"State feminism"? Gender and socialist state formation in Maoist China .
Feminist Studies, 22-SEP-05
“สตรีรัฐนิยม”? ความสัมพันธ์อำนาจหญิงชาย และการก่อตัวของ
รัฐสังคมนิยมในจีนลัทธิเหมา
Article Excerpt (ส่วนที่ตัดตอนมา)
ALTHOUGH THE COMPOUND PHRASE "state feminism" has a relatively short history, it has acquired various meanings in its transnational usage. Evolving from an early usage of "state feminists," referring to feminists employed as bureaucrats in positions of power or women politicians who promoted gender equality policies in Scandinavia, "state feminism" has been conceptualized to enable scholarly examinations of the institutionalization of feminism in state agencies in a variety of political and economic systems. (1) The term has also been adopted in scholarly discussions of the Chinese socialist state's gender policies but with a significant twist. (2) When applied to
แม้คำผสม “สตรีรัฐนิยม” จะมีประวัติศาสตร์อันสั้น มันได้ถูกใช้ข้ามชาติและถูกนิยามในหลายความหมาย ในช่วงแรกๆ มันหมายถึงนักสตรีนิยมที่ถูกจ้างในตำแหน่งข้าราชการที่ทรงอำนาจ หรือนักการเมืองสตรีที่ส่งเสริมนโยบายความเท่าเทียมหญิงชายในสแกนดิเนเวีย คำว่า “สตรีรัฐนิยม” ได้ถูกกำหนดให้เป็นกรอบคิดเพื่อช่วยให้นักวิชาการตรวจสอบการทำให้สตรีนิยมเป็นสถาบันในหน่วยงานรัฐ ภายใต้ระบบการเมืองและเศรษฐกิจต่างๆ/ คำนี้ได้ถูกใช้ในการอภิปรายเชิงวิชาการในการกำหนดนโยบายเจนเดอร์/เพศสภาพ ของรัฐสังคมนิยมของจีน แต่ด้วยการบิดเบือนอย่างมีนัยสำคัญ/ เมื่อประยุกต์ใช้กับจีน มันมักจะแสดงออกเป็นมโนภาพที่ขัดแย้งกัน ระหว่างรัฐปิตาธิปไตยที่ครองแชมป์ในการปลดแอกผู้หญิงแม้ว่าจะเป็นไปอย่างโซเซ ไม่เสมอต้นเสมอปลาย รอยร้าวในกรอบคิดดังกล่าว สมควรได้รับการตรวจสอบศึกษาอย่างใกล้ชิด รอยร้าวนี้สะท้อนถึงชุดความสัมพันธ์ของเจนเดอร์กับรัฐที่แตกต่างถึงขั้นฐานราก ระหว่างรัฐสังคมนิยม กับรัฐทุนนิยมหรือไม่? หรือมันเป็นการทำงานของตัวแปรในเชิงความคิดหาเหตุผลของนักวิชาการสตรีนิยม พอๆ กับความเป็นจริงของการเมืองภายใต้การศึกษานี้? การศึกษาเชิงประจักษ์ชิ้นนี้ เรื่อง เจนเดอร์ (ความสัมพันธ์อำนาจหญิงชาย) และการก่อตัวรัฐสังคมนิยมของจีน พยายามที่จะสร้างความกระจ่างในปรากฏการณ์ที่น่าสนเท่ห์นี้/
Studies on gender and the Chinese socialist state have convincingly argued for the existence of a socialist patriarch. (4) Sharp feminist critical lenses that have enabled dissection of patriarchal state power, however, often get blurred when it comes to the examination of pro-women policies or laws passed by the state. It is never clear how pro-women laws and policies got to be initiated and passed by a patriarchal centralized power structure. Indeed, a methodological difference exists between studies on women and socialist states and studies on feminism in capitalist democratic states. In the latter case, documenting feminists' engagement with state power and identifying individual feminist actors in the process of shaping pro-women policies or institutions often constitute the main body of a study. Works on "femocrats" in Australia and the Netherlands are good examples of in-depth ethnographic studies of a transformative political process. (5)
งานศึกษาว่าด้วยเจนเดอร์และการก่อตัวของรัฐสังคมนิยมของจีน ได้ถกอย่างน่าฟังว่า สังคมนิยมปิตาธิปไตยมีอยู่จริง/ แว่นสตรีนิยมวิพากษ์ที่แหลมคมได้ช่วยชำแหละอำนาจรัฐปิตาธิปไตย แต่ก็มักจะเริ่มพร่ามัว เมื่อเจอกับการตรวจสอบนโยบายหรือกฎหมายที่ส่งเสริมผู้หญิง ที่บัญญัติโดยภาครัฐ ที่ผ่านมาไม่เคยมีการแสดงให้ประจักษ์ชัดว่า กฎหมายและนโยบายส่งเสริมผู้หญิง ได้ถูกริเริ่มและออกโดยโครงสร้างอำนาจรวมศูนย์แบบปิตาธิปไตยอย่างไร อันที่จริง มีความแตกต่างในวิธีการเก็บข้อมูลระหว่างการศึกษาเรื่องผู้หญิงกับรัฐสังคมนิยม กับการศึกษาเรื่องสตรีนิยมในรัฐประชาธิปไตยทุนนิยม ในกรณีหลัง การบันทึกการมีส่วนเกี่ยวข้องของนักสตรีนิยมกับอำนาจรัฐ และการระบุปัจเจกบุคคลที่เป็นนักสตรีนิยม ในกระบวนการปรับแต่งนโยบายหรือสถาบันส่งเสริมสตรี มักจะเป็นองค์ประกอบหลักของงานศึกษา ผลงาน “เฟโมแครท” ในออสเตรเลียและเนเธอร์แลนด์ เป็นตัวอย่างที่ดีของการศึกษาระดับลึกด้วยวิธีการทางมานุษยวิทยาด้านวัฒนธรรมเผ่าพันธุ์ ถึงกระบวนการเมืองที่เปลี่ยนรูป
However, a parallel study on socialist state feminism has yet to be seen. The lack of desire or imagination to excavate women's role in the policymaking process in the socialist state may have much to do with a fast-held assumption about the socialist state: it is too centralized and monolithic to have any space for women's intervention. The story that follows questions the assumption of the total dominance of the socialist patriarchal state. To some extent, this study also questions conceptualizations of masculinist state power in any political system that rule out possibilities of women's subversive action in state processes. The issue here is not only to recognize women's agency but also to reconceptualize state power.
