วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

ตรึกคิด งานฉลอง 100 ปี วันสตรีสากล (6-8 มีค. 2011)

3-8-11 วันสตรีสากลที่ 100  ก็ผ่านไปด้วยการเดินขบวนตามประเพณี  ส่วนระบบ 3/8 ก็ต้องต่อสู้กันต่อไป  เพียงแต่ไม่จำกัดที่แรงงานในโรงงาน  คำถามคือ มนุษย์เรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิง ทำงานเพื่ออะไร?
                ในยุคไฮเทค คนมีโอกาสหลายคนกลายเป็น workaholic จนลืมดูแลสุขภาวะทั้งทางกาย จิตใจ จิตวิญญาณของตัวเอง หรือไม่มีเวลากับครอบครัว ดูแลความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ และธรรมชาติ  ในภาวะเช่นนี้ คนมีโอกาส ก็ถูกคุกคามไม่น้อยไปกว่าคนด้อยโอกาส  ต่างกันเพืยงที่ คนด้อยโอกาส ทำเท่าไร ก็ไม่พอกิน  หากยังติดในวัตถุ / บริโภคนิยม
ในด้านหนึ่ง ความไม่รู้จักพอ เป็นเชื้อของความรุนแรงและการเบียดเบียนจากในสู่นอก  อีกด้านหนึ่ง คือ ความไม่เป็นธรรมในสังคม
                คนรวย แม้มีเงินซื้อที่ดินมากมายเป็นกรรมสิทธิ์ แต่ก็ได้ถอนรากตัวเอง ไม่สามารถเป็นชาวนา ติดดิน  ส่วนชาวไร่ชาวนาที่ ติดดิน ก็มักจะด้อยโอกาส เมื่อเทียบกับชาวเมือง...ในที่สุด ก็กำลังถูกถอนรากเช่นกัน   เมืองที่เจริญรุ่งเรือง กำลังจู่โจมคุกคามชนบท ที่ล้าหลัง มากยิ่งขึ้น   ในภาวะวิกฤตโลกร้อน  มาตรการแก้ไข เช่น คาร์บอนเครดิต กลับถูกบิดเบือน แปลงทรัพย์สินให้เป็นทุน กลายเป็นเครื่องมือ (ผู้บริหารบรรษัทข้ามชาติและผู้บริหารในภาครัฐร่วมกันใช้กลไกอำนาจรัฐ) ลงโทษ หรือสร้างความชอบธรรม ในการเบียดขับชาวบ้านหญิง ชาย เด็ก คนชรา พิการ...ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่า กลุ่มชาติพันธุ์--ที่เคยอยู่อาศัย เคียงคู่ร่วมกับป่า เพียงเพราะพวกเขาไม่เคยลงทะเบียน เพราะ รัฐ เข้าไม่ถึงพวกเขาในอดีต
                ในนามของ ความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงของอาหาร และ ความมั่นคง...ทุกๆ อย่าง ได้กลายเป็นวาทกรรมที่สร้างความชอบธรรม เพื่อลิดรอนสิทธิ์ของคนตัวเล็กตัวน้อย ที่ได้ถูกรับรองด้วยวาทกรรมของ สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน หรือ อธิปไตยทางอาหาร ฯลฯ  ทั้งสองวาทกรรมรับรองโดยสหประชาชาติ
                สังคมเมืองติดหล่มไฮเทค ที่หิวพลัง มักง่าย เพื่อให้เกิดไฟฟ้าขับเคลื่อนตั้งแต่เครื่องจักร ... จนถึงแอร์และหม้อหุงข้าว  วัดถูกแทนที่ด้วยมหกรรมช๊อปปิ้งสวรรค์นักบริโภคที่ไม่มีวันสิ้นสุด เพราะผลิตโดยเครื่องจักรที่ไร้มนุษยธรรม ไร้จิตวิญญาณ แต่ประสิทธิภาพสูง ด้วยเหตุนี้ เม็ดเงินจึงกลายเป็นเทพเจ้าสูงสุด และความหลงงมงายจึงไม่เจือจางไปจากสังคมไทย  แรงงานของคนทำงานส่วนใหญ่ ก็ยังคงเป็นเพียงเชื้อเพลิงให้เครื่องจักรเดินต่อไปได้ ตลอดเวลา
                ชาวเมืองจึงมีความสะดวกสบายในการบริโภค มีแต่สินค้าสำเร็จรูป อาหารจานด่วน ฯลฯ ที่สร้างขยะมหาศาลและความหิวโหยทางจิตวิญญาณ

                100 ปี สตรีสากล สังคมกำลังมุ่งหน้าไปทิศไหน?

                เสียงเพลงและดนตรี หญิงกล้า ที่ดังกระหึ่มต้อนรับนายกฯ เมื่อออกจากลิฟต์ (6 มีค.) ยังกระหึ่มในหู
                แต่พวกเราเหล่าผู้หญิงยังเชื่อคำร้องในบทเพลงนั้นไหม?
    หรืองานฉลองทั้งหมด เป็นเพียงฉากหนึ่งสำหรับการถ่ายภาพที่ระลึก?
    มันเป็นพิธีกรรมสัญลักษณ์ประจำปีที่พิเศษกว่าปีอื่น
    หรือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญสู่ศตวรรษหน้า ด้วยความหวัง

100 ปี ที่แล้ว บรรดาย่า ยาย ทวด ที่เป็นแรงงานหญิงต่อสู้เพราะถูกกดขี่จนตรอก เป็นหรือตายมีค่าเท่ากัน จึงฮึดสู้ หวังว่าชีวิตแรงงานคงจะดีขึ้นในศตวรรษหน้า  วันนี้ เราร่วมรำลึกและฉลองพงศาวดารนั้น เรามองเห็นอะไรใน 10 ปีข้างหน้า?

