วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Z11 โลกที่เป็นธรรมและยั่งยืน

Toward a Post-Growth Society

It’s business as usual that’s the utopian fantasy, while creating something very new and different is the pragmatic way forward

Thursday, July 7, 2011 by YES! Magazine
สู่สังคมหลังการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ทุกอย่างยังคงดำเนินไปเหมือนเดิมตามจินตนาการเรื่องสังคมในอุดมคติ (ยูโทเปีย) เพียงแต่สร้างสรรค์บางอย่างที่ใหม่และแตกต่าง ให้เป็นหนทางเดินหน้าที่ปฏิบัติได้อย่างจริงจัง
โดย เจมส์ กุสตาฟ สเป็ธ, YES! Magazine,   7 กค 2011
Today, the reigning policy orientation holds that the path to greater well-being is to grow and expand the economy. Productivity, profits, the stock market, and consumption: all must go continually up. This growth imperative trumps all else. It is widely believed that growth is always worth the price that must be paid for it—even when it undermines families, jobs, communities, the environment, and our sense of place and continuity.
     "Building the strength needed for change requires, first of all, a political fusion among progressives," writes Speth. "And that fusion should start with a unified agenda. Such an agenda would embrace a profound commitment to social justice and environmental protection, a sustained challenge to consumerism and commercialism and the lifestyles they offer, a healthy skepticism of growthmania, a democratic redefinition of what society should be striving to grow, a challenge to corporate dominance and a redefinition of the corporation and its goals, and a commitment to an array of pro-democracy reforms in campaign finance, elections, the regulation of lobbying, and much more."

The Limits of Growth
But an expanding body of evidence is now telling us to think again. Economic growth may be the world’s secular religion, but for much of the world it is a god that is failing—underperforming for billions of the world’s people and, for those in affluent societies, now creating more problems than it is solving. The never-ending drive to grow the overall U.S. economy hollows out communities and the environment; it fuels a ruthless international search for energy and other resources; it fails at generating jobs; and it rests on a manufactured consumerism that is not meeting the deepest human needs. Americans are substituting growth and consumption for dealing with the real issues—for doing things that would truly make us and the country better off. Psychologists have pointed out, for example, that while economic output per person in the United States has risen sharply in recent decades, there has been no increase in life satisfaction and levels of distrust and depression have increased substantially.
     We need to reinvent the economy, not merely restore it. The roots of our environmental and social problems are systemic and thus require transformational change. Sustaining people, communities, and nature must henceforth be seen as the core goals of economic activity, not hoped for byproducts of an economy based on market success, growth for its own sake, and modest regulation. That is the paradigm shift we seek.
     For the most part, reformers have worked within this current system of political economy, but what is needed is transformative change in the system itself. The case for immediate action on issues like climate change, job creation, and unemployment extension is compelling, but the big environmental and social challenges we face will not yield to problem-solving incrementalism. Progressives have gone down the path of incremental reform for decades. We have learned that it is not enough.

Growing Jobs and Well-Being, Not the Economy
It is time for America to move to a post-growth society where working life, the natural environment, our communities and families, and the public sector are no longer sacrificed for the sake of mere GDP growth; where the illusory promises of ever-more growth no longer provide an excuse for neglecting to deal generously with our country’s compelling social needs; and where true citizen democracy is no longer held hostage to the growth imperative.
     Many of the policies that would help grow the kind of society most of us want to live in would actually slow GDP growth. For example, if productivity gains are taken as shorter worktime, personal incomes and overall economic growth can stabilize while quality of life increases. Juliet Schor points out that workers in Europe put in about 300 fewer hours each year than Americans.
     Other policies that would point us in the right direction:
·   greater labor protections, job security, and benefits, including generous parental leaves;
·   guarantees to part-time workers and combining unemployment insurance with part-time work during recessions;
·   restrictions on advertising;
·   a new design for the twenty-first-century corporation, one that embraces rechartering, new ownership patterns, and stakeholder primacy rather than shareholder primacy;
·   strong social and environmental provisions in trade agreements;
·   rigorous environmental, health and consumer protection, including full incorporation of environmental and social costs in prices—for example through mandated caps or taxes on emissions and extractions;
·   greater economic and social equality, with genuinely progressive taxation of the rich (including a progressive consumption tax) and greater income support for the poor;
·   heavy spending on neglected public services;
·   and initiatives to address population growth at home and abroad.
Taken together, these policies would undoubtedly slow GDP growth, but well-being and quality of life would improve, and that’s what matters.
     Of course, it is clear that even in a post-growth America, many things do indeed need to grow: the availability of good jobs; the incomes of the poor and working Americans; access to health care and the efficiency of its delivery; education, research and training; security against the risks of illness, job loss, old age and disability; investment in public infrastructure and in environmental protection; the deployment of climate-friendly and other green technologies; the restoration of ecosystems and local communities; non-military government spending at the expense of military spending; international assistance for sustainable, people-centered development for the half of humanity that lives in poverty.
     Jobs and meaningful work top this list because they are so important and unemployment is so devastating. The availability of jobs, the well-being of people, and the health of communities should not be forced to await the day when overall economic growth might deliver them. It is time to shed the view that government mainly provides safety nets and occasional Keynesian stimuli. We must insist that government have an affirmative responsibility to ensure that those seeking decent paying jobs find them. The surest, and also the most cost-effective, way to that end is direct government spending—investments and incentives targeted at creating jobs in areas where there is high social benefit. Creating new jobs in areas of democratically determined priority is certainly better than trying to create jobs by pump priming aggregate economic growth, especially in an era when increases in GDP and productivity often don’t produce jobs.
     Beyond policy change, another hopeful path into a sustainable and just future is to seed the landscape with innovative models. One of the most remarkable and yet under-noticed things going on in the United States today is the proliferation of innovative models of “local living” economies, sustainable communities and transition towns, and for-benefit businesses which prioritize community and environment over profit and growth. The community-owned Evergreen Cooperative in Cleveland is a wonderful case in point. As Gar Alperovitz and his colleagues have pointed out, state and federal programs can be crafted to support community development and finance corporations, local banks, community land trusts, employee and consumer ownership, local currencies and time dollars, municipal enterprise, and non-profits in business.

We Won’t Miss Growth
Running parallel to these changes in policy must be a change in national values. In particular, it’s time to move beyond our runaway consumerism. There are mounting environmental and social costs of American affluence, extravagance, and wastefulness. Even our larger homes and lots are too small to contain all the stuff we are accumulating. The self-storage industry didn’t exist until the early 1970s, but it has grown so rapidly that its floor space would now cover an area the size of Manhattan and San Francisco combined. We have a disease, affluenza, from which we need a speedy recovery.
     The good news is that more and more people sense at some level that there’s a great misdirection of life’s energy. We know we’re slighting the things that truly make life worthwhile. One survey found that 81 percent of Americans think the country is too focused on shopping and spending; 88 percent say American society is too materialistic.
     Psychological studies show that materialism is toxic to happiness, that more income and more possessions don’t lead to lasting gains in our sense of well-being or satisfaction with our lives. What does make us happy are warm personal relationships, and giving rather than getting.
     Sustaining people, communities, and nature must henceforth be seen as the core goals of economic activity, not hoped for byproducts of an economy based on market success, growth for its own sake, and modest regulation
     Building the strength needed for change requires, first of all, a political fusion among progressives, and that fusion should start with a unified agenda. Such an agenda would embrace a profound commitment to social justice and environmental protection, a sustained challenge to consumerism and commercialism and the lifestyles they offer, a healthy skepticism of growthmania, a democratic redefinition of what society should be striving to grow, a challenge to corporate dominance and a redefinition of the corporation and its goals, and a commitment to an array of pro-democracy reforms in campaign finance, elections, the regulation of lobbying, and much more. A common agenda would also include an ambitious set of new national indicators beyond GDP to inform us of the true quality of life in America. We tend to get what we measure, so we should measure what we want.
     If some of the ideas just presented seem politically impracticable today, just wait until tomorrow. Soon it will be clear to more and more people that it’s business as usual that’s the utopian fantasy, while creating something very new and different is the practical, pragmatic way forward.
     I doubt that we’ll miss our growth fetish after we say good-bye to it.
     This article was adapted for YES! Magazine, a national, nonprofit media organization that fuses powerful ideas with practical solutions for a just and sustainable world, from a speech Speth gave to the E.F. Schumacher Society.


