วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ศึกชนชั้นในสหรัฐฯ: นโยบายเพื่อกู้การจ้างงาน หรือ เพื่อกู้เก้าอี้


President Obama Joins the Cult of Economics Deniers
Published on Monday, August 15, 2011 by The Guardian/UK
ประธานาธิบดีโอบามา เข้าร่วมสำนักปฏิเสธเศรษฐศาสตร์
15 สิงหาคม 2011 ใน การ์เดียน/อังกฤษ
President Obama has abandoned evidence-based economics to return the US to growth in favor of the politics of deficit-cutting
ประธานาธิบดีโอบามา ได้ละทิ้งเศรษฐศาสตร์ที่ตั้งอยู่บนสิ่งที่พิสูจน์ได้ เพื่อกู้ให้สหรัฐฯ กลับสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ ไปเป็นการตัดลดความขาดดุล
โดย ดีน เบเกอร์
A front page story in Sunday's New York Times gave the country the bad news. President Obama is no longer paying attention to economists and economics in designing economic policy. Instead, he will do what his campaign people tell him will get him re-elected, presumably by getting lots of money from Wall Street.

The article said that President Obama intends to focus on reducing government spending and cutting programs like social security and Medicare. This is in spite of the fact that: "A wide range of economists say the administration should call for a new round of stimulus spending, as prescribed by mainstream economic theory, to create jobs and promote growth."

In other words, President Obama intends to ignore the path for getting the economy back to full employment that most economists advocate. Instead, he is going to cut government spending – because his chief of staff and former JP Morgan vice president Bill Daley and his top campaign adviser David Plouffe both say this is a good idea.

While people are justified in having little respect for economists – almost the entire profession missed the $8tn housing bubble that crashed the US economy – it is still scary to see that policy will be determined by people with no knowledge of economics whatsoever. After all, do Daley and Plouffe even have a theory as to how cutting government spending could help the economy?

There, of course, is a theory as to how budget cuts could boost growth. The theory is that lower deficits in the present and/or near future will reduce fears that government spending will be crowding out private economic activity. This would lead to lower interest rates. Lower interest rates will provide a boost to investment and consumption. Also, lower interest rates in the United States will make dollar assets less attractive to investors. This will cause the dollar to decline against other currencies, improving our trade balance.

However, no part of this story makes sense in the current economic environment. US interest rates are already at ridiculously low levels, with the 10-year Treasury rate falling below 2.2% in the wake of the recent euro crisis. Does anyone really believe that the rate will go much lower even with large cuts to the budget?

Furthermore, even if interest rates did fall, it is difficult to believe that it would have much impact on either investment or consumption. Investment is not very responsive to interest rates even in the best of times. It is extremely unlikely that firms will rush to buy new equipment even if interest rates were to take another large plunge, when most are still operating with vast amounts of excess capacity.

Consumers remain heavily indebted due to the collapse of house prices. Furthermore, the huge baby boom cohort is going to feel more need to save than ever with the government slashing its social security and Medicare benefits.

The trade side of the picture doesn't look much better. The dollar continues to be a safe haven in uncertain times. Furthermore, China and other export dependent countries care little about US interest rates; they want to protect their markets in the United States. They are likely to keep the dollar from falling too much against their currencies no matter how low interest rates fall.

For these reasons, it is unlikely that cutbacks in government spending will do much to lower the dollar and reduce the trade deficit. These would be the points that economists would make if President Obama was still paying attention to them. And if there are effective rebuttals within economics to these arguments, they are not easy to find.

But President Obama is apparently not listening to economists anymore, so he wouldn't care, in any case. Just as we have many politicians who ignore climatologists in the design of energy policy, and politicians who think that biology has no place in teaching the origins of species, we now have politicians who think that economics has no place in designing economic policy.

This could be viewed as comical, but tens of millions of lives stand to be ruined. Ever since Keynes, we have known how to bring an economy back to full employment after it has fallen into a slump. Keynes's basic insights have been supported by a vast amount of economic research over the last seven decades. And we have solid evidence showing (pdf) that the limited stimulus pushed through by Obama in 2009 worked pretty much as predicted in generating growth and jobs.

