วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

ผู้หญิงกับการเมือง Latin America

การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิง
ประสบการณ์ในลาตินอเมริกา


ระบบสัดส่วนตามลำพัง ไม่ให้อำนาจเท่าเทียมกับผู้หญิงได้

Quotas Alone Won't Give Women Equal Power
By Marcela Valente
BUENOS AIRES, Sep 22 , 2008 (IPS)
ดรุณี 9-21-10

งานศึกษาในอาร์เจนตินา แสดงให้เห็นว่าระบบสัดส่วนสำหรับผู้หญิงในการลงสมัครรับเลือกตั้งประสบความสำเร็จในการทำให้จำนวน สส หญิงชายเข้าสู่ความสมดุลในระดับหนึ่งในหลายประเทศใน LA   แต่ยังต้องมีเครื่องมืออีกหลายอย่างเพื่อเร่งกระบวนดังกล่าว

กฎหมายรับรองระบบสัดส่วนอาจมีอยู่แล้วและได้มีการบังคับใช้  แต่ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพพอ คือ ประสิทธิผลยังน้อยมาก นักสังคมวิทยา Nélida Archenti, ผู้ร่วมเขียนหนังสือ ผู้หญิงกับการเมืองในลาตินอเมริกา: ระบบการเลือกตั้งและสัดส่วนระหว่างเพศ "Mujeres y Política en América Latina. Sistemas electorales y cuotas de género" (Women and Politics in Latin America: Electoral Systems and Gender Quotas),  ซึ่งพิมพ์เมื่อเร็วๆ นี้ใน อาร์เจนตินา

ตามรายงาน MDGs 2008 สัดส่วนของผู้หญิงในสภาล่าง  (or single chamber) ของรัฐสภาในประเทศลาตินอเมริกา และคาริบเบียนได้เพิ่มขึ้นจาก 11.9% ใน 1990 เป็น 22.2% เป็นผลของกฎหมายสัดส่วนที่กำหนดอัตราส่วนขั้นต่ำของหญิงต่อชาย

หนังสือเล่มนี้นำเสนองานวิจัยจากผู้เขียนใน 10 ประเทศ Argentina, Bolivia, Brazil, Costa Rica, the Dominican Republic, Ecuador, Mexico, and Peru มีกฏหมายสัดส่วน ส่วน Chile and Uruguay ไม่มี

ชิลี แม้ว่าจะมีประธานาธิบดีเป็นผู้หญิง Michelle Bachelet และ ครม กึ่งหนึ่งเป็นผู้หญิง แต่ก็ไม่มีกฎหมายสัดส่วน และผู้หญิงในสภาล่าง ก็มีเพียง 15.8% และ 5.2% ในวุฒิสภา   ในอุรุกวัย ผู้หญิงมีเพียง 11 และ 10% ในสภาล่างและสภาสูง ตามลำดับ

งานศึกษานี้ได้วิเคราะห์ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในประเทศ เช่น อาร์เจนตินา และ ดอสตา ริกา และเปิดเผยกรณีสุดโต่งของการโกงการเลือกตั้งในบางประเทศที่มีกฎหมายสัดส่วน

ในโบลิเวีย ผู้สมัครชายลงสมัครโดยใช้ชื่อผู้หญิง ในการเลือกตั้งเทศบาลในปี 1999 โดยอาศัยกฎหมายสัดส่วน   ไม่เพียงแต่พวกเขาจะรอดตัวไปได้  พวกเขายังเข้ารับตำแหน่งที่พวกเขา ชนะ ด้วย

ความล้มเหลวของกฎหมายสัดส่วนอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ในโดมินิกัน ผู้หญิงที่เกี่ยวดองกับนักการเมืองชายได้กลายเป็นผู้ลงแข่งการเลือกตั้ง ภายใต้กฎหมายสัดส่วน   ในการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติครั้งก่อน  เมื่อพวกเธอได้รับชัยชนะแล้ว กลับยกที่นั่งให้สามีหรือญาติผู้ชาย