สำหรับดิฉัน ในภาพแรก เห็นแต่ความมืดมน
เราทุกคนคลานออกมาจากครรภ์มารดา เมื่อตายแล้ว ก็คืนกลับสู่อ้อมกอดของพระแม่ธรณี
แต่ที่ๆ เรามา กับที่ๆ เราจะไป มันช่างดูไร้ศักดิ์ศรีเสียเหลือเกิน

ครรภ์มารดา เป็นอู่ชีวิตที่หล่อเลี้ยงพวกเราแต่ละคนตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อน  อุปกรณ์ที่ธรรมชาติมอบหมายให้เป็นสมบัติของสตรีเพศ  และพึงเป็นสิทธิ์ที่สตรีเพศจะบริหาร รักษา และใช้อุปกรณ์นี้   ทุกวันนี้ กลับถูกคุกคาม ย่ำยีอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่การข่มขืน ค้ามนุษย์เพื่อการประเวณี จนถึงการอุ้มบุญ   มันไม่ใช่เป็นการประทุษร้ายแค่ปัจจเจก แต่เป็นการลบหลู่แหล่งฟูมฟักมนุษยชาติ ... จากตัวเรา จนถึงอนุชนต่อๆไป  และเมื่อเรากลับชาติมาเกิดเป็นคนในวัฏสงสารนี้อีก
พระแม่ธรณี ในยุคของเรา เต็มไปด้วยขยะ สารเคมี ของเสียจากโรงงาน และครัวเรือนเมือง ... รวมทั้งจากบ้านและที่ทำงานของเราเอง  เราบริโภคเกินอัตภาพของเราหรือเปล่า?  ในขณะเดียวกัน ป่าไม้ก็หดหาย กลายเป็นหย่อมเรือนที่เหมือนเตาอบติดแอร์  ผิวพื้นโลกปุปะด้วยรูเหมืองร้าง  ขยะไม่เพียงเป็นมลพิษเจือปนไปใน ดิน น้ำ อากาศ แต่รวมถึงเสียงดัง และภาพโฆษณาอุดจาดในที่สาธารณะเมืองนี่หรือ คือความเจริญที่บรรดาย่ายาย ทวด ที่ต่อสู้เมื่อ 100 ปีก่อนอยากเห็น?

เมื่อเราทำลายและทำร้ายครรภ์มารดาทั้งสองแห่งนี้ได้ ทำไมเราจะฆ่ากันเองไม่ได้?   หากเทียบอัตราการตายในสงครามโลกทั้งสองครั้ง กับสงครามการค้าเสรี...ความเจริญ...ที่กำลังเกิดขึ้น ตัวเลขคงน่าตกใจ

ถึงกระนั้น การฉลอง 100 ปี วันสตรีสากล โดยมีกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีเป็นแกนนำครั้งนี้ ก็ได้ฉายอีกภาพให้เห็น ซึ่งอาจเป็นก้าวใหม่ที่มีความหวัง

  1. การโอบผู้หญิงทำงานทุกภาคส่วน ให้เข้ามาร่วมฉลองโดยเปิดพื้นที่ให้ ด้วยการเชิญเป็นวิทยากรขึ้นเวทีร่วมกันข้ามชนชั้น ข้ามสาขาอาชีพ ข้ามเพศและข้ามพรมแดน รวมทั้งมีผู้ชายร่วมในทุกระดับ แต่ผู้หญิงร่วมกันตัดสินใจขั้นสุดท้าย เพราะเป็นงานฉลองของผู้หญิง
  2. การจัดการกับวิกฤตและความขัดแย้ง ด้วยการใช้วิธีเจรจาต่อรอง เช่น กรณีคุณจิตรา  (ที่ชูป้ายและตะโกนด่านายกอภิสิทธิ์ ด้วยความเจ็บใจ เพื่อแย่งหน้าสื่อเอาความทุกข์ร้อนของตนเป็นเอก แต่ได้สร้างความเสียหายแก่ที่ประชุม และความอึดอัดใจแก่ทั้งเพื่อนแรงงาน คณะผู้จัด และความลำบากใจแก่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย) แทนที่จะใช้อำนาจบังคับขับไล่ให้ออกจากที่ประชุม ผู้รับผิดชอบแสดงความอดทน เจรจา ขัดตาทัพ ไม่ได้ ขืนใจ ให้เก็บป้าย  แม้ผลจะไม่พึงประสงค์ในระดับหนึ่ง แต่ในอีกระดับหนึ่ง ทำให้นายกฯ ได้พิสูจน์ความเป็น ผู้ใหญ่ และทำให้หลายคนเห็นใจนายกฯ มากยิ่งขึ้น  
  3. การปฏิสัมพัทธ์แบบ ร่วมคิด ร่วมทำ แม้จะดูเหมือนอ่อนแอในด้านการจัดการ การสื่อสาร  ขาดการติดตามหรือบริการอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวน แต่ก็มีการยื่นมือเข้าจัดการ ค้ำจุนตามกำลัง ในทุกๆ ช่องโหว่ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่การแถลงข่าว เตรียมงาน จัดสถานที่ จนถึงการสิ้นสุดรอบแรกด้วยการเดินขบวนในวันที่ 8 มีนาคม  งานจึงลื่นไหลไปได้ด้วยดี เพราะมีคนไม่นิ่งดูดาย และยังเชื่อในเพลง หญิงกล้า
หัวใจของงานฉลอง 100 ปีนี้ ที่เข้มข้นในวันที่ 6-7-8 มีนาคม เป็นเสมือนการมาบรรจบของแม่น้ำสามสาย อันมีสายแรงงานเป็นหลัก เป็นวาระที่พบปะกับสายวรรณกรรม-ศิลปะ และสายการเมือง-การปกครอง  เป็นภาพของการผสมผสานของสายน้ำเป็นเกลียวที่มีพลัง กระแทกเป็นคลื่นอย่างสนุกสนาน รวมทั้งเกิดระลอกคลื่นกระทบฝั่ง...แสดงพลังและศักยภาพของหญิงไทย... ก่อนที่จะแยกกันไหลต่อไป 

การปฏิสัมพัมธ์ของกระบวนผู้หญิงเช่นนี้ เป็นเหมือนน้ำในมหาสมุทรที่มีพลวัตตลอดเวลา  ของเสียที่แข็งทื่อ ในที่สุดก็จะถูกตีแยกให้ขึ้นฝั่ง หรือติดกับกิ่งกอให้เน่าผุ กลายเป็นดินต่อไป

ตราบเท่าที่ขบวนผู้หญิงยังคิดและเคลื่อน ไม่ใช่น้ำเน่าที่ขังเฉยแฉะ พื้นที่เปิดนี้ ก็จะสามารถแยกแยะ ให้ของแข็งกลายเป็นดิน โคลนตม  บัวที่เกิดจากโคลนตม คือ ปัญญาที่เกิดจากความกล้าหาญที่จะโอบ และเผชิญหน้ากับ ความไม่มั่นคง / ความเปราะบาง อย่างมีสติ และไม่ใช้ความรุนแรง  นี่เป็นภาพบวก หรือพลังบวกของผู้หญิง ที่ดิฉันเห็นในการร่วมจัดงานฉลอง 100 ปี ครั้งนี้ แสดงออกผ่านตัวพี่ๆ น้องๆ ที่ร่วมมือร่วมใจ ให้อภัย ให้กำลังใจ ยืดหยุ่น เสียสละ ตามกาล ตามวาระ เพื่อส่วนรวม ... หนทางเส้นนี้ ยังไม่สิ้นสุด มันเป็นเพียงก้าวแรกสู่การ ต่อสู้ ร่วมกันในประวัติศาสตร์หน้าใหม่  ต่อสู้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน

