วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ชาวอเมริกันหัวก้าวหน้าต่อต้านสงครามสหรัฐฯ ... ต่อไป

More Lost By the Second
Published on Friday, August 12, 2011 by Waging Nonviolence
ทุกๆ วินาที คร่าชีวีมากขึ้น
โดย แคธี เคลลี
12 สค 2011 ใน Waging Nonviolence
It’s a bit odd to me that with my sense of geographical direction I’m ever regarded as a leader to guide groups in foreign travel. I’m recalling a steaming hot night in Lahore, Pakistan when Josh Brollier and I, having enjoyed a lengthy dinner with Lahore University students, needed to head back to the guest lodgings graciously provided us by a headmaster of the Garrison School for Boys. We had boarded a rickshaw, but the driver had soon become terribly lost and with my spotty sense of direction and my complete ignorance of Urdu, I couldn’t be any help. My cell phone was out of juice, and I was uncertain anyway of the needed phone number. I bumped and jostled in the back seat of the rickshaw, next to Josh, as we embarked on a nightmare of travel over unpaved, rutted roads in dizzying traffic until finally the rickshaw driver spotted a sign belonging to our school – the wrong campus, we all knew – and eager to unload us, roused the inhabitants and hustled us and our bags into the street before moving on.

We stood inside the gate, staring blankly at a family that had been sound asleep on cots in the courtyard. In no time, the father of the family scooped up his two children, gently moving them to the cot he shared with his wife so that Josh and I would have a cot on which to sit. Then he and his spouse disappeared into their humble living quarters. He reappeared with a fan and an extension cord, wanting to give us some relief from the blistering night heat. His wife emerged carrying a glass of tea for each of us. They didn’t know us from Adam’s house cat, but they were treating us as family – the celebrated but always astonishing hospitality that we’d encountered in the region so many times before. Eventually, we established with our host that we were indeed at the wrong campus, upon which he called the family that had been nervously waiting for our errant selves.

This courtyard scene of startling hospitality would return to my mind when we all learned of the U.S. Joint Special Operations (JSO) Force night raid in the Nangarhar province, on May 12, 2011. No matter which side of the Afghanistan/Pakistan border you are on, suffocating hot temperatures prevail day and night during these hot months. It’s normal for people to sleep in their courtyards. How could anyone living in the region not know this? Yet the U.S. JSO forces that came in the middle of the night to the home of a 12-year-old girl, Nilofer, who had been asleep on her cot in the courtyard, began their raid by throwing a grenade into the courtyard, landing at Nilofer’s head. She died instantly. Nilofer’s uncle raced into the courtyard. He worked with the Afghan Local Police, and they had told him not to join that night’s patrol because he didn’t know much about the village they would go to, so he had instead gone to his brother’s home. When he heard the grenade explode, he may well have presumed the Taliban were attacking the home. U.S. troops killed him as soon as they saw him. Later, NATO issued an apology.

“The raids occur ‘every night. We are very much miserable,’ said Roshanak Wardak, a doctor and a former member of the national Parliament.” I am reading a McClatchy news report, dated August 8th of this year. “Residents of the Tangi Valley area, in eastern Wardak Province, about 60 miles southwest of Kabul, issued similar complaints about the night raids in their vicinity, charging that they have killed civilians, disrupted their lives and fueled popular support for the Taliban.”

Imagine it. People in an Afghan village pass sleepless nights, anxious that their home might be targeted by a U.S.-led night raid. Villagers are enraged when they hear stories of elders and imams being roughed up and detained, of wives and children being killed, of belongings stolen and property destroyed. Increasingly, the U.S. military battles against the so-called insurgency are creating a stronger resistance as more Afghans grow determined to fight back.

In Helmand province, in Nad Ali, the district governor told a New York Times reporter one incident in the spiral of violence: a NATO foot patrol came under fire from a family home on August 5, 2011, killing one soldier and wounding an Afghan interpreter. The NATO troops called in an airstrike. NATO is now investigating a report that the airstrike killed eight civilians, seven of them children. “The home belonged to Mullah Abdul Hadi, 50, a local imam who Afghan officials say was helping the Taliban,” said Mr. Shamlani. “He was killed along with one of his two wives and his seven children, all younger than 7 years old.”

People in Nad Ali are expected to embrace closer relations with the United States and its troops after the deaths at our hands of seven children, children they knew aged one to seven, who had committed no crime.

Now comes the U.S. determination to seal a “Strategic Partnership Declaration” with its client Afghan government. Many in that country (and this one) expect such an agreement to allow the U.S. to establish permanent military bases, a permanent occupation presence that will provoke resistance groups there to declare perpetual war.