This work is licensed under a Creative Commons License
ทุกวันนี้ ทิศทางนโยบายที่ครองราชย์อยู่ ยึดมั่นว่า หนทางสู่ความผาสุกยิ่งๆ ขึ้น คือ การเติบโตและขยายตัวทางเศรษฐกิจ    ผลิตผล กำไร ตลาดหุ้น และการบริโภค: ล้วนต้องเพิ่มให้มากขึ้นเรื่อยๆ   คำสั่งให้โตนี้ อยู่เหนือทุกสิ่งนอกพ้นจากนี้   มันเป็นความเชื่อที่แผ่ซ่าน ครอบคลุมไปทั่วว่า การโตนั้น ย่อมต้องคุ้มราคาที่จะต้องจ่ายเพื่อให้ได้มันมาเสมอแม้ว่ามันจะกัดเซาะครอบครัว การงาน ชุมชน สิ่งแวดล้อม และความรู้สึกของเราเกี่ยวกับสถานที่กับความต่อเนื่อง (กาลเทศะ?)
     การสร้างความเข้มแข็งที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีประการแรก--การหลอมรวมเชื่อมร้อยเชิงการเมืองระหว่างพวกหัวก้าวหน้า สเป็ธ เขียน  และการหลอมรวมนั้นควรจะเริ่มต้นด้วยวาระที่มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  วาระดังกล่าว จะโอบความรู้สึกรับผิดชอบผูกพันอย่างลึกซึ้ง ต่อความเป็นธรรมในสังคม และการป้องกันสิ่งแวดล้อม  อันเป็นการท้าทายที่ยั่งยืน ต่อลัทธิบริโภคนิยมและพาณิชย์นิยม รวมทั้งลีลาชีวิตที่พวกมันเสนอให้   ความสงสัยกังขาอย่างสร้างสรรค์ต่อความคลั่งไคล้การโต  การให้นิยามใหม่ในครรลองประชาธิปไตยว่า สังคมควรหมั่นพากเพียรปลูก/ขยายอะไร  การท้าทายความครอบงำของบรรษัท และการนิยามใหม่เกี่ยวกับบรรษัทและเป้าหมายของมัน  และความรับผิดชอบผูกพันต่อรายการทั้งหลายเพื่อการปฏิรูปที่เข้าข้างประชาธิปไตย ในการรณรงค์ด้านการเงิน การเลือกตั้ง การวิ่งเต้นชักชวนให้ สส สนับสนุนกฎข้อบังคับ และอื่นๆ อีกมากมาย

ความจำกัดของการโต
มีหลักฐานมากขึ้นทุกวันที่บอกให้พวกเราคิดทบทวนให้ดี  การเติบโตทางเศรษฐกิจ อาจเป็นศาสนาฆราวาสของโลก แต่สำหรับชาวโลกส่วนใหญ่ มันเป็นพระเจ้าที่ล้มเหลว--ไม่สามารถแสดงตามบทสำหรับชาวโลกหลายพันล้าน และสำหรับสังคมที่ร่ำรวย มันกำลังสร้างปัญหามากกว่าที่มันจะแก้ได้   แรงขับที่ไม่เคยหยุด เพื่อให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ โต ได้ทำให้ชุมชนและสิ่งแวดล้อมกลวงเป็นโพรง  มันได้โหมกระพือให้ออกไล่ล่าอย่างอำมหิตในระหว่างประเทศ เพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงานและวัตถุดิบอื่นๆ   มันล้มเหลวที่จะสร้างงาน  และมันนอนกินอยู่บนลัทธิบริโภคผลิตผลจากอุตสาหกรรม ที่ไม่สามารถสัมผัสความจำเป็น/ต้องการที่ลึกที่สุดของมนุษย์   ชาวอเมริกัน กำลังแทนที่การโตและบริโภคนิยมนี้ ด้วยการต่อกรกับประเด็นจริง--เพื่อทำสิ่งที่จะทำให้พวกเราและประเทศชาติดีขึ้นจริงๆ    ยกตัวอย่าง นักจิตวิทยาได้ชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจต่อหัวในสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายทศวรรษที่ผ่านมา  ความพึงพอใจในชีวิตนั้น หาได้เพิ่มตามไปด้วยไม่ และระดับความระแวงและความหดหู่เศร้าสร้อยกลับเพิ่มมากขึ้น
     พวกเราจำเป็นต้องประดิษฐ์สรรสร้างเศรษฐกิจใหม่ ไม่ใช่แค่ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์มัน   รากเหง้าปัญหาเชิงสิ่งแวดล้อมและสังคมฝังอยู่ในโครงสร้าง จึงจำเป็นต้องมีการแปรเปลี่ยนถึงระดับโครงสร้าง    การทำให้ประชาชน ชุมชน และธรรมชาติยั่งยืน จะต้องเป็นเป้าหมายแกนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ---ไม่ใช่แค่หวังว่า มันจะเป็นผลพลอยได้ของเศรษฐกิจที่อาศัยความสำเร็จของตลาด--ที่ต้องเติบโตเพื่อตัวมันเอง และมีกฎข้อบังคับพอสมควร   นี่คือกรอบคิดใหม่ที่พวกเราแสวงหากัน
    ในภาพใหญ่ นักปฏิรูปทั้งหลายได้ทำงานภายในระบบเศรษฐกิจการเมืองปัจจุบัน แต่สิ่งที่จำเป็น คือ การเปลี่ยนแปลงที่แปรเปลี่ยนตัวระบบเอง  กิจที่ต้องเริ่มปฏิบัติการทันที ได้แก่ สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง การสร้างงาน และการว่างงานแบบขยาย ล้วนเป็นเรื่องด่วน  แต่สิ่งท้าทายใหญ่หลวงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่ ย่อมไม่ลดราลง ด้วยวิธีการแก้ปัญหาแบบค่อยเป็นค่อยไป   พวกหัวก้าวหน้า ได้ใช้เส้นทางการปฏิรูปแบบค่อยเป็นค่อยไปมาหลายทศวรรษแล้ว  พวกเราได้บทเรียนแล้วว่า มันไม่พอ
    