กฎหมายสัดส่วน เป็นมาตรการ affirmative action ที่ยูเอ็นส่งเสริมเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเพศในโครงสร้างอำนาจของรัฐ ตั้งแต่ 1980s   ลาตินอเมริกันและคาริบเบียน ได้รณรงค์สนับสนุนกฎหมายนี้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลให้อัตราส่วนของสมาชิกนิติบัญญัติหญิงเพิ่มขึ้น

อาร์เจนตินาเป็นผู้บุกเบิกในภูมิภาคนี้  ในปี 1991 ได้กลายเป็นประเทศแรกในโลกที่ออกกฎหมายกำหนดว่า ต้องมีผู้หญิงอย่างน้อย 30% ในรายชื่อผู้ลงสมัครเลือกตั้ง   หลังจากนั้น มีการปฏิรูป  ออกพระราชกฤษฎีกา และการวินิจฉัยทางกฎหมาย  เพื่อปรับปรุงและประกันให้กฎหมายสัดส่วนมีการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

พรรคการเมืองลังเลที่จะลงมือทำให้เกิดโอกาสเท่าเทียมระหว่างเพศ   สิ่งที่พวกเขายอมทำ คือ ทำตามกำหนดขั้นต่ำที่สุดตามกฎหมายสัดส่วน แต่ไม่มากกว่านั้น Archenti, a professor at the University of Buenos Aires กล่าว

หลังจากที่กฎหมายถูกบังคับใช้แล้ว อัตราส่วนผู้หญิงในสภาล่างเพิ่มขึ้นจาก 5.4% ใน 1991 เป็น 35.4% ใน 2005 และในวุฒิสภา จาก 4% เป็น 43% ในช่วงเวลาเดียวกัน

งานศึกษาในหนังสือเล่มนี้สรุปเป็นเสียงเดียวกันว่า การที่กฎหมายบังคับให้มีสัดส่วนขั้นต่ำของผู้ลงสมัครหญิง ไม่เพียงพอที่จะประกันว่า ผู้หญิงจะเข้าถึงตำแหน่งที่ทรงอำนาจทางการเมืองในระดับสูง

จะต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ  ผู้ละเมิดจะต้องถูกลงโทษ และชื่อของผู้ลงสมัครหญิงในรายชื่อผู้สมัครของพรรค จะต้องจัดอยู่ในลำดับสูงพอที่พวกเธอจะมีโอกาสได้รับเลือกจริง  ไม่ใช่ไปกองอยู่ท้ายบัญชี หรือเป็นเพียงตัวสำรองสำหรับผู้ลงสมัครหลัก

ในบราซิล กฎหมายสัดส่วนได้ถูกนำมาใช้ในปี 1998 แต่ไม่มีข้อผูกมัด ซึ่งหมายถึง ตัวแทนของผู้หญิงย่อมแย่มาก นักสังคมวิทยา Clara Araujo กล่าว  วุฒิสมาชิกเป็นผู้หญิงเพียง 14%  แม้ว่าการไม่มีข้อผูกมัดจะเป็นจุดอ่อนหลักของกฎหมาย  ปัจจัยอื่นที่เพิ่มความไม่มีประสิทธิภาพคือ  บัญชีรายชื่อเปิด ในระบบเลือกตั้ง ซึ่งผู้ลงคะแนน สามารถเลือกเอง

ผู้เขียนทั้งหลายต่างเห็นพ้องกันว่า บัญชีรายชื่อปิด จะเป็นประโยชน์ต่อผู้หญิงมากกว่า

เนื่องจากชายเป็นใหญ่ในวัฒนธรรมการเมืองของลาตินอเมริกา  ผู้เลือกมักจะเลือกผู้ชาย ดังนั้น กฎหมายสัดส่วนจะมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น ถ้าชื่อผู้หญิงอยู่ในลำดับต้นๆ พอที่จะถูกเลือก

บัญชีรายชื่อปิด หมายถึง การจัดลำดับตายตัว เป็นการล็อคให้ผู้หญิงอยู่ในลำดับที่ถูกเลือกได้ง่ายขึ้น