The Afghan Youth Peace Volunteers, a group of young people dedicated to ending wars and inequalities in their country, write in their August 9th statement:

The US-Afghanistan Strategic Partnership Declaration will perpetuate ‘terrorism’ and bring it to everyone’s doorsteps.

The ‘partnership’ will allow permanent joint US-Afghanistan military bases to launch and project hard power. The ‘extreme’ Taliban will conveniently ‘use’ these bases as a stand-alone reason for their ‘holy jihad.’ We cannot forget that one of Osama Bin Laden’s reasons for attacking the US on September 11th was the presence of US military bases in Saudi Arabia.

This Strategic Partnership Declaration will kill any chance for our madness to slow down and our violence to calm down.

It will doom ordinary Americans and Afghans to permanent terrorism.

Why can’t we quiet our nerves, look deep inside humanity, and begin healing?

Everyone wants to be safe, but I think of the Lahore family taking us into their sleeping courtyard and their home that night, knowing nothing of these crazy Americans who had been dropped on their doorstep. We had woken them up but they chose to stay awake and take care of us. Americans seem to respond to our endless wake-up calls from Afghanistan by just going, every time, back to sleep, rather than working to make the situation better.  I think of the night raids, families being woken up to sudden horror somewhere every night in the region, children killed sleeping in our efforts to make ourselves more safe (among other motives), and an ever escalating conflict arising from the violence.

We are startlingly, terrifyingly lost, and we’re getting ever more so. If we see a sign here in the darkness, an opportunity to make contact with the people around us, we should take it gratefully. The letter from my Afghan Youth friends is another sign for me that we do not belong in the Afghan home forever, occupying it at gunpoint. However groggily we may have awoken or reawoken to this dreadful situation and our role in it, we must act now to free our Afghan hosts of their overstaying guests, and get the U.S. safely back to where it should be.
มันน่าแปลกที่คนที่มีสัมผัสสำนึกในทิศทางภูมิศาสตร์อย่างฉัน ถูกยกให้เป็นผู้นำ ในการชี้ทางให้กลุ่มต่างๆ เดินทางไปต่างแดน   ฉันกำลังย้อนนึกถึงคืนหนึ่งที่ร้อนระอุในลาฮอร์ ปากีสถาน เมื่อ จอช บรอลเลียร์ และฉัน หลังจากอิ่มเอมเปรมปรีด์จากอาหารมื้อเย็นที่ยืดยาว ร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยลาฮอร์ ก็ถึงเวลาเดินทางกลับไปเรือนรับรองที่อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนชายการ์ริสัน ได้กรุณาจัดให้   พวกเราขึ้นนั่งในรถสามล้อคันหนึ่ง แต่ไม่ช้า คนขับก็เริ่มหลงทางอย่างช่วยไม่ได้  และด้วยสัมผัสสำนึกด้านทิศทางของฉัน ที่ค่อนข้างสะเปะสะปะ และไม่รู้ภาษาอูดรูเลย ฉันไม่มีอะไรจะช่วยเขาได้   โทรศัพท์มือถือของฉันก็ถ่านหมด และฉันก็ไม่แน่ใจว่ารู้เบอร์โทรศํพท์ที่ต้องการหรือเปล่า  ฉันนั่งเบียดและกระแทกอยู่บนที่นั่งข้างหลัง ข้างๆ จอช ในขณะที่เราท่องไปบนถนนขรุขระดั่งฝันร้าย ในหนทางที่มืดสลัว จนกระทั่งคนขับบอกว่า เห็นสัญลักษณ์โรงเรียนของเราผิดที่ เราต่างรู้ดีและก็รีบเร่งให้พวกเราลงรถ  เขากู่เรียกคนที่นั่น และรีบขนกระเป๋าของเราลงวางบนถนน ก่อนที่จะเคลื่อนรถออกไป