ขยายการเติบโตของงานและความอยู่ดีมีสุข ไม่ใช่เศรษฐกิจ
ถึงเวลาแล้วที่อเมริกาจะต้องเคลื่อนเข้าสู่ยุคหลังการโต อันเป็นทีๆ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ชุมชนและครอบครัวของเรา และภาคสาธารณะ จะไม่ต้องพลีชีพเพียงเพื่อให้จีดีพีโตขึ้น  ที่ๆ สัญญาจอมปลอมของการโตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จะไม่เป็นข้ออ้างต่อไปเพื่อมองข้ามหรือละเลยการจัดการอย่างเอื้ออารี กับความบีบคั้นในสังคมของเรา  และที่ๆ ประชาธิปไตยพลเมืองที่แท้จริง จะไม่ถูกกักเป็นตัวประกันเพียงเพื่อให้เศรษฐกิจโตต่อไป
     หลายๆ นโยบายที่อาจช่วยปลูก/ขยายสังคมประเภทที่พวกเราส่วนใหญ่ต้องการที่จะอาศัยอยู่นั้น ที่จริงน่าจะมีการขยายตัวของจีดีพีอย่างช้าๆ  ยกตัวอย่าง หากผลิตผลที่เกิดขึ้น ได้มาด้วยเวลาที่สั้นลง  รายได้ส่วนบุคคล และการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจโดยรวม ก็จะมีความเสถียร ในขณะที่คุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น   จูเลียต ชอร์ ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนในยุโรปใช้เวลาน้อยกว่าชาวอเมริกัน 300 ชั่วโมงต่อปี
     นโยบายอื่นๆ ที่จะเป็นเข็มชี้ให้พวกเราเดินถูกทาง
-       การเพิ่มขึ้นของการปกป้องแรงงาน ความมั่นคงทางการงาน และผลประโยชน์ รวมถึง การชดเชยอย่างเอื้อเฟื้อต่อการลาคลอด/ทำหน้าที่พ่อแม่
-       การให้หลักประกันงานกึ่งเวลา และรวมการประกันการว่างงานกับงานกึ่งเวลาในระหว่างภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ
-       จำกัดการโฆษณา
-       ออกแบบใหม่สำหรับระบบบรรษัทในยุคศตวรรษที่ 21 ให้เป็นผู้ยอมรับการทำสัญญาใหม่ รูปแบบใหม่ของความเป็นเจ้าของ และให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เหนือผู้ถือหุ้น
-       แรงจูงใจสำหรับการผลิตและการบริโภคท้องถิ่น ที่คนท้องที่เป็นเจ้าของ
-       เงื่อนไขที่เข้มแข็งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในข้อตกลงการค้า
-       การปกป้องที่เข้มงวดสำหรับสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และผู้บริโภค รวมทั้งการผนวกการคำนวณราคา/มูลค่า/ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเช่น การกำหนดเพดาน หรือภาษีในการปล่อยหรือสกัด
-       ความเท่าเทียมมากขึ้นด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้วยระบบภาษีก้าวหน้าที่แท้จริงสำหรับคนรวย (รวมทั้งภาษีบริโภคก้าวหน้า) และการเสริมรายได้ที่มากขึ้นสำหรับคนยากจน
-       จัดงบประมาณให้มากขึ้นสำหรับการใช้จ่ายในภาคสาธารณะที่ถูกละเลย
-       ริเริ่มกิจกรรมที่จะแก้ไขปัญหาการเพิ่มประชากรในประเทศและต่างประเทศ

ถ้าทำจริงกับนโยบายทั้งหมด ไม่ต้องสงสัยเลย จีดีพีจะโตช้าลง แต่ความอยู่ดีมีสุข และคุณภาพชีวิตย่อมดีขึ้น และนั่นเป็นเรื่องสำคัญ
     แน่นอน มันชัดเจนอยู่แล้วว่า แม้แต่ในอเมริกายุคหลังการโต หลายสิ่งหลายอย่าง ก็ยังต้องงอกเงยต่อไป  การงานที่ดี  รายได้ของคนยากจนและคนทำงาน  การเข้าถึงการดูแลสุขภาพ และประสิทธิภาพในการให้บริการ  การศึกษา การวิจัย และการฝึกอบรม  ความมั่นคงที่คุ้มครองความเสี่ยงในโรคภัย การสูญเสียงาน ชราภาพ และความพิการ  การลงทุนในระบบสาธารณูปโภคและในการปกป้องสิ่งแวดล้อม  การใช้เทคโนโลยีเขียวอื่นๆ ที่เป็นมิตรต่อภูมิอากาศ  การฟื้นฟูระบบนิเวศน์ และชุมชนท้องถิ่น  การใช้จ่ายของรัฐบาลที่ไม่เกี่ยวกับกองทัพด้วยงบกองทัพ  การให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สำหรับมนุษยชาติกึ่งหนึ่งที่ยังมีชีวิตในความยากไร้
     งานและกิจที่มีความหมาย เป็นอันดับแรกในรายการ เพราะมันสำคัญมาก และการว่างงานก่อให้เกิดความเสียหายมากมาย  การมีงานให้ทำ ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน และสุขภาพของชุมชน ไม่ควรจะต้องเป็นการรอคอยภาคบังคับ ว่าวันหนึ่ง เมื่อเศรษฐกิจทั้งระบบโตพอแล้ว ก็อาจจะให้บริการพวกเขาได้   มันถึงเวลาแล้วที่จะสลัดทิ้งมุมมองที่ว่า รัฐบาลเป็นตัวหลักในการให้ ร่างแหแห่งความปลอดภัย และคอยกระตุ้นเศรษฐกิจให้โตเป็นระยะ  พวกเราจะต้องผลักดันให้รัฐบาลมีความรับผิดชอบอย่างไม่มีการเลือกปฏิบัติในรูปแบบต่างๆ ที่จะทำให้มั่นใจว่า ผู้หางานที่มีค่าจ้างเหมาะสม ย่อมหางานทำได้  วิธีที่เป็นไปได้มากที่สุด และก็คุ้มทุนที่สุด เพื่อยุติการใช้จ่ายตรงของรัฐบาล คือ การลงทุนและแรงจูงใจที่พุ่งเป้าไปที่การสร้างงาน ในปริมณฑลที่ให้ประโยชน์ทางสังคมสูง   การสร้างงานใหม่ ในเรื่องที่ได้ถูกตัดสินตามครรลองประชาธิปไตยให้เป็นลำดับต้นๆ ย่อมดีกว่าความพยายามที่จะเร่งให้เกิดตัวเลขรวมยอดชี้การโตของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างย่ง ในยุคที่การเพิ่มจีดีพีและกำลังการผลิต มักไม่ได้สร้างงาน
     เหนือการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย หนทางแห่งความหวังสู่อนาคตที่ยั่งยืนและเป็นธรรม คือ การหว่านเมล็ดในภูมิทัศน์ด้วยนวัตกรรม   สิ่งหนึ่งที่ยอดเยี่ยมและยังไม่เป็นที่สังเกต ที่กำลังเกิดขึ้นในสหรัฐฯ ทุกวันนี้ คือ การเพิ่มขยายอย่างรวดเร็วของรูปแบบนวัตกรรมของ เศรษฐกิจที่ มีชีวิตท้องที่   ชุมชนยั่งยืนและเมืองเปลี่ยนผ่าน  และ ธุรกิจเพื่อประโยชน์ (แทนที่ ธุรกิจค้ากำไร-ผู้แปล) ซึ่งให้ความสำคัญแก่ชุมชนและสิ่งแวดล้อม เหนือกำไรและการโต  กิจการที่ชุมชนเป็นเจ้าของ สหกรณ์เขียวขจีในคลีฟแลนด์ เป็นกรณีตัวอย่างยอดเยี่ยมในเรื่องนี้    ดังที่ การ์ อัลเปอโรวิตส์ และเพื่อนร่วมงาน ได้ชี้ให้เห็นว่า โปรแกมภาครัฐและสหพันธรัฐ สามารถจะกำหนดให้สนับสนุนการพัฒนาชุมชน และบริษัทการเงิน ธนาคารท้องถิ่น  ธนาคารที่ดินชุมชน  ลูกจ้างกับความเป็นเจ้าของๆ ผู้บริโภค เงินตราท้องถิ่นและดอลล่าร์เวลา  กิจการเทศบาล ธุรกิจไม่ค้ากำไร