ถึงอย่างไรก็ตาม การศึกษาคู่ขนานเรื่องสตรีรัฐนิยมในรัฐสังคมนิยมยังไม่มี การขาดแรงปรารถนา หรือจินตนาการที่ต้องการขุดค้นหาบทบาทของผู้หญิงในกระบวนการกำหนดนโยบายในรัฐสังคมนิยม อาจเป็นเพราะสมมติฐานที่มีต่อรัฐสังคมนิยม: มันรวมศูนย์ และเป็นเหมือนแผ่นหินใหญ่เกินกว่าที่จะมีที่ว่างให้ผู้หญิงแทรกตัวเข้าไปได้ จึงต้องตั้งคำถามต่อสมมติฐานที่ว่า รัฐปิตาธิปไตยสังคมนิยมครอบงำอย่างเบ็ดเสร็จ ถึงระดับหนึ่ง การศึกษานี้ก็ตั้งคำถามถึงวิธีคิดเรื่องอำนาจรัฐแบบเพศชายในระบบการเมืองใดๆ ที่ไม่ยอมรับถึงความเป็นไปได้ที่ผู้หญิงจะก่อการล้มล้างในกระบวนการของรัฐได้ ประเด็น ณ ที่นี้ ไม่ใช่เพียงยอมรับตัวตนผู้หญิงในฐานะผู้ปฏิบัติการ แต่ยังรวมถึงการคิดใหม่เกี่ยวกับอำนารัฐ
Can a feminist theory of state critical of all dimensions of state power also account for sites and effects of feminist negotiation and intervention in dispersed state processes? Different from Wendy Brown's preoccupation with "finding the man in the state," finding women in the socialist state is the focus of this article. (6)
ทฤษฎีสตรีนิยมว่าด้วยรัฐ ที่วิพากษ์อำนาจรัฐทุกๆ ด้าน สามารถแสดงให้เห็นถึงพื้นที่ และผลกระทบจากการต่อรองและการแทรกแซงของนักสตรีนิยมในกระบวนการรัฐที่กระจัดกระจายได้ไหม? จุดโฟกัสของบทความนี้ อยู่ที่การค้นหาผู้หญิงในรัฐสังคมนิยม ซึ่งต่างจากความหมกมุ่นของ เวนดี้ บราวน์ ในการ “หามนุษย์ (ชาย) ในรัฐ”
A women's organization, the All-China Women's Federation (ACWF), does often appear in discussions of Chinese state feminism or official feminism. However, it is usually defined as no more than an organ of the party-state that takes on the project of making Chinese women into statist subjects. (7) Seen as a coherent part of the patriarchal state, the women's organization curiously loses its gender. Gone with it is also women's agency. A common explanation for women's social advancement is that what women gained in the Mao era (1949-1976) was a result of the state's top-down measures, or the Chinese variant of "state feminism." As a recent study claims, "Under state-derived feminism, agency becomes the monopoly of the party-state. Changes in gender relations are inspired from above and mobilized through the organizational channels of the ACWF. The party-state, through the ACWF, defines the causes, methods, and vision of change and serves as the guardian and male protector of women's rights and interests. Although women can be mobilized for change, they cannot be their own agents of change." (8)
องค์กรสตรีแห่งหนึ่ง—สหพันธ์สตรีทั่วประเทศจีน (สสจ)—มักจะปรากฏขึ้นในการอภิปรายเรื่องสตรีรัฐนิยมของจีน หรือ สตรีนิยมทางการ ถึงอย่างไรก็ตาม ปกติมันก็ถูกนิยามให้เป็นไม่มากไปกว่าเป็นแขนข้างหนึ่งของรัฐพรรคเดี่ยว ที่มีโครงการทำให้ผู้หญิงจีนเข้ามาอยู่ใต้อำนาจรัฐ โดยที่มันเป็นส่วนหนึ่งที่สอดคล้องกับรัฐปิตาธิปไตย องค์กรสตรีได้สูญเสียเจนเดอร์/เพศสภาพของตนเอง สิ่งที่หายไปด้วยคือ ตัวตนผู้หญิงที่ปฏิบัติการ คำอธิบายร่วมสำหรับความก้าวหน้าทางสังคมของผู้หญิง คือ อะไรก็ตามที่ผู้หญิงได้รับในยุคเหมา (พ.ศ.2492-2519) ล้วนเป็นอานิสงค์จากนโยบายบนสู่ล่าง หรือ “สตรีรัฐนิยม” ฉบับจีน ดังที่งานศึกษาเร็วๆ นี้ได้อ้าง “ภายใต้สตรีนิยมที่ประทานจากรัฐ การเป็นผู้ปฏิบัติการย่อมถูกผูกขาดโดยรัฐ-พรรค การเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์เชิงเจนเดอร์ ได้รับแรงบันดาลใจจากเบื้องบน และขับเคลื่อนด้วยกลไกองค์กรของสหพันธ์สตรีฯ รัฐ-พรรคเป็นผู้กำหนดสาเหตุ วิธีการ และวิสัยทัศน์ของการเปลี่ยนแปลง ผ่านสหพันธ์สตรีฯ (สสจ) รัฐ-พรรคจึงทำหน้าที่เป็นผู้ปกครอง และชายผู้พิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์ของผู้หญิง แม้ว่าผู้หญิงสามารถถูกขับเคลื่อนเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่พวกเธอไม่สามารถเป็นผู้ปฏิบัติการด้วยตัวเองให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
A key problem in this interpretation, as well as in other studies of a similar nature, (9) is the ambiguity of the nature of the ACWF. Is it an embodiment of the "male protector" or a representative of women, or both? Founded with the endorsement of top leaders of the Chinese Communist Party (CCP) in April 1949, the All-China Women's Democratic Federation (later renamed the All-China Women's Federation) was designed as an umbrella of existing women's organizations in the country. The ACWF continued a long history of funii gongzuo (women-work) in the CCP, which had recruited feminists and adopted their agenda at its inception in 1921--a moment when the feminist movement was at its peak. "Women-work" historically included mobilizing women to accomplish tasks for the CCP revolution and addressing issues concerning women's interests, welfare, and equal rights. Both components were seen as complementary to each other and crucial for engaging women in a political process for women's liberation. Women-work, however, was subordinate to the Party's "central work"--never becoming a Party priority. The tension between women-work and the Party's central work has been a constant reality for communist women in charge of women-work, as we will see below.