เรายืนอยู่ภายในรั้ว จ้องมองงงๆ ครอบครัวที่นอนหลับสนิทบนเตียงเชือกในลานหน้าบ้าน   ทันใดนั้น ผู้เป็นพ่อก็ช้อนตัวลูก 2 คน และเคลื่อนตัวลูกอย่างอ่อนโยนไปวางที่เตียงที่เขาใช้ร่วมกับภรรยา เพื่อให้จอชและฉันได้นั่ง   จากนั้น เขาและภรรยาก็หายตัวเข้าไปในกระต๊อบ   เขาโผล่ออกมาครั้งนี้ หิ้วพัดลมและสายต่อมาด้วย เพื่อช่วยบรรเทาความร้อนระอุในค่ำคืนนั้น  ภรรยาของเขาโผล่ตามมา ในมือถือแก้วชาให้เราดื่ม   พวกเขาไม่รู้จักเรา (ที่ไม่ต่างกับแมวจากบ้านใครคนหนึ่ง) แต่พวกเขาปฏิบัติต่อพวกเราดั่งครอบครัวเดียวกันการต้อนรับขับสู้อันเป็นที่รู้จักกันดี แต่ก็ไม่วายสร้างความประหลาดใจให้เราเสมอหลายๆ ครั้งที่ได้พบพานในภูมิภาคนี้   ในที่สุด เราก็สามารถสื่อจนเจ้าภาพของเราเข้าใจ ว่าเราได้มาถึงผิดวิทยาเขต  แล้วเขาก็เรียกครอบครัวของเขา ที่เฝ้ารออยู่ด้วยความกระวนกระวาย ให้มาช่วยอำนวยความสะดวกแก่พวกเรา

ฉากลานบ้านกับการต้อนรับขับสู้ที่น่าตกใจนี้ หวนกลับมาเมื่อเราได้รับรู้เกี่ยวกับกองกำลังปฏิบัติการร่วมพิเศษ (JSO) ของสหรัฐฯ ในการจู่โจมยามค่ำคืน ในจังหวัดนานการ์ฮาร์ เมื่อ 12 พค 2011    ไม่ว่าคุณจะยืนอยู่บนฟากไหนของพรมแดน อัฟกานิสถาน/ปากีสถาน   ทุกแห่งล้วนมีอากาศร้อนระอุแทบสำลักทั้งกลางวันและกลางคืน ตลอดหน้าร้อนในเดือนเหล่านั้น    มันเป็นเรื่องปกติ ที่ชาวบ้านจะนอนที่ลานหน้าบ้าน   คนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนั้น จะไม่รู้เรื่องนี้ได้อย่างไร?   ถึงกระนั้น กองกำลัง JSO ของสหรัฐฯ ก็โผล่ขึ้นที่บ้านของเด็กหญิงอายุ 12 ชื่อ นิโลเฟอร์ ผู้นอนหลับอยู่บนเตียงเชือกของเธอ  พวกเขาเริ่มการจู่โจมด้วยการโยนระเบิดเข้าไปที่ลานบ้าน ซึ่งตกลงที่หัวของนิโลเฟอร์  เธอตายทันที   ลุงของนิโลเฟอร์วิ่งไปที่ลานบ้าน   เขาทำงานให้กับตำรวจท้องที่ของอัฟกัน และพวกเขาได้บอกเขาว่า ไม่ต้องเข้าเวรร่วมกองลาดตระเวนในคืนนั้น เพราะว่า เขาไม่รู้อะไรนักเกี่ยวกับหมู่บ้านที่พวกเขาจะไป  ดังนั้น เขาจึงไปบ้านของพี่ชายแทน   พอเขาได้ยินเสียงระเบิด เขาคงนึกว่า ตาลิบัน โจมตีบ้านของเขา   กองทหารสหรัฐฯ ฆ่าเขาทันทีที่เห็นเขา   ภายหลัง นาโต้ได้ประกาศขอโทษ

การจู่โจมเกิดขึ้น ทุกๆ คืน  พวกเราทุกข์ระทมมาก โรชานัค วาร์ดัค ผู้เป็นหมอและอดีต สส กล่าว นี่ฉันกำลังอ่านจากรายงานข่าว แมคแคลทชี ฉบับวันที่ 8 สค ปีนี้  ชาวบ้านในพื้นที่หุบเขาทานกิ ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดวาร์ดัค ประมาณ 60 ไมล์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของคาบูล ได้ยื่นคำร้องทุกข์เกี่ยวกับการจู่โจมค่ำคืนในบริเวณที่พวกเขาอาศัยอยู่  ได้ตั้งข้อหาว่ากองกำลังได้ฆ่าพล เรือน ขัดขวางการดำเนินชีวิต และเป็นการเติมเชื้อไฟให้ประชา ชนหันไปสนับสนุนตาลิบัน

