Selling Nature to Save Nature, and Ourselves by Stephen Leahy Wednesday, July 6, 2011 | ขายธรรมชาติเพื่อรักษาธรรมชาติ และพวกเราเอง โดย สตีเฟน เลฮี / 6 กค 2011 / IPS |
"The need for a technological revolution is both a development and existential imperative for civilization," said Rob Vos, lead author of a new report, "The Great Green Technological Transformation". Absent in the U.N. report is a call for the other necessary transformation: what to do with the market-driven economic system that has put humanity on this catastrophic collision course? Attempts to "green" capitalism are failing and will fail, according to many of the more than 200 social science researchers at a groundbreaking international conference in "We must start tackling and questioning some core capitalist dictums, such as consumerism, hyper-competition, the notion that 'private' is always better, and especially economic growth," says Bram Büscher, the conference co-organizer and researcher at the Institute of Social Studies (ISS) at Equally important is to stop looking at nature as a collection of economic objects and services that "must only benefit some specific idea of human economic progress", Büscher told IPS. Governments, the World Bank, the United Nations and development agencies, international conservation organizations and others have all come to see markets as the only way to mobilize enough money to end deforestation, increase the use of alternative energy, boost food production, alleviate poverty, reduce pollution and solve a host of other serious and longstanding problems. Started as a small gathering of academics, Nature Inc? became a major event as hundreds of experts from around the world wished to participate. Büscher believes the main reason for this is that many are actively doing research on environmental and conservation issues and are increasingly running into new market schemes like carbon credit trading, payments for ecosystem services, biodiversity derivatives and new conservation finance mechanisms, and so on. "Payments for ecosystem services are the newest tropical 'miracle' crop," said Kathleen McAfee of The market is putting new values on tropical forests as carbon sinks, reservoirs of biodiversity or ecotourism destinations, McAfee said during the conference. The World Bank, U.N. and others say that the only way to generate large corporate sector and private investment to protect tropical forests is by payments for ecosystem services such as carbon and biodiversity offset markets such as Reduced Deforestation and Degradation for biodiversity known as REDD+. These are also touted as the way out of poverty for communities living in or near forests. "However, markets are preconditioned on inequality and will only make matters worse," McAfee said. Markets will look for the cheapest land available, which means the poorest will be displaced because they don't have formal land tenure or they will be persuaded by promises of large payments. In order to secure the investment, carbon traders will place restrictions on the use of the land for decades. Technical assessments and monitoring will also be needed, which results in high costs as was the case for a project in When the European Union committed to reduce its carbon emissions by 20 percent by 2020, some European multinational industries with high carbon footprints simply moved to countries like the United States where there were no restrictions, said Yda Schreuder of the University of Delaware. " Globalization greatly enables companies to quickly shift their operations to where costs or restrictions are lower. To