ตราบเท่าที่ พี่ๆ น้องๆ หญิงทำงานทั้งหลาย ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ กลั่นกรอง นิยาม ตั้งคำถาม แสวงหาคำตอบ จากในสู่นอก และทบทวนความสัมพันธ์ที่มีชีวิตจากนอกสู่ในทุกลมหายใจ   10 ปีข้างหน้า ก็ยังมีความหวัง  เราเลือกได้ว่าจะเป็นน้ำเน่านิ่ง หรือน้ำหลากที่มีชีวิต และหล่อเลี้ยงชีวิต

สตรี สร้างสรรค์ สันติ
ดรุณี

เจตนารมณ์ผู้หญิงทำงาน 8 มีนาคม 2011

เจตนารมณ์ผู้หญิงทำงานไทย
ในวาระการฉลอง 100 ปีสตรีสากล

วันสตรีสากลได้เวียนมาครบรอบหนึ่งศตวรรษ  33 เครือข่ายและองค์กรทำงานเกี่ยวกับผู้หญิง ซึ่งมีกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีเป็นแกนนำ 

นี่เป็นบทบาทที่สมควร เพราะกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี เป็นสหภาพคนงานผู้หญิงที่เชื่อมต่อกันในแนวราบกับผู้หญิงทำงานทั้งหลาย แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนประเด็นสิทธิลาคลอดแก่คนทำงานหญิง นั่นคือ สิทธิของผู้หญิงทำงานในการเป็นมารดา อันเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐาน  ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องส่วนตัวของผู้หญิง แต่เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของสังคมโดยรวม ที่จะปกป้องและคุ้มครองให้ผู้หญิงทำงาน ได้เป็นมารดาที่ดี เพื่อร่วมกันดูแลอนาคตของชาติ และมนุษยชาติ

ในปีนี้ ผู้หญิงทำงาน ได้แสดงเจตนารมณ์การทำงาน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน  ว่าต้องมาจาก
-          ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม  การงานที่มั่นคง และสวัสดิการที่ทั่วถึงและครอบคลุม
-          เป็นการย้ำระบบสามแปด คือ ผู้หญิงพึงหาเลี้ยงชีพและบำรุงครอบครัวได้ด้วยการทำงาน 8 ชั่วโมง เพื่อจะได้มีเวลาอีก 8 ชั่วโมงศึกษาพัฒนาตน และอีก 8 ชั่วโมงพักผ่อน
-          ในปีนี้ ผู้หญิงทำงานได้เรียกร้องให้ พ่อมีสิทธิลาคลอดด้วย เพื่อจะได้ช่วยแม่ที่เตรียม หรือ ฟื้นฟูหลังคลอด ในการช่วยดูแลลูก

จึงขอเวียนส่งคำประกาศเจตนารมณ์ ซึ่งครอบคลุมผู้หญิงทำงานทุกภาคส่วน เพราะผู้หญิงส่วนใหญ่ยังเป็นอู่แห่งชีวิต และเป็นแหล่งอารยธรรมแรกที่อนาคต...ที่มากับทารกแต่ละคนจะต้องผ่าน

หญิง ชาย และคนข้ามเพศ ล้วนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
มีสิทธิร่วมสร้างให้สังคมเป็นธรรมได้เท่ากัน
จึงเป็นหน้าที่ของสังคม และภาครัฐที่จะสร้างหลักประกันนี้

นับถือ

ดรุณี
.............

ประกาศเจตนารมณ์
 “ผู้หญิงทำงาน   สู้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของทุกคน
ในวาระการเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปี วันสตรีสากล ๘ มีนาคม
(พ.ศ.๒๔๕๔-๒๕๕๔)
แถลงต่อ  
ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี

โดย  
๓๓ เครือข่ายองค์กรแรงงาน 
องค์กรทำงานประเด็นผู้หญิง และ
องค์กรสิทธิมนุษยชน[i]
๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔    
ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๘ มีนาคม ๒๔๕๔ เมื่อ ๑๐๐ ปีที่แล้ว   คนงานหญิงในภาคอุตสาหกรรมหลายประเทศพร้อมใจกันเดินขบวนแสดงพลัง  เรียกร้องค่าจ้างที่เป็นธรรม  ลดชั่วโมงการทำงาน และ เพิ่มสวัสดิการ  คือเรียกร้องการทำงานระบบสามแปดทำงาน ๘ ชั่วโมง พักผ่อน ๘ ชั่วโมง และแสวงหาความรู้ ๘ ชั่วโมง    เรียกร้องให้ค่าจ้างหญิงชายต้องเท่ากันในงานประเภทเดียวกัน      ต้องคุ้มครองสวัสดิภาพผู้หญิงและเด็ก   และเรียกร้องสิทธิทางการเมืองของผู้หญิง  การแสดงพลังต่อเนื่องจนสหประชาชาติประกาศให้วันที่ 8 มีนา เป็นวันสตรีสากล     
“๘ มีนา” จึงเป็นสัญลักษณ์การเคลื่อนไหวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของผู้หญิง และความเสมอภาคหญิงชาย   ซึ่งหมายรวมถึงการต่อสู้เพื่อสิทธิประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน  เคียงบ่าเคียงไหล่ชาย    อุดมการณ์ของผู้หญิงเป็นสิ่งดีงามเพื่อทุกคนในสังคม  จึงควรได้รับการสนับสนุนจากผู้ชายและทุกภาคส่วนในประชาสังคมโลก
๑๐๐ ปีที่ผ่านมา  ทั่วโลกได้ยอมรับแล้วว่าผู้หญิงคือเพศที่ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ชาย     มีบทบาทร่วมสร้างสรรค์สังคมให้พัฒนาก้าวหน้า  ในทุกชุมชน  ทุกประเทศ  ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก 
แต่ทุกวันนี้  ในสังคมไทยที่เชิดชูคุณค่า “แม่”     ชีวิตจริงของผู้หญิงทำงานส่วนใหญ่ทุกกลุ่มอาชีพ     ยังไม่สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงในระบบสามแปด    เพราะค่าตอบแทนการทำงานที่ไม่เป็นธรรม     สวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐานไม่เพียงพอ         ตลอดจนไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีส่วนร่วมตัดสินใจ ในทางการเมืองทุกระดับ   รวมทั้งในการจัดการฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
กระแสเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยม ได้คุกคามความเป็นมนุษย์ของเพศหญิง (และผู้มีความหลากหลายทางเพศ )    จนผู้หญิงต้องตกอยู่ในสถานภาพที่เปราะบาง  เสี่ยงต่อการถูกเอาเปรียบ  ถูกกดขี่ขูดรีด  ส่งผลให้ผู้หญิงจำนวนมากต้องละทิ้งบ้านเกิดเข้ามาในเมือง  หรือย้ายถิ่นข้ามชาติ   เพื่อหารายได้เลี้ยงตนและครอบครัว     ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบ   แรงงานนอกระบบ   แรงงานภาคบริการ   ลูกจ้างชั่วคราวในหน่วยงานของรัฐ          รวมทั้งผู้หญิงที่ทำงานในบ้านให้ครอบครัวใน  ตลอดจนแรงงานรายวันในภาคเกษตรและประมง      ผู้หญิงทำงานทุกคนจึงเป็นพลังเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าความมั่งคั่งแก่สังคมไทยตลอดมา   
ในขณะเดียวกัน  ผู้หญิงก็ยังคงทำหน้าที่ของแม่  ของลูกสาว  และของภรรยา เป็นผู้ดูแลความอยู่ดีมีสุขของทุกคนในครอบครัว  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก คนชรา คนพิการ  และผู้ป่วย      แต่คุณค่าของผู้หญิงในฐานะคน ทำงานที่มีศักดิ์ศรีของมนุษย์เท่าเทียมชาย  ในฐานะแม่ที่ดูแลกล่อมเกลาอนาคตของชาติ ...กลับถูกมองข้าม    สังคมไทยยังไม่มีหลัก ประกันสวัสดิการพื้นฐานแก่พลเมืองจากเกิดจนตาย   และไม่มีแม้แต่ศูนย์เลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพ  ราคาถูก     กระจายเพียงพอในทั่วประเทศ   และที่สำคัญคือยังไม่มีการบริการให้สอดคล้องกับเวลาของผู้หญิงทำงาน  
นอกจากนี้ผู้หญิงจำนวนมากยังถูกกระทำจากความรุนแรง  ตั้งแต่ในครอบครัว    จนถึงการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน  การค้ามนุษย์   รวมทั้งการประสบอันตราย และความเจ็บป่วยในการทำงาน  
วันสตรีสากล ๘ มีนา ปีนี้     เครือข่ายองค์กร ๓๓ แห่ง  จากองค์กรแรงงานทั้งภาครัฐและเอกชน   องค์กรทำงานประเด็นผู้หญิง   องค์กรสิทธิมนุษยชน และผู้แทนจากหลากสาขาอาชีพ   เช่น  ศิลปิน  กวี   นักเขียน   ผู้พิการ  เกษตรกร  ชนเผ่า มุสลิม และผู้แทนหญิงจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เกาหลี  ฟิลิปปินส์   เนปาล และกัมพูชา   จึงขอร่วมกันประกาศเจตนารมณ์การเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปี วันสตรีสากล ร่วมกับขบวนผู้หญิงทั่วโลก   เพื่อรำลึกถึงพลังการต่อสู้ของขบวนผู้หญิง ที่ไม่เคยท้อถอยหรือหยุดนิ่ง   เพื่อสิทธิความเสมอภาค  ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน


ข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนร่วมกัน
ต่อสังคมและรัฐบาล  
ในโอกาส ๑๐๐ ปีวันสตรีสากล

ผู้หญิงทำงาน   ต้องการคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน 
เพื่อผู้หญิง และทุกคน

(๑)   ผู้หญิงทำงานทุกกลุ่ม  ต้องได้ทำงานในระบบสามแปดที่เป็นจริง        โดยมีระบบสวัสดิการสังคมที่จำเป็นจากเกิดจนตาย   ทั้งแรงงานในระบบ   นอกระบบ   ลูกจ้างภาครัฐ   หญิงบริการ  แรงงานเกษตรและประมง    เพราะค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรมและไม่พอเพียง  ทำให้คนทำงานหญิงส่วนใหญ่ต้องอดทนทำงานเกินวันละ ๘ ชม.
-ให้แรงงานหญิงเกษียณจากการทำงานเมื่ออายุ ๖๐ ปี  
-ยอมรับหญิงบริการ  แรงงานนอกระบบ   แรงงานภาคเกษตร และประมง    เข้าสู่ระบบประกันสังคม โดยรัฐบาลช่วยส่งเงินสมทบในอัตราไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง  ให้มีระบบบำนาญประชาชน    และให้รัฐตั้งกองทุนเพื่อสวัสดิการสุขภาพและสังคม   แก่คนอาชีพบริการ โดย หักจากภาษี ธุรกิจภาคบันเทิง และ การท่องเที่ยว
-ต้องมีมาตรการเด็ดขาดห้ามการเลิกจ้างคนท้อง   ส่งเสริมให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพ     ราคาถูก    กระจายทั่วถึงในชุมชน  โรงงาน  หน่วยงานของรัฐและบริษัทเอกชน          และจัดเสริมเจ้าหน้าที่บริการดูแลให้สอดคล้องกับเวลาของผู้หญิงทำงานอย่างจริงจัง  
-รัฐต้องรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 183 ว่าด้วยสิทธิการคุ้มครองความเป็นมารดา      ในการได้รับสวัสดิการค่าจ้างในช่วงที่ไม่ได้ทำงานเพราะการคลอดบุตร  การคุ้มครองสุขภาพแม่และเด็ก   โดยให้พ่อมีสิทธิลางานดูแลลูกและแม่หลังคลอดบุตรเพราะสุขภาพไม่แข็งแรง

(๒)  ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะสำหรับผู้หญิง  อย่างมีคุณภาพ    วันนี้ยังคงมีผู้หญิงที่เจ็บป่วยหรือเสียชีวิตเพราะมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในอัตราสูง        ทั้งที่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้   ถ้ามีระบบการตรวจสุขภาพที่ครบถ้วน  มีคุณภาพ   บริการฟรีหรือราคาถูก และเข้าใจผู้หญิง
-ส่งเสริมการแพทย์ที่ป้องกันความปลอดภัย และดูแลรักษาโรคภัยที่เกิดจากการทำงาน  จนถึงระดับสถานีอนามัย  เพื่อคุ้มครองดูแลโรคภัยต่อระบบอนามัยเจริญพันธุ์  จากสารเคมีภาคเกษตร