ในเม็กซิโก กฎหมายสัดส่วนไม่มีผล เพราะ ในแต่ละเขต แต่ละพรรคส่งผู้สมัครได้เพียงคนเดียว  ซึ่งเป็นอุปสรรคไม่ให้มีผู้หญิงมากขึ้นในสภา  หลังจากที่กฎหมายสัดส่วนออกมาใน ปี 1993 และมีการแก้ไขหลายครั้งให้สัมฤทธิ์ผล สัดส่วนผู้หญิงเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่มากพอ
……….
ในที่สุด หนังสือเล่มนี้วิเคราะห์กรณีประเทศที่ไม่มีกฎหมาย affirmative action   อุรุกวัยเป็นประเทศหนึ่งที่ยังไม่มีการกำหนดสัดส่วนผู้หญิงในรัฐสภา แม้ว่าจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาค ที่ให้ผู้หญิงมีสิทธิเลือกตั้งในปี 1932

กรณีอื่น คือ ชิลี ผู้หญิงก้าวหน้ามากในการมีส่วนร่วมในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง   อดีตประธานาธิบดี ริคาร์โด ลากอส (2000-2006) ได้แต่งตั้งรัฐมนตรีหญิง 5 คน การมีผู้หญิงปรากฏในพื้นที่สาธารณะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงก้าวหน้าในวงการเมือง

ผู้สืบทอดอำนาจต่อจาก ลากอส เป็นรัฐมนตรีหญิงผู้หนึ่งของเขา  Bachelet ผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีที่มีจำนวนหญิงชายเท่ากัน  แต่ระบบการเลือกตั้ง "binominal" ซึ่งมาจากผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดสองคนต่อเขตเลือกตั้ง  อันเป็นมรดกตกทอดจากเผด็จการพลเอก อกุสโต ปิโนเชต์ (Augusto Pinochet) เป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการมีกฎหมายสัดส่วนที่มีประสิทธิภาพ



ถาม-ตอบ
กฎหมายสัดส่วนประสบความสำเร็จอย่างมาก ในลาตินอเมริกา

"Quota Laws Have Been Very Successful" in Latin America
Daniela Estrada interviews MARCELA RÍOS,
editor of a book on gender quotas
SANTIAGO, Apr 22, 2009 (IPS) -

กฎหมายสัดส่วนในการเลือกตั้ง ที่กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำสุดสำหรับผู้หญิงในบัญชีผู้สมัครรัลเลือกตั้ง ได้ช่วยให้ผู้หญิงได้รับเลือกมากขึ้น  ได้ทำให้เกิดการเสริมพลังของหญิงในมิติเจนเดอร์ (gender empowerment) และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงวัฒนธรรม มาร์แซลา ริโอซ (Marcela Ríos) บรรณาธิการ (ชาวชิลี) ของหนังสือที่วิเคราะห์ระดับลึก ถึงผลกระทบของกฎหมายดังกล่าว

แต่ระบบสัดส่วนไม่สามารถแก้ไขปัญหาทั้งหมด ริโอซกล่าว  ริโอซ ได้รับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขารัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน ในสหรัฐฯ และได้เขียนหนังสือและบทความมากมายเกี่ยวกับเจนเดอร์และการเมือง  การเคลื่อนไหวทางสังคม และประชาธิปไตยในลาตินอเมริกา

หนังสือ 250 หน้า ผู้หญิงและการเมือง:  ผลกระทบของระบบสัดส่วนต่อเจนเดอร์ในลาตินอเมริกา ได้เปิดตัวเมื่อ วันที่ 15เมษายน โดยคณะสังคมศาสตร์ลาตินอเมริกัน (FLACSO) ที่ตั้งอยู่ในชิลี และ สถาบันนานาชาติเพื่อประชาธิปไตยและการช่วยเหลือการเลือกตั้ง (International IDEA).