But evidence, apparently, doesn't matter at the White House any more.
ข่าวหน้าแรกของนิวยอร์คไทม์ส ฉบับวันอาทิตย์ เป็นข่าวร้ายสำหรับประเทศ  ประธานาธิบดีโอบามา ไม่สนใจฟังนักเศรษฐศาสตร์ และไม่ใช้เศรษฐศาสตร์ในการออกแบบนโยบายเศรษฐกิจอีกต่อไป   แต่เขาจะทำตามนักรณรงค์หาเสียงของเขาที่บอกเขาว่า ต้องทำอะไรเพื่อจะได้รับเลือกอีกสมัย ซึ่งน่าจะเป็นไปได้ด้วยการได้เงินมากมายจากวอลล์สตรีท

บทความนี้กล่าวว่า ประธานาธิบดีโอบามา ตั้งใจจะมุ่งหน้าลดรายจ่ายของรัฐบาล และตัดโครงการเช่น ประกันสังคมและประกันสุขภาพ  อันนี้ขัดกับความจริงที่ นักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า รัฐบาลควรทำการจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกรอบหนึ่ง อันเป็นดั่งใบสั่งของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ในการสร้างงานและส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

พูดใหม่ก็คือ ประธานาธิบดีโอบามา ตั้งใจจะเมินหนทางที่จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นสู่การจ้างงานเต็มตัว ที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่รับรอง  ในทางตรงข้าม เขาจะตัดรายจ่ายรัฐบาลเพราะว่า หัวหน้าเสนาธิการและอดีตรองประธานของ เจ พี มอร์แกน บิล ดาลีย์ และที่ปรึกษาการรณรงค์หาเสียงแนวหน้าของเขา เดวิด พลูฟฟ์ ต่างบอกว่า นี่เป็นความคิดที่ดี

ในขณะที่ประชาชนมีความชอบธรรมที่จะไม่เคารพนักเศรษฐศาสตร์นัก--เมื่ออาชีพนี้เกือบทั้งหมดหวุดหวิดรอดมาได้หลังจากฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์มูลค่า 8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ โค่นเศรษฐกิจสหรัฐฯมันก็ยังน่ากลัวอยู่ดี ที่จะเห็นนโยบายถูกตัดสินโดยคนที่ไม่มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์เลย   นอกจากนี้ ดาลีย์และพลูฟฟ์ มีทฤษฎีอะไรไหม ที่จะใช้เป็นแนวทางตัดรายจ่ายรัฐบาลที่จะช่วยกู้เศรษฐกิจได้?

แน่นอน มีทฤษฎีหนึ่ง ที่บอกว่าการตัดงบจะสามารถช่วยกระตุ้นการขยายตัว  ทฤษฎีนี้บอกว่า การลดความขาดดุลในปัจจุบัน และ / หรือในอนาคตอันใกล้ จะช่วยลดความหวาดกลัวว่า รายจ่ายของรัฐบาลจะเบียดแย่งธุรกิจของภาคเอกชน  นี่จะนำไปสู่การลดอัตราดอกเบี้ย ๆ จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและการบริโภค   การลดอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ จะลดแรงจูงใจของสินทรัพย์ดอลลาร์ต่อนักลงทุนด้วย  นี่ก็จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนลงเมื่อเทียบกับกระแสเงินตราอื่นๆ ซึ่งจะเป็นการดีสำหรับดุลการค้าของเรา

ถึงอย่างไร เรื่องนี้ไม่มีส่วนใดที่เข้าท่าในสภาวะเศรษฐกิจขณะนี้   อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อยู่ในระดับต่ำสุดๆ ด้วยอัตราการคลังรอบ 10 ปีที่ตกต่ำกว่า 2.2%  ที่ตอบรับวิกฤตยูโรเมื่อเร็วๆ นี้    มีใครเชื่อจริงๆ ว่าอัตราจะลดต่ำมากไปกว่านี้ แม้ว่าจะมีการตัดงบครั้งใหญ่?