(๓) การคุ้มครองดูแลผู้หญิงจากทัศนคติ “เหมารวม”และ “เลือกปฏิบัติ” ต่อผู้หญิง  ไม่ว่าจะเป็นกรณีการตั้งท้องไม่พร้อม   ความรุนแรงในครอบครัว   การคุกคามทางเพศและถูกข่มขืน  การส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาศักยภาพ-ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน   กระบวนการยุติธรรมที่มีอคติทางเพศ   ตลอดจนสิทธิผู้มีความหลาก หลายทางเพศ

(๔) ผู้หญิงต้องมีส่วนร่วมตัดสินใจและวางแผนทุกระดับ  เช่น คณะกรรมการไตรภาคี  กรรมการองค์กรอิสระ  และ การมีสัดส่วนนักการเมืองหญิงเพิ่มขึ้นทุกระดับ

ผู้หญิงทำงาน  คือผู้สร้างสรรค์โลกครึ่งหนึ่ง   
ในโอกาสเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปีวันสตรีสากล  ๘ มีนา ๒๕๕๔
พวกเรามาร่วมกันในโอกาสนี้ เพื่อขับเคลื่อน
ระบบสามแปด  
สิทธิประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม  และ
คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของผู้หญิงทำงาน
เพราะ
นี่คือคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของทุกคนนั่นเอง...


       ๓๓ เครือข่ายองค์กร 
                ๑.   กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี (WWUG)
๒.   กลุ่มเพื่อนประชาชน
๓.   กลุ่มศึกษาพรรคการเมืองทางเลือก
๔.   คณะกรรมการเครือข่ายพลังสตรีเพื่อการปฏิรูป
๕.   คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
๖.   คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)
๗.   คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)
๘.   เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ
๙.   เครือข่ายถมช่องว่างทางสังคม (SIRNet)
๑๐. เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย (WREST)
๑๑. เครือข่ายสหภาพแรงงานสากล (UNI-TLC)
๑๒.โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (TLC)
๑๓.โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๔. มูลนิธิ 14 ตุลา
๑๕. มูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร
๑๖. มูลนิธิผู้หญิง (FFW)
๑๗. มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย  (TLM)
๑๘. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  (SDFT)
๑๙. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ
๒๐. มูลนิธิเพื่อนหญิง (FOW)
๒๑. มูลนิธิเพื่อแรงงานหญิง (CAW)
๒๒. มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ เครือข่ายพนักงานบริการ (EMPOWER)
๒๓. มูลนิธิแอ็คชั่นเอด อินเตอร์เนชั่นเนล (ประเทศไทย) (ActionAid)
๒๔. โรงงานสมานฉันท์ (DR)
๒๕. ศูนย์รณรงค์เพื่อสิทธิแรงงาน
๒๖. สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.)
๒๗. สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย
๒๘. สมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา
๒๙. สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)
๓๐. สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF)
๓๑. สหพันธ์แรงงานนานาชาติ กิจการเคมีภัณฑ์พลังงานเหมืองแร่และแรงงานทั่วไป (ICEM)
๓๒. สหพันธ์แรงงานเพื่อกิจการบริการสาธารณูปโภคระหว่างประเทศ (PSI)
๓๓. สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องหนังแห่งประเทศไทย

100 ปี วันสตรีสากล 26 กพ-19 มีค 2011



ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมครั้งประวัติศาสตร์
การฉลองครบ 100 ปี วันสตรีสากล
100th Year of International Women’s Day
26 กุมภาพันธ์, 1, 5-9, 12-13 และ 19 มีนาคม  พ.ศ. 2554


ความเป็นมา
          หลังจากการต่อสู้ของขบวนแรงงานหญิง ในหลายประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อเรียกร้องค่าตอบแทน และสวัสดิการที่เป็นธรรม จนได้มาซึ่งระบบสามแปด  ได้ทำให้สหประชาชาติ และรัฐบาลทั่วโลก ยอมรับ 8 มีนา ให้เป็นวันสตรีสากลประจำปี  ซึ่งกลายเป็นวันที่ขบวนผู้หญิงทั่วโลกเฉลิมฉลอง ด้วยการสรุปบทเรียนการต่อสู้ทุกปีต่อมา แม้ขบวนผู้หญิงต่างๆ จะมีลีลาก้าวย่างที่แปรตามสภาพการณ์ของแต่ละสังคม ต่างก็พร้อมใจกันย่างก้าวไปข้างหน้า ภายใต้คำขวัญสตรี เสมอภาค สร้างสรรค์ “    
ปี พ.ศ. 2554   เป็นปีที่เวียนมาครบรอบ 100 ปีแห่งการดิ้นรนต่อสู้ของผู้หญิงทั่วโลก เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักประกันในสิทธิเสมอภาคทางโอกาส   และ ค่าตอบแทนการทำงานที่เป็นธรรม
ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ขบวนผู้หญิงทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ไม่เคยย่อท้อหยุดยั้งการต่อสู้ เรียกร้องสิทธิของผู้หญิง ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าตามลำดับ ตั้งแต่สิทธิประชาธิปไตยในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกระดับ สิทธิในการทำงานที่มีค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและได้รับสวัสดิการสังคม   สิทธิเสมอภาคที่ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และไม่ถูกคุกคามทางเพศ รวมถึงสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์
แม้ในช่วง 100 ปีผ่านไป ผู้หญิงได้ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมกับผู้ชาย สร้างสรรค์สังคมให้พัฒนาไปในทุกประเทศ  ในสังคมไทยและทั่วโลก แต่ผู้หญิงทำงานก็ยังไม่ได้รับความเสมอภาคทางโอกาส ยังไม่ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม  รวมทั้งยังเข้าไม่ถึงระบบสวัสดิการขั้นพื้นฐานของสังคมอย่างเท่าเทียม และยังตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวและการคุกคามทางเพศ  อคติต่อผู้หญิงที่มีรากลึกในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ทำให้สังคมไทยไม่ยอมรับบทบาทผู้หญิงในการร่วมตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวงการเมืองทุกระดับ    มายาคติเหล่านี้ บังคับให้แรงงานหญิงจำนวนมากต้องยอมทำงานที่ไม่ต้องใช้ หรือพัฒนาทักษะมาก และได้รับค่าแรงที่บีบคั้นชีวิตของพวกเธอ
พวกเธอต้องทุกข์ทนจากค่าจ้างที่ไม่เท่าเทียมและต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ตลอดจนงานที่ไม่มั่นคงและไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย   ในยุคโลกาภิวัตน์ที่กัดเซาะสิทธิแรงงาน ผู้หญิงทำงานจึงเสี่ยงต่อการถูกเบียดขับให้เป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่มีตัวตน  ถูกละเมิดมาตรฐานแรงงาน   ถูกเลิกจ้างได้ง่าย  ถูกเลือกปฏิบัติในการทำงาน    ส่วนผู้นำหญิงในสหภาพแรงงานและองค์กรที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิ ต่างถูกคุกคามและถูกสลายพลังการรวมกลุ่ม  ถูกกระทำไม่ต่างกับผู้นำชาย
กว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา   ผู้หญิงส่วนใหญ่ถูกกดดันให้ต้องทำงานหนักขึ้นมาก เพียงเพื่อหารายได้ให้ตนและครอบครัวอยู่รอด  ผู้หญิงส่วนใหญ่ได้กลายเป๋นแรงงานนอกระบบ   แรงงานรับงานมาทำที่บ้าน แรงงานภาคเกษตร   แม่ค้าตามท้องถนน   คนทำงานบ้าน คนเก็บขยะ/กวาดถนน แรงงานอพยพและขายบริการทางเพศ ผู้หญิงส่วนหนึ่งเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเอกชน และเจ้าหน้าที่ระดับล่างในหน่วยงานภาครัฐ   ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในปัจจุบันและโครงสร้างสังคมที่เปิดโอกาสให้มีการกดขี่เอาเปรียบ   ส่งผลให้เกิดวิกฤติต่อการอยู่รอดและคุณภาพชีวิตของผู้หญิงและคริบครัว    
ในโอกาส 100 ปีวันสตรีสากล จึงควรเป็นโอกาสที่ผู้หญิงในองค์กรที่ทำงานพิทักษ์และส่งเสริมผู้หญิงในมิติต่างๆ จะรวมพลังขับเคลื่อน เพื่อแก้ไขความบกพร่องในสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ที่ขัดขวางและคุกคามสิทธิของผู้หญิงในการทำงาน และในการมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาของประเทศ ที่ประกันคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของทั้งหญิงและชาย