ปัญหาหลักในการตีความนี้ รวมถึงการศึกษาอื่นๆในทำนองเดียวกัน/ คือความกำกวมของสหพันธ์สตรีฯ (สสจ) มันเป็นร่างทรงของ “ชายผู้พิทักษ์” หรือเป็นตัวแทนของผู้หญิง หรือเป็นทั้งสองอย่าง? สหพันธ์สตรีฯ ถูกตั้งขึ้นด้วยการรับรองอย่างเป็นทางการจากผู้นำสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในเมษายน พ.ศ. 2492 และถูกออกแบบให้เป็นองค์กรร่มสำหรับองค์กรสตรีที่มีอยู่ทั่วประเทศ สหพันธ์สตรีฯ มีประวัติต่อเนื่องยาวนานด้านงานผู้หญิงในพรรคคอมมิวนิสต์จีน (พคจ) ซึ่งได้ชักชวน สรรหานักสตรีนิยมและเลือกรับวาระของพวกเธอในตอนก่อตั้งในปี พ.ศ. 2464—ช่วงเวลาสูงสุดของการเคลื่อนไหวสตรีนิยม ในเชิงประวัติศาสตร์ ”งานผู้หญิง” ได้รวมถึงการขับเคลื่อนผู้หญิงให้บรรลุเป้าหมายการปฏิวัติของ พคจ และนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ สวัสดิการ และสิทธิเสมอภาคของผู้หญิง ทั้งสองประการอิงอาศัยกัน และสำคัญต่อการดึงผู้หญิงเข้าสู่กระบวนการเมืองเพื่อปลดปล่อยผู้หญิง ถึงกระนั้น งานผู้หญิงก็ถูกกดทับให้อยู่ใต้ “งานศูนย์กลาง” ของพรรค—ไม่เคยอยู่ในวาะลำดับต้นๆ ของพรรค ความตึงเครียดระหว่างงานผู้หญิง และ งานศูนย์กลางของพรรค เป็นสภาพจริงต่อเนื่องสำหรับหญิงคอมมิวนิสต์ที่ดูแลงานผู้หญิง ดังที่เราจะได้เห็นต่อไปนี้
Led by women Party members who had rich experience in women-work in the Communist revolution, the ACWF went through rapid institutional development in the early 1950s and set up local branches at each administrative level, reaching down to rural villages and urban neighborhoods. By 1953 there were already over 40,000 officials of the Women's Federation system nationwide working above the township and street level. (10) This large number of women officials usually vanishes in much of the discussion of state feminism in China . Where do we place them and their women-work in our understanding of socialist state building? "Relocating" these women requires us to reject a view of the party-state as a coherent, seamless, and monolithic body and to open up inquiries that allow us to see in detail the fissures, gaps, disputes, contestations, and conflicting goals and interests in the internal workings of the state apparatus. Investigating the historical process of the Women's Federation's institutional development is such an inquiry that attempts to provide a glimpse of this complicated and unstable terrain.
ภายใต้การนำโดยสมาชิกผู้หญิงของพรรค ผู้มากด้วยประสบการณ์เรื่องงานผู้หญิงในการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ สหพันธ์สตรีฯ ได้พัฒนาเชิงสถาบันอย่างรวดเร็วในช่วงต้นของทศวรรษ 2490 และคอมมิวนิสต์ได้จัดตั้งสาขาท้องถิ่นในโครงสร้างบริหารทุกระดับ ถึงหมู่บ้านในชนบทและละแวกเพื่อนบ้านในเมือง ในปี พ.ศ.2496 มีเจ้าหน้าที่ถึง 40,000 คนในระบบของสหพันธ์สตรีฯ ทั่วประเทศ ที่ทำงานอยู่เหนือระดับเมืองและบนท้องถนน/ จำนวนตัวเลขเจ้าหน้าที่หญิงที่ใหญ่โตนี้ ปกติจะล่องหนในการอภิปรายส่วนมากเกี่ยวกับสตรีรัฐนิยมในจีน เราวางพวกเธอและงานผู้หญิงของพวกเธอไว้ที่ไหน ในความเข้าใจต่อการสร้างรัฐสังคมนิยม? “การย้ายที่” ผู้หญิงเหล่านี้ จำเป็นที่พวกเราจะต้องปฏิเสธ ความเห็นที่ว่า รัฐ-พรรค เป็นองคพายพที่เนียน กลมเกลียว และเหมือนแท่งหินใหญ่ และการที่จะเปิดประเด็นตั้งคำถาม เพื่อให้เราเห็นรายละเอียด รอยร้าว ช่องว่าง การโต้เถียง การแข่งขัน และความขัดแย้งในเป้าหมายและผลประโยชน์ ในการทำงานภายในของกลไกรัฐ การสอบสวนถึงกระบวนการเชิงประวัติศาสตร์ของการพัฒนาเชิงสถาบันของสหพันธ์สตรีฯ เป็นความพยายามที่จะให้เห็นเสี้ยวหนึ่งของปริมณฑลที่ซับซ้อนและไม่เสถียร
Based on archival research and interviews of retired Women's Federation officials in Shanghai, this paper focuses on the Shanghai Women's Federation's (SWF) activities around its grassroots organization, the women's congress, in the early 1950s and explores the following issues. First, how did the SWF participate in socialist state building? Second, how did its participation transform the social landscape? Third, what can its struggle of institutional building tell us about gender politics in the state process? Examining these questions, this paper attempts to explicate a gendered process of "socialist state building" and to reconfigure the concept of "state feminism."
