วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

จากเศรษฐกิจแบบพ่อ สู่เศรษฐกิจแบบแม่

เศรษฐกิจการเมืองเพื่อมนุษยชาติ

ถามตอบ
เราต้องเคลื่อนออกจากเศรษฐกิจแบบพ่อสู่เศรษฐกิจแบบแม่
"We Must Move from a Masculine to a Feminine Economy"
Mario Osava interviews Brazilian feminist ROSE MARIE MURARO

RIO DE JANEIRO, Aug 17, 2010 (IPS)

ถึงเวลาที่ต้องเคลื่อนออกจากเศรษฐกิจแบบพ่อ ("masculine" economy) ซึ่งตั้งอยู่บนฐานของการแข่งขันและอารมณ์จดจ่อที่การแพ้ชนะ สู่เศรษฐกิจแบบแม่ ("feminine") เศรษฐกิจที่มุ่งให้ชนะทั้งสองฝ่าย โดยตั้งอยู่บนกรอบคิดของการร่วมมือ นักเขียน โรซี มาเรีย มูราโน (หนึ่งในผู้บุกเบิกขบวนการสตรีนิยมในบราซิล) กล่าว

มูราโน ผู้ประพันธ์หนังสือถึง 35 เล่ม ได้ต่อสู้อย่างต่อเนื่องเพื่อสิ่งที่เธอเชื่อมั่นแม้จะอายุ 79 และก็ได้ประกาศหนังสือเล่มใหม่ที่จะออกสู่ตลาดในปี 2011  ซึ่งนำเสนอรูปแบบทางเลือกสำหรับเศรษฐกิจ คือ ตั้งอยู่บนความร่วมมือร่วมใจกัน  รวมทั้งระบบแลกเปลี่ยน (โดยไม่ต้องใช้เงินตรากระแสหลัก) และการผนวกมุมมองเจนเดอร์/ความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับบทบาทหญิงชาย ในการพัฒนา

นอกจากนี้ ยังมีงานเขียนอีก 1,600 เรื่อง ที่ตีพิมพ์ภายใต้การบรรณาธิการของเธอใน สำนักพิมพ์ Vozes และ La Rosa dos Tempos

มูราโนเกิดมาด้วยสายตาที่เกือบมืดบอด และได้สายตาที่ดีกลับคืนมาด้วยการผ่าตัด เมื่ออายุ 66 ปี   ถึงอย่างไรก็ตาม ความที่เธอตาบอดเชิงเทคนิค (technically blind) ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการศึกษาวิชาฟิสิกซ์และเศรษฐศาสตร์  มีลูก 5 คน กับสามีที่อยู่กินกันมาถึง 23 ปี  และการที่เธอกลายเป็นพลังขับเคลื่อนขบวนการสตรีนิยมในบราซิล หรือต่อต้านเผด็จการทหารในบราซิลช่วง 1964-1985

ความตาบอดเชิงเทคนิค ไม่ได้กีดขวางหนทางที่เธอก้าวสู่การรณรงค์สนับสนุนเทววิทยาแห่งการปลดปล่อย (liberation theology) การเคลื่อนไหวคาธอลิค ที่กู่เรียกให้ศาสนจักรกระเตื้องบทบาททางการเมืองและสังคมเพื่อปกป้องคนจน  โดยช่องทาง Vozes ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์คาธอลิคที่เธอเป็นผู้อำนวยการร่วมกับนักเทววิทยา ลีโอนาโด บอฟฟ์ (Leonardo Boff)
ถาม: คุณจะอธิบายความจริงนี้อย่างไร ที่ว่า แม้ผู้หญิงทุกวันนี้จะเล่าเรียนในสถานศึกษานานกว่าชายหลายปี  พวกเธอก็ยังได้รับค่าจ้างต่ำกว่าชาย และพอถึงเวลาลอยแพก็มาลงที่ผู้หญิงหนักกว่า และก็มีแนวโน้มจะทำงานในเศรษฐกิจนอกระบบมากกว่า

