วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

ผู้หญิงแสวงหาสันติร่วมกัน - Kyrgyzstan

ผู้หญิงลุกขึ้นเจรจาเพื่อสันติในไคร์กิสสถาน

Kyrgyzstan - First We Cry Together

Two displaced women with their children in a camp outside of Osh. Fighting suddenly erupted earlier this year in Kyrgyzstan, causing over 400,000 people to flee their homes. The situation remains precarious.
by Nurgul Djanaeva  |  August 30, 2010

ไคร์กิสสถาน แรกเริ่ม เราร้องไห้ด้วยกัน

ผู้หญิงไร้ที่อาศัยสองคนกับลูกๆ ในค่ายนอกเมือง โอ๊ช (Osh)  การสู้รบปะทุขึ้นกระทันหันตอนต้นปีนั้ใน ไคร์กิสสถาน ทำให้ประชาชนกว่า 400,000 คน ต้องอพยพหลบหนีทิ้งบ้านช่องของตน  สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น

ผู้หญิงลุกขึ้นเพื่อจัดการให้ไคร์กิสสถานที่โซซัดโซเซ กลับสู่ความมั่นคง

หลังจากเหตุการณ์รุนแรงในไคร์กิสสถาน ผู้หญิงได้ลุกขึ้น และเริ่มออกเจรจาเพื่อสันติข้ามเส้นแยกเผ่าพันธุ์--และเริ่มควบคุมจัดการความมั่นคงของประเทศ

ครั้งแรกที่พวกเราเริ่มพูด ก็เพื่อถอนความโกรธ   ครั้งที่สอง เราพิจารณาที่สาเหตุของความรุนแรง  และอาจจะครั้งที่สาม เราถึงจะเริ่มสนทนากัน

ด้วยคำเลื่องลือว่าเป็น สวิสเซอร์แลนด์แห่งเอเชียกลาง  ไคร์กิสสถาน ซึ่งประกอบดัวยทิวเขาและหลาหลายชาติพันธุ์ ครั้งหนึ่งถูกยกย่องว่าเป็นกรณีตัวอย่างของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข   ทุกวันนี้ หลังจากการปะทะที่รุนแรงในเดือนมิถุนายน ระหว่าง ไคร์กิส และ อุซเบคส์  ความตึงเครียดระหว่างชาติพันธุ์กำลังคุกคามถึงขั้นโค่นล้มเสถียรภาพของทั้งภูมิภาค   แต่ขบวนการสตรีที่เข้มแข็งและมีการจัดรูปกระบวนที่ดี อาจกู้ไคร์กิสสถานให้พ้นจากความหายนะได้

มันเป็นเดือนกรกฎาคม  ไม่กี่สัปดาห์หลังจากความรุนแรงได้ปะทุขึ้นในประเทศของเรา  มันได้คร่าชีวิตประชาชนนับร้อย และทำให้คนไร้ที่อยู่เป็นแสน   พวกเรานั่งรวมกันในห้องหนึ่ง มองออกไปเห็นอาคารที่ถูกเผาวายวอด: ผู้หญิงไคร์กิส และอุซเบค นั่งหันหน้าเข้าหากันเป็นครั้งแรกตั้งแต่ความขัดแย้งปะทุขึ้น และทำให้พวกเราเผชิญหน้าตีกัน

พวกเราบางคนสูญเสียบ้าน  คนอื่นสูญเสียสมาชิกในครอบครัว   พวกเราได้เห็นความรุนแรงต่อหน้าต่อตา  พวกเราได้กลายเป็นเหยื่อของความรุนแรง   พวกเรากำลังโกรธ   ก่อนเดือนมิถุนายน พวกเรายังเป็นเพื่อนบ้านกันอยู่    ตอนนี้ พวกเราหลายคนกำลังตะโกนใส่กัน

เมื่อความรุนแรงเกิดขึ้น  ฉันรู้สึกได้ถึงความเจ็บปวดอย่างลึกซึ้งที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง  ในฐานะประธานของเวทีเอ็นจีโอของผู้หญิง (Forum of Women’s NGOs) ใน ไคร์กิสสถาน ฉันก็รู้เช่นกันว่า ผู้หญิงสามารถจะเล่นบทสำคัญในการสานสร้างสันติหลังความขัดแย้ง   ในฐานะที่เป็นผู้นำสตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ฉันรู้ว่า เราจำเป็นต้องมาพบหน้ากัน เพื่อเริ่มต้นเจรจาสันติ   แต่ฉันรู้สึกประหม่า  ประเทศของเราไม่เคยประสบความขัดแย้งมากขนาดนี้ และฉันก็ไม่มีประสบการณ์ในการจัดการเพื่อสันติและไกล่เกลี่ยการเจรจา