กลไก Affirmative action เช่น ระบบสัดส่วนสำหรับบัญชีรายชื่อผู้สมัครเลือกตั้ง หรือพรรคการเมือง หรือการสำรองที่นั่งในสภานิติบัญญัติ ล้วนมุ่งเร่งการผนวกผู้หญิงเข้าสู่วงการอำนาจทางการเมืองนี่เป็นสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ เพื่อการส่งเสริม คุณภาพของสถาบันของเรา และ เพื่อยกระดับความชอบธรรมและความน่าเชื่อถือของประชาธิปไตย ริโอซกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ ไอพีเอส

ถาม: สถานการณ์ของการมีตัวแทนผู้หญิงในตำแหน่งที่ถูกเลือกตั้งในลาตินอเมริกาเป็นอย่างไร

ตอบ: ในลาตินอเมริกา ในสาขานิติบัญญัติ โดยเฉลี่ย ผู้หญิงครองที่นั่งเกิน 20% เล็กน้อย  ซึ่งสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของโลก คือ 18%  และเราก็เป็นภูมิภาค ตามหลังยุโรป ที่อยู่ในฐานะที่ดีที่สุดในแง่นั้น

ถาม: ปัจจัยอะไรที่ทำให้มีการก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นนั้น

ตอบ: มีปัจัยผสมผสาน  ที่เราสังเกตได้ คือ กรอบการควบคุมการเลือกตั้ง เป็นตัวการสำคัญ -- ประเภทของระบบการเลือกตั้ง  ประเภทของบัญชีรายชื่อ  มีกฎหมายสัดส่วนรับรองหรือไม่   ปัจจัยทั้งหมดนี้ มีอิทธิพลอย่างมากต่อการเปิดหรือปิดช่องทางสำหรับผู้หญิง

ปัจจัยหลักอื่น คือ บทบาทของพรรคการเมือง  ในประเทศที่พรรคได้เปิดประตูอย่างมีประสิทธิภาพ และยอมรับมาตรการเพื่อการผนวกและร่วมมือ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้หญิง  เราจะพบว่าผลออกมาทางบวก   แต่พรรคการเมืองในหลายๆ ประเทศก็ทำตัวเป็นอุปสรรคเช่นกัน

ปัจจัยที่สาม คือ ปัญหาเกี่ยวกับตัวผู้หญิงเอง   ผู้หญิงยังต้องรับผิดชอบการเลี้ยงดูลูก และมีภารกิจการงานพิเศษ  การที่จะอุทิศตัวให้การเมืองจึงเป็นเรื่องที่แพงมาก  จึงเกิดปัญหาของการประนีประนอมระหว่างภารกิจในพื้นที่ส่วนตัวกับพื้นที่สาธารณะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในการเมือง

ถาม: หลังจากการบังคับใช้กฎหมายสัดส่วนมา 16 ปี ในอาร์เจนตินา แล้วมีอีก 10 ประเทศที่ออกกฎหมายในทำนองเดียวกัน แล้วมีสัดส่วนระหว่าง 20 ถึง 40% คุณประเมินว่าอย่างไร   กลไก affirmative action ได้ทำงานในภูมิภาคนี้ไหม

ตอบ: ในระดับโลก ระบบสัดส่วนได้ประสบความสำเร็จสูงในการเพิ่มจำนวนผู้หญิงที่ได้รับเลือกตั้ง   ในทุกๆ ประเทศ ยกเว้นบราซิล  ระบบสัดส่วนส่งผลอย่างมีนัยสำคัญ

ผลกระทบสูงมากในอาร์เจนตินา  คอสตา ริกา และเปรู  และก็กำลังเพิ่มสูงขึ้นในฮอนดูลาส และเอกัวดอร์   ในประเทศเหล่านี้ ผลคือ ผู้หญิงเข้าสู่การเมืองมากขึ้น และเร็วขึ้น   นี่ขึ้นกับการออกแบบของระบบสัดส่วน และความเหมาะเจาะ สอดคล้องกับระบบเลือกตั้งต่างๆ