จากการค้นคว้าเอกสารสำคัญเก่าๆ และการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่สหพันธ์สตรีเกษียณอายุในเซี่ยงไฮ้ บทความนี้มุ่งไปที่กิจกรรมของสหพันธ์สตรีเซี่ยงไฮ้ (สสซ) รอบๆ องค์กรรากหญ้า สภาคองเกรสสตรี ในช่วงต้นของทศวรรษ 2490 และตั้งคำถามดังต่อไปนี้ (1) สสซ มีส่วนร่วมในการสร้างรัฐสังคมนิยมอย่างไร? (2) การมีส่วนร่วมของ สสซ ได้เปลี่ยนภูมิทัศน์ทางสังคมอย่างไร? (3) การต่อสู้เพื่อสร้างสถาบันสามารถบอกอะไรเราเกี่ยวกับการเมืองเพศสภาพในกระบวนการของรัฐ? เพื่อหาคำตอบ บทความนี้พยายามแจกแจงกระบวนการที่มีมิติความสัมพันธ์อำนาจหญิงชายในการ “สร้างรัฐสังคมนิยม” เพื่อจัดโครงร่างกรอบคิดของ “สตรีรัฐนิยม” ใหม่
EXPLORING THE ROLE OF THE WOMEN'S FEDERATION IN SOCIALIST URBAN CHINA
การสำรวจบทบาทของสหพันธ์สตรีฯ ในเมืองสังคมนิยมของจีน
One month after the People's Liberation Army had entered Shanghai , on June 26, 1949, the preparatory committee for the Shanghai Democratic Women's Federation (renamed the Shanghai Women's Federation later) was established. It immediately started to investigate and register existing women's organizations in order to "unify the Shanghai women's movement." Of the twenty-two existing women's organizations in Shanghai that had been either CCP peripheral organizations or sympathetic to the CCP before 1949, the SWF identified six as jiating funii (housewives) organizations and combined them to form the Shanghai Housewives Association on August 22, 1949. (11) It took some debate within the SWF before it decided to include housewives in women-work. The class standing of housewives, in the CCP perception, was dubiously close to bourgeois. So it was necessary for officials in the SWF to stress that of one million Shanghai housewives (all women without stable employment at the time were lumped into this category), the majority were not bourgeois parasites but lower-class and poor women. Appealing to Engels's theory of women's liberation, they argued that "her work is unpaid and has no significance for social production, but she is not a sheer consumer in society."
หนึ่งเดือนหลังจากกองทัพปลดแอกของประชาชนได้เคลื่อนเข้าสู่เซี่ยงไฮ้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2492 มีการจัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการสำหรับสหพันธ์สตรีเซี่ยงไฮ้ (สสซ) ขึ้น งานที่เริ่มทันที คือ ตรวจสอบและลงทะเบียนองค์กรสตรีที่มีอยู่เพื่อ “ผนึกรวมการเคลื่อนไหวสตรีเซี่ยงไฮ้” จาก 22 องค์กรสตรีที่มีอยู่ในเซี่ยงไฮ้ที่เคยเป็นองค์กร พคจ รอบนอก หรือฝักใฝ่ พคจ ก่อน 2492 สสซ ได้ระบุ 6 องค์กรแม่บ้าน และรวมกันเป็น สมาคมแม่บ้านเซี่ยงไฮ้ เมื่อ 22 สิงหาคม 2492/ มีการอภิปรายกันภายใน สสซ ก่อนที่จะตัดสินใจผนวกแม่บ้านลงในงานผู้หญิง ในมุมมองของ พคจ สถานภาพชนชั้นของแม่บ้าน ยังน่าสงสัยว่าจะใกล้กับพวกชนชั้นกลาง/กระฎุมพี ดังนั้น จึงจำเป็นที่ สสซ จะเน้นว่า แม่บ้านเซี่ยงไฮ้ หนึ่งล้านคน (ผู้หญิงทั้งหลายที่ไม่มีงานจ้างถาวรในขณะนั้น จัดเป็นประเภทนี้หมด) ส่วนใหญ่ไม่ใช่พยาธิ์ชนชั้นกลาง แต่เป็นชนชั้นล่างที่ยากจน พวกเธอได้อ้างถึงทฤษฎีปลดแอกผู้หญิงของเองเกิล ว่า “งานของพวกเธอไม่ได้รับค่าจ้าง และก็ไม่ได้มีนัยสำคัญต่อการผลิตเชิงสังคม แต่พวกเธอก็ไม่ใช่เป็นเพียงผู้บริโภคในสังคม”
The long-term goal of organizing housewives is to liberate them from subordinate positions and to engage them in social production. The current goal is to prepare housewives intellectually and technologically so that our society will have a large reserve labor force. Meanwhile we should raise women's consciousness and make them understand that social liberation precedes women's liberation. Therefore we should closely connect social production with our work to support the front line. We should organize housewives and send some of them to factories and other occupations. The process of organizing one million housewives will gradually enable them to participate in various production departments. (12)
เป้าหมายระยะยาวของการจัดรูปองค์กรแม่บ้าน คือ การปลดปล่อยพวกเธอจากสถานภาพที่ถูกกดทับ และดึงให้พวกเธอมีส่วนร่วมในการผลิตเชิงสังคม เป้าหมายขณะนั้น คือ การตระเตรียมความพร้อมของแม่บ้านในเชิงปัญญาและเชิงเทคโนโลยี เพื่อสังคมของเราจะได้มีแรงงานสำรองที่ใหญ่โต ในขณะเดียวกัน เราควรจะปลุกจิตสำนึกของผู้หญิง และทำให้พวกเธอเข้าใจว่า การปลดแอกสังคมต้องมาก่อนการปลดแอกสตรี ดังนั้น เราควรเชื่อมการผลิตเชิงสังคมอย่างใกล้ชิดกับงานของเรา เพื่อสนับสนุนแนวหน้าของพวกเรา เราควรจัดแม่บ้านในรูปองค์กรและส่งบางคนไปยังโรงงานและอาชีพอื่นๆ กระบวนการจัดรูปองค์กรแม่บ้านหนึ่งล้านคน จะค่อยๆ ทำให้พวกเธอสามารถมีส่วนร่วมในภาคส่วนต่างๆ ของการผลิต