ลองจินตนาการดู  ชาวบ้านในหมู่บ้านอัฟกันหนึ่ง จะต้องอดหลับอดนอนในยามค่ำคืน  กังวลว่าบ้านของเขาอาจเป็นเป้าหมายการจู่โจมยามค่ำนำโดยกองกำลังสหรัฐฯ   ชาวบ้านรู้สึกเดือดดาล เมื่อได้ยินข่าวการจับกุมและการทารุณผู้อาวุโสและอิหม่าม การสังหารบุตรภรรยา การปล้น สะดมภ์ และทำลายทรัพย์สมบัติ   สงครามที่กองทัพสหรัฐฯ ต่อสู้กับฝ่ายที่ถูกเรียกว่า พวกก่อการจลาจล กลายเป็นการเพิ่มกระแสต่อต้านให้เข้มแข็งขึ้น เมื่อชาว อัฟกันทวีความมุ่งมั่นที่จะสู้กลับ

ในจังหวัดเฮลมานด์ ใน นัด อาลี นายอำเภอได้กล่าวต่อนักข่าว นิวยอร์คไทม์ ถึงเหตุการ์หนึ่งที่กลายเป็นวงจรรุนแรง:  กองทหารตระเวนเท้านาโต้หน่วยหนึ่ง ถูกยิงจากบ้านของครอบครัวหนึ่ง เมื่อ 5 สค 2011  ทหารคนหนึ่งตาย และนักแปลบาดเจ็บ  กองกำลังนาโต้ได้ส่งหน่วยจู่โจมทางอากาศ   ตอนนี้ นาโต้กำลังสอบสวนรายงานฉบับหนึ่ง ที่ระบุว่า การจู่โจมทางอากาศนั้น ได้คร่าชีวิตพลเรือน 8 คน ในจำนวนนั้น 7 คนเป็นเด็ก  บ้านหลังนั้นเป็นของ มูลลาห์ อับดุล ฮาดิ อายุ 50 เป็นอิหม่ามท้องถิ่น ผู้ซึ่งเจ้าหน้าที่อัฟกันบอกว่า ฝักใฝ่และช่วยเหลือตาลิบัน  นาย ชามลานิกล่าว เขาถูกฆ่าพร้อมกับภรรยาหนึ่งในสองคน และลูก 7 คน  ทั้งหมดอายุไม่ถึง 7 ขวบ

ชาวบ้านใน นัด อาลี ถูกคาดหวังว่าจะฝักใฝ่สหรัฐฯ และกองกำลัง หลังจากความตายของเด็ก 7 คน ด้วยน้ำมือของพวกเรา  เด็กๆ ที่ชาวบ้านรู้จักดีว่า อายุ 1 ถึง 7 ผู้ไม่เคยก่ออาชญากรรมใดๆ

แล้วตอนนี้ สหรัฐฯ ก็มุ่งมั่นที่จะจับมือทำสัญญา ประกาศความร่วมมือยุทธศาสตร์ กับลูกค้า-รัฐบาลอัฟกัน   หลายคนในประเทศนั้น (รวมทั้งรัฐบาลนี้) คาดหวังให้มีการตกลงเช่นนี้ที่จะอนุญาตให้สหรัฐฯ ก่อตั้งฐานทัพถาวร  การครอบครองและอยู่ที่นั่นอย่างถาวร จะเป็นการยั่วยุให้กลุ่มต่อต้านที่นั่น ให้ประกาศสงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุด

กลุ่มเยาวชนอัฟกันอาสาสมัครเพื่อสันติภาพ เป็นกลุ่มคนหนุ่มสาว ที่อุทิศตัวเพื่อยุติสงครามและความไม่เท่าเทียมกันในประเทศของตน ได้เขียนแถลงการณ์ 9 สิงหาคม:

ประกาศความร่วมมือยุทธศาสตร์ สหรัฐฯ-อัฟกานิสถาน จะทำให้ ลัทธิก่อการร้าย กลายเป็นปัญหาถาวร และจะพามันไปอยู่ที่หน้าประตูทุกบ้าน

ความร่วมมือ นี้จะยอมให้ ฐานทัพร่วมสหรัฐฯ-อัฟกานิสถาน เริ่มปฏิบัติการ และใช้อำนาจอาวุธ  พวกตาลิบัน หัวรุนแรงจะ ใช้ ฐานทัพเหล่านี้เป็นเหตุผลอย่างเดียวได้อย่างสะดวก (สร้างความชอบธรรม) เพื่อกระทำ สงครามศักดิ์สิทธิ์ ของพวกเขา   เราไม่สามารถลืมได้ว่า เหตุผลหนึ่งที่ อุสมา บิน ดาลิน โจมตีสหรัฐฯ เมื่อ 11 กย คือ การตั้งฐานทัพสหรัฐฯ ในซาอุดิอาระเบีย

ประกาศความร่วมมือยุทธศาสตร์นี้ ฆ่าโอกาสที่จะชะลอความบ้าคลั่งของพวกเรา และบรรเทาความรุนแรงของพวกเรา

มันจะนำพาความฉิบหายมายังสามัญชนชาวอเมริกันและชาวอัฟกันด้วยลัทธิก่อการร้ายอย่างถาวร

ทำไมพวกเราไม่สามารถสงบประสาทลง  แล้วมองลึกลงไปในมนุษยชาติ และเริ่มผสานรอยแผล?