พวกเราจะไม่หวลอาลัยการเติบโต (ของเศรษฐกิจ)
สิ่งที่ต้องทำคู่ขนานไปกับการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย คือการเปลี่ยนแปลงในค่านิยมระดับชาติ  กล่าวโดยเฉพาะ มันถึงเวลาที่จะไปให้พ้นจาก ลัทธิบริโภคนิยมแบบคุมไม่ได้ของเรา  ความร่ำรวย ฟุ้งเฟ้อ และฟุ่มเฟือยของชาวอเมริกัน ได้กลายเป็นต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ใหญ่หลวง  แม้แต่บ้านและที่จอดรถขนาดใหญ่กว่าของพวกเรา ก็ยังเล็กเกินไปที่จะเก็บข้างของที่พวกเราสะสม   อุตสาหกรรมห้องเก็บของส่วนตัว ไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งต้นทศวรรษ 1970 (2513)  แต่มันได้เติบโตอย่างรวดเร็วจนพื้นที่โดยรวมของอุตสาหกรรมนี้ ใหญ่เท่ากับ รัฐแมนฮัตตัน และรัฐซานฟรานซิสโก รวมกัน   พวกเรามีโรค affluenza (เชื้อโรคจากความร่ำรวย เป็นการเล่นคำ affluence เทียบกับ influenza หรือไข้หวัดใหญ่-ผู้แปล) ที่พวกเราจะต้องรีบๆ รักษาให้หายอย่างรวดเร็ว
     ข่าวดี คือ มีคนมากขึ้นๆ ที่สำเหนียกในระดับหนึ่ง ว่า มีการผิดทิศผิดทางอย่างใหญ่หลวง ในพลังชีวิตของพวกเขา  พวกเรากำลังดูหมิ่นหลายสิ่ง ที่ทำให้ชีวิตมีค่า   การสำรวจหนึ่ง พบว่า ชาวอเมริกัน 81% คิดว่า ประเทศนี้มุ่งความสนใจที่การช็อป/ซื้อ และจ่ายมากเกินไป   88% บอกว่า สังคมอเมริกันติดวัตถุนิยมมากเกินไป
     การศึกษาทางจิตวิทยา แสดงให้เห็นว่า วัตถุนิยมเป็นพิษต่อความสุข  ว่าการมีรายได้สูง และการครอบครองข้าวของมากๆ ไม่ได้นำสู่การได้มาซึ่งความรู้สึกผาสุก หรือ พึงพอใจกับชีวิต   สิ่งที่ทำให้พวกเราเป็นสุข คือ ความสัมพันธ์ที่อบอุ่นระหว่างบุคคล และการให้ มากกว่าการได้
      ดังนั้น การทำให้ประชาชน ชุมชน และธรรมชาติยั่งยืน จะต้องเป็นแกนกลางของเป้าหมายของกิจกรรมเศรษฐกิจ  ไม่ใช่เพียงหวังให้เป็นผลพลอยได้จากเศรษฐกิจที่มีตลาดประสบความสำเร็จ ที่ต้องเติบโตเพื่อตัวมันเอง และมีกฎเกณฑ์พอสมควร
     การสร้างความเข้มแข็งที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีประการแรก--การหลอมรวมเชื่อมร้อยเชิงการเมืองระหว่างพวกหัวก้าวหน้า สเป็ธ เขียน  และการหลอมรวมนั้นควรจะเริ่มต้นด้วยวาระที่มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  วาระดังกล่าว จะโอบความรู้สึกรับผิดชอบผูกพันอย่างลึกซึ้ง ต่อความเป็นธรรมในสังคม และการป้องกันสิ่งแวดล้อม  อันเป็นการท้าทายที่ยั่งยืน ต่อลัทธิบริโภคนิยมและพาณิชย์นิยม รวมทั้งลีลาชีวิตที่พวกมันเสนอให้   ความสงสัยกังขาอย่างสร้างสรรค์ต่อความคลั่งไคล้การโต  การให้นิยามใหม่ในครรลองประชาธิปไตยว่า สังคมควรหมั่นพากเพียรปลูก/ขยายอะไร  การท้าทายความครอบงำของบรรษัท และการนิยามใหม่เกี่ยวกับบรรษัทและเป้าหมายของมัน  และความรับผิดชอบผูกพันต่อรายการทั้งหลายเพื่อการปฏิรูปที่เข้าข้างประชาธิปไตย ในการรณรงค์ด้านการเงิน การเลือกตั้ง การวิ่งเต้นชักชวนให้ สส สนับสนุนกฎข้อบังคับ และอื่นๆ อีกมากมาย  วาระร่วมหนึ่ง น่าจะรวมเข้าไป คือ ชุดดัชนีที่ต้องใช้ความพยายามสูงเหนือกว่า จีดีพี ที่จะช่วยรายงานให้พวกเรารู้ถึงคุณภาพชีวิตที่แท้จริงในอเมริกา   พวกเรามักจะเป็นอะไรที่พวกเราวัด  ดังนั้น พวกเราก็ควรจะวัดในสิ่งที่พวกเราต้องการ
     หากความคิดบางประการที่ได้นำเสนอมานี้ ดูเหมือนจะไม่เข้ากับการเมืองทุกวันนี้ได้ ก็ขอให้รอจนถึงพรุ่งนี้  แล้วมันก็จะค่อยๆ ชัดขึ้น สำหรับคนมากขึ้น ๆ ว่า มันเป็นเรื่องเดิม มันคือ จินตนาการยูโทเปีย เพียงแต่สร้างสรรค์สิ่งใหม่และต่างออกไปมากๆ จะเป็นหนทางก้างหน้าที่ติดดิน
     ผมไม่แน่ใจว่า พวกเราจะอาลัยอาวรณ์กับมนตร์สะกดของการโต หลังจากที่พวกเราได้โบกมือลาจากมัน

บทความนี้ดัดแปลงสำหรับ YES! Magazine, องค์กรสื่อระดับชาติที่ไม่ค้ากำไร ที่หลอมรวมความคิดเห็นที่ทรงพลัง กับหนทางแก้ไขที่ปฏิบัติได้ เพื่อโลกที่เป็นธรรมและยั่งยืน จากสุนทรพจน์ของ สเป็ธ ต่อสมาคม อี.เอฟ. ชูมาเกอร์
     James Gustave Speth is a professor at Vermont Law School and a Distinguished Senior Fellow at Demos, a nonpartisan public policy research and advocacy organization. A former dean of the Yale School of Forestry & Environmental Studies, he also co-founded the Natural Resources Defense Council, was founder and president of the World Resources Institute, and served as administrator of the United Nations Development Programme. He is the author of six books, including the award-winning The Bridge at the Edge of the World: Capitalism, the Environment, and Crossing from Crisis to Sustainability and Red Sky at Morning: America and the Crisis of the Global Environment.

เจมส์ กุสตาฟ สเป็ธ เป็น
-ศาสตราจารย์ที่ Vermont Law School
-เฟลโลอาวุโสที่ ดีมอส ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยและรณรงค์นโยบายสาธารณะที่ไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด 
-อดีตคณบดี คณะป่าไม้และการศึกษาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเยล 
-ร่วมก่อตั้ง สภาปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ
-ก่อตั้ง และประธาน สถาบันทรัพยากรโลก
-เจ้าหน้าที่บริหารของ UNDP
-ผู้เขียนหนังสือ 6 เล่ม รวมทั้งที่ได้รับรางวัล

ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล / 7-8-11

Z10 สมดุลชีวิต-การงาน

30 second Speech
by Bryan Dyson
Former CEO of Coca Cola
สุนทรพจน์ 30 วินาที
โดย ไบรอัน ไดซอน
อดีต CEO ของโคคา โคลา
Imagine life as a game in which you are juggling some five balls in the air. They are Work, Family, Health, Friends and Spirit and you’re keeping all of these in the air.

You will soon understand that work is a rubber ball. If you drop it, it will bounce back. But the other four Balls—Family, Health, Friends and Spirit—are made of glass. If you drop one of these; they will be irrevocably scuffed, marked, nicked, damaged or even shattered. They will never be the same. You must understand that and strive for it.

Work efficiently during office hours and leave on time. Give the required time to your family, friends & have proper rest.