ตอบ: สถานการณ์เช่นนั้นค่อยๆ ดีขึ้นแล้ว คือ ผู้หญิงได้ค่าจ้างเกือบ 90% ของค่าจ้างชาย  อุปสรรคหลัก คือ ระดับของการมีตัวแทนเสียงผู้หญิงในการตัดสินใจ/สภา-คณะกรรมการนิติบัญญัติระดับชาติ  ภาครัฐ/ส่วนราชการ และเทศบาล

ผู้หญิงมักจะเลือกลงคะแนนให้ผู้ชายมากกว่า  จากการสุ่มตัวอย่าง พบว่า ผู้ลงสมัครประธานาธิบดี ดิลมา รูซเซฟฟ์ (Dilma Rousseff) ได้รับการสนับสนุนจากผู้ชายมากกว่าผู้หญิง    จึงจำเป็นที่จะต้องมีการรณรงค์ที่มุ่งหมายชนะใจผู้หญิงที่มีสิทธ์ลงคะแนน

ถาม: ทำไมผู้หญิงจึงไม่เห็นความจริงที่ว่า พวกเธอเป็นเสียงส่วนใหญ่ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

ตอบ:  เพราะอคติที่ฝังหัวพวกเธอว่า ผู้หญิงด้อยกว่าผู้ชาย   ผู้หญิงส่วนใหญ่ยังหัวเก่า ปกป้องระบบชายเป็นใหญ่และเห็นว่าผู้ชายมีประสบการณ์มากกว่า และเหมาะสมกว่าในการปกครอง

ยิ่งกว่านั้น เพราะว่ามันดู สมเหตุสมผล ที่ผู้ชายมีโอกาสที่จะถูกเลือกมากกว่า พรรคจึงจัดสรรงบ/ทรัพยากรให้ผู้ชายมากกว่า  ผู้ลงสมัครหญิงจึงอยู่ท้ายแถว และมีงบน้อยในการรณรงค์

แต่ก็มีการปฏิวัติตั้งแต่เริ่มมีการใช้ยาคุมกำเนิด  40 ปีก่อน มีผู้หญิงเพียง 5% ในสภาคองเกรส  ทุกวันนี้ ผู้หญิงเพิ่มเป็น 2 เท่าจากส่วนของ สส หญิงที่มีอยู่เดิม

บราซิลยังเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ท้ายแถว ยังห่างไกลจากสัดส่วน 50% ที่เป็นอยู่ในยุโรปเหนือ  แต่เราก็กำลังดีขึ้นเรื่อยๆ  ต้องขอบคุณผลงานของนักกิจกรรมสิทธิสตรี

น่าสนใจที่เรามีผู้ลงสมัครหญิงที่ดี 2 คน ที่แข่งขันเป็นประธานาธิบดี ในการเลือกตั้งเดือนตุลาคม แม้ว่า ดิลมา รูซเซฟฟ์ จะมีโอกาสชนะ เพราะเธอได้รับการสนับสนุนจากผู้ชายที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง ผู้ลดระดับความยากจนในประเทศ คือ ประธานาธิบดี ลูอิซ อินาซิโอ ลูลา กา ซิลวา (Luiz Inácio Lula da Silva) (อีกคน คือ อดีตรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม มารินา ซิลวา ซึ่งเป็นผู้ลงสมัครพรรคกรีน - Green Party)

ถาม:  บราซิลมีระบบสัดส่วนที่สำรอง 30% ให้เป็นผู้หญิงในบรรดาผู้ลงแข่งขันในแต่ละพรรค  มาตรการนี้ได้ช่วยการมีส่วนร่วมของผู้หญิงไหม

ตอบ:  น้อยมาก เพราะพรรคต่างๆ ไม่เคารพกฎหมาย และผู้หญิงเองก็ขาดความเคารพ/มั่นใจในตัวเอง คือ คิดว่าตัวเองด้อยกว่าชาย ไม่ยอมออกมาสมัครลงแข่งขัน   นอกจากนี้ ยังมีคำถามต่อผู้สมัครหญิงที่เป็นลูกสาว ภรรยา หรือน้องสาวของนักการเมืองมีชื่อ ที่ชนะการแข่งขัน ว่าเป็น การมีส่วนร่วมแบบบูดเบี้ยว