เป้าหมาย     
สังคมไทยเคารพความเป็นมนุษย์ของหญิงเสมอชาย
-         ตระหนักถึงคุณค่าของผู้หญิงต่อสังคมในบทบาทของแม่ เมีย ลูกสาว และต่อเศรษฐกิจในบทบาทของคนทำงาน
-         ผู้หญิงพึงมีส่วนร่วมในการตัดสินใจสาธารณะทุกระดับ
-         คนทำงานหญิงพึงได้รับค่าตอบแทนพอเพียงเลี้ยงชีพสมกับหน้าที่สร้างเศรษฐกิจและอุ้มชูชีวิตและอนาคตของชาติ

วัตถุประสงค์
  1. เชิญชวนผู้หญิงจากทุกภาคส่วนให้มาร่วมทบทวนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการขับเคลื่อนสิทธิสตรี
  2. เพื่อรวมพลังผู้หญิงทั้งมวลด้วยการสรุปบทเรียนร่วมกัน
  3. เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การรณรงค์สู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนสำหรับคนทำงานทั้งหญิงและชาย


กำหนดการเฉลิมฉลอง 100 ปี วันสตรีสากล
ผู้หญิงทำงานกับคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน
26 กุมภาพันธ์, 1, 5-9, 12-13 และ 19 มีนาคม  2554

เสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์  ห้องประชุม กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต
09.00-09.30            เปิดงาน โดยฝ่ายสตรีกลุ่มย่านรังสิตฯ
09.30-10.45            เสวนา การต่อสู้ของแรงงานหญิงจากทศวรรษ 2530 สู่ยุคปัจจุบัน
กาญจนา นงเยาว์       อดีตคนงานฟิลิปส์ ย่านรังสิต 
ศรีไพร นนทรีย์                   อดีตผู้นำหญิง สหภาพแรงงานไทยเอโร่การ์เม้นท์    
สุเพ็ญศรี  พึ่งโคกสูง   มูลนิธิเพื่อนหญิง
11.00-12.00            แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-ดำเนินรายการโดย สุธาสินี แก้วเหล็กไหล  โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย

อังคารที่ 1 มีนาคม  อาคารหอประชุมสุขุมนัยประดิษฐ์ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน (ก..นนทบุรี)  โดย เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย (WREST)

09.00 - 09.40         รายงานโดย ดร.สุธีรา วิจิตรานนท์ ประธานกรรมการที่ปรึกษาสถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา (GDRI)

ปาฐกถาพิเศษ โดย ฯพณฯ อิสสระ  สมชัย 
                             รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
09.40 - 09.50         วิดีทัศน์ ผู้หญิงเก่ง 2554” “องค์กรท้องถิ่น ดีเด่น 2554” “ผู้หญิงแห่งปี 2554” และ “ผู้ชายแห่งปี 2554 
09.50 - 10.15         มอบโล่ประกาศเกียรติคุณโดย ฯพณฯ อิสสระ สมชัย 
11.00 - 11.45         เสียงจากผู้รับรางวัล “ผู้หญิงเก่ง 2554” และ “องค์กรท้องถิ่น ดีเด่น 2554 
                             - อ. สุรวัฒน์  ชมภูพงษ์  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
11.45 - 12.15         เสวนา  “ผู้หญิงแห่งปี 2554”   และ  “ผู้ชายแห่งปี 2554”
                             - พงษ์ทิพย์  เทศะภู    สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ
13.30 - 15.30         เสวนา “พลังผู้หญิงพลิกโฉมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น : วาระสำคัญสำหรับสัปดาห์สตรีสากล ปี 2554”
ผศ.ดร. จันทรานุช  มหากาญจนะ      รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และอำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต และหลักสูตรการจัดการภาครัฐและเอกชน นิด้า)
                             ดร. กรวิภา  วิลลาศ    นักวิชาการประจำกรรมาธิการกิจการเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ
                             ดร. ผุสดี  ตามไท      สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
รัตนา  จงสุทธนามณี  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
                             ศิริพร  ปัญญาเสน      นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง
            - ดร. สุธาดา  เมฆรุ่งเรืองกุล ผู้อำนวยการ GDRI
15.30 - 17.00         แลกเปลี่ยน / ปิดการประชุม