ถาม:  ในระบบการเลือกตั้งประเภทไหน และกับบัญชีรายชื่อแบบใดเปิดหรือปิด--ที่กฎหมายสัดส่วนให้ผลดีที่สุด

ตอบ: จากงานศึกษาวิจัยทั้งหลาย แสดงให้เห็นว่าซึ่งหนังสือของเราก็เห็นเช่นกัน--ระบบสัดส่วนจะทำงานได้ดีกว่าในระบบที่มีการมีผู้แทนพอๆ กัน (proportional representation)   เมื่อเขตใหญ่กว่า  และบัญชีรายชื่อแบบปิด  เพิ่มจากนั้นคือ มีบทลงโทษด้วย   นี่เป็นสถานการณ์ที่ดีที่สุด และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในอาร์เจนตินา และคอสตา ริกา

ถาม: โดยทั่วไป พรรคการเมืองปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านี้สักแค่ไหน

ตอบ: พรรคการเมืองจะน้อมนำระบบสัดส่วนเมื่อมันเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษด้วย  มิฉะนั้น ก็มักจะหลีกเลี่ยง   อันนี้เกิดขึ้นในหลายประเทศที่พรรคการเมือง เมื่อพรรคสมัครใจยอมรับระบบสัดส่วนเอง เช่นในกรณีของชิลี

บารซิลมีกฎหมายสัดส่วน แต่ไม่ปฏิบัติ เพราะไม่มีบทลงโทษ  ในนิคารากัว ก็เป็นเช่นกัน

ลาตินอเมริกันต่างกับยุโรปอย่างเห็นได้ชัด  หลายประเทศในยุโรปไม่มีกฎหมายสัดส่วน แต่พรรคได้สมัครใจกำหนดสัดส่วนเอง ซึ่งพวกเขาก็ปฏิบัติตามด้วยดี -- ทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายบังคับ

ถาม: กฎหมายสัดส่วนเป็นปัจจัยเสริมพลังสตรีหรือไม่

ตอบ: นี่เป็นคำถามที่ซับซ้อนสักหน่อย  ฉันคิดว่าการถกเถียงและการอนุมัติในที่สาธารณะ เป็นกระบวนการทางการเมืองที่เกิดขึ้นต่อประเด็นกฎหมายสัดส่วน มีส่วนเสริมพลังผู้หญิงแน่นอน (ให้ตื่นตัว ขบคิด และเข้าใจ)

ประสบการณ์จากลาตินอเมริกา ได้แสดงให้เห็นว่าระบบสัดส่วนจะได้รับการยอมรับในที่ๆ ขบวนการผู้หญิง มีการเกาะเกี่ยวกับนักการเมืองหญิงในพรรคการเมืองอย่างแข็งแรง

ยุทธศาสตร์ในการสร้างพันธมิตรระหว่างผู้หญิงมีพลังมากในการชูประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติทางเพศ  และในการผลักดันประเด็นมิติหญิงชายเข้าสู่วาระในระยะยาว

แต่ก็มีการถกเถียงกันเช่นกันว่า การมีผู้หญิงนั่งอยู่ในตำแหน่งทรงอำนาจทางการเมืองอย่างนั้น พวกเธอได้ใช้อิทธิพลในการผลักดันวาระหญิงชายขนาดไหน

ในฐานะที่เป็นกลไก affirmative action ระบบสัดส่วนในขั้นพื้นฐาน มุ่งที่จะให้ข้ามพ้นอุปสรรคของการกีดกันผู้หญิง  กล่าวคือ การปรากฏตัวและการใช้สิทธิพลเรือนในการลงสมัครเลือกตั้งในเงื่อนไขที่เสมอภาคกัน  ระบบสัดส่วนยังพยายามส่งผลต่อหน้าตาของบัญชีรายชื่อที่พรรคจัดขึ้นสำหรับผู้ลงคะแนน