Although organizing housewives was a major effort of the new SWF, housewives were not perceived as its main constituency in 1949. "The Resolution on the Current Tasks of the Chinese Women's Movement" passed by the first national congress of the ACWF on April 1, 1949, stated clearly that "women workers should be the basis of the urban women's movement." (13) In the report on the first two months' work of the SWF, housewives ranked the last to be reached, following women workers, students, teachers, artists, and professionals. Establishing six contact lines to connect these various groups of women in Shanghai , the SWF intended to be an umbrella organization unifying all women, although with a clear awareness that its efforts might "bump and press" others. (14)
แม้ว่าการจัดแม่บ้านเป็นองค์กรเป็นความพยายามใหม่ของ สสซ ๆ ก็ไม่ได้เห็นแม่บ้านเป็นกลุ่มหลักในเขตของตนในปี 2492 “มติว่าด้วยภารกิจปัจจุบันของการเคลื่อนไหวหญิงจีน” ที่ผ่านการประชุมคองเกรสของ สสจ ครั้งแรกเมื่อ 1 เมษายน 2492 ระบุอย่างชัดเจนว่า “เจ้าหน้าที่งานผู้หญิง ควรจะเป็นฐานของการเคลื่อนไหวสตรีเมือง”/ ในรายงานงานสองเดือนแรกของ สสซ แม่บ้านถูกจัดให้เป็นกลุ่มสุดท้ายที่จะต้องยื่นมือไปถึง โดยอยู่หลังหญิงคนงาน นักศึกษา ครูอาจารย์ ศิลปิน และนักอาชีพ ด้วยการจัดทำสายต่อ 6 สายกับแต่ละกลุ่ม สสซ ตั้งใจจะเป็นองค์กรร่มผนึกผู้หญิงทั้งหมด แม้ว่าจะรู้แก่ใจว่า ความพยายามเหล่านี้ อาจ “กระแทกหรือกดดัน” คนอื่น/
The emphasis on working-class women as the primary target group of urban women-work, although ideologically correct, soon brought the SWF into conflict with the newly established Department of Women Workers (DWW) of the Trade Union, which regarded it as its job to organize women workers. This conflict must have been a nationwide problem, for the ACWF stepped in, in 1949, to resolve it, by specifying that organizing women workers would be in the realm of the DWW of the Trade Union but that the DWW would be a group member of the Women's Federation at each of the levels of their hierarchical systems. Although this appeared to turn the DWW into a Women's Federation branch, by making the heads of the DWW a member of women's federations' executive committees, cooperation between the two organizations was guaranteed. (15) This model of cooperation between the two organizations, however, created a challenge for the SWF not faced by other urban women's federations because in Shanghai , the nation's largest industrial city with a population of more than 5 million in 1949, 170,000 women factory workers were removed from their agenda. The SWF had to actively look for an alternative constituency, a constituency that would define and legitimate its role in socialist state building. Organizing housewives, therefore, by their sheer numbers--more than one million--as well as their detachment from any other branch of the CCP organizational apparatus, soon became the SWF's central task, despite the general principle that women workers ought to be the basis of urban women-work. (16)
การเน้นย้ำให้หญิงกลุ่มชนชั้นแรงงาน เป็นกลุ่มเป้าหมายแรกของงานผู้หญิงในเมือง ถึงแม้จะเป็นสิ่งถูกต้องเชิงอุดมการณ์ แต่ในไม่ช้า ก็นำพาให้ สสซ งัดข้อกับกองแรงงานสตรี (กรส) ที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ของสหภาพ ซึ่งถือว่า นั่นเป็นหน้าที่ของตนในการจัดองค์กรคนงานหญิง ความขัดแย้งนี้ คงเป็นปัญหาทั่วประเทศ เพราะ สสจ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในปี 2462 เพื่อคลี่คลายความขัดแย้ง โดยชี้เฉพาะว่า การจัดรูปองค์กรหญิงแรงงาน จะอยู่ในข่ายของ กรส ของสหภาพ แต่ กรส จะต้องเป็นสมาชิกกลุ่มของสหพันธ์สตรีฯ ในแต่ละระดับของระบบ แม้ว่า การกระทำเช่นนี้ ดูเหมือนเป็นการเปลี่ยน กรส ให้เป็นสาขาของ สสจ โดยทำให้หัวหน้าของ กรส เป็นสมาชิกคนหนึ่งของคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์สตรีฯ และก็เป็นการประกันความร่วมมือระหว่างสององค์กร/ แต่รูปแบบความร่วมมือระหว่างสององค์กรนี้ ได้ท้าทาย สสซ อย่างไม่ปรากฏในสหพันธ์สตรีสาขาอื่น เพราะเซี่ยงไฮ้ เป็นเมืองอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของจีน และมีประชากรในปี 2492 ถึง 5 ล้านคน ด้วยเหตุนี้ ผู้หญิงแรงงานในโรงงานถึง 170,000 คน ได้ถูกตัดออกจากวาระของ สสซ ทำให้ สสซ ต้องขวนขวายหากลุ่มเป้าหมายอื่นในเขตของตน ที่จะนิยามและมีความชอบธรรมพอว่ามีบทบาทในการสร้างรัฐสังคมนิยม ดังนั้น การจัดรูปองค์กรให้แม่บ้าน ด้วยจำนวนกว่าล้าน และไม่ได้ผูกติดกับสาขาอื่นในกลไกองค์กรของ พคจ ไม่ช้า ได้กลายเป็นภารกิจศูนย์กลางของ สสซ ทั้งๆ ที่ในหลักการทั่วไป หญิงคนงานควรจะเป็นฐานของงานผู้หญิงในเมือง/
The identification of housewives as its organizational base led the SWF to explore new methods of organizing that had far-reaching implications. By late 1950 the Shanghai Housewives Association (SHA) had set up twenty-one district branches with individual housewives as members and through them intended to reach women in all neighborhoods. However, in late 1950 the ACWF urged local women's federations to speed up their grassroots organizing by forming "women's congresses" like those that had been created in the CCP-liberated areas to organize rural women. In the villages, women representatives were elected to a women's congress that in turn elected an executive committee to manage routine work relating to women. These women's congresses were representative bodies responsible for expressing local women's demands to the government and, in turn, explaining government policies to them. As such, it was hailed by CCP women leaders as the best organizational form for connecting women broadly and democratically. With the CCP's power extending to urban areas, the ACWF expected to establish women's congresses in cities as well. (17)
