นิ่งเสียปลอดภัยกว่า:
ผลกระทบที่เสียวสันหลังของกฎหมายราวันดาว่าด้วย
“อุดมการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” และ “ลัทธิการแบ่งพรรคแบ่งพวก”
Safer to Stay Silent: The Chilling Effect of Rwanda’s Laws on "Genocide Ideology" and "Sectarianism"
Amnesty International, 31-Aug-2010 (http://www.humansecuritygateway.com/documents/AI-Safer-to-stay-silent-
Chilling-effect-of-Rwandas-genocide-law.pdf)
Chilling-effect-of-Rwandas-genocide-law.pdf)
กฎหมายราวันดาว่าด้วย “อุดมการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” “genocide ideology” และ “ลัทธิการแบ่งพรรคแบ่งพวก” “sectarianism”, ที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “ลัทธิการแบ่งแยก” “divisionism”, ได้ถูกนำมาใช้หลังจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในปี 1994 ที่ชาวราวันดาถูกฆ่าตายถึง 800,000 คน ส่วนมากเป็นชนเผ่าตุ๊ตซี่ (Tutsi) แต่ก็มีชนเผ่า ฮูตู (Hutu) รวมอยู่ด้วยบางคนที่ต่อต้านการล้างฆ่าที่จัดตั้งขึ้นและกระแสพลังที่นำให้ไปสู่ทิศทางนั้น ด้วยความตระหนักถึงบทบาทของคำพูดที่เร้าความเกลียดชัง และสถานีวิทยุแห่งความเกลียดชังอันมีชื่อ Radio Télévision Libre des Milles Collines (RTLM) ที่ยุยงให้คนมีส่วนร่วมในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งนั้น รัฐบาลภายหลังเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งนำโดย “แนวร่วมราวันดารักชาติ” (Rwandan Patriotic Front-RPF) ได้ออกกฎหมายปลุกใจให้เกิดความสามัคคี และระวังคำพูดที่กระพือความเกลียดชัง หลังจากการปฏิรูปขนานใหญ่ในระบบยุติธรรมได้ 6 ปี รัฐบาลราวันดาได้แถลงการณ์ ทบทวนกฎหมายว่าด้วย “อุดมการ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ในเดือนเมษายน 2010 Amnesty International ต้อนรับการริเริ่มนี้ของรัฐบาล รายงานฉบับนี้ ระบุถึงข้อห่วงใยของ Amnesty International ต่อฝ่ายนิติบัญญัติ และการนำกฎหมายฉบับนี้มาใช้ในบริบทของกระบวนการทบทวนของรัฐบาลราวันดา รายงานนี้เป็นผลจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของ Amnesty International ใน ราวันดา ระหว่างเดือน พฤษจิกายน 2009 และ มีนาคม 2010 ... รายงานฉบับนี้ ไม่ได้ตั้งใจที่จะฉายภาพรวมของกรณีทั้งหมด—ผู้ต้องโทษ และผู้พ้นโทษ--ของ “อุดมการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” และ “ลัทธิการแบ่งพรรคแบ่งพวก” แต่เป็นการบันทึกแนวโน้มของปัญหาที่เกิดจากวิธีการที่กฎหมายเหล่านี้ถูกประยุกต์ใช้
http://www.humansecuritygateway.com/showRecord.php?RecordId=33717
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น