ยิ่งกว่านั้น แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลง ก็ยากที่จะเชื่อได้ว่า มันจะส่งผลกระทบต่อนักลงทุนหรือผู้บริโภค   การลงทุนไม่ค่อยจะตอบสนองต่ออัตราดอกเบี้ย แม้แต่ในเวลาที่ดีที่สุด   มันค่อนข้างจะยากที่บริษัทจะเฮโลกันไปซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ๆ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะดิ่งลงมากมายอีกครั้ง ในเมื่ออุปกรณ์ส่วนใหญ่ยังคงทำงานได้ และมีสมรรถนะเกินพอ

ผู้บริโภคยังคงมีหนี้สินหนักอึ้งอันเนื่องมาจากการล้มครืนของราคาบ้าน  ยิ่งกว่านั้น กลุ่มประชากรที่เกิดในยุคทารกพรั่งพรู (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2) จะรู้สึกจำเป็นมากยิ่งขึ้น ที่จะต้องออมเมื่อรัฐบาลตัดประกันสังคมและประกันสุขภาพ

ในด้านการค้า ก็ไม่ได้ดีกว่านัก   เงินดอลลาร์ยังคงเป็นสรณะที่ปลอดภัยในยุคสมัยของความไม่แน่นอน  นอกจากนี้ จีนและประเทศต่างๆ ที่พึ่งการส่งออก ไม่สนใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ  พวกเขาคงจะพยายามประคองไม่ให้ค่าเงินดอลลาร์ตกต่ำมากเกินไป เมื่อเทียบกับกระแสเงินตราของพวกเขา ไม่ว่าอัตราดอกเบี้ยของเราจะต่ำแค่ไหน

ด้วยเหตุผลเหล่านี้ การตัดงบรายจ่ายของรัฐบาล คงจะไม่ช่วยลดค่าเงินดอลลาร์ และลดการขาดดุลการค้า  นี่จะเป็นคำสรุปของนักเศรษฐศาสตร์หากประธานาธิบดีโอบามาจะยังคงตั้งใจฟังอยู่    และหากมีการโต้แย้งอย่างมีประสิทธิผลในวงการเศรษฐศาสตร์ต่อข้อสรุปนี้  มันก็หาได้ไม่ง่าย

แต่เห็นได้ชัดว่า ประธานาธิบดีโอบามา ไม่ฟังเสียงนักเศรษฐศาสตร์อีกต่อไป  ดังนั้น เขาจะไม่แคร์ไม่ว่าจะพูดอย่างไร   ก็เหมือนกับที่เราได้เห็นนักการเมืองหลายคน ที่เพิกเฉยต่อนักกาลวิทยาในการออกแบบนโยบายพลังงาน และนักการเมืองที่คิดว่า ชีววิทยา ไม่มีหน้าที่สอนเรื่องแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิต  ตอนนี้ เรามีนักการเมืองที่คิดว่า เศรษฐศาสตร์ ไม่มีหน้าที่ในการออกแบบนโยบายเศรษฐกิจ

เรื่องนี้อาจมองได้ว่าเป็นเรื่องตลก แต่ชีวิตนับสิบๆ ล้าน กำลังจะถูกทำลาย   ตั้งแต่สมัยเคนส์ เราได้รู้จักวิธีกู้เศรษฐกิจให้กลับสู่การจ้างงานเต็มตัว หลังจากที่มันสะดุดฮวบซบเซา   มีงานวิจัยเศรษฐศาสตร์มากมายในช่วงเจ็ดทศวรรษที่ผ่านมาที่สนับสนุนภูมิปัญญาพื้นฐานของเคนส์  และเราก็มีหลักฐานที่เป็นรูปธรรมหนักแน่น ที่จะแสดงให้เห็นว่า การกระตุ้นในขอบเขตจำกัด ที่โอบามาได้กระทำในปี 2009 ได้ส่งผลดังที่ทำนายไว้ในการขยายเศรษฐกิจและสร้างงาน

แต่เห็นได้ชัดว่า หลักฐานไม่มีความหมายอีกแล้วสำหรับทำเนียบขาว


Dean Baker is the co-director of the Center for Economic and Policy Research (CEPR). He is the author of The Conservative Nanny State: How the Wealthy Use the Government to Stay Rich and Get Richer and the more recently published Plunder and Blunder: The Rise and Fall of The Bubble Economy. He also has a blog, "Beat the Press," where he discusses the media's coverage of economic issues.
© Guardian News and Media Limited 2011
ดรุณีแปล/8-17-11

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น