เสาร์ที่ 5 มีนาคม     ห้องประชุมมูลนิธิ 14 ตุลา  สี่แยกคอกวัว ราชดำเนิน
13.00 – 13.30         ละคร โดย กลุ่มละครประกายไฟ 
13.30 15.30         เสวนาประวัติศาสตร์วันสตรีสากลสตรีสร้างประวัติศาสตร์                    
                             เลื่อน แถวเที่ยง                   อดีตกรรมกรโรงงานทอผ้ากรุงเทพ
                             แตงอ่อน เกาตีระ                 อดีตกรรมกรโรงงานทอผ้าเพชรเกษม
                             สุธาสินี แก้วเหล็กไหล          อดีตกรรมกรโรงงานพาการ์เม้นท์ รังสิต
                             สุนี ไชยรส                         ที่ปรึกษากลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี
                             สุญญาตา เมี้ยนละม้าย         สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย 
นภาพร อติวานิชยพงศ์         สำนักบัณฑิตอาสา ม.ธรรมศาสตร์             
ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา     มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
- วิไลพร จิตรประสาร            กลุ่มเพื่อนประชาชน
15.30 16.30         วงดนตรี ภราดร
16.30 18.00         ภาพยนตร์ “Offside: ผู้หญิงก็มีหัวใจ (สะท้อนชีวิตของผู้หญิงอิหร่านผ่านกลุ่มเด็กสาวที่ต้องการร่วมชมการแข่งขันฟุตบอล ซึ่งเป็นเรื่องต้องห้ามของอิหร่าน)
18.00 – 20.00         ภาพยนตร์ North Country (การต่อสู้ของคนงานหญิงในเหมือง ที่นำไปสู่การฟ้องร้องการละเมิดทางเพศ)


อาทิตย์ที่ 6 มีนาคม  อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
เสวนา ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ และ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร 
นิทรรศการและออกร้านสินค้าที่ระลึก  บริเวณลานปรีดี พนมยงค์  
09.00 – 09.25         บทกวีโดย กวีหญิง 
วีดีทัศน์ “100 ปี วันสตรีสากล
                             เกริ่นนำ ความเป็นมาของวันสตรีสากล และการฉลอง 100 ปีวันสตรีสากล
- สุธาสินี แก้วเหล็กไหล โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
09.25 – 11.30         เสวนา ผู้หญิงทำงานกับคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน       
สุจิน รุ่งสว่าง            เครือข่ายแรงงานนอกระบบ
                             สมุบุญ ศรีคำดอกแค   สภาเครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงานฯ
                             จิตรา คชเดช            ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทร์อัมพ์ 
                             สุพิศ พืชผล             เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
                             อารายา แก้วประดับ    สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
                             นุชนาท แท่นทอง      เครือข่ายสลัม 4 ภาค
ซาซูมิ มาเยอะ          มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ เครือข่ายพนักงานบริการ          
สวาท ประมูลศิลป์      สมาคมเพื่อความก้าวหน้าอาชีพคนตาบอดแห่งประเทศไทย
สุภาพร พรรณนารายณ์  เครือข่ายประมงสตรีภาคใต้
                             - อารีวรรณ จตุทอง    เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย (WREST)
11.30 12.30          ต้อนรับ ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
โดย ที่ประชุมร่วมร้องเพลง หญิงกล้า บรรเลงโดย วงภราดร
                             รายงานและแถลงการณ์ “เจตนารมณ์ 100 ปี วันสตรีสากล   และข้อเสนอของคณะจัดงานฯ”
โดย ธนพร วิจันทร์ ผู้ประสานงานคณะจัดงานฯ
                             ปาฐกถาพิเศษ นโยบายรัฐบาลต่อผู้หญิงทำงานกับคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน 
โดย  ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
12.30 – 13.15         รับประทานอาหาร
13.15 – 14.00         วงดนตรี คีตาญชลี ลานปรีดี พนมยงค์
14.00 – 16.30         เสวนา "100 ปีแห่งการต่อสู้ของขบวนการสตรี" (ห้องประชุมที่ 1)
"What We Have Achieved and Changed: Tracing the Development of Women Workers’ Movements in the Past 100 Years" (มีการแปล)
Maria Rhie                        ประเทศเกาหลี
Jurgette Honculada           ประเทศฟิลิปปินส์  
Binda Pandey                   ประเทศเนปาล  
Pheareak Ly                     ประเทศกัมพูชา
ศรีประภา เพขรมีศรี          ประเทศไทย
- สุภาวดี  เพชรรัตน์                      กรรมการมูลนิธิเพื่อแรงงานหญิง
14.00 – 16.30         เสวนา ภาพสะท้อนของผู้หญิงที่ปรากฏในวรรณกรรมไทย (ห้องประชุมที่ 2)
ชมัยภร แสงกระจ่าง             นักเขียนและนักวิจารณ์วรรณกรรม
ผาสุก พงษ์ไพจิตร               นักวิชาการและผู้แปลวรรณคดี “ขุนช้าง-ขุนแผน”
คริส เบเกอร์                       นักเขียนและผู้แปลวรรณคดี “ขุนช้าง-ขุนแผน
ศรีดาวเรือง                        นักเขียน
สุชาติ สวัสดิศรี                   บรรณาธิการใหญ่ (โลกหนังสือและช่อการะเกด)
สุฑาทิพย์ โมราลาย             นักเขียนอิสระ  
นพมาตร พวงสุวรรณ            นักวิชาการวรรณกรรมศึกษา
- ภาวดี ทองอุไทย               คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ /อุปนายกและประธานฝ่ายกิจการต่างประเทศ
- สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล        เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย (WREST) และผู้อำนวยการ GDRI
16.30 – 17.30         วงดนตรีโฮป  ลานปรีดี พนมยงค์
กิจกรรมนิทรรศการศิลปะโดยศอลปินหญิง  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์เจ้าฟ้า
17.00 17.40         วงดนตรี น้องปิ๊ค น้องเปรียว และ วงดนตรี ฟุตบาท
17.40 – 18.00         บทกวีโดย จันทร์ ทอฉาย
18.00                     พิธีเปิด  โดยคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์                                                  