การระบุให้แม่บ้านเป็นฐานองค์กร ได้นำ สสซ สู่การสำรวจหาวิธีใหม่ในการจัดรูปองค์กร ที่มีผลพวงเกินคาด ตอนปลาย 2493 สมาคมแม่บ้านเซี่ยงไฮ้ (สมซ) ได้จัดตั้ง 21 สาขาประจำอำเภอ โดยมีปัจเจกแม่บ้านเป็นสมาชิก และจากแต่ละคน ก็ตั้งใจว่าจะต้องไปถึงผู้หญิงทั้งหมดในละแวกข้างเคียง ถึงกระนั้น ในปลาย 2493 สสจ ได้กระตุ้นให้สหพันธ์สตรีท้องถิ่น รีบเร่งการจัดรูปองค์กรรากหญ้า ให้รวมตัวเป็น “คองเกรสสตรี” เหมือนกับที่ ได้จัดตั้งหญิงชนบทในเขตที่ พคจ ได้ปลดปล่อย ในหมู่บ้าน ผู้แทนหญิงถูกเลือกเข้าสู่คองเกรสสตรี จากนั้นก็ถูกเลือกเข้าสู่คณะกรรมการบริหาร เพื่อจัดการงานประจำเกี่ยวกับผู้หญิง กลไกคองเกรสต่างๆ ของสตรีเหล่านี้ เป็นตัวแทนทำหน้าที่รับผิดชอบด้วยการแสดงข้อเรียกร้องของผู้หญิงท้องถิ่นต่อรัฐบาลและในขณะเดียวกัน ก็อธิบายนโยบายรัฐบาลต่อผู้หญิงท้องถิ่น ดังเช่นนี้ ผู้นำหญิงของ พคจ ได้ประกาศว่า นี่เป็นรูปแบบองค์กรที่ดีที่สุดที่จะเชื่อมโยงผู้หญิงในระดับกว้างและอย่างเป็นประชาธิปไตย อาศัยอำนาจของ พคจ ที่แผ่ครอบคลุมเขตเมือง สสจ คาดว่าจะจัดตั้งคองเกรสสตรีในเมืองเช่นกัน/
The SWF was quick to see the utility of its neighborhood-based housewives associations in this endeavor. The chair of the SWF, Zhang Yun, a Communist woman leader who had been involved in women-work since the 1920s, sent out work teams of SHA and SWF officials to selected neighborhoods to explore new methods of organizing women in urban areas. At the same time, however, the municipal government began implementing a "mode of spatial organization" to organize the unemployed, self-employed, and nonemployed and placed its Department of Civil Administration in charge of organizing residents in Shanghai lanes (18) and streets into residents committees, constituted mostly by male residents, at least in its initial stage. A district government branch, called the "Street Office," was set up in each precinct of a public security station to supervise about ten residents committees. And then, in December 1950, the SWF also decided to establish its grassroots organizations in the precincts of public security stations. In less than one year, women living in 10,009 lanes elected a total of 42,900 representatives and 6,000 chief representatives, and 120 housewives committees with 1,300 members were established.
สสซ มองเห็นประโยชน์ในการใช้ช่องทางอันตั้งอยู่บนฐานละแวกบ้านของสมาคมแม่บ้าน ประธานของ สสซ ฉางหยุ่น ผู้นำหญิงคอมมิวนิสต์ ผู้มีส่วนร่วมในงานผู้หญิงตั้งแต่ทศวรรษ 2460 ได้ส่งทีมงานของ สมซ และ สสซ ออกไปยังละแวกบ้านที่ได้เลือกไว้ เพื่อสำรวจหาวิธีใหม่ในการจัดรูปองค์กรผู้หญิงในเมือง แต่ในขณะเดียวกัน เทศบาลก็เริ่มดำเนินการ “จัดองค์กรในแนวราบ” เพื่อจัดรูปคนไร้งาน จ้างตัวเอง และไม่ถูกจ้าง และได้มอบหมายให้ กองจัดการพลเรือน ดูแลการจัดรูปองค์กรชาวบ้านในตรอกซอย/ และถนนของเซี่ยงไฮ้ ให้เป็นคณะกรรมการชาวบ้าน ประกอบด้วยชายเป็นส่วนใหญ่ อย่างน้อยในระยะเริ่มต้น มีการตั้งสาขาประจำอำเภอของรัฐบาล เรืยกว่า “สำนักงานถนน” ขึ้นในทุกๆ เขตของสถานีรักษาความมั่นคงสาธารณะ เพื่อดูแลประมาณ 10 คณะกรรมการชาวบ้าน ในธันวาคม 2493 สสซ ได้ตัดสินใจจัดตั้งองค์กรรากหญ้า ในเขตต่างๆ ของสถานีรักษาความมั่นคงสาธารณะ ภายใน 1 ปี ผู้หญิงที่อาศัยอยู่ใน 10,009 ตรอก ได้เลือกผู้แทนทั้งหมด 42,900 คน และ ประธานผู้แทน 6,000 คน และ ได้จัดตั้ง 120 คณะกรรมการแม่บ้าน ที่มีสมาชิก 1,300 คน
The CCP's creative ritual of mobilizing women was a well-developed practice in the Party's long history, dating back to the early 1920s, of mobilizing the "masses." What deserves our attention are the responses of women. The archival documents and memories of interviewees reveal that women were highly enthusiastic about participating in SWF mass rallies. In 1951 the Shanghai municipal committee requested that the SWF mobilize women for its "central work," which at the time included a patriotic campaign against American imperialist intervention in Korea , suppressing counterrevolutionaries, promoting production, and improving state finances. A municipal directive specified that the SWF should organize women for a mass rally and parade on March 8, International Women's Day, with the theme of protesting the U.S. rearming of Japan . The SWF successfully organized over 300,000 women to participate in the rally and parade, of whom 250,000 were housewives. The internal report reveals that many women joined the parade spontaneously.