ฉันเติบโตมาท่ามกลางชาวไคร์กิส  เยอรมัน  รัสเซีย โรมา อิกฮูร์ (Uyghur) อุซเบค ยูเครน และกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ     ในไคร์กิสสถานมีกว่า 100 ชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกันส่วนใหญ่อย่างสงบสุข มาหลายศตวรรษ   แต่พวเราก็ไม่ใช่จะไม่คุ้นเคยกับความรุนแรงระหว่างเผ่าพันธุ์--เราเคยประสบการปะทะระหว่างชาติพันธุ์ในไคร์กิสสถานเมื่อ 10 ปีก่อน   ถึงกระนั้น ฉันก็ไม่เคยนึกฝันเลยว่า ความรุนแรงขนาดนี้ อย่างที่เราเห็นกันในเดือนมิถุนายน จะเกิดขึ้นได้ในประเทศของฉัน

ความรุนแรงในวันที่ 10 มิถุนายน ถูกนำเสนอว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างชาติพันธุ์  แต่ความตึงเครียดระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ไคร์กิส กับอุซเบคไม่ใช่เพียงสาเหตุเดียว   ความปั่นป่วนทางการเมือง  การว่างงาน  การอพยพย้ายถิ่นที่เพิ่มมากขึ้น  อาชญากรรม และอิทธิพลที่เพิ่มมากขึ้นของพวกกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง เช่น Hizb ut-Tahrir  ล้วนเป็นปัจจัยร่วม  ภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้ ความตึงเครียดที่คุตัวอยู่ ย่อมถูกจุดเป็นไฟได้ง่าย และความขัดแย้งก็ถูกกระพือด้วยข่าวโคมลอยและคำเล่าลือ

ฉันไปเยี่ยมโอ๊ชครั้งแรกหลังจากความรุนแรงเริ่มขึ้น 2 สัปดาห์ และเมืองถูกปิด  ตำรวจบังคับใช้มาตรการเคอร์ฟิว  ตลาดและร้านค้าปิดหมด  รถประจำทางสาธารณะก็ไม่มีวิ่ง  ขณะเดียวกันก็ยังมีการต่อสู้กันประปรายในภาคต่างๆ ของประเทศ  คนขับแท๊กซีชาวไคร์กิสกลัวที่จะพาฉันเข้าไปส่งในเขตชาวอุซเบค เพราะเขาได้ยินว่าชาวไคร์กิสถูกยิงตายที่นั่น   ก่อนที่ฉันจะออกมา ฉันโทรศัพท์ไปคุยกับครอบครัวของฉัน--เผื่อเกิดอะไรเกิดขึ้นกับฉัน

ตอนนี้ เดือนกว่าได้ผ่านไป เคอร์ฟิวก็ยังอยู่  ข่างลือก็ยังร่อนไปทั่ว และชาวอุซเบคและชาวไคร์กิส ก็ยังโทษกันไปโทษกันมา  มีเอ็นจีโอบางองค์กรได้พูดคุยกัน แต่ในระดับชุมชน มันมีแต่ความเงียบเชียบ  การเริ่มกระบวนการด้วยการมานั่งเจอหน้ากันในเขตที่เกิดเหตุ เราหวังว่า จะทำลายกำแพงแห่งความเงียบได้

การพบหน้ากันครั้งแรกของเราเริ่มด้วยความโกรธ แต่พอผู้หญิงได้พูดทีละคน และระบายความเจ็บปวด เราพบว่า พวกเราต่างร้องไห้ด้วยกัน  แล้วพวกเราก็ค่อยๆ เริ่มคุยกัน และตอนจบ พวกเราได้ตัดสินใจที่จะเดินหน้าเจรจาเพื่อสันติต่อไป

พวกเราพบว่า เราต้องได้ระบายความโกรธแค้นออกมาก่อน ในขณะที่พวกเราอยู่ในห้องเดียวกัน จ้องหน้ากันและกัน  ด้วยวิธีนี้เท่านั้น ที่เราจะสามารถร้องไห้ด้วยกันเกี่ยวกับสิ่งที่เราได้สูญเสียไป  การพบกับผู้หญิงเหล่านี้ เป็นประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ที่ทำให้เราระลึกได้ว่า ความเจ็บปวด ไม่มีคำว่าชาติพันธุ์

ความขัดแย้ง เป็นฝันร้ายเบ็ดเสร็จโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิง  ฉันได้ยินเรื่องเล่ามากมายว่าผู้หญิง และเด็กหญิงจากกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสอง ถูกช่มชืน ทุบตี สูญหาย ลักพา ถูกบังคับให้ทิ้งบ้านเรือน บาดเจ็บ และฆ่าตาย  ในระหว่างการเยี่ยมโอ๊ชเป็นครั้งแรก ฉันเห็นกลุ่มคนสมาชิกครอบครัวถือรูปถ่ายของญาติที่สูญหายไป  ถึงตอนนี้ หลายคนในรูปภาพเหล่านั้น ถูกพบว่าตายเสียแล้ว