ดังนั้น ในฐานะที่เป็นกลไก  มันไม่สามารถแก้ปัญหาอื่นๆ มากมายที่มาจากคุณภาพของการเมือง และจากคุณภาพของพรรคที่มีอยู่ว่าให้อะไรแก่พลเมืองบ้าง  และสัดส่วนก็ไม่ประกันได้ว่า ประเด็นอะไรจะถูกนำเข้าสู่วาระได้

ที่เราเห็ฯฃนว่าเป็นจริงได้ อย่างที่มีหลักฐานปรากฏในหนังสือของเรา  คือ การมีผู้หญิงเข้าไปอยู่ในวงการตัดสินใจมากขึ้นเท่าไร  โอกาสที่คำถามเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมทางเพศจะถูกหยิบยกขึ้น และแก้ไข ก็มีแนวโน้มมากขึ้นด้วย   มีการถกเถียงมากขึ้น และมีการออกกฏหมายในบางประเด็น  แต่อันนี้มันต่างกับการที่จะพูดว่า ระบบสัดส่วนจะแก้ปัญหาการมีตัวแทนความห่วงใยของผู้หญิง

ฉันเชื่อว่าระบบสัดส่วนจะช่วย และเป็นสิ่งจำเป็น แต่ยังไม่พอเพียง

ถาม: อะไรเป็นอุปสรรคที่นักการเมืองหญิงต้องเผชิญในการทำหน้าที่เป็นตัวแทน

ตอบ: ทันทีที่พวกเธออยู่ในตำแหน่งอำนาจ ผู้หญิงจะถูกเพื่อนชายรอบข้างเลือกปฏิบัติ   ในหลายๆ ประเทศ เนื่องจากผู้หญิงมีไม่กี่คน พวกเธอมักถูกมอบหมายให้ทำงานในประเด็นที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องผู้หญิง

ดังนั้น สมาชิกนิติบัญญัติหญิงมักจะเข้าไม่ถึงตำแหน่งกรรมการ เช่น ความมั่นคง หรือเศรษฐกิจ  หริอดำรงตำแหน่งที่มีอิทธิพลในโครงสร้างรัฐสภา   ในกรณีของอาร์เจนตินา หนังสือของเรา แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงประสบอุปสรรคมากมายที่จะได้เป็นประธานของคณะกรรมาธิการต่างๆ ในรัฐสภา

ส่วนสื่อมวลชนก็มักเลือกปฏิบัติต่อพวกเธอ   ผู้หญิงจะถูกตั้งคำถามต่างๆ ที่จะไม่ถามต่อผู้ชาย

สื่อจะหมกมุ่นอยู่กับรูปร่างหน้าตาของนักการเมืองหญิง: อ้วนหรือผอม  แต่งตัวดีหรือไม่  ทำผมทรงอะไร  หน้าตาสวยหรือไม่  แต่งงานแล้วหรือโสด  มีลูกหรือยัง  เป็นแม่ที่ดีไหม   ดังนั้น ผู้หญิงจะต้องแบกรับแรงกดดันเพิ่มขึ้น จากงานการเมืองที่ซับซ้อนอยู่แล้ว

ถาม: คุณคิดว่าระบบสัดส่วนได้ผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมไหม   มันได้ช่วยสร้างความตื่นตัวในวงการ/ความเป็นผู้นำที่มีชายเป็นใหญ่ ถึงความจำเป็นที่จะต้องแบ่งปันอำนาจและพื้นที่การกำหนดนโยบายกับผู้หญิง

ตอบ: ฉันคิดว่าเป็นเช่นนั้น  อย่างน้อย ในบางประเทศ ก็มีการขับเคลื่อนอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระหว่างผู้นำชายหนุ่มๆ และในการเมืองบางภาคส่วน สู่การยอมรับวาทกรรมและยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมหญิงชาย ในกรอบและเหนือกรอบสัดส่วน

นี่เกิดขึ้นในกรณีของคอสตา ริกา ในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญที่มีการเสนอให้มุ่งสร้างความเท่าเทียมระหว่างเพศในทุกๆ ภาคส่วน โดยอ้างถึงความคิดที่ว่า ผู้หญิงควรจะมีผู้แทนในทุกๆ วงการในอัตราส่วนที่สอดคล้องกับจำนวนผู้หญิงในประชากร