meet its 2020 target, Europe reduced its use of coal 35 to 50 percent by switching to renewable energy like wind, but mainly through much higher use of natural gas obtained from Natural gas emits much less carbon than coal. However, over the same time period, "The World Trade Organization encourages all this to happen. Markets are a driving force behind increasing emissions of carbon," she added. Digging deeper into these schemes reveals their inherent contradictions and unintended consequences, but they are "often promoted in lyrical win-win language", said Büscher. Many believe the green technology transformation that the new U.N. report calls for is unlikely to succeed without a move away from the economic growth-at-all-costs paradigm that dominates nearly everyone's thinking. There is an overwhelming need to find alternatives and stop promoting an economic system that has created the crisis. "These are incredibly complex problems and there are no simple solutions," Büscher concluded. Copyright © 2011 IPS-Inter Press Service | เดอะเฮก: เพื่อหลีกเลี่ยงมหันตภัยที่กำลังคืบคลานเข้ามา ที่เชื่อมโยงกับภาวะอากาศผันผวน การขาดแคลนอาหาร น้ำและพลังงาน ที่มาพร้อมกับความยากจนที่ย่ำแย่ลง จำเป็นจะต้องมีการยกเครื่องเทคโนโลยีในระดับโลก ที่รวมถึงการลงทุน 1.9 ล้านล้านเหรียญทุกปี ตลอด 40 ปีข้างหน้า ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักกิจกรรมเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ ในเจนีวา กล่าว “การปฏิวัติเทคโนโลยีเป็นเรื่องจำเป็นทั้งในเชิงพัฒนาและความธำรงอยู่ได้ของอารยธรรม” ร็อบ โวส ผู้เขียน รายงานฉบับใหม่ “การแปรเปลี่ยนเทคโนโลยีเขียวครั้งยิ่งใหญ่” กล่าว สิ่งที่ขาดหายไปในรายงานสหประชาชาติฉบับนี้ คือ เสียงเพรียกให้แปรเปลี่ยนด้านที่จำเป็นอื่นๆ : จะต้องทำอย่างไรกับระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยระบบตลาด ที่ผลักให้มนุษยชาติตกอยู่ในรางแห่งการประสานงามหันตภัย? ความพยายามที่จะทำให้ระบบทุนนิยม “กลายเป็นสีเขียว” กำลังล้มเหลว และก็จะล้มเหลว ตามความเห็นของนักวิจัยสังคมวิทยากว่า 200 คน ณ การประชุมนานาชาติครั้งแรก ที่กรุงเฮก ในหัวข้อ “บรรษัทธรรมชาติ?” ระหว่าง 30 มิย. ถึง 2 กค. “พวกเราจะต้องเริ่มรุกคืบเข้าจัดการและตั้งคำถามต่อแก่นสาระของระบบทุนนิยม เช่น ระบบบริโภคนิยม การแข่งขันแบบคอขาดบาดตาย ความเห็นที่ว่า ‘ส่วนตัว/เอกชน‘ ต้องดีกว่าเสมอ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเติบโตทางเศรษฐกิจ” บราม บูซเชอร์ (ผู้ร่วมจัดการประชุมและเป็นนักวิจัยของ Institute of Social Studies (ISS) ที่ มหาวิทยาลัย อีรามุส ในกรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ สิ่งที่สำคัญพอๆ กัน คือ ต้องหยุดมองธรรมชาติ ว่าเป็นเพียงคลังเก็บของและการบริการเชิงเศรษฐศาสตร์ ที่ “จะต้องเป็นประโยชน์สำหรับความคิดเฉพาะบางอย่างของมนุษย์เพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเท่านั้น” บูซเชอร์กล่าวต่อ IPS บรรดารัฐบาล ธนาคารโลก สหประชาชาติ และหน่วยงานการพัฒนา องค์กรอนุรักษ์นานาชาติทั้งหลาย และภาคส่วนอื่นๆ ล้วนมองว่า ระบบตลาด เป็นหนทางเดียวที่จะระดมเงินได้มากพอ เพื่อยุติการทำลายป่า เพิ่มการใช้พลังงานทางเลือก เพิ่มการผลิตอาหาร บรรเทาความยากจน ลดมลภาวะ และแก้ปัญหาร้ายแรงและหมักหมมมหาศาลอื่นๆ บรรษัทธรรมชาติ? เริ่มต้นจากการรวมตัวน้อยๆ ของนักวิชาการ ได้กลายเป็นเหตุการณ์หลักสำคัญ ที่ผู้เชี่ยวชาญหลายร้อยคน จากทั่วโลกต้องการเข้าร่วม บูซเชอร์ เชื่อว่า ที่เป็นเช่นนี้ เพราะ หลายๆ คนกำลังขมักเขม้นทำการวิจัยในประเด็นสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ และเมื่อหันไปทางไหน ก็เจอแต่แผนการตลาดใหม่ๆ เช่น การค้าเครดิตคาร์บอน การจ่ายค่าบริการของระบบนิเวศน์ สิ่งที่พัฒนามาจากความหลากหลายทางชีวภาพ และกลไกการเงินใหม่เพื่อการอนุรักษ์ เป็นต้น “การจ่ายเงินเพื่อการบริการของระบบนิเวศน์ เป็นพืช ‘มหัศจรรย์‘ พันธุ์ใหม่ที่สุดของแถบโลกศูนย์สูตร” แคธรีน แม็คอะฟี แห่งมหาวิทยาลัยรัฐซานฟรานซิสโก กล่าว ตลาดได้กำหนดมูลค่าใหม่ให้กับป่าเขตศูนย์สูตร ในรูป