                                                                                      
จันทร์ที่ 7 มีนาคม    ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์, ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร
นิทรรศการและออกร้านสินค้าที่ระลึก บริเวณลานปรีดี พนมยงค์
09.00 – 12.00         เสวนาศูนย์เลี้ยงเด็กคนทำงาน สู่อนุสัญญา ILO 183” (ห้องประชุมที่ 1)
ฮูวัยดิย๊ะ พิศสุวรรณ    เลขานุการ รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                             Pong Sul Ahn                   ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านกิจกรรมแรงงาน ILO
ธนพร วิจันทร์           กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี
                             มงคล ยางงาม           กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่
                             วัลลภา สลิลอำไพ     สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
                             - อำนาจ พละมี         สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
09.00 – 12.00         ประชุมเชิงฏิบัติการ "ชีวิตที่ยั่งยืนตามวิถีนักกิจกรรมเพื่อสังคม" (ห้องที่ 2)
                             "Engendering Sustaining Life and Activisms" (มีการแปล)
Anjana Suvarnanada Institute for Women’s Empowerment (IWE)
Lin Chew                IWE
Phoebe So              Committee for Women Workers (CAW)
12.00 – 13.00         รับประทานอาหาร
12.00 13.00         วงดนตรีภราดร ลานปรีดี พนมยงค์
13.00 – 15.30         เสวนา ก้าวต่อไป: ยุทธศาสตร์ขบวนการผู้หญิงร่วมสมัย (ห้องประชุม 1)
                             กรณ์อุมา พงษ์น้อย    กลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก
                             กิมอัง พงษ์นารายณ์   สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย
                             วิไลวรรณ แซ่เตีย       คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย          
                             ปาตีเมาะ เปาะอีแตดาโอะ     กลุ่มผู้หญิงกับสันติภาพ
                             อรุณี ศรีโต               สมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา    
                             สุนี ไชยรส               นักวิชาการอิสระ
                             สุนทรี เซ่งกิ่ง            คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน
                             สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง    มูลนิธิเพื่อนหญิง
                             กรวิภา วิลลาส           กรรมาธิการสตรีเยาวชนผู้สูงอายุและคนพิการฯ
                             ลาเคละ จะทอ          เครือข่ายสตรีชนเผ่า     
                             - เรวดี ประเสริฐเจริญสุข กรรมการสมัชชาปฏิรูป



13.00 – 15.30         เสวนา นกปีกเดียวบินไม่ได้: (ร่าง) กฎหมายความเสมอภาคทางเพศ (ห้องประชุม 2)
                             ศิริพร สะโคนาเนค     มูลนิธิผู้หญิง
                             อุษา เลิศศรีสันทัด     มูลนิธิผู้หญิง
                             นัยนา สุพาพึ่ง                    มูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร
                             ภูษิต ประคองสาย      สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
                             อัญชนา สุวรรณนานนท์ มูลนิธิผู้หญิง
ภิกษุณีธัมมนันทา      เจ้าอาวาสวัตรทรงธรรมกัลยาณี นครปฐม
                             - ปวีณามัย บ่ายคล้อย Thai PBS
15.30 – 16.00         สรุป โดยผู้ดำเนินรายการ 7 เวทีเสวนา วันที่ 6-7 มีนาคม


อังคารที่ 8 มีนาคม  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
08.00                     ตั้งขบวนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
09.00 - 12.00                   เคลื่อนขบวนรณรงค์วันสตรีสากล สู่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
                             ประกาศ เจตนารมณ์ 100 ปี วันสตรีสากล


กิจกรรมนิทรรศการศิลปะโดยศิลปินหญิง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์เจ้าฟ้า
อังคารที่ 8 มีนาคม   เสวนา มายาคติหญิงชายในสังคมไทยผ่านมุมมองศิลปินหญิง    
14.00 - 16.00         เตยงาม คุปตะบุตร และ อรอนงค์ กลิ่นศิริ
- สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล

พุธที่ 9 มีนาคม       เสวนาศิลปินหญิงกับการขับเคลื่อนทางสังคมในมุมมองของผู้ชาย
14.00 - 16.00                   ธเนศ วงศ์ยานนาวา และไพศาล เปลี่ยนบางช้าง
- ไชยันต์ ไชยพร

เสาร์ที่ 12 มีนาคม   เสวนา ศิลปินหญิงรุ่นใหม่กับการสร้างสรรค์งานศิลปะ
14.00 - 16.00         ยุรวรรณ ชมพล  ทัดทรวง ทรัพย์ประเสริฐ และวัชราพร อยู่ดี
- อลงกรณ์ จันทร์สุข

อาทิตย์ที่ 13 มีนาคม เสวนา ความเป็นหญิงกับการทำงานศิลปะ
14.00 - 16.00         กัญญา เจริญศุภกุล  ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ   สุโรจนา เศรษฐบุตร และ อารยา ราษฏร์จำเริญสุข
- สุนี ไชยรส

เสาร์ที่ 19 มีนาคม   ศิลปะแสดงสด
16.00-19.00           จิตติมา ผลเสวก  นพวรรณ สิริเวชกุล  อัญญุดา อิศรางกูร ณ อยุธยา
วรรณธวัช พูนพาณิชย์ และวรรณพร ฉิมบรรจง


รายชื่อเครือข่ายและองค์กรร่วมจัด
1.           กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี (WWUG)
2.           กลุ่มเพื่อนประชาชน
3.           กลุ่มศึกษาพรรคการเมืองทางเลือก
4.           คณะกรรมการเครือข่ายพลังสตรีเพื่อการปฏิรูป
5.           คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช./ NGO COD)
6.           คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)
7.           คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)
8.           เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ
9.           เครือข่ายถมช่องว่างทางสังคม (SIRNet)
10.       เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย (WREST)
11.       เครือข่ายสหภาพแรงงานสากล (UNI-TLC)
12.       โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (TLC)
13.       โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
14.       มูลนิธิ 14 ตุลา
15.       มูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร
16.       มูลนิธิผู้หญิง (FFW)
17.       มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย (TLM)
18.       มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDFT)
19.       มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ
20.       มูลนิธิเพื่อนหญิง (FOW
21.       มูลนิธิเพื่อแรงงานหญิง (CAW)
22.       มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES)
23.       มูลนิธิเอเชีย (TAF)
24.       มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ เครือข่ายพนักงานบริการ (EMPOWER)
25.       มูลนิธิแอ็คชั่นเอด อินเตอร์เนชั่นเนล (ประเทศไทย) (ActionAid)
26.       โรงงานสมานฉันท์ (DR)
27.       ศูนย์รณรงค์เพื่อสิทธิแรงงาน
28.       สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.)
29.       สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย
30.       สมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา
31.       สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)
32.       สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF)
33.       สหพันธ์แรงงานนานาชาติ กิจการเคมีภัณฑ์พลังงานเหมืองแร่และแรงงานทั่วไป (ICEM)
34.       สหพันธ์แรงงานเพื่อกิจการบริการสาธารณูปโภคระหว่างประเทศ (PSI)
35.       สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องหนังแห่งประเทศไทย
36.       สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ  มนุษย์