในการเข้าพบที่สถานีตำรวจ ค่ายทหาร และศาล เพื่อช่วยให้สามีของเธอหลุดจากการจองจำ

ในขณะเดียวกัน ไม่มีองค์กรท้องถิ่นใดที่เธอจะสามารถหันหน้าพึ่งได้เพื่อช่วยสามีนาวาวี เดาฮุมโซ ผู้ถูกตำรวจไทยจับกุมเมื่อมีนาคม 2008 ด้วยข้อหาฆ่าคนตาย

แต่เมื่อถึงเวลาที่ศาลได้ปล่อยตัว นาวาวี ในเดือนมีนาคม 2010 ทำให้เขาและปัทมา (อายุ 34) เริ่มสานชีวิตแต่งงานที่มีอายุเพียง 2 เดือนเมื่อตำรวจจับตัวผิด ปัทมาก็พบคำตอบในการค้นหาความช่วยเหลือท้องถิ่น

เธอและพี่สาว อัญชนา เสมมินา ได้หาทางออกด้วยการเล่นบทนักกิจกรรมเองในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม   ในกลางปี 2009 สองพี่น้องได้ตั้งกลุ่ม กำลังใจ (Hearty Support Group) ในจังหวัดสงขลา เพื่อช่วยครอบครัวต่างๆ ดิ้นรนต่อสู้ให้ปล่อยตัว พ่อ สามี และลูกชาย

ฉันต้องการจะช่วยผู้หญิงที่ตกทุกข์ระทมเหล่านั้น หลังจากที่สามีและลูกชายถูกตำรวจ ทหาร จับไป ปัทมาพูด ฉันได้เรียนรู้มากมายหลังจากที่สามีของฉันถูกจับกุม จนฉันต้องการจะแบ่งปันความรู้เหล่านั้นกับคนอื่นในชุมชนของฉัน

ทุกวันนี้ เครือข่ายการช่วยเหลือเฉพาะกิจที่หญิงทั้งสองตั้งขึ้น ได้ช่วยเหลือครอบครัวของชาย 16 คนจากคณะกรรมการจัดการของมัศยิดท้องถิ่น ผู้ถูกตำรวจจับในปี 2008 และกำลังรอการคิวการพิจารณาของศาล  วันๆ ปัทมาใช้เวลาส่วนใหญ่เข้าพบทนายความ หรือตำรวจแทน 50 ครอบครัวที่เครือข่ายให้ความช่วยเหลืออยู่

ความสำเร็จของกลุ่มกำลังใจ ไม่ใช่ข้อยกเว้น  แต่เป็นหนึ่งในการขยายตัวของจำนวนกลุ่มประชาสังคมในท้องถิ่นที่กำลังจะแปรเปลี่ยนโฉมหน้าของการเมืองในจังหวัดที่ถูกทึ้งทำลายด้วยการก่อความรุนแรงใน ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา ซึ่งอยู่เขตชายแดนไทย-มาเลเซีย

นี่เป็นการต่อกรกับความขัดแย้ง  กลุ่มเหล่านี้ที่จับประเด็นความเป็นธรรม ส่วนใหญ่นำโดยผู้หญิง อังคนา ลีละไพจิตร ผู้เขียนผลการศึกษา บทบาทและสิ่งท้าทายของหญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่หัวแข็ง  กล่าว   พวกเธอจะเป็นคนที่คุณเห็นข้างนอกเรือนจำ ค่ายทหาร หรือในศาล

พวกผู้ชายกลัวที่จะพูดหรือเผชิญหน้ากับผู้มีอำนาจ อังคณาเผย  สามีของเธอเองต้อง หายสาปสูญ ในมีนาคม 2004 เพราะเปิดโปงทารุณกรรมของตำรวจ  เดี๋ยวนี้ กลุ่มผู้หญิงเข้มแข็งมาก มีจำนวนมากกว่าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว

แต่การแปรเปลี่ยนนี้ ต้องเผชิญกับแรงต่อต้านอย่างแรงจากบางภาคส่วนของชุมชนไทยมุสลิมอนุรักษ์รุนแรง ที่คาดหมายให้ผู้หญิงเล่นบทในครัวเรือน และในประวัติศาสตร์ ก็ได้กีดกันไม่ให้ผู้หญิงเล่นบทผู้นำในโครงสร้างสังคมและการเมือง  พวกนักการศาสนาหัวรุนแรง พยายามใส่ร้ายป้ายสีผู้หญิงเหล่านี้ อังคณากล่าว

