วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พลิกโฉม...สู่สังคมสมดุล อยู่ดี รู้ทุกข์

พลิกโฉม : มิติเศรษฐกิจ
-- สิทธิ์ปากท้อง

ข้อมูลจาก สำนักอิสระเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (School for Wellbeing Studies & Research)
                เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (SVN) / UN Global Compact 2010

ดรุณี ตันติวิรมานนท์

สิ่งที่ดิฉันจะขอนำมาเล่าสู่กันฟังวันนี้ ได้รับแรงดลใจจากการที่คุณกรวิภาต่อว่าในอีเมล์ และในที่ประชุมวันก่อนว่า มีไม่กี่คนที่ร่วมเสวนาในกลุ่มเศรษฐกิจ ในวันเปิดตัวเครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย  ดิฉันคิดว่า มิติเศรษฐกิจ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะทุกประเทศกำลังติดหล่มเศรษฐกิจอยู่    จึงเริ่มถามตัวเองว่าจะตอบคำต่อว่าของคุณกรวิภาได้อย่างไร
เผอิญได้ไปฟังสัมมนาสองที่ ที่หนึ่งจัดโดย สำนักอิสระเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (School of Wellbeing)  อีกที่โดยเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social Venture Network, SVN Asia) ทำให้เกิดความคิดว่า น่าจะเป็นกรอบคิดนำทางเพื่อพลิกโฉมมิติเศรษฐกิจ
ที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นการยืมความคิดคนอื่นมายำ เพื่อนำเสนอให้ลองพิจารณาดูว่า พอจะเป็นกรอบคิดต่อ ต่อยอดได้ไหม อย่างไร

เครือข่ายพลิกโฉมฯ เป็นการรวมพลังผู้หญิงครั้งสำคัญ แต่ต้องการจะพลิกอะไร
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้ตั้งธงไว้ 8 ประการ ว่า พลังผู้หญิงจะช่วยในการปฏิรูปได้ (ดูตาราง 1)
พลิกโฉมฯ มีชุดธงที่กระทัดรัด 6 ข้อ ซึ่งไม่ต่างกับของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี นัก เพียงแต่พลิกโฉมมีประเด็นเศรษฐกิจเพิ่มมา
แต่ธงเศรษฐกิจก็ยังไม่เคลื่อนเหมือนธงอื่นๆ ซึ่งก็ไม่น่าประหลาดใจ เพราะเศรษฐกิจกำลังหลอมละลาย และสับสนอลหม่าน รวมทั้งภาครัฐ
ที่จะนำเสนอต่อไป เป็นการเหลียวดูว่า คนอื่นเขาคิดและขับเคลื่อนกันอย่างไร
#1
พลังผู้หญิง ... พลิกอะไร?
ศ.นพ.ประเวศ วะสี (8 ข้อ)
28 ต.ค. 53
พลิกโฉมฯ (6 ข้อ)
14 ต.ค. 53
ต่อต้านคอรัปชั่น สร้างสรรค์ศีลธรรม
ประชาธิปไตยชุมชนท้องถิ่น
พัฒนาคุณภาพเยาวชนและครอบครัว
จัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม
นวัตกรรมการเรียนรู้
ปฏิรูประบบราชการ
รัฐธรรมนูญ
สื่อสารสร้างสรรค์
การสร้างเสมอภาคในกระแสหลัก
50:50 พลิกโฉมการเมืองไทย
เศรษฐกิจเพื่อความเสมอภาค
สวัสดิการและการจัดทรัพยากร
การศึกษาเพื่อสร้างอำนาสตรี
ปฏิรูปกระบวนยุติธรรม