ทุกคนต้องการความปลอดภัย แต่ฉันคิดถึงครอบครัวลาฮอร์ ที่เปิดใจ ต้อนรับให้พวกเราได้หลับนอนที่ลานบ้านและใช้บ้านของเขาในค่ำคืนนั้น  ทั้งๆ ที่พวกเขาไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับคนอเมริกันบ๊องๆ สองคนนี้ ที่ถูกปล่อยให้ลงจากรถทิ้งไว้หน้าบ้านของพวกเขา  พวกเราได้ปลุกให้พวกเขาตื่น แต่เขาเลือกที่จะอยู่โยง และดูแลพวกเรา   ส่วนชาวอเมริกันดูเหมือนจะตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องปลุกให้ตื่นอย่างไม่ขาดสายจากพวกเรา จากอัฟกานิสถาน ด้วยการกลับไปนอนต่อทุกครั้ง แทนที่จะลุกขึ้น ทำงานเพื่อทำให้สถานการณ์ดีขึ้น   ฉันคิดถึงการจู่โจมยามค่ำ  ครอบครัวถูกปลุกให้ตื่น เมื่อเหตุเลวร้ายน่าหวาดกลัวเกิดขึ้นกระทันหันในที่หนึ่งๆ ทุกคืนในภูมิภาคนั้น  เด็กๆ ถูกสังหารทั้งๆ ที่ยังหลับอยู่ เพียงเพื่อทำให้พวกเราปลอดภัยมากขึ้น (รวมทั้งแรงจูงใจด้านอื่น)  และความขัดแย้งที่มีแต่จะเพิ่มทวีคูณจากความรุนแรง

พวกเรากำลังหลงทางอย่างน่าตกตื่น น่าสะพรึงกลัว  และพวกเราก็จะเป็นเช่นนี้มากขึ้น   หากเราเห็นสัญญาณที่นี่ ท่ามกลางความมืดมิด โอกาสที่จะติดต่อกับผู้คนรอบตัวของเรา เราจะต้องรีบทำ/รับโอกาสนั้นไว้ด้วยความขอบคุณ   จดหมายจากเพื่อนเยาวชนอัฟกันของฉัน เป็นอีกสัญญาณหนึ่งสำหรับฉันว่า พวกเราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของบ้านชาวอัฟกันตลอดไป เราเข้าครอบครองด้วยปลายด้ามปืน  

ไม่ว่าเราจะงัวเงีย งุนงงเพียงไร จากการที่ถูกปลุกแล้วปลุกเล่าให้ตื่นขึ้น รับรู้สถานการณ์ที่น่ากลัวยิ่งและบทบาทที่พวกเรามีส่วนเกี่ยวข้องนี้  พวกเราจะต้องเริ่มปฏิบัติการเดี๋ยวนี้ เพื่อปลดปล่อยเจ้าภาพอัฟกันของเรา จากแขกที่อยู่นานเกินไป  และทำให้สหรัฐฯ กลับคืนสู่ที่ๆ มันควรอยู่อย่างปลอดภัย
A Voices for Creative Nonviolence delegation is presently visiting, in Kabul, with The Afghan Youth Peace Volunteers. Both groups are helping organize for the October 6, 2011 “Stop the Machine! Create a New World!” campaign to end wars.
คณะผู้แทน เสียงเพรียกเพื่อความไม่รุนแรง (สันติวิธี) อย่างสร้างสรรค์ กำลังออกไปเยี่ยมในกรุงคาบูล กับ อาสาสมัครเยาวชนอัฟกันเพื่อสันติ   ทั้งสองกลุ่มกำลังช่วยกันจัดงานสำหรับวันที่ 6 ตุลาคม 2011 หยุดเครื่องจักรกล! สรรค์สร้างโลกใหม่!”  อันเป็นการรณรงค์เพื่อยุติสงคราม
Kathy Kelly, a co-coordinator of Voices for Creative Nonviolence. Kathy Kelly's email is kathy@vcnv.org
ดรุณีแปล/8-13-11

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น