ถาม:  อันนี้ขัดแย้งไหมกับความที่ ผู้หญิงเหนือกว่า ในแง่จำนวนปีในสถานศึกษา และความจริงวันนี้ที่ ผู้หญิงเป็นคนส่วนมากในการศึกษามัธยมและมหาวิทยาลัย

ตอบ:  มันเป็นอย่างนี้ ลำพังการศึกษาไม่พอ  การศึกษาจำเป็นต้องมีมุมมองเจนเดอร์เฉพาะและเป็นรูปธรรม   ไม่ต้องแยกของเล่นระหว่าง เด็กหญิง และ เด็กชาย ต่อไป เด็กชายควรจะเล่นตุ๊กตาได้ และเด็กหญิงเล่นฟุตบอลได้  เด็กหญิง เด็กชาย ควรจะเล่นกีฬาชนิดเดียวกันได้

เราได้ประยุกต์ การศึกษา "machista" (machismo + feminista ??? คือบูรณาการความเป็นชายชาตรีและความเป็นกุลสตรี ให้เป็น คน/มนุษย์ ???) ซึ่งไม่แข่งขัน และทำให้เกิดความร่วมมือ

ถาม: แต่การศึกษาอยู่ในมือของผู้หญิง ผู้หญิงเป็นใหญ่ในวงการศึกษา

ตอบ: นั่นเป็นเพียงทางกายภาพ แต่ทางทัศนคติไม่ใช่  ครูผู้หญิงจะต้องถูกฝึกในการศึกษาที่มีมุมมองเจนเดอร์   แบบเรียนจะต้องเปลี่ยน  คำศัพท์ต่างๆ ล้วนเต็มไปด้วยความเป็นชายชาตรี (machismo)  ไวยกรณ์ (ในภาษาโปรตุเกส) มักจะใช้คำที่เป็นเพศชาย (แทนที่จะเป็นกลาง หรือค่อนไปทางความเป็นหญิง)  แล้วคุณคงจินตนาการได้ว่า คนคิดอย่างไรในใจ

มันเป็นงานช้างที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วคน เพราะการเปลี่ยนแปลงเชิงวัฒนธรรม ต้องเกิดขึ้นในระดับลึก ดังนั้นจึงเห็นผลได้ช้ากว่า  แต่การเปลี่ยนแปลงได้เริ่มเกิดขึ้นแล้ว  30 ปีก่อน ฉันต้องต่อสู้ด้วยตัวเองตามลำพัง และก็ถูกคนเมินหน้าหนี  ทุกวันนี้ สังคมปูพรมแดงให้ฉันเดิน

เรามีความก้าวหน้า แต่ไม่ใช่ชัยชนะ เพราะคำว่า ชนะ มาจากความคิดของชายชาตรี ที่แฝง (ความกระเหี้ยนกระหือ) การแข่งขัน

ถาม:  คุณเชื่อมโยงความเท่าเทียมเชิงโอกาสระหว่างเพศ (gender equity) กับการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจอย่างถึงรากถึงโคน (radical change)  ทำไม

ตอบ: ใช่ เพราะระบบเศรษฐกิจยังเป็นแบบพ่อ/ชายชาตรี (masculine economy) ซึ่งหมายถึงการครอบงำและการแข่งขัน  คณิตศาสตร์ของการแพ้-ชนะ  การกอบโกยผลประโยชน์สูงสุด   วิสัยทัศน์ของผู้หญิงตรงกันข้าม คือ ชนะทั้งคู่  ร่วมมือ  พัฒนาเศรษฐกิจที่ร่วมใจกัน  ให้ความสำคัญต่อปัจจเจกบุคคล มากกว่ากำไร