ทุกวันนี้ นักวิชาการและผู้นำโลกหลายคน ยอมรับว่า โครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม ทำให้เศรษฐกิจเติบโต สวนทางกับเจตนารมณ์ของการพัฒนา เพราะ ตัวชี้วัดบกพร่อง หรือเข็มทิศไม่ดี
จีดีพี ทำให้เกิดความมั่งคั่ง แต่ผิดทาง ทำให้มนุษยชาติระส่ำระสาย ขาดความมั่นคงในชีวิต วิกฤตต่างๆ ในสังคมและสิ่งแวดล้อม...คุกคามความเป็นอยู่/ความอยู่รอดของคน และระบบนิเวศ
  • การกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม เพิ่มความเหลื่อมล้ำในสังคม ในขณะที่สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมรวดเร็ว
  • เนื่องจากจีดีพีไม่แยกถูก-ผิด ธุรกิจอบายมุขเช่น เหล้า พนัน ฯลฯ กระตุ้นให้พฤติกรรมรุนแรงแพร่หลาย
  • การส่งเสริมบริโภคนิยม ฯลฯ นำไปสู่หนี้สิน การย้ายถิ่น ฯลฯ  ผลข้างเคียง เช่น ปํญหาครอบครัว และการล่มสลายของภาคเกษตรชนบท อันเป็นฐานรากของสังคมไทย
  • จีดีพี ไม่ให้คุณค่าบทบาทผู้หญิงซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานสร้างสรรค์สังคม
  • แต่จีดีพีได้เปิดช่องโหว่ให้โกงกินอย่างมหาศาลทั้งระดับชาติและระดับโลก
การเรียกร้องของขบวนการผู้หญิงส่วนใหญ่เน้นที่อาการ เช่น หญิง-ชายได้รับผลกระทบต่างกัน ฯลฯ และคาดคั้นให้ภาครัฐและสังคมแก้ไข  มีส่วนน้อยที่ตั้งคำถามกับกรอบ / ทิศทางการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือดัชนีจีดีพี
#2
เศรษฐกิจโต สวนทาง การพัฒนา เพราะดัชนี                                (จาก สำนักอิสระฯ / School for Wellbeing Studies & Research)
n      วิพากษ์จีดีพี 
        การกระจายรายได้ไม่เป็นธรรม
        จีดีพีเพิ่ม สิ่งแวดล้อมเสื่อม
        จีดีพีเพิ่มจากกิจกรรมเศรษฐกิจลบ
n      อบายมุข à พฤติกรรมรุนแรง
n      หนี้สิน à ย้ายถิ่น à ปัญหาครอบครัว / เกษตรชนบท
        ไม่นับกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม (งานบ้าน งานผู้หญิง)
n      คอรัปชั่น

เนื่องจากดัชนี มีความสำคัญต่อการวางนโยบาย จึงมีความตื่นตัวทั่วโลกในการแสวงหาดัชนีใหม่ที่เน้นการพัฒนาสังคม (ความก้าวหน้าทางสังคม)  ที่เด่นๆ มี 8 สำนักคิด ดังแสดงในตาราง 3
#3
ทางเลือก ... ทางรอด?  ดัชนี
  1. คณะกรรมการวัดผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจ & ความก้าวหน้าทางสังคม (Commission on Economic Performance & Social Progress)
        ฝรั่งเศส : โจเซฟ สติกลิซต์ + อมาตยา เซน (รางวัลโนเบล 2544 & 41)
  1. โครงการระดับโลกเรื่องการวัดความก้าวหน้าทางสังคม
        OECD
  1. ดัชนีวัดความก้าวหน้าที่แท้จริง (Genuine Progress Index, GPI)
        แคนาดา
  1. ดัชนีโลกมีสุข (Happy Planet Index, HPI)
        อังกฤษ: มูลนิธิเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Foundation, nef)
  1. ดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าของประเทศ (Nat’l Progress Index, NPI) .... สสส
  2. แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
  3. พุทธเศรษฐศาสตร์
  4. ความสุขมวลรวมประชาชาติ GNH
        นโยบายพัฒนาของภูฐาน ที่รับรองโดยรัฐธรรมนูญ 2551

จาก 8 สำนักคิด สำนักอิสระฯ (School of Wellbeing) เห็นว่ามี 3 แนวคิดที่น่าจะเป็นหลักนำสู่ปฏิบัติการได้ คือ ดัชนีความสุขมวลรวมประชาชาติ (GNH)  ดัชนีเศรษฐกิจพอพียง และดัชนีโลกมีสุข ซึ่งแต่ละแนวคิดมีจุดเน้นคล้ายๆ กัน เพียงแต่เรียกต่างกัน ดังแสดงในตาราง 4
#4
3 แนวคิด สู่ ปฏิบัติการ
n      GNH
        การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างยั่งยืนและเสมอภาค
        การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
        การรักษาและส่งเสริมคุณค่าทางสังคม
        การส่งเสริมการปกครองที่ดี ธรรมาภิบาล
n      เศรษฐกิจพอเพียง: ทางสายกลาง
        3 ห่วง 2 เงื่อนไข
n      พอประมาณ + มีเหตุผล + มีภูมิคุ้มกัน
n      ความรู้ + คุณธรรม
        ชีวิต / เศรษฐกิจ / สังคม / สิ่งแวดล้อม / สมดุล / มั่นคง / ยั่งยืน
n      ดัชนีโลกมีสุข (HPI), 2550
             HPI = อายุขัย + ความพึงพอใจในชีวิต
                                รอยเท้านิเวศ