อ่างเก็บคาร์บอน แหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ หรือจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ แม็คอะฟี กล่าวในระหว่างการประชุม ธนาคารโลก สหประชาชาติ และอื่นๆ ต่างบอกว่า หนทางเดียวที่จะทำให้เกิดภาคบรรษัทขนาดใหญ่ และการลงทุนเอกชน เพื่อปกป้องป่าในเขตศูนย์สูตร คือ การจ่ายเงินสำหรับการบริการของระบบนิเวศน์ เช่น ค่าชดเชยคาร์บอน และความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การลดการทำลายและการเสื่อมโทรมของป่า (Reduced Deforestation and Degradation) หรือที่เรียกว่า REDD+ พวกนี้ก็ถูกปรุงแต่ง นำเสนอว่า เป็นหนทางที่จะหลุดพ้นจากความยากจน สำหรับชุมชนที่อาศัยอยู่ในหรือใกล้ป่า “แต่ ตลาดมีเงื่อนไขที่ธำรงความไม่เท่าเทียมอยู่ก่อนแล้ว และมีแต่จะทำให้สิ่งต่างๆ แย่ลง” แม็คอะฟีกล่าว ตลาดจะกวาดมองหาผืนแผ่นดินที่ถูกที่สุด ซึ่งหมายความว่า คนยากจนที่สุด จะต้องถูกแทนที่ เพราะพวกเขาไม่มีโฉนดที่ดินอย่างเป็นทางการ หรือพวกเขาจะถูกชักชวนให้เขว ด้วยคำสัญญาว่าจะได้รับเงินก้อนโต เพื่อสร้างหลักประกันสำหรับการลงทุนนักค้าคาร์บอน จะกำหนดข้อจำกัดในการใช้ที่ดินเป็นเวลานานหลายทศวรรษ ความจำเป็นที่จะต้องมีการประเมินและติดตามทางเทคนิค จะนำไปสู่ต้นทุนสูง ดังปรากฏในกรณีของโครงการหนึ่งใน คอสตา ริกา แม็คอะฟีกล่าว ”คนจนได้นิดเดียว...ไม่พอแม้กระทั่งเอาต้นทุนคืน” เมื่อสหภาพยุโรป ได้ผูกพันตัวเองที่จะลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้ 20% ในปี 2020 (2563) อุตสาหกรรมข้ามชาติยุโรป ที่มีรอยเท้าคาร์บอนสูง ก็เพียงแต่เคลื่อนตัวสู่ประเทศ เช่น สหรัฐฯ ที่ไม่มีการควบคุมจำกัด Yda Schreuder แห่งมหาวิทยาลัย เดลาแวร์ กล่าว “การที่ยุโรปเดินหน้าไปตามลำพังในการลดคาร์บอน ได้ทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอนสูงขึ้นทั่วโลก” ชรูเดอร์ ผู้เขียน “เรือนกระจกของบรรษัท” ("The Corporate Greenhouse") ซึ่งเป็นหนังสือวิพากษ์เชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองต่อการโต้แย้งเรื่องภาวะผันผวนของอากาศ กล่าว โลกาภิวัตน์ ได้ส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ ขยับฐานผลิตได้อย่างรวดเร็ว ไปยังที่ๆ ต้องลงทุนต่ำ หรือ มีกฎข้อบังคับน้อยกว่า เพื่อให้บรรลุเป้า 2020 ยุโรปได้ลดการใช้ถ่านหินถึง 35-50% โดยหันไปใช้พลังงานทางเลือก เช่น ลม แต่ก็ด้วยการใช้ก๊าซธรรมชาติปริมาณมากขึ้นจากรัสเซีย ก๊าซธรรมชาติปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าถ่านหินมาก แต่ในช่วงเวลาเดียวกัน รัสเซียก็เพิ่มการใช้ถ่านหินสำหรับการผลิตพลังงานภายในประเทศ เพราะ สามารถทำรายได้ดีกว่าจากการขายก๊าซธรรมชาติให้ยุโรป ชรูเดอร์กล่าว “องค์การค้าโลก สนับสนุนให้เป็นเช่นนั้น ตลาดเป็นแรงขับเคลื่อนเบื้องหลังการปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้น” เธอกล่าวเสริม พอเจาะแผนการเหล่านี้ลึกลงไปอีก ความขัดแย้งที่ซ่อนเร้นอยู่และผลพวงที่ไม่ได้ตั้งใจจะให้เกิด ก็เริ่มเผยโฉมหน้าออกมา แต่ก็อยู่ในรูปที่ “มักถูกส่งเสริมในท่วงทำนองภาษาว่า ชนะ-ชนะทุกฝ่าย” บูซเชอร์กล่าว หลายคนเชื่อว่า การแปรเปลี่ยนเทคโนโลยีเขียว ที่รายงานฉบับใหม่ของสหประชาชาติได้เรียกร้อง คงไม่มีทางสำเร็จได้ โดยปราศจากการขยับตัวออกจากกรอบคิดที่ว่า จะต้องทำให้เศรษฐกิจเติบโตไม่ว่าจะต้องลงทุนสักเท่าไร ที่เป็นกรอบคิดครอบงำมุมมองของทุกๆ คน มีความจำเป็นอย่างล้นหลามที่จะค้นหาหนทางเลือกใหม่ และยุติการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจที่มีแต่สร้างวิกฤต “นี่เป็นปัญหาที่ซับซ้อนยิ่ง และไม่มีทางออกที่เรียบง่าย” บูซเชอร์สรุป |
ดรุณีแปล / 7-7-11 |
"หน้าต่างวารี" เป็นพื้นที่เชื่อมโลกทัศน์ ความคิด การเคลื่อนไหว ในโลกกับในไทย ด้วยเชื่อว่า การเรียนรู้ แลกเปลี่ยน จะช่วยให้เราเข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่น และพลวัตการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อันน่าจะเป็นพื้นฐานที่ช่วยให้มนุษย์พลิกวิกฤตทุกวันนี้ ให้เป็นโอกาสในการฟื้นฟู บูรณะโลก และเยียวยามนุษยชาติและสิ่งแวดล้อม ให้คงอยู่ร่วมกันได้ต่อไปอย่างสันติ
วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
Z9 ลดโลกร้อน ขายธรรมชาติ
ป้ายกำกับ:
Z9
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น