ถาม:  แล้วเศรษฐกิจแบบแม่ (feminine economy) จะเกิดเป็นรูปธรรมได้อย่างไร

ตอบ:  ยกตัวอย่าง microcredit เป็นกลไกการเงินเพื่อคนจน และสมาชิกเกือบทั้งหมดเป็นผู้หญิง ผู้ไม่ผิดสัญญากู้    หรือประสบการณ์ของเศรษฐกิจร่วมใจที่ใช้เงินตราท้องถิ่น   ในเมืองฟอร์ตาเลซา (Fortaleza เมืองใหญ่ในแถบยากจนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล) ชุมชมหนาแน่นแห่งหนึ่งได้แปรเปลี่ยนไปเป็นย่านชนชั้นกลางด้วยการใช้กระแสเงินตราท้องที่

ในระบบเศรษฐกิจของการ ดูแลกัน (care economy) (ดูแลเด็กเล็ก คนชรา และคนป่วย) ล้วนเป็นผู้หญิง และล้วนถูกตีเป็นมูลค่าขั้นต่ำในระบบตลาด  ในบรรดาผู้ให้การดูแล เป็นผู้หญิงเสีย 90% (ตามรายงานยูเอ็น)  เมื่อผู้หญิงมีอำนาจ ธรรมชาติของเงินตราย่อมเปลี่ยนไป

นั่นเป็นสิ่งที่ฉันสื่อในหนังสือ ทุน-เงินตราที่สร้างขึ้นใหม่ (Reinventing Capital-Money),  ซึ่งจะออกสู่ตลาดในกลางปี 2011

ถาม:  คุณได้เขียน สุนทรีเสวนาสำหรับอนาคต (Dialogue for the Future) ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์หญิง เฮเซล เฮนเดอร์สัน (Hazel Henderson) ซึ่งคุณเสนอให้ใช้กรอบคิดใหม่แทนที่ของเก่าและมาตรการเช่น จีดีพี

ตอบ:  จีดีพี ถูกใช้เป็นตัววัดความมั่งคั่ง โดยใช้เงินกระดาษที่ถูกอุปโหลกมูลค่าขึ้นมา และทรัพยากรที่สูญหายไป เช่น น้ำมันที่ส่งออกและหมดแล้วหมดเลย   ในการคำนวณใหม่ มันควรจะรวมมูลค่า (ติดลบ) ที่มาจากมลภาวะที่เกิดขึ้น ป่าไม้ที่หายไป หรือความเสื่อมโทรมของดิน

การทำลายล้างเผ่าพันธุ์ของมนุษยชาติ เกิดขึ้นโดยน้ำมือมนุษย์ด้วยกันเอง ผู้ซึ่งจมปลักอยู่ในการบริโภคแบบตะกละตะกาม และไม่ต้องการจ่ายชดเชยค่าที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ   ฉันได้เฝ้าเตือนมา 40 ปีแล้วว่า มนุษยชาติจะต้องถูกสิ่งแวดล้อมพิพากษา ซึ่งจะเป็นการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ของเราเมื่อมันปฏิวัติขึ้นมา

ถาม:  แล้วสตรีนิยมส่งผลให้เกิดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่แตกต่างไหม

ตอบ: ใช่ ผู้หญิงมีวิธีปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ต่างกัน  ร่วมมือกันมากกว่า เน้นที่วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต และการกระจายให้ทั่วถึง  พวกเธอจะไม่เรียกร้องเอาลิขสิทธิ์เหนือเซลล์ เช่นเดียวกับ เคร์ก เวนเตอร์ (Craig Venter นักชีววิทยาอเมริกันที่เป็นหัวหน้าโครงการพันธุกรรมมนุษย์-human genome project)

ทำไมหรือ  เพราะผู้หญิงเป็นคนอุ้มท้อง แบกตัวอ่อน เลี้ยงทารก ดูแลทุกๆ คน  ตัวเลขอื่นๆ จากยูเอ็น ชี้ให้เห็นว่า 80% ของกิจกรรมที่สอดคล้อง/เป็นมิตรกับธรรมชาติ เป็นงานของผู้หญิง  ในขณะที่เป็น 90% ของกิจกรรมต่อต้านสงคราม และ 70% เพื่อขจัดความยากจน

ดรุณี / 9-21-10

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น