จากกระบวนการแลกเปลี่ยนขบคิดต่างๆ ได้ออกมาเป็นแผนภูมิ สี่เสาหลัก เพื่อนำไปสู่การสร้างความสุขมวลรวมประชาชาติ โดยคำนึงถึงโลกว่าเป็นทรัพย์สินร่วมของมนุษยชาติ

#5
เสาแรก คือ ธรรมาภิบาล
   มีรัฐบาลเป็นตัวละครเอก
เสาที่สอง คือ การส่งเสริมวัฒนธรรม
   มีภาคประชาสังคมเป็นเอก
เสาที่สาม คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม
   มีภาคธุรกิจเป็นตัวขับเคลื่อนนำ
เสาที่สี่ คือ การปกป้องสิ่งแวดล้อม
   อันนี้ สามเสาต้องร่วมกันดูแล
   เพราะโลกใบนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่ และ
   เป็นความจริงหนึ่งเดียวที่รองรับความอยู่รอดของมนุษย์

ถ้าเปรียบเทียบกรอบสี่เสาหลักกับการจัดกระบวนทัพของพลิกโฉม ก็จะเห็นว่าพลิกโฉมทุ่มเทไปที่ เสาธรรมาภิบาล  การศึกษา เพื่อ empower ผู้หญิง อาจจัดอยู่ในเสาวัฒนธรรม และการจัดการสิ่งแวดล้อม อยู่ในเสาสิ่งแวดล้อม
ลองมาดูกันว่า ภาคธุรกิจบอกอะไรเราบ้าง
#6
พลิกโฉม และสี่เสาหลัก
n      ธรรมาภิบาล / รัฐบาล
        เสมอภาคกระแสหลัก
        50:50
        กระบวนยุติธรรม
        สวัสดิการ
n      พัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม / ธุรกิจ
        ???

n      วัฒนธรรม / ประชาสังคม
        การศึกษา



n      สิ่งแวดล้อม
        การจัดการทรัพยากร


เชื่อว่ายังคงจำกันได้ถึงเมื่อครั้งโลกย่างก้าวเข้าสู่ปี 2543 (หรือ ค.ศ. 2000) ทั่วโลกต่างคาดหวังว่า ศตวรรษที่ 21 จะเป็น ยุคพระศรีอาริย์ มีแต่สันติสุข และมั่งคั่ง  ในช่วงเวลานั้น มีการตั้งองค์กร โครงการมากมาย
สหประชาชาติมีกิจกรรมหลายเรื่อง กิจกรรมหนึ่งคือส่งสาส์นไปยัง CEO ทั่วโลกให้มารวมตัวกันเป็น Global Compact  ครั้งนั้น มี CEO ขานรับ 50 คน กลายเป็นสมาชิกริเริ่มของ UNGC  ในจำนวนนั้น มีคุณปรีดา เตียสุวรรณ์ จากประเทศไทย เข้าร่วมด้วย หลายคนคงรู้จักคุณปรีดา เจ้าของบริษัท Pranda และเป็นประธานอยู่หลายปีของ SVN, Social Venture Network
แต่ศตวรรษที่ 21 ไม่ได้เป็นไปตามคาด และพอถึงปี 2550 วิกฤตรุนแรงต่างๆ ปะทุขึ้นเป็นระลอกๆ ไล่หลังกันมา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญให้ผู้นำโลกเริ่มยอมรับว่า ดัชนีจีดีพี เป็นเข็มทิศที่บกพร่อง ล้าสมัย จำเป็นต้องคิดค้นดัชนีตัวใหม่ อย่างที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้า
ในปีเดียวกัน UNGC ก็ได้ทำการสำรวจความเห็น หรือความตื่นตัวของ CEO ทั่วโลก ต่อประเด็นความยั่งยืน
สามปีต่อมาในปีนี้ ซึ่งครบรอบ 10 ปีของ UNGC ก็มีการสำรวจวิจัยอีก เพื่อเปรียบเทียบกับ 3 ปีที่แล้ว พิมพ์เป็นรายงาน “UN Global Compact Accenture CEO Study 2010” (สนใจหาอ่านจากอินเตอร์เน็ต / เว็บไซต์ UNGCได้)
พบว่า CEO มีความตื่นตัวเพิ่มขึ้น และสูงขึ้น ถึงความรับผิดชอบของภาคส่วนตนต่อความอยู่รอดของโลก และเห็นว่าจะต้องมีการคิดใหม่ ทำใหม่ เช่น จะเอากำไรสูงสุดอย่างเดียวไม่ได้ ต้องคำนึงถึงคุณค่า   สาเหตุสำคัญหนึ่ง คือ ผู้บริโภคมีความตื่นตัวสูงขึ้นเรื่องสิทธิมนุษยชน และปัญหาสิ่งแวดล้อม ธุรกิจต้องใส่ใจ (“customers / consumers are kings”)  และที่สำคัญ ธุรกิจจะอยู่รอดท่ามกลางความย่ำแย่ของสังคมได้อย่างไร
จึงได้ทบทวนและยึดบัญญัติ 10 ประการของ UNGC
#7
ภาคธุรกิจ : UN Global Compact
n      2543 ก่อตั้ง
        เริ่ม 50 CEO ขานรับ UN
        ไทย : คุณปรีดา เตียสุวรรณ์ (SVN, Social Venture Network)
n      2550 วิกฤตเศรษฐกิจ + สิ่งแวดล้อม
        วิวาทะจีดีพี แสวงดัชนีใหม่
        UNGC สำรวจความเห็น CEO โลก
n      2553 “UN Global Compact Accenture CEO Study 2010”
n      CEO ตื่นตัว à วิสัยทัศน์ และมาตรฐานใหม่
        เป้าหมาย = กำไรเม็ดเงิน + คุณค่า
        ผู้บริโภคตื่นตัวเรื่องสิทธิมนุษยชน (แรงงาน) และสิ่งแวดล้อม
        อยู่รอดตามลำพัง???
n      UNGC – พันธะภาคธุรกิจตรวจสอบกันเอง เพื่อยกระดับสังคม
        บัญญัติ 10 ประการ (รับผิดชอบต่อสังคม)