Value has a value
only if its value is valued.
ขอให้ลองจินตนาการ  ชีวิตเป็นเสมือนการเล่นเกมหนึ่งที่คุณพยายามสับหลีก ดั่งการโยน-รับลูกบอล 5 ลูกในอากาศ  ลูกบอลเหล่านี้ คือ การงาน ครอบครัว สุขภาพ มิตรสหาย และกำลังใจ  คุณกำลังสับหลีกเพื่อให้ลูกบอลทั้งหมดอยู่ในอากาศได้
     แล้วคุณจะเข้าใจว่า การงานนั้น แท้จริงเป็นเพียงลูกบอลยาง   ถ้าคุณทำให้มันตกพื้น มันก็จะเด้งกลับมาอีก  แต่ลูกบอลอีกสี่ลูก ครอบครัว สุขภาพ มิตรสหาย และกำลังใจ  ล้วนทำด้วยแก้ว   หากคุณทำลูกใดลูกหนึ่งตกพื้น มันก็จะเกิดรอยร้าว รอยขูดข่วน สึกหรอ หรือแม้แต่แตกกระจาย อย่างไม่สามารถทำให้คืนรูปเดิมได้   มันจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป   คุณจะต้องเข้าใจเรื่องนี้ และทำให้ได้

      จงทำงานอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างเวลาทำงาน และกลับบ้านให้ตรงเวลา  จงให้เวลาเท่าที่จำเป็นแก่ครอบครัว เพื่อน และพักผ่อนอย่างเหมาะสม

ค่านิยมจะมีคุณค่า
ต่อเมื่อคุณค่าของมันได้รับการให้ค่า

Z9 ลดโลกร้อน ขายธรรมชาติ

Selling Nature to Save Nature, and Ourselves
by Stephen Leahy
Wednesday, July 6, 2011
ขายธรรมชาติเพื่อรักษาธรรมชาติ และพวกเราเอง
โดย สตีเฟน เลฮี   / 6 กค 2011 / IPS
THE HAGUE - Avoiding the coming catastrophic nexus of climate change, food, water and energy shortages, along with worsening poverty, requires a global technological overhaul involving investments of 1.9 trillion dollars each year for the next 40 years, said experts from the U.N. Department of Economic and Social Affairs (UN-DESA) in Geneva Tuesday.
     "The need for a technological revolution is both a development and existential imperative for civilization," said Rob Vos, lead author of a new report, "The Great Green Technological Transformation". 
     Absent in the U.N. report is a call for the other necessary transformation: what to do with the market-driven economic system that has put humanity on this catastrophic collision course? Attempts to "green" capitalism are failing and will fail, according to many of the more than 200 social science researchers at a groundbreaking international conference in The Hague titled "Nature Inc?" Jun. 30 to Jul. 2.
     "We must start tackling and questioning some core capitalist dictums, such as consumerism, hyper-competition, the notion that 'private' is always better, and especially economic growth," says Bram Büscher, the conference co-organizer and researcher at the Institute of Social Studies (ISS) at Erasmus University in The Hague, Netherlands.
     Equally important is to stop looking at nature as a collection of economic objects and services that "must only benefit some specific idea of human economic progress", Büscher told IPS.
     Governments, the World Bank, the United Nations and development agencies, international conservation organizations and others have all come to see markets as the only way to mobilize enough money to end deforestation, increase the use of alternative energy, boost food production, alleviate poverty, reduce pollution and solve a host of other serious and longstanding problems.
     Started as a small gathering of academics, Nature Inc? became a major event as hundreds of experts from around the world wished to participate. Büscher believes the main reason for this is that many are actively doing research on environmental and conservation issues and are increasingly running into new market schemes like carbon credit trading, payments for ecosystem services, biodiversity derivatives and new conservation finance mechanisms, and so on.
     "Payments for ecosystem services are the newest tropical 'miracle' crop," said Kathleen McAfee of San Francisco State University.
     The market is putting new values on tropical forests as carbon sinks, reservoirs of biodiversity or ecotourism destinations, McAfee said during the conference.
     The World Bank, U.N. and others say that the only way to generate large corporate sector and private investment to protect tropical forests is by payments for ecosystem services such as carbon and biodiversity offset markets such as Reduced Deforestation and Degradation for biodiversity known as REDD+. These are also touted as the way out of poverty for communities living in or near forests.
     "However, markets are preconditioned on inequality and will only make matters worse," McAfee said.
     Markets will look for the cheapest land available, which means the poorest will be displaced because they don't have formal land tenure or they will be persuaded by promises of large payments. In order to secure the investment, carbon traders will place restrictions on the use of the land for decades.
     Technical assessments and monitoring will also be needed, which results in high costs as was the case for a project in Costa Rica, McAfee said. "The poor got very little...it didn't even cover their costs," she noted.
     When the European Union committed to reduce its carbon emissions by 20 percent by 2020, some European multinational industries with high carbon footprints simply moved to countries like the United States where there were no restrictions, said Yda Schreuder of the University of Delaware.
     "Europe going it alone on carbon reductions has resulted in higher overall emissions globally," said Schreuder, author of "The Corporate Greenhouse", a critical look at the political economy of the climate change debate.
     Globalization greatly enables companies to quickly shift their operations to where costs or restrictions are lower. To meet its 2020 target, Europe reduced its use of coal 35 to 50 percent by switching to renewable energy like wind, but mainly through much higher use of natural gas obtained from Russia.
     Natural gas emits much less carbon than coal. However, over the same time period, Russia increased its use of coal for domestic energy because it could make more money selling natural gas to Europe, Schreuder said.
     "The World Trade Organization encourages all this to happen. Markets are a driving force behind increasing emissions of carbon," she added.
     Digging deeper into these schemes reveals their inherent contradictions and unintended consequences, but they are "often promoted in lyrical win-win language", said Büscher.
     Many believe the green technology transformation that the new U.N. report calls for is unlikely to succeed without a move away from the economic growth-at-all-costs paradigm that dominates nearly everyone's thinking. There is an overwhelming need to find alternatives and stop promoting an economic system that has created the crisis.
     "These are incredibly complex problems and there are no simple solutions," Büscher concluded.


