ปฏิทินความก้าวหน้าของสถานภาพหญิงไทยในรอบ ๔๐ ปี
พ.ศ. 2517-2550 (1974-2007)
ความก้าวหน้าของสถานภาพหญิงไทย | |
2517 | รัฐธรรมนูญพ.ศ.2517 “ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน…" (มาตรา 28) และ มีเวลา 2 ปีในการทบทวนกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เป็นการเลือกปฏิบัติต่อสตรี (มาตรา 23) แต่มาตรานี้ได้ถูกยกเลิกไปเมื่อมีการปฏิวัติรัฐประหารในปี 2519 |
2519 | รศ.วิมลศิริ ชำนาญเวช (ทบวงมหาวิทยาลัย) และ คุณหญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ (กระทรวงคมนาคม) ได้รับแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรี |
2522 | มีแผนพัฒนาสตรี ระยะยาวฉบับแรก (2522-2544) จัดทำโดยคณะทำงานในคณะอนุกรรมการพัฒนาบทบาทและสถานภาพสตรี |
2528 | ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญา CEDAW โดยมีข้อสงวน 7 ข้อ |
2532 | สำนักงาน กสส สังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี |
2533 | ประเทศไทยยกเลิกข้อสงวนในอนุสัญญา CEDAW 2 ข้อ |
2534 | • มติ ครม: เปิดโอกาสให้สตรีสามารถดำรงตำแหน่งได้ทุก ตำแหน่ง ยกเว้นตำแหน่งที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ • ข้าราชการหญิงมีสิทธิลาคลอดเพิ่มจาก 60 วัน เป็น 90 วัน (30 วันเป็นการลาคลอดที่ต้องลาเพิ่มเติมจากวันลากิจ) |
2535 | • มติ ครม: ให้ ปี 2535 เป็น “ปีสตรีไทย” • ประเทศไทยยกเลิกข้อสงวนในอนุสัญญา CEDAW อีก 1 ข้อ • เป็นครั้งแรกที่รัฐบาล (สมัยนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย) มีนโยบายเร่งด่วนเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี การขัดหาโสเภณีเด็ก และการเปิดโอกาสให้สตรีสามารถประกอบอาชีพได้เท่าเทียมกับชาย • ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช ได้เป็นผู้ประสานงานการเตรียมการประชุมระดับ โลกว่าด้วยเรื่องสตรี (ภาคองค์กรเอกชน) ของภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก |
2536 | • คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ได้เป็นประธานการจัดประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องสตรี (ภาคองค์กรเอกชน) • มติ ครม: ยกเลิกข้อห้ามการแต่งตั้งสตรีเป็นปลัดอำเภอ คนงานหญิงในภาคเอกชน มีสิทธิลาคลอด 90 วัน (จ่าย 45 วันจากกองทุนประกันสังคม อีก 45 วันจากนายจ้าง) |
2538 | • รัฐธรรมนูญ (ฉบับที่5)พ.ศ.2538 เพิ่ม “ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน” แต่ไม่มีบทเฉพาะกาลให้แก้ไขกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ • ประเทศไทยยกเลิกข้อสงวนในอนุสัญญา CEDAW เพิ่มอีก 2 ข้อ • แต่งตั้งพนักงานสอบสวนหญิงขึ้นเป็นครั้งแรกจำนวน 15 คน •ประเทศไทยร่วมรับรองปฏิญญาปักกิ่ง |
2539 | • มติ ครม: นโยบายและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาธุรกิจบริการทางเพศ • พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2538 หลังจากที่มีการพยายามเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวกว่า10 ปี (คุ้มครองผู้ค้าประเวณี เพิ่มโทษผู้เกี่ยวข้องในการนำเด็กเข้าสู่กระบวนการค้าธุรกิจทางเพศ และผู้ใช้บริการ) • ประเทศไทยร่วมรับรองปฏิญญาต่อต้านการค้าประเวณีเด็ก • มติ ครม: ห้ามสถาบันการศึกษาจำกัดจำนวนรับชาย-หญิงในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย |
2540 | · รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 “…ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน และห้ามการเลือกปฏิบัติ...” (มาตรา 30) และ “…รัฐต้องส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย…” (มาตรา 80) · มติ ครม: ยกฐานะสำนักงานกสส เป็นกรม · “พรบ มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก”ที่ขยายการคุ้มครองไปถึงเด็กชายด้วย |
2542 | · กระบวนการสอบปากคำและการสอบพยานเด็กมีวิธีการที่คำนึงถึงสภาพจิตใจเด็กที่ถูกกระทำรุนแรงมากขึ้น ตามพรบ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20 ) พ.ศ. 2542 |
2543 | · ระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย คกก สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีผู้หญิงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 |
2544 | · มติ ครม: ผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชายยกระดับเป็นกระทรวง ทบวง กรม และให้มีศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาคหญิงชาย · ระเบียบ คกก กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ “… คกก กองทุน จำนวนไม่น้อยกว่า 9 คนแต่ไม่เกินสิบห้าคน ประกอบด้วยกรรมการทั้งชายและหญิง ในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน …” และให้ใช้คำว่า “ผู้แทนครัวเรือน” แทน “หัวหน้าครัวเรือน” · สำนักงาน คกก ข้าราชการพลเรือนมีหนังสือให้ทุกส่วนราชการดำเนินการตามแนวทางการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชายของ สำนักงาน ก.พ. |
2545 | · ปฏิรูประบบราชการ กสส รวมกับกรมประชาสงเคราะห์และกรมการพัฒนาชุมชน และยกฐานะเป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ |
2546 | · หญิงสามารถเลือกใช้นามสกุลของตนเองหรือสามีได้ |
2550 | · กฎหมายว่าด้วยความรุนแรงในครอบครัว การข่มขืน และคำนำหน้านาม ได้ผ่าน สมัขขานิติบัญญัติแห่งชาติ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น