ความผันผวนของอากาศ
Averting the Grimmest ScenariosBy Amanda Bransford
UNITED NATIONS, Sep 22, 2010 (IPS)
UNITED NATIONS, Sep 22, 2010 (IPS)
ความอุทกภัยหายนะในปากีสถาน เพิ่มแรงกดดันในที่ประชุมสุดยอดของยูเอ็นในสัปดาห์นี้ ผู้แทนส่วนใหญ่จากประเทศในเอเชียใต้ได้รวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องให้เพิ่มการถ่ายเทเทคโนโลยีจากประเทศร่ำรวยกว่า และให้มีการเปรียบเทียบยุทธวิธีในการเบนทิศทางผลกระทบทีร้ายแรงที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ
“การเปลี่ยนแปลงของอากาศได้กลายเป็นความจริง” นายกรัฐมนตรีบังคลาเทศกล่าวในวงย่อยในที่ประชุมสุดยอดเรื่องเป้าหมายพัฒนาสหัสวรรษ (MDGs) ซึ่งจบลงในวันพุธ “พวกเราในเอเชียใต้รู้จากประสบการณ์ การโจมตีของมหันตภัยธรรมชาติได้เพิ่มทั้งความถี่และความเกรี้ยวกราดในภูมิภาคของเรา ยิ่งกว่านั้น ความผิดปกติ หิมะที่ละลายอย่างรวดเร็วในเทือกเขาหิมาลัย และการเพิ่มระดับน้ำทะเล ล้วนเป็นลางส่อถึงความพินาศ
สาเหตุหลายปัจจัยที่ทำให้เอเชียใต้เปราะบางต่อผลของการเปลี่ยนแปลงของอากาศ – ความยากจนสูง ต้องพึ่งพาอุตสาหกรรม เช่น การประมงที่เปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล และต้องเผชิญกับพายุกำลังแรง สภาวะกดดันด้านสุขภาพ เช่น เอดส์ และการไม่รู้หนังสือ ระบบสาธารณูปโภคด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ย่ำแย่ในหลายๆ แห่ง และการขาดแคลนเทคโนโลยีและทรัพยากร ได้ทำให้การปรับตัวยากลำบาก
แม้ว่าประเทศด้อยพัฒนาจะมีส่วนเพียงเล็กน้อยในการทำให้โลกร้อน พวกเขามักจะเป็นพวกแนกๆ ที่ต้องรับผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น พายุหมุน ความแห้งแล้ง และอุทุกภัย ผลผลิตทางเกษตรถูกทำลาย และโรคภัย เช่น มาเลเรีย และไข้เลือดออก ล้วนเพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ
“การเปลี่ยนแปลงของอากาศยังเพิ่มภาระมากขึ้นให้กับกลุ่มคนที่ยกาจนและเปราะบางที่สุดของโลก และกำลังคุกคามผลลัพธ์จากการพัฒนาที่ได้มาด้วยความลำบาก เฮเลน คลาร์ก หัวหน้าของ UNDP กล่าว หายนะจากภัยธรรมชาติได้ทำให้ความก้าวหน้าสู่เป้าหมายสหัสวรรษ ในปี 2015 หยุดชะงักลง
ผู้แทนได้อภิปรายถึงหนทางที่จะบรรเทาปัญหาในอนาคต คลาร์กเน้นว่า จำเป็นต้องลงทุนในด้านการลดความเสี่ยงและเพิ่มการเตรียมพร้อม ซึ่งถูกกว่าและรักษาชีวิตได้มากกว่าการรอคอยจนกว่าภัยธรรมชาติมาถึง ประเทศในเอเชียใต้ กำลังทำงานด้วยกัน เพื่อสร้างระบบเตือนภัยและจัดการกับความเสี่ยงในระดับภูมิภาค
ผู้แทนต่างๆ บอกว่า การสนับสนุนจากประชาคมนานาชาติ ด้วยการเงินและถ่ายเทเทคโนโลยี เป็นเรื่องสำคัญ
การให้ความช่วยเหลือโดยตรงก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหลายประเทศไม่สามารถรอให้นานาชาติตกลงร่วมมือกัน เช่น มาลดีฟส์ ได้ช่วยตัวเองด้วยการตั้งเป้าว่า จะกลายไม่มีคาร์บอนภายใน 10 ปี โดยได้ออกกฎหมายควบคุมการปล่อยก๊าส