สัญญาณที่ผู้หญิงก้าวขึ้นมาแถวหน้า เริ่มเกิดขึ้นในปี 2004  ปีที่วงจรความรุนแรงในปัจจุบันปะทุขึ้น หลังจากการบุกรุกค่ายทหารโดยกลุ่มผู้ก่อการกบฏไทยมุสลิม (มุสลิม-มาเลย์) ลึกลับ ในเดือนมกราคม   ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน  ผู้ประท้วงมุสลิม 78 คนสำลักอากาศตาย หลังจากถูกลำเลียงซ้อนกันเหมือนท่อนซุงในรถบรรทุกทหาร ที่วิ่งเป็นชั่วโมงกว่าจะถึงค่ายทหาร

หญิงที่สูญเสียชายในครอบครัว ส่วนใหญ่มาจากหมู่บ้านตากใบในจังหวัดนราธิวาส -- ได้บุกเบิกก่อตั้งเครือข่ายเฉพาะกิจด้วยความร่วมมือและสนับสนุนจากกลุ่มสิทธิในกรุงเทพฯ  ผู้ชาย แม้แต่อิมาม ไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมของพวกเรา เพราะกลัวทหาร หญิงคนหนึ่งจากตากใบเล่า โดยขอให้ไม่เปิดเผยชื่อ แต่พวกเราต้องการจะรักษาสามีและบิดาที่ตายไปแล้วในความทรงจำของพวกเราในกิจกรรมประจำวันตามปกติ

ในรายการวิทยุที่เริ่มออกอากาศครั้งแรกต้นปีนี้ กลุ่มเพื่อนของครอบครัวเหยื่อผู้ถูกกระทบ ที่ตั้งอยู่ในปัตตานี ได้สัมภาษณ์ผู้หญิงในหมู่บ้าน ให้เล่าถึงผลกระทบของความรุนแรงต่อพวกเธอ

กลุ่มอื่น เช่น กลุ่ม We Peace ที่ยะลา ได้จัดสัมมนาสาธารณะ ได้เชิญผู้หญิงที่มีญาติในคุก ให้มาพูดถึงความห่วงใยของพวกเธอ แม้ว่าตอนนั้นจะมีทหารอยู่ในที่นั้นด้วย

ทหารคนหนึ่งที่เคยไปเข้าร่วมสัมมนาเช่นนี้ ยอมรับว่า ผู้หญิงในกลุ่มภาคประชาสังคมแสดง ความกล้าหาญและความมุ่งมั่น ในการเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่  พวกเธอได้เป็นที่รู้จัก ตั้งแต่ปี 2005  พวกเธอส่งเสียงมากกว่าผู้ชาย เจ้าหน้าที่ทหารหน่วยประจัญบานให้สัมภาษณ์ ในขณะเดินทางปฏิบัติภารกิจในภาคใต้

ชะตากรรมของชายไทยมุสลิมประมาณ 450 คนในคุกภาคใต้ ด้วยข้อหาผู้ก่อการร้าย ยังคงเป็นข้อห่วงใยต้นๆ ของนักกิจกรรมหญิง   คนอื่นๆ เช่น หญิงจากตากใบ ได้ใช้วิธีอื่นในการโต้ตอบกับการสังหารในความขัดแย้ง  ประชาชนกว่า 4,300 คนตาย และ 11,000 คน บาดเจ็บในช่วง 6 ปีครึ่ง

ความรุนแรงที่ระเบิดขึ้นอีกตอนนี้ เป็นความขัดแย้งล่าสุดที่มีรากเหง้าในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่เมื่อประเทศไทยยังเป็นที่รู้จักกันว่า สยาม ที่ได้ผนวก 3 จังหวัดภาคใต้มาในปี 1902   ก่อนหน้านั้น พวกเขาเป็นชาวมุสลิม-มาเลย์ในราชอาณาจักรปัตตานี

ตั้งแต่ถูกผนวก ชาวมุสลิม-มาเลย์ได้แสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับวัฒนธรรม ภาษา และเศรษฐกิจที่ถูกเบียดให้ตกอยู่ชายขอบ นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการดิ้นรนเพื่อแบ่งแยกดินแดนในทศวรรษ 1970

ในขณะที่พวกก่อการกบฏ ไม่ส่งสัญญาณลดถอยลงสักนิด ปัทมามองเห็นปัญหาอุปสรรคข้างหน้า  ประชาชนที่นี่มีชีวิตอยู่ด้วยความกลัว และพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ ถ้าพ่อหรือสามีถูกจับกุม เธอกล่าว มันได้กลายเป็นบทบาทของผู้หญิงที่จะนำและขอความช่วยเหลือ
9-28-10

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น