พิธีกรรมสร้างสรรค์ของ พคจ ในการขับเคลื่อนผู้หญิง เป็นปฏิบัติการที่พัฒนาได้ที่ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของพรรค ย้อนไปถึงต้นทศวรรษ 2460 ในการขับเคลื่อน “มวลชน” สิ่งที่เราควรให้ความสนใจคือ การตอบสนองของผู้หญิง เอกสารเก่าๆ และบันทึกความจำของผู้ถูกสัมภาษณ์ล้วนเผยว่า ผู้หญิงเข้าร่วมการระดมมวลชนของ สสซ ด้วยความกระตือรืนร้นอย่างสูง ใน 2494 คณะกรรมการเทศบาลเซี่ยงไฮ้ได้ขอให้ สสซ ขับเคลื่อนผู้หญิง เพื่อ “งานศูนย์กลาง” ของมัน ซึ่งในขณะนั้น รวมการรณรงค์ความรักชาติ เพื่อต่อต้านการแทรกแซงของจักรวรรดิ์นิยมอเมริกันในเกาหลี ปราบปรามการปฏิวัติย้อนรอย ส่งเสริมการผลิต และปรับปรุงการเงินของรัฐ คำสั่งของเทศบาล ระบุเฉพาะว่า ให้ สสซ จัดผู้หญิงเข้าเดินขบวนมวลชนในวันที่ 8 มีนาคม ด้วยหัวข้อของการประท้วงสหรัฐฯ ที่ได้กลับเข้าไปติดอาวุธยุโธปกรณ์ให้ญี่ปุ่นอีก สสซ ได้จัดส่งผู้หญิงกว่า 300,000 คนเข้าร่วมการระดมมวลชนและเดินขบวนได้สำเร็จ ในจำนวนนั้น 250,000 คนเป็นแม่บ้าน รายงานภายในเผยว่า ผู้หญิงหลายคน เข้าร่วมเดินขบวนเอง
Laoza District underestimated the number of participants. They thought five thousand women would come out, but actually ten thousand did. Among them were elements with complicated backgrounds such as prostitutes and bar maids, who created a sensation among the spectators. Although we originally decided not to ask old women to participate, there were also sixty- to eighty-year-old women traipsing along with the parade. There were also women parading with their kids. The spectators were so numerous that they crowded into the street and pressed the six parade lines into three lines. The police and guards were so busy keeping order that they were soaked with sweat. (19)
อำเภอเหลาจา ประเมินจำนวนผู้เข้าร่วมต่ำไป พวกเขาคิดว่า ผู้หญิงจะออกมาสัก 5,000 คน แต่กลับเป็น 10,000 คน ในจำนวนนั้น มีความซับซ้อนเช่น โสเภณี และสาวบาร์ ได้สร้างความฮือฮาในหมู่คนดู แม้ว่า เดิมทีพวกเราตัดสินใจไม่ขอร้องให้หญิงสูงวัยเข้าร่วม แต่ก็มีหญิงอายุ 60 ถึง 80 เดินสะเปะสะปะไปกับขบวน ยังมีผู้หญิงมาเดินพร้อมด้วยลูกๆ คนดูมีมากเหลือเกินจนล้นถนน และบีบแถวเดิน 6 ขบวนเป็น 3 ขบวน ตำรวจและหน่วยรักษาความปลอดภัยต่างวุ่นวายกับการรักษาระเบียบจนเหงื่อชุ่ม/
Although the theme of the parade was patriotism and anti-imperialism, interestingly, the report commented on its effect on women's empowerment. "Participants in the parade all felt that women have power and status now. Even men said, now women are a big deal. The Communist Party truly has its way, and even women are organized by them." (20) Leaving the praising of the Party aside, it is still clear that the parade had a gender overtone that both women and men recognized. If the CCP intended to use women to demonstrate popular support for their politics, women were also quick to utilize the new government power to cross gender and class boundaries. Parading in a public space with official endorsement, women in households and women of various subaltern groups all symbolically staged their legitimate position in the new political order. A patriotic parade carefully designed by the CCP was thus appropriated by women of different social backgrounds to produce political meanings important to them. Parading in a public space with official endorsement, women in households and women of various subaltern groups all symbolically staged their legitimate position in the new political order. A patriotic parade carefully designed by the CCP was thus appropriated by women of different social backgrounds to produce political meanings important to them. Parading in a public space with official endorsement, women in households and women of various subaltern groups all symbolically staged their legitimate position in the new political order. A patriotic parade carefully designed by the CCP was thus appropriated by women of different social backgrounds to produce political meanings important to them.
แม้ว่าหัวข้อของการเดินขบวน คือ ความรักชาติและการต่อต้านจักรวรรดิ์นิยม ที่น่าสนใจคือ รายงานได้แสดงความเห็นถึงผลกระทบต่อการเสริมสร้างอำนาจของผู้หญิง “ผู้เข้าร่วมในการเดินขบวนทั้งหมด รู้สึกว่า ตอนนี้ผู้หญิงมีอำนาจและมีสถานภาพแล้ว แม้แต่ผู้ชายก็พูดว่า เดี๋ยวนี้ ผู้หญิงมีความสำคัญนะ พรรคคอมมิวนิสต์ทำได้แล้วจริงๆ พวกเขาสามารถจัดรูปองค์กรได้แม้แต่กับผู้หญิง”/ วางการยกยอพรรคไว้ข้างๆ มันก็ยังเห็นได้ชัดว่า การเดินขบวน ก็มีสำเนียงของเพศสภาพที่ทั้งหญิงและชายสังเกตเห็นได้ หาก พคจ ตั้งใจจะใช้ผู้หญิง เพื่อสาธิตว่าประชาชนสนับสนุนการเมืองของพวกเขา ผู้หญิงก็พร้อมที่จะใช้อำนาจของรัฐบาลใหม่ เพื่อข้ามพรมแดนเพศสภาพและชนชั้น การร่วมเดินขบวนในที่สาธารณะด้วยการรับรองทางการ ผู้หญิงในครัวเรือน และผู้หญิงในกลุ่มนอกกระแสต่างๆ ล้วนแสดงออกถึงตำแหน่งที่ชอบธรรมของพวกเธอในระเบียบการเมืองใหม่ การเดินขบวนแสดงความรักชาติ ซึ่งออกแบบมาอย่างดีโดย พคจ ได้ถูกผู้หญิงจากพื้นเพสังคมระดับต่างๆ ตีความ เพื่อสร้างความหมายทางการเมืองที่สำคัญต่อพวกเขาเอง