Copyright © 2011 IPS-Inter Press Service

เดอะเฮก: เพื่อหลีกเลี่ยงมหันตภัยที่กำลังคืบคลานเข้ามา ที่เชื่อมโยงกับภาวะอากาศผันผวน การขาดแคลนอาหาร น้ำและพลังงาน ที่มาพร้อมกับความยากจนที่ย่ำแย่ลง  จำเป็นจะต้องมีการยกเครื่องเทคโนโลยีในระดับโลก ที่รวมถึงการลงทุน 1.9 ล้านล้านเหรียญทุกปี ตลอด 40 ปีข้างหน้า ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักกิจกรรมเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ ในเจนีวา กล่าว
     การปฏิวัติเทคโนโลยีเป็นเรื่องจำเป็นทั้งในเชิงพัฒนาและความธำรงอยู่ได้ของอารยธรรม ร็อบ โวส ผู้เขียน รายงานฉบับใหม่ การแปรเปลี่ยนเทคโนโลยีเขียวครั้งยิ่งใหญ่ กล่าว
     สิ่งที่ขาดหายไปในรายงานสหประชาชาติฉบับนี้ คือ เสียงเพรียกให้แปรเปลี่ยนด้านที่จำเป็นอื่นๆ : จะต้องทำอย่างไรกับระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยระบบตลาด ที่ผลักให้มนุษยชาติตกอยู่ในรางแห่งการประสานงามหันตภัย?   ความพยายามที่จะทำให้ระบบทุนนิยม กลายเป็นสีเขียว กำลังล้มเหลว และก็จะล้มเหลว ตามความเห็นของนักวิจัยสังคมวิทยากว่า 200 คน ณ การประชุมนานาชาติครั้งแรก ที่กรุงเฮก ในหัวข้อ บรรษัทธรรมชาติ?ระหว่าง 30 มิย. ถึง 2 กค.
     พวกเราจะต้องเริ่มรุกคืบเข้าจัดการและตั้งคำถามต่อแก่นสาระของระบบทุนนิยม เช่น ระบบบริโภคนิยม  การแข่งขันแบบคอขาดบาดตาย ความเห็นที่ว่า ส่วนตัว/เอกชนต้องดีกว่าเสมอ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเติบโตทางเศรษฐกิจ บราม บูซเชอร์ (ผู้ร่วมจัดการประชุมและเป็นนักวิจัยของ Institute of Social Studies (ISS) ที่ มหาวิทยาลัย อีรามุส ในกรุงเฮก เนเธอร์แลนด์
     สิ่งที่สำคัญพอๆ กัน คือ ต้องหยุดมองธรรมชาติ ว่าเป็นเพียงคลังเก็บของและการบริการเชิงเศรษฐศาสตร์ ที่ จะต้องเป็นประโยชน์สำหรับความคิดเฉพาะบางอย่างของมนุษย์เพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเท่านั้น บูซเชอร์กล่าวต่อ IPS
     บรรดารัฐบาล ธนาคารโลก สหประชาชาติ และหน่วยงานการพัฒนา องค์กรอนุรักษ์นานาชาติทั้งหลาย และภาคส่วนอื่นๆ ล้วนมองว่า ระบบตลาด เป็นหนทางเดียวที่จะระดมเงินได้มากพอ เพื่อยุติการทำลายป่า  เพิ่มการใช้พลังงานทางเลือก  เพิ่มการผลิตอาหาร  บรรเทาความยากจน ลดมลภาวะ และแก้ปัญหาร้ายแรงและหมักหมมมหาศาลอื่นๆ
     บรรษัทธรรมชาติ? เริ่มต้นจากการรวมตัวน้อยๆ ของนักวิชาการ ได้กลายเป็นเหตุการณ์หลักสำคัญ ที่ผู้เชี่ยวชาญหลายร้อยคน จากทั่วโลกต้องการเข้าร่วม  บูซเชอร์ เชื่อว่า ที่เป็นเช่นนี้ เพราะ หลายๆ คนกำลังขมักเขม้นทำการวิจัยในประเด็นสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ และเมื่อหันไปทางไหน ก็เจอแต่แผนการตลาดใหม่ๆ เช่น การค้าเครดิตคาร์บอน  การจ่ายค่าบริการของระบบนิเวศน์  สิ่งที่พัฒนามาจากความหลากหลายทางชีวภาพ และกลไกการเงินใหม่เพื่อการอนุรักษ์ เป็นต้น
     การจ่ายเงินเพื่อการบริการของระบบนิเวศน์ เป็นพืช มหัศจรรย์พันธุ์ใหม่ที่สุดของแถบโลกศูนย์สูตร แคธรีน แม็คอะฟี แห่งมหาวิทยาลัยรัฐซานฟรานซิสโก กล่าว
     ตลาดได้กำหนดมูลค่าใหม่ให้กับป่าเขตศูนย์สูตร ในรูป อ่างเก็บคาร์บอน  แหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ หรือจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์  แม็คอะฟี กล่าวในระหว่างการประชุม
     ธนาคารโลก สหประชาชาติ และอื่นๆ ต่างบอกว่า หนทางเดียวที่จะทำให้เกิดภาคบรรษัทขนาดใหญ่ และการลงทุนเอกชน เพื่อปกป้องป่าในเขตศูนย์สูตร คือ การจ่ายเงินสำหรับการบริการของระบบนิเวศน์ เช่น ค่าชดเชยคาร์บอน และความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การลดการทำลายและการเสื่อมโทรมของป่า (Reduced Deforestation and Degradation) หรือที่เรียกว่า REDD+  พวกนี้ก็ถูกปรุงแต่ง นำเสนอว่า เป็นหนทางที่จะหลุดพ้นจากความยากจน สำหรับชุมชนที่อาศัยอยู่ในหรือใกล้ป่า
     แต่ ตลาดมีเงื่อนไขที่ธำรงความไม่เท่าเทียมอยู่ก่อนแล้ว และมีแต่จะทำให้สิ่งต่างๆ แย่ลง แม็คอะฟีกล่าว
     ตลาดจะกวาดมองหาผืนแผ่นดินที่ถูกที่สุด ซึ่งหมายความว่า คนยากจนที่สุด จะต้องถูกแทนที่ เพราะพวกเขาไม่มีโฉนดที่ดินอย่างเป็นทางการ หรือพวกเขาจะถูกชักชวนให้เขว ด้วยคำสัญญาว่าจะได้รับเงินก้อนโต   เพื่อสร้างหลักประกันสำหรับการลงทุนนักค้าคาร์บอน จะกำหนดข้อจำกัดในการใช้ที่ดินเป็นเวลานานหลายทศวรรษ
     ความจำเป็นที่จะต้องมีการประเมินและติดตามทางเทคนิค จะนำไปสู่ต้นทุนสูง ดังปรากฏในกรณีของโครงการหนึ่งใน คอสตา ริกา แม็คอะฟีกล่าว  คนจนได้นิดเดียว...ไม่พอแม้กระทั่งเอาต้นทุนคืน
     เมื่อสหภาพยุโรป ได้ผูกพันตัวเองที่จะลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้ 20% ในปี 2020 (2563)  อุตสาหกรรมข้ามชาติยุโรป ที่มีรอยเท้าคาร์บอนสูง ก็เพียงแต่เคลื่อนตัวสู่ประเทศ เช่น สหรัฐฯ ที่ไม่มีการควบคุมจำกัด Yda Schreuder แห่งมหาวิทยาลัย เดลาแวร์ กล่าว
     การที่ยุโรปเดินหน้าไปตามลำพังในการลดคาร์บอน ได้ทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอนสูงขึ้นทั่วโลก ชรูเดอร์ ผู้เขียน เรือนกระจกของบรรษัท ("The Corporate Greenhouse")   ซึ่งเป็นหนังสือวิพากษ์เชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองต่อการโต้แย้งเรื่องภาวะผันผวนของอากาศ กล่าว
     โลกาภิวัตน์ ได้ส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ ขยับฐานผลิตได้อย่างรวดเร็ว ไปยังที่ๆ ต้องลงทุนต่ำ หรือ มีกฎข้อบังคับน้อยกว่า  เพื่อให้บรรลุเป้า 2020 ยุโรปได้ลดการใช้ถ่านหินถึง 35-50% โดยหันไปใช้พลังงานทางเลือก เช่น ลม แต่ก็ด้วยการใช้ก๊าซธรรมชาติปริมาณมากขึ้นจากรัสเซีย
     ก๊าซธรรมชาติปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าถ่านหินมาก  แต่ในช่วงเวลาเดียวกัน รัสเซียก็เพิ่มการใช้ถ่านหินสำหรับการผลิตพลังงานภายในประเทศ เพราะ สามารถทำรายได้ดีกว่าจากการขายก๊าซธรรมชาติให้ยุโรป  ชรูเดอร์กล่าว
     องค์การค้าโลก สนับสนุนให้เป็นเช่นนั้น  ตลาดเป็นแรงขับเคลื่อนเบื้องหลังการปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้น เธอกล่าวเสริม
     พอเจาะแผนการเหล่านี้ลึกลงไปอีก ความขัดแย้งที่ซ่อนเร้นอยู่และผลพวงที่ไม่ได้ตั้งใจจะให้เกิด ก็เริ่มเผยโฉมหน้าออกมา  แต่ก็อยู่ในรูปที่ มักถูกส่งเสริมในท่วงทำนองภาษาว่า ชนะ-ชนะทุกฝ่าย บูซเชอร์กล่าว
     หลายคนเชื่อว่า การแปรเปลี่ยนเทคโนโลยีเขียว ที่รายงานฉบับใหม่ของสหประชาชาติได้เรียกร้อง คงไม่มีทางสำเร็จได้ โดยปราศจากการขยับตัวออกจากกรอบคิดที่ว่า จะต้องทำให้เศรษฐกิจเติบโตไม่ว่าจะต้องลงทุนสักเท่าไร ที่เป็นกรอบคิดครอบงำมุมมองของทุกๆ คน  มีความจำเป็นอย่างล้นหลามที่จะค้นหาหนทางเลือกใหม่ และยุติการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจที่มีแต่สร้างวิกฤต
     นี่เป็นปัญหาที่ซับซ้อนยิ่ง และไม่มีทางออกที่เรียบง่าย บูซเชอร์สรุป
ดรุณีแปล / 7-7-11

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Z8 นายกฯ หญิงไทยคนแรก ในสายตาคนต่างชาติ

THAILAND
Rural Folk Pave Way for First Female PM’s Landmark Win
By Marwaan Macan-Markar
ประเทศไทย
ชาวชนบทกรุยทางให้ชัยชนะแก่นายกหญิงคนแรก
โดย Marwaan Macan-Markar
BAAN FANG, Thailand, Jul 4, 2011 (IPS) - Across villages, towns, and cities in northeast Thailand, a mood of political empowerment is bursting to the surface, with people gathering in groups since Sunday evening to celebrate political history. After all, they helped put Yingluck Shinawatra on the road to becoming the country’s first female prime minister.