บัญญัติ 10 ประการนี้ อาจรวบเป็น 4 หมวด คือ สิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และคอรัปชั่น
#8
บัญญัติ 10 ประการของภาคธุรกิจ (ที่พึงประสงค์):  UN Global Compact
1-2
สิทธิมนุษยชน : สนับสนุนข้อตกลง  &  ไม่ละเมิด
3-6
แรงงาน: สนับสนุนการต่อรองรวมหมู่
   ขจัดแรงงานบังคับ / เด็ก / เลือกปฏิบัติการจ้าง-อาชีพ
7-9
สิ่งแวดล้อม: ระวังป้องกัน
   รับผิดชอบ  & เทคโนโลยี...มิตรต่อสิ่งแวดล้อม
10.
คอรัปชั่น: ต่อต้านทุกรูปแบบ


จากกรอบของ สี่เสาหลัก ช่องทางการลงมือเรื่องเศรษฐกิจ-สังคม คือ ภาคธุรกิจ และจาก UNGC กรอบบัญญัติ 10 ประการ และพันธกิจในกลุ่มธุรกิจก็เปิดช่องให้พลิกโฉม ดำเนินการผลักดันในมิติการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม ดังที่นำเสนอแนะในตาราง 9 ในฐานะผู้บริโภค (ต่อผู้ผลิต) ในตาราง 10 สาธารณชน (เกาะเกี่ยวกับภาคประชาสังคม / ประชาชนกลุ่มต่างๆ) และในตาราง 11 พลเมือง (ต่อภาครัฐ)
#9
พลิกโฉม...รณรงค์ 1: ในฐานะผู้บริโภค
n      ให้คะแนน / รางวัล ธุรกิจ (อุตสาหกรรม บริการ ฯลฯ) ที่พึงประสงค์
        ดูแลคนงานหญิงดี
        การผลิต และผลิตภัณฑ์
        ไมใช่แค่ CSR เพื่อจัดฉากประชาสัมพันธ์
        เช่น บริษัท สยามแฮนด์ ของคุณอมรา ชมพูนุท (การ์เม้นท์แตงโม)
n      สมาชิกจุดเชื่อมเครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉม
        สหพันธ์สมาคมสตรี นักธุรกิจฯ
        กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี


.
#10
รณรงค์ 2: ในฐานะสาธารณชนที่ตื่นตัว
n      ให้ความรู้สาธารณะ
        ข้อผูกพันในวงการธุรกิจ (ที่พึงประสงค์) UN Global Compact
n      เชื่อมต่อกับกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี ฯลฯ การอย่างมีประสิทธิภาพ
n      ติดตามตรวจสอบการคอรัปชั่น  เช่น
        ทุนยักษ์ที่ครอบงำการเมือง
        "เครือข่ายจับตาทุจริตหลังน้ำลด (คุณสมลักษณ์ หุตานุวัตร/SVN)