ถาม: ในลาตินอเมริกา ผู้หญิงลงคะแนให้ผู้หญิงไหม  มันกลายเป็นความเชื่อลมๆ แล้งๆ ที่ว่า ผู้หญิงไม่เลือกผู้หญิงด้วยกัน

ตอบ:  ใช่ มันเป็นความเชื่อลมๆ แล้งๆ   หลักฐานชี้ให้เห็นว่ามันเป็นเรื่องโกหก  ปัญหาคือ ประเทศส่วนใหญ่ไม่มีสถิติที่จะใช้ศึกษาประเด็นนี้ได้   สำหรับประเทศที่มีสถิติ เช่น ชิลี เปรู และเม็กซิโก  ผู้หญิงเริ่มแสดงพฤติกรรมแยกเพศในการตัดสินใจเลือกผู้แทนมากยิ่งขึ้น

ผู้หญิงเริ่มลงคะแนนให้ผู้หญิงอย่างเป็นระบบ มากกว่าลงคะแนนให้ผู้สมัครชาย   เห็นได้ชัดในกรณีของชิลีในทุกๆ เวทีเลือกตั้งประธานาธิบดี  นิติบัญญัติ และเทศบาล--จะเห็นช่องว่างระหว่างเพศถึง 5-7%   ถ้ามีผู้สมัครหญิงที่ผู้ลงคะแนนหญิงสามารถเชื่อมโยงในเชิงอุดมการณ็ได้ พวกเธอจะลงคะแนนให้

สิ่งที่พวกเราเห็นในประเทศส่วนมาก คือ ผู้ชาย ในฐานะผู้ออกเสียง เริ่มกีดกัน/ต่อต้านหรือเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงน้อยลงทุกที   สัญญาณเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า สำหรับผู้หญิงในภูมิภาคนี้ อุปสรรคไม่ใช่อยู่ที่การจะถูกเลือกหรือไม่ แต่อยู่ที่จะถูกวางตัวให้เป็นผู้ลงแข่งขันโดยพรรคการเมืองหรือไม่

ถาม:  ถ้ามีหลักฐานมากมายที่แสดงถึงความสมเหตุสมผล และความมีประสิทธิภาพของระบบสัดส่วนแล้ว คุณจะอธิบายแรงต่อต้านที่มีอยู่ในหลายๆ ประเทศอย่างไร

ตอบ: ฉันคิดว่ากระแสต่อต้านมีหลายประเภท  มีกระแสต้านเชิงอุดมการณ์ในหลายภาคส่วนที่คัดค้าน นโยบาย affirmative action โดยทั่วไป  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ หรือสำหรับชนพื้นเมืองดั้งเดิม หรือคนผิวดำ   มีการถกเถียงอย่างกว้างขวางทางกฎหมายและทางการเมือง ถึงความหมายหรือนัยยะของมาตรการเหล่านี้   ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ก็คัดค้านการแทรกแซงของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาที่ตั้งอยู่บนฐานของความไม่เท่าเทียมเชิงโครงสร้าง

ในอีกด้านหนึ่ง มีกระแสต่อต้านทางการเมืองอย่างแรงจากอภิสิทธิ์ชน (elites) โดยฉพาะอย่างยิ่งผู้ชาย เพราะระบบสัดส่วนมีนัยของการแบ่งปันอำนาจ  นั่นคือ การสูญเสียตำแหน่ง เพื่อให้ผู้หญิงเข้ามานั่งแทนได้  อันนี้มันกี่ยวกับการคำนวณผลประโยชน์เฉพาะหน้า พวกที่เกี่ยวข้องโดยตรงย่อมคัดค้านการปฏิรูปใดๆ ที่ตั้งคำถามต่อการครองอำนาจของพวกเขา  นี่เป็นปัจจัยหลักในหลายๆ ประเทศ