Under a starlit sky on Jul. 4, election night, a group of villagers sat on mats outside a house in this village on the outskirts of this plateau’s main city, Khon Kaen, basking in the victory of a candidate who "has given a lot of attention to the grassroots people," as one of them, Paitoon Pohnang, described it.

As they listened to news reports that Yingluck’s opposition Phue Thai (For Thais) party was gaining seats, the group broke into whoops and applause, drowning out the chorus of crickets chirping from the darkened trees on the edge of the garden.

"I believe that a woman can be a prime minister in Thailand," said an excited Sukunthai Buthawong, a 61-year-old rice farmer. "We have to try something new, not only voting for men to lead the country. I voted feeling this way. I want change. I want to make history."

It was a sentiment echoed by the nearly 30 people gathered around her, men and women who were also part of the same community of rice farmers. "Women are good with details and work carefully," added another farmer who was wearing a red shirt, the colour worn by Phue Thai supporters.

Celebrations were more vivid on Monday in the downtown market selling fresh produce in Khon Kaen, 24 km from Baan Fang. Women wearing red shirts, some wearing red bows on their heads, were dancing to the blare of local music in their stalls of vegetables and meats. "I am happy and crazy. It feels better than winning a lottery," yelled a vegetable vendor who only gave her first name, Ratree.

"Rural people got involved with politics more than before," said a calmer Phrapapai Pongpan, a fish vendor. "They were pushed out of home to go and vote after seeing the injustice in the last few years."

And the final tally from the 20 provinces in the northeast, a large vote bank of over 15 million voters of the registered 47.3 million across the country, confirmed this. Phue Thai secured a thumping 104 seats out of the 126 contested in this rural heartland.

In all, unofficial results on Monday revealed that Phue Thai had garnered a simple majority – 265 seats out of the 500 up for grabs. The incumbent Democrat Party, which had led a coalition government since December 2008, won only 159 seats.

The significance of the rural heartland in this weekend’s poll was not lost on Yingluck, an attractive, photogenic political novice, who had been a successful businesswoman till six weeks ago, when she was drafted as the surprise candidate to head the Phue Thai party. It was a choice shaped by the party’s patron, her eldest brother Thaksin Shinawatra, the former prime minister who was deposed by the military in a 2006 coup and has lived in exile to avoid a two-year jail term for corruption.

During her political campaign across the north-east, Yingluck appealed to the thousands who attended her party’s rallies to vote not only for Phue Thai’s raft of pro-poor policies but also to ensure that this Southeast Asian kingdom would get its first female premier.

"Do you want a woman prime minister to lead the country?" she asked a crowd of nearly 5,000 people who packed a field in the province of Ubon Ratchathani on her last swing through the region on the eve of Sunday’s poll.

"Yes!" the crowd roared back, with some women pumping their hands in the air.

She echoed a similar message during an IPS interview before taking to the stage for a political rally in the province of Buri Ram. "My success will be the country’s success," said Yingluck, who was sporting a white T-shirt on which was printed a cartoon image of her leaning against the numeral "1", her party’s number for the polls.

"I can use my strength as a woman," she continued. "Women are more compromising, and are more willing to talk with anyone and to meet everyone to make a united Thailand."

There was no surprise in Yingluck’s efforts to court voters from Thailand’s urban and rural underclass, the country’s largest constituency pivotal for any political victory. It was a move taken from the political playbook of her brother, Thaksin, a former telecommunication tycoon who rose to power in 2001 and was re-elected in 2005 on the back of the widespread support he got for many pro-poor polices he implemented.

But even Phue Thai insiders did not expect Yingluck to electrify the Thaksin strongholds in the north and northeast when she was initially chosen by her Dubai-based brother as a "compromise candidate" to satisfy various factions within the party. Thaksin, in fact, introduced Yingluck as "my clone," suggesting that she was going to be his carbon copy in the way she implements policies and runs the country.

"She proved much better than expected. Her style, her warmth and her sincerity touched many voters in ways that a male leader of Phue Thai would not have done," said the highly-placed insider who preferred not to be identified. "She had become a superstar by the end of the campaign."

Yingluck’s route to national leadership is similar to the one travelled by other women from political dynasties across Asia, where the wives or daughters of male prime ministers or presidents were voted in to power due to family ties. It was so in the Philippines for Corazon Aquino, who was elected her country’s first woman president in 1986, and for Sirimavo Bandaranaike from Sri Lanka, whose election in 1960 made her not only her country’s but also the world’s first woman prime minister.