ส่วนหนึ่งของกระบวนการเยียวยา คือ บันทึกการล่วงละเมิดที่เกิดขึ้นในระหว่างเกิดความขัดแย้ง  เมื่อฉันไปเยี่ยมโอ๊ชเป็นครั้งแรก ฉันพบว่า ไม่มีข้อมูลหรือความใส่ใจต่อการล่วงละเมิดสิทธิ์ของผู้หญิงเลย  ไม่มีหน่วยราชการใดๆ ที่ดูแลรับผิดชอบความมั่นคงของผู้หญิง   เราตัดสินใจทีจะจัดตั้งเป็นกลุ่มดังกล่าวด้วยตัวของพวกเราเอง  พวกเรากำลังเก็บข้อมูล: จำนวนคดีอาชญากรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงที่มีการไต่สวนและบันทึกโดยตำรวจ  จำนวนผู้หญิงที่หายไป  จำนวนผู้หญิงในโรงพยาบาล  พวกเราพยายามนับจำนวนผู้หญิงที่ถูกข่มขืนและสังหาร

ยังมีพื้นที่หลายแห่งในประเทศที่ยังยากที่จะเข้าไปและสอบสวน เพราะยังมีความตึงเครียดต่อเนื่อง  เราก็ทำอย่างดีที่สุดเพื่อติดตามกรณีต่างๆ  รู้ทั้งรู้อยู่ว่าเด็กหญิงและผู้หญิงทุกคนที่ก้าวออกมารายงานถึงการข่มขืนและการทารุณกรรมต่อพวกเธอ ยังมีคนอื่นๆ อีกหลายคนที่กลัวไม่กล้าออกมารายงาน  การบันทึกความรุนแรงนี้ เป็นงานมหาศาล แต่ถ้าเราไม่แตะต้องประเด็นเหล่านี้ ความรุนแรงก็จะลุกฮือลามปามต่อไป  ผู้ก่อความรุนแรงจะต้องถูกนำมาตอบคำถามเกี่ยวกับอาชญากรรมเหล่านี้

มันคงต้องใช้เวลาในการสร้างความเชื่อถือและสันติขึ้นอีก  การเจรจาของพวกเรา จะต้องดำเนินต่อไปเพื่อให้มันสัมฤทธิ์ผล  ในแต่ละภาค พวกเราพบว่า เราต้องมีการพบปะกันอย่างน้อย 3 ครั้ง  ครั้งแรก เราต้องพูดออกมาให้ได้ระบายความโกรธ แล้วพวกเราจึงร้องไห้ด้วยกันได้   ครั้งที่สอง พวกเราพิเคราะห์หาสาเหตุของความรุนแรง  และในครั้งที่สาม เราอาจจะเริ่มสนทนากัน เริ่มวางแผนและสร้างเครือข่ายร่วมกัน  ฉันหวังว่า เราจะสามารถทำงานร่วมกันได้เพื่อสร้างมาตรการความมั่นคงร่วมกัน  ฉันอยากเห็นพวกเราตั้งเครือข่ายรวมใจ (solidarity networks) และระบบที่จะส่งข้อมูลถึงกันได้ เพื่อว่า เมื่อเกิดอะไรผิดปกติ พวกเราจะได้แก้ปัญหาร่วมกันได้ทันท่วงที

ภาครัฐและผู้นำอื่นๆ ไม่สามารถธำรงสันติในประเทศของเรา  ในฐานะผู้หญิง ถึงเวลาแล้วที่พวกเราจะลุกขึ้นและเข้ามาควบคุม  ในไคร์กิสสถาน กลุ่มผู้หญิงมีความเข้มแข็ง  ด้วยการรณรงค์ของพวกเรา เราได้เห็นผู้หญิงก้าวขึ้นเป็นผู้นำทางการเมืองมากขึ้น  ผู้แทนสตรีในรัฐสภาได้เพิ่มจาก 0% เป็น 25%

ฉันรู้จากประสบการณ์ครั้งแรกในการพบปะระหว่างผู้นำชุมชนหญิงชาวไคร์กิสและชาวอุซเบค ว่าผู้หญิงไคร์กิสสถานพร้อมแล้ว   พวกเราพร้อมแล้วที่จะเจรจาแม้ว่าทั้งประเทศจะไม่พร้อม  พวกเราส่วนใหญ่เป็นแม่ พี่/น้องสาว และภรรยา  พวกเราล้วนได้รับผลกระทบอย่างลึกซึ้งจากควารุนแรงที่เกิดขึ้น และพวกเรารู้สึกรับผิดชอบต่อความมั่นคงของครอบครัวของเรา  ตัวฉันเองเป็นแม่ของลูกสองคน และฉันไม่ยินยอมที่จะเห็นลูกของฉันต้องเข้าสู่สงคราม

ถึงเวลาแล้วที่พวกเรา  ในฐานะผู้หญิง  จะก้าวออกมาข้างหน้าและควบคุมสถานการณ์ให้ธำรงสันติและมั่นคงในไคร์กิสสถาน  ถ้าพวกเราไม่รับผิดชอบ จะไม่มีใครเลยที่จะมาทำให้เรา

ดรุณี/ 9-22-10

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น