สุดท้าย มีผู้เชื่อว่า ระบบสัดส่วนสวนทางกับระบบสังคมที่เชื่อการสำเร็จด้วยตนเองไม่ใช้สิทธิพิเศษทางชนชั้น (meritocracy)   แต่นี่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เข้าใจว่ากลไกเหล่านี้ทำงานอย่างไร   สิ่งที่ระบบสัดส่วนทำได้ในหลายประเทศ เพียงแต่ช่วยให้ผู้หญิงถูกเสนอชื่อได้   ผู้ออกเสียงยังคงมีสิทธิ์ตัดสินใจว่าจะเลือกใครให้เข้าไปบัญญัติกฎหมาย

การอภิปรายเช่นนี้ ตั้งอยู่บนสมมติฐานผิดๆ  ที่คิดว่ากระบวนการที่ผู้ลงสมัครถูกนำเสนออย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ตั้งอยู่บนฐานของ meritocracy  ซึ่งความจริงไม่เป็นเช่นนั้น   เราต่างรู้ดีว่า ประเทศในลาตินอเมริกา กระบวนการเสนอชื่อโดยทั่วไปมักจะไม่ค่อยโปร่งใส  และเครือข่ายทางสังคม การเมือง ครอบครัว และมิตรภาพ ล้วนมีบทบาทสำคัญ   มันไม่ใช่ว่า ผู้ชายถูกเสนอชื่อเพราะมีผลงานของตนเอง และผู้หญิงไม่มีผลงาน

ถาม: จะทำให้เกิดความก้าวหน้าสู่ความเสมอภาคระหว่างเพศในระดับผู้บริหารและสาขาอื่นๆ ของอำนาจได้อย่างไร

ตอบ: มันมีประสบการณ์ต่างๆ กัน  ในกรณีของชิลี  นโยบายความเสมอภาคระหว่างเพศได้นำมาประยุกต์ใช้   ในโคลัมเบีย มีการใช้มาตรการสัดส่วนในการว่าจ้างผู้บริหารในในส่วนลูกจ้างสาธารณะ  ในคอสตา ริกา ก็มีความก้าวหน้าในการทำให้ความเสมอภาคระหว่างเพศ อยู่ในรัฐธรรมนูญ ในทุกๆ พื้นที่สาธารณะ

เป็นไปได้ที่จะมองหากลไกชุดหนึ่ง  แต่ affirmative action เป็นสิ่งสำคัญ  และเป็นสิ่งสำคัญที่จะผนวกมิติเจนเดอร์ลงในตำแหน่งที่นอกเหนือการเลือกตั้ง เช่นการจ้างหรือแต่งตั้ง
.................
บทความอื่นๆ
CHILEFirst Woman President Scores Points on Gender Front
By Daniela Estrada*

SANTIAGO, Mar 2, 2010 (IPS/TerraViva) - When Chile elected Michelle Bachelet as its first woman president in 2005, thousands of women celebrated the historic victory as their own personal triumph, proudly marching in the streets wearing mock presidential sashes. Today, men and women both recognise the concrete and symbolic progress achieved in gender issues under her administration.
http://ipsnews.net/news.asp?idnews=50511


POLITICS-CHILEWomen Assess Bachelet's Record
By Daniela Estrada

SANTIAGO, Apr 5, 2007 (IPS) - Chilean President Michelle Bachelet is being showered with criticism from both left and right over her ability to govern. But she is being unfairly condemned for the mistakes of others, like the crises affecting parties in the governing coalition and "machista" or male chauvinist attitudes that exaggerate her every slip, Chilean women say.
http://ipsnews.net/news.asp?idnews=37226

Women Make Their Mark on South American Politics
By Marcela Valente*

BUENOS AIRES, Sep 16, 2010 (IPS) - If Brazilian voters elect a woman president next month, what might have appeared to be isolated developments in Chile and Argentina would start to look more like a trend in the southern countries of South America.
http://ipsnews.net/news.asp?idnews=52861

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น