#11
รณรงค์ 3 : ในฐานะพลเมืองต่อรัฐ
n      สนับสนุนนโยบายเกษตรทางเลือกให้เป็นวาระแห่งชาติ ในระดับเดียวกับอุตสาหกรรม (ให้บูรณาการมิติหญิงชาย)
        มาตรการปลดหนี้เกษตรกร ... ปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานที่ใส่ใจเกษตรทางเลือก
        ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) ในโครงการลงทุนต่างๆ
        ฯลฯ

.
#12
พลิกโฉม... สร้างองค์ความรู้
n      ศึกษาวิจัย ร่วมวิวาทะเรื่องดัชนี  เช่น
        มูลค่างานของผู้หญิง ในภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเศรษฐกิจนอกระบบ
n      ฟื้นฟูภูมิปัญญาของผู้หญิง
        วิถีการผลิตต่างๆ
        วิถีชีวิต  การปรับตัวให้ครอบครัวและตนอยู่รอด
n      ไม่เป็นแค่เหยื่อ แต่เป็นผู้คิด ตัดสินใจ และกระทำ
n      เช่น ประเด็นคนย้ายถิ่น การปรับภาระ/บทบาทซ้อน พ่อ/แม่เลี้ยงเดี่ยว หญิงบริการ ฯลฯ
n      กรณีศึกษา (กึ่งปฏิบัติการ)
        กิจการแรงงานหญิงที่ถูกลอยแพช่วยตัวเอง เช่นSolidarity, Try Arm
        กิจการที่ผู้บริหารใช้หลักธรรมาภิบาล เช่น Siam Hands (คุณอมรา)


#13
... สร้างผู้นำ
n      หลักสูตรอบรม พัฒนาผู้นำหญิงชุมชน
        ผู้ประกอบการสังคม = จิตสำนึกสังคม-การเมือง  +  ทักษะการจัดการและการตลาด
        การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจการเมือง...พัฒนาสู่ประชาธิปไตย
n      จัดการประชุมสานเสวนา
        ตลาดประสบการณ์
        ตลาดความรู้ ความสัมพันธ์ ผู้ผลิต-บริโภค


#14
พลิกโฉม = ผู้ประกอบการสังคม
n      เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมฯ
        มีต้นทุนสังคมสูง ความน่าเชื่อถือ
        มีความหลากหลายทักษะ
        เป้าหมายร่วม สังคมที่ดี เป็นธรรม และยั่งยืน ... วิสัยทัศน์ของความเป็นแม่
n      วงจรที่เชื่อมด่อกับ ตลาด ทางเลือก
n      เศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง พัวพัน อิงอาศัยกัน

.
#15
ครม เห็นชอบนิยาม ผู้ประกอบการสังคม”:  Social Entrepreneur  (15 พ.ย. 53)
n      ภาคประชาชนเป็นเจ้าของ
n      รายรับจากการบริการ ไม่เพื่อกำไรแก่เจ้าของ/ผู้ถือหุ้น
n      การผลิตไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
n      มีการจัดการดูแลที่ดี
n      ยั่งยืนทางการเงิน
n      ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

.
#16
ท้าทาย: ความจริง และ ความฝัน….
n      กลไก / ค่านิยม / ผลประโยชน์ :   เก่า ... ใหม่
n      พลังความโลภ            ...    พลังปัญญา
        ทักษะ (สมอง) ...    ตื่นรู้ (จิตวิญญาณ จิตสำนึก มโนธรรม)
n      การช่วงชิงพื้นที่/ทรัพยากร     ...  การต่อรอง
        แพ้-ชนะ / ความกลัว  ...  ชนะ-ชนะ / พรหมวิหาร 4
n      การเรียนรู้ ปฏิสัมพันธ์ ตื่นรู้ ปฏิบัติการ (สุขภาวะกาย-อารมณ์-จิตวิญญาณ):
              ปัจเจก ... สังคม ... นิเวศ
        ใช้เวลา
        ความอดทน
        วิจารณญาณ ดุลยพินิจ


 [http://bcl.or.th/]
- ติดตามรณรงค์ ตัดวงจรอุบาทว์คอรัปชั่น ของ ดร.นิคม วัฒนพนม และ FM100.5 (เสาร์ 9-10 น.)
- "ทุกคนบอกว่า ธุรกิจหมายถึงการทำเงิน คำกล่าวนี้เปรียบเหมือนว่า มนุษย์มีเพียงมิติเดียว  ซึ่งไม่เป็นความจริง"    - มูฮัมมัดห์ ยานูส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น