"We have had many Thai women in positions of power but till now not as the prime minister," said Patcharin Tanjapatkul of the National Council of Women in Thailand, the largest women’s network in the country. "It is time for that to change." (END)
บ้านฝาง  4 กค 2011
หมู่บ้าน เมืองเล็กเมืองใหญ่ทั่วทั้งอีสาน ความรู้สึกว่าได้ถูกเสริมอำนาจทางการเมือง ได้เอ่อทะลักขึ้นถ้วนหน้า ผู้คนออกมาชุมนุมเป็นกลุ่ม ตั้งแต่เย็นวันอาทิตย์ เพื่อฉลองชัยชนะประวัติศาสตร์ครั้งนี้  ทั้งหมดนี้ พวกเขาได้ช่วยให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินสู่ถนนของการกลายเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ
     ภายใต้ท้องฟ้าและแสงดาวของคืนวันที่ 4 กค ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งนั่งบนเสื่อนอกบ้าน ในหมู่บ้านนี้ ซึ่งอยู่ชายเมืองของขอนแก่น ยินดีกับชัยชนะของผู้ลงสมัครที่ ได้ให้ความสนใจอย่างสูงกับคนรากหญ้า ดังที่คนหนึ่ง ไฟฑูรย์ โพธินาง กล่าว
     ในระหว่างที่พวกเขาฟังรายงานข่าวว่า พรรคเพื่อไทยของยิ่งลักษณ์ กำลังได้ที่นั่งมากขึ้น ทั้งกลุ่มส่งเสียงร้องดังและปรบมือ กลบเสียงจิ้งหรีดที่ส่งเสียงระงมในต้นไม้มืดที่ปลายสวน
     ฉันเชื่อว่า ผู้หญิงสามารถเป็นนายกฯ ในประเทศไทยได้ สุกุลทัย พุทธวงศ์ ชาวนาอายุ 61 ปี พูดอย่างตื่นเต้น พวกเราต้องลองของใหม่มั่ง ไม่ใช่เพียงแต่ลงคะแนนให้ผู้ชายมานำบ้านเมือง  ฉันลงคะแนนด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ฉันต้องการสร้างประวัติศาสตร์
     มันเป็นความรู้สึกที่สะท้อนโดยชาวบ้านเกือบ 30 คน ที่นั่งล้อมเธอ ทั้งหญิงและชายที่ล้วนเป็นชาวนาในชุมชนเดียวกัน ผู้หญิงมีความละเอียดอ่อน และทำงานด้วยความระมัดระวัง ชาวนาอีกคนออกความเห็นเพิ่ม เขาสวมเสื้อแดง-สนับสนุนเพื่อไทย
     การเฉลิมฉลองมีชีวิตชีวายิ่งขึ้นในวันจันทร์ ในตลาดสดกลางเมืองขอนแก่น ห่างจากบ้านฝาง 24 กม  หญิงเสื้อแดง บางคนคาดผมสีแดง ต่างเต้นรำไปตามจังหวะเพลงท้องถิ่นที่แผดเสียงออกมาจากเพิงขายผักและเนื้อ  ฉันดีใจเป็นบ้า  มันยิ่งกว่าถูกล็อตเตอลี่เสียอีก แม่ค้าขายผัก ราตรี ตะโกน
     ชาวชนบทได้เข้าข้องเกี่ยวกับการเมืองมากกว่าก่อน ประภาไพ พงษ์พันธ์ แม่ค้าปลาที่สงบกว่าพูด พวกเขาถูกผลักออกจากบ้านไปลงคะแนน หลังจากที่เห็นความอยุติธรรมใน 2-3 ปีที่ผ่านมา
     และในที่สุด คะแนนรวมจาก 20 จังหวัดในอีสาน ซึ่งเป็นธนาคารคะแนนกว่า 15 ล้าน จากทะเบียนผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน 47.3 ล้าน ทั่วประเทศ ก็ยืนยันข้อมูลนี้  เพื่อไทยชนะ 104 ที่นั่ง จาก 126 ที่นั่งที่ช่วงชิงกันในหัวเมืองแถบนี้
     ในภาพรวม ผลไม่เป็นทางการในวันจันทร์ เผยเพื่อไทยได้เสียงส่วนมาก265 ที่นั่งจากทั้งหมด 500   พรรครัฐบาล ประชาธิปปัตย์ ซึ่งเป็นผู้นำพรรคร่วมรัฐบาลตั้งแต่ ธค 2008 (2551) ชนะเพียง 159 ที่นั่ง
     นัยสำคัญของหัวเมืองชนบทในการลงคะแนนสุดสัปดาห์นี้ ไม่ได้หายไปสำหรับ ยิ่งลักษณ์ น้องใหม่เสน่ห์แรง และถ่ายรูปขึ้น ผู้เป็นนักธุรกิจหญิงที่ประสบความสำเร็อย่างมากจน 6 สัปดาห์ที่แล้ว เมื่อเธอถูกเกณฑ์เข้ามา ให้เป็นผู้ลงสมัครเพื่อนำพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางความประหลาดใของทุกฝ่าย   ทางเลือกที่ผลักดันโดยผู้อุปถัมภ์ของพรรค อดีตนายกฯ ที่ถูกโค่นโดยทหารก่อรัฐประหารในปี 2006 (2549) และได้อยู่ในสภาพเนรเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงการจำคุก 2 ปีในข้อหาทุจริต
     ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงทั่วแดนอีสาน ยิ่งลักษณ์ได้ร้องขอต่อคนนับพันๆ ที่มาร่วมชุมนุม ให้ลงคะแนน ไม่เพียงเพื่อให้เพื่อไทยสามารถร่อนนโยบายที่เป็นมิตรกับคนจน แต่ยังเพื่อให้แน่ใจว่า ราชอาณาจักรอุษคเนย์แห่งนี้ จะได้นายกฯ หญิงคนแรกด้วย
     คุณต้องการนายกฯ หญิงนำประเทศไหม? เธอถามฝูงชนประมาณ5,000 คน ที่เบียดเสียดในสนามของจังหวัดอุบล ในขาสุดท้ายของการตระเวนภาคก่อนวันเลือกตั้งในวันอาทิตย์
     ใช่!” ฝูงชนคำรามตอบ พร้อมกับมือของผู้หญิงบางคนที่ยกไหวๆ
     เธอสะท้อนสารเดียวกันในระหว่างการสัมภาษณ์กับ IPS ก่อนที่จะขึ้นเวทีปราศรัยที่บุรีรัมย์  ความสำเร็จของฉัน จะเป็นความสำเร็จของประเทศด้วย ยิ่งลักษณ์กล่าว เธอสวมเสื้อคอกลมสีขาวที่พิมพ์รูปการ์ตูนภาพเธอพิงที่ตัวเลข 1 ซึ่งเป็นเบอร์ของพรรค
     ฉันสามารถใช้พลังในฐานะผู้หญิง เธอพูดต่อ ผู้หญิงออมชอมมากกว่า และยินดีที่จะพูดคุยกับใครๆ และพบทุกคน เพื่อให้สมานประเทศไทย
     ไม่มีใครประหลาดใจในความพยายามของยิ่งลักษณ์ ที่จีบผู้ลงคะแนนจากคนชายขอบทั้งในเมืองและชนบทของไทย ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ อันเป็นจุดผลิกผันชัยชนะการเมืองใดๆ  นี่เป็นการเล่นบท จากตำราเล่นการเมืองของพี่ชายของเธอ ทักษิณ นักธุรกิจที่ทรงอิทธิพลด้านสื่อสารคมนาคม ที่พุ่งสู่อำนาจในปี 2001 และได้รับการเลือกตั้งซ้ำอีกในปี 2005 ด้วยกระแสสนับสนุนที่เขาสร้างจากนโยบายประชานิยม ที่เข้าข้างคนจน
     แม้กระนั้น คนในของพรรคเพื่อไทย ก็ไม่ได้คาดว่า ยิ่งลักษณ์ จะสร้างกระแสกระตุ้นฐานที่มั่นของทักษิณในภาคเหนือและอีสานได้ เมื่อเธอถูกเลือกโดยพี่ชายที่ดูไบ ให้เป็น ผู้ลงสมัครเพื่อการปรองดอง เพื่อชนะใจทุกๆ ฝ่ายภายในพรรค  อันที่จริง ทักษิณ แนะนำตัวยิ่งลักษณ์ว่าเป็น โคลนนิ่ง ของผม  ซึ่งชี้ว่า เธอจะถอดแบบจากเขา ในการดำเนินนโยบายและบริหารประเทศ
     เธอได้พิสูจน์ตัวว่า ทำได้ดีกว่าคาด  ลีลาของเธอ ความมีไมตรี และความจริงใจ ได้สัมผัสผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนอย่างที่ผู้นำชายของเพื่อไทยไม่มีทางทำได้ คนในที่ไม่ต้องการให้ระบุชื่อบอก  เธอได้กลายเป็นดารายอดนิยมในตอนจบของการรณรงค์
     หนทางของยิ่งลักษณ์สู่ความเป็นผู้นำระดับชาติ ก็เหมือนกับหนทางของสตรีอื่นๆ ที่เป็นทายาทของราชวงศ์ทางการเมืองทั่วเอเชีย ที่ภรรยา หรือลูกสาว ของนายกฯ ชาย ถูกโหวตให้เถลิงอำนาจเพราะเส้นสายของครอบครัว  นี่เกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ คอราซอน อคิโน ผู้ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกในปี 1986 (2539) และ ศิริมาโว บันดาราไนเก จากศรีลังกา ผู้ได้รับเลือกในปี 1960 (2503) ทำให้เธอไม่เพียงเป็นผู้หญิงคนแรกในประเทศ แต่ยังรวมในโลกด้วย ที่เป็นนายกฯ
     พวกเรามีผู้หญิงในตำแหน่งทรงอำนาจหลายคน แต่จวบจนปัจจุบัน ไม่มีใครเป็นนายกฯ พัชรินทร์ ตันจพัทกุล  แห่งสภาสตรีแห่งชาติ ฯ ซึ่งเป็นเครือข่ายผู้หญิงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ กล่าว  มันถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแล้ว    
ดรุณีแปล / 7-6-11