แม้ว่าเหล่าผู้แทนจะแสดงความผิดหวังต่อความล้มเหลวที่ประเทศสมาชิกยูเอ็นไม่สามารถตกลงร่วมกันในการรับรองสนธิสัญญาว่าด้วยอากาศเปลี่ยนแปลงเมื่อปีก่อนในโคเปนเฮเก็น พวกเขากำลังเตรียมตัวที่จะนำเสนอความคิดต่อที่ประชุม U.N. Climate Change Conference ที่จะจัดขึ้นในปลายปีที่ คานคูน Cancún
เลขาฯ ของกระทรวงการต่างประเทศเม็กซิโก กล่าวว่า ประเทศต่างๆ ไม่สามารถนั่งรอให้ผู้ชำนาญหาทางแก้ไข แต่ต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจริงๆ “นี่เป็นประเด็นการเมืองที่เจาะลึกไปถึงขั้วหัวใจของการจัดรูปองค์กรของสังคมของเรา”
กลุ่มประชาสังคมได้ประชุมกันในวันอังคารเพื่อหาทางบรรเทาความพืนาศในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเชื่อมโยงกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม (MDG 7) และสุขภาพมารดา (MDG 5)
สภาวะประชากรล้นโลกได้เพิ่มความเครียดแก่ทั้งมารดาและสิ่งแวดล้อม ประเทศที่มีอัตราการเกิดสูงและมีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศจะตกที่นั่งลำบากยิ่ง
การให้ประชาชนเข้าถึงการบริการสาธารณสุขด้านการเจริญพันธุ์ จะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงอากาศ ผู้หญิงนับล้านทั่วโลกต้องการที่จะคุมภาวะเจริญพันธุ์ของตัวเองได้ แต่ขาดการเข้าถึงบริการนี้ (Population Action International')
การมีครรภ์โดยไม่ได้วางแผนไว้ก่อน ได้เพิ่มอัตราการตายของมารดาและขัดขวางการพัฒนา ความล้มเหลวที่จะสนองตอบความต้องการสำหรับการวางแผนครอบครัว เป็นการจำกัดโอกาสของผู้หญิง และบังคับให้ผืนดินที่มีจำกัดในประเทศที่มีทรัพยากรจำกัดให้เลี้ยงดูประชากรเกินความสามารถที่จะรองรับ (Population and Reproductive Health Programme at the Packard Foundation)
……………….
หยุดคิดสักนิด...
- บทความนี้เป็นสไตล์ของยูเอ็นที่เน้นกระแสหลัก คือ ยังวนเวียนอยู่ที่เทคโนโลยี การคุมกำเนิด ฯลฯ ไม่แตะโครงสร้างและจิตใจ
- ดูเหมือนคนไทยเริ่มเตรียมพร้อมกันดีอยู่ เช่น เขาใหญ่ค่อยๆ กลายเป็นแหล่งหนีน้ำ โดยฝืนเปลี่ยนป่า (มรดกโลก?) ให้อำนวยความสะดวกชีวิตเมือง (ของผู้มีโอกาส) ... น่าเศร้านะ
- ก็เหมือนกับการสร้างเขื่อนรัดคอแม่โขง ด้วยข้ออ้างว่า จะต้องผลิตพลังงาน เพราะ อุตสาหกรรม วิถีเมือง (บริโภคนิยม) ต้องดำเนินต่อไป ในนามของ “พัฒนาเพื่อขจัดความยากจน”
- อุตสาหกรรมต้องเดินเครื่องต่อไป เพื่อสร้างงาน
- แรงงานเริ่มแพง (เรื่องมาก) เกินไป เจ้าของก็ต้องหันไปใช้หุ่นยนตร์แทน
- จะมีทางตัดวงจรอุบาทว์นี้ไหม หรือเยียวยาพฤติกรรม “เสพติด” นี้ไหม จะเริ่มต้นที่ไหน
- โลกมีน้ำมากกว่าแผ่นดิน แต่ทุกวันนี้ เราต้องกินน้ำในขวดพลาสติก...เมื่อ 10 กว่าปีนี้เอง
- จะโทษประชากรล้นโลกอีกหรือ? หรือที่การเสพติดบริโภคเมือง monoculture และการ “บินก่อนจ่ายทีหลัง”?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น