The parade had its special meaning for the SWF, too. From the beginning the SWF regarded it as a golden opportunity to mobilize women. Its plan for the March 8 celebration consciously aimed at combining the parade preparations with further organization of a representative system of women in residential areas. SWF's work did not rank high on the municipal agenda and ranked even lower at the district level. The municipal Party committee's attention and support was therefore a great opportunity not to be dismissed. Equipped with a mandate from the city authority, SWF officials were able to utilize district resources and assistance to extend its reach in neighborhoods and reportedly identified 5,792 new women activists in the process. Proceeding rapidly in the favorable political atmosphere, the SWF completed establishing the neighborhood women representative system and housewives committees in late 1951, which laid the institutional ground for the formation of women's congresses in the following year. Needless to say, women's impressive performance on March 8 enhanced the stature of the SWF in the eyes of the municipal authority as well as the public. It demonstrated that the SWF had a large constituency and had an important function in socialist state building. (21)
การเดินขบวนมีความหมายพิเศษสำหรับ สสซ ด้วย จากเริ่มต้น สสซ ถือว่า นี่เป็นโอกาสทองในการขับเคลื่อนผู้หญิง แผนสำหรับการฉลอง 8 มีนา มีปณิธานที่จะผนวกการเตรียมการเดินขบวนกับการจัดรูปองค์กรระบบตัวแทนของผู้หญิงในละแวกชาวบ้านให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น งานของ สสซ ไม่ได้อยู่ในวาระอันดับต้นๆ ของเทศบาล และในระดับอำเภอ ก็ยิ่งต่ำลงไป ดังนั้น ความสนใจและการสนับสนุนของคณะกรรมการพรรคในระดับเทศบาล จึงเป็นโอกาสใหญ่ที่จะมองข้ามไม่ได้ ด้วยคำสั่งจากผู้มีอำนาจของเมือง เจ้าหน้าที่ของ สสซ ได้ใช้ทรัพยากรและความช่วยเลือของอำเภอ เพื่อเข้าให้ถึงละแวกเพื่อนบ้าน และได้รายงานว่า มีนักกิจกรรมผู้หญิงลงทะเบียนใหม่ถึง 5,792 คนในกระบวนการนี้ สสซ ฉวยบรรยากาศการเมืองที่ดีนี้ รีบดำเนินการต่อไป จนสามารถทำการก่อตั้งระบบตัวแทนผู้หญิงและคณะกรรมการแม่บ้านในละแวกเพื่อนบ้านได้เสร็จสมบูรณ์ ในปี 2494 อันเป็นการวางพื้นฐานสถาบัน เพื่อการก่อตั้งคองเกรสของผู้หญิงในปีต่อมา ไม่จำเป็นที่จะต้องบอกว่า การแสดงที่น่าประทับใจของผู้หญิงในวันที่ 8 มีนา ได้เพิ่มเกียรติภูมิของ สสซ ในสายตาของเทศบาลและสาธารณชน มันแสดงให้เห็นว่า สสซ มีคนในอาณัติมาก และมีบทบาทสำคัญในการสร้างรัฐสังคมนิยม/
In 1952, the SWF decided to reach down further and replace chief representatives and housewives committees with a women's congress in the jurisdiction of each residents committee. Women representatives elected by women in several lanes on the same block or adjacent area (usually with about five to six thousand residents) formed a women's congress. They in turn elected a women's committee that paralleled the residents committee. By early 1953, women in Shanghai lanes and streets formed 1,684 women's congresses with 16,964 members of women's committees and about 50,000 women representatives. Since then the women's congress has remained the grassroots organization of the SWF. (22) Zhang Yun's pioneering work in creating urban women's congresses and in organizing housewives was acknowledged by her supervisors. In 1953 she was promoted to the position of Vice President of the ACWF. Significantly, in 1953 its "Resolution on the Tasks of the Women's Movement" emphasized that work on housewives was an important part of urban women-work. Also in 1953, the revised Constitution of the ACWF specified clearly that the women's congress in rural townships and urban neighborhoods was the basic organizational unit of the national organization. (23)
ในปี 2495 สสซ ได้ตัดสินใจที่จะลงไปให้ลึกกว่านั้น และได้แทนที่ประธานผู้แทนและคณะกรรมการแม่บ้าน ด้วยคองเกรสสตรีชุดหนึ่งในฝ่ายการตัดสินคดีของแต่ละคณะกรรมการชาวบ้าน เหล่าตัวแทนผู้หญิงที่ได้รับเลือกจากผู้หญิงในหลายๆ ตรอกจากบล็อกเดียวกันหรือพื้นที่ใกล้เคียง (ปกติประมาณ 5-6,000 คน) รวมตัวกัน กลายเป็นคองเกรสสตรีหนึ่ง แล้วพวกเธอก็เลือกคณะกรรมการผู้หญิงชุดหนึ่ง ซึ่งคู่ขนานไปกับคณะกรรมการชาวบ้าน ในต้นปี 2496 ผู้หญิงในตรอก ถนน ของเซี่ยงไฮ้ ได้จัดตั้ง คองเกรสสตรีถึง 1,684 คณะ มีสมาชิก 16,964 คนภายใต้คณะกรรมการสตรี และผู้แทนหญิงประมาณ 50,000 คน ตั้งแต่นั้นมา คองเกรสสตรี ได้ดำรงความเป็นองค์กรรากหญ้าของ สสซ/ งานบุกเบิกของ ฉางหยุ่น ในการสร้างคองเกรสสตรีเมือง และในการจัดรูปองค์กรแม่บ้าน ได้รับการตอบรับจากผู้บัญชาการของเธอ ในปี 2496 เธอได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นรองประธานของ สสจ ในมติของ สสจ ปี 2496 “ภารกิจในการขับเคลื่อนผู้หญิง” ได้เน้นว่า งานเรื่องแม่บ้าน เป็นส่วนสำคัญหนึ่งของงานผู้หญิงเมือง นอกจากนี้ ในปี 2496 ธรรมนูญฉบับแก้ไขของ สสจ ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า คองเกรสสตรีในชนบท และในละแวกเพื่อนบ้านเมือง เป็นหน่วยองค์กรพื้นฐานขององค์กรแห่งชาติ/
This brief introduction to the development of the SWF inevitably erases the intensity and excitement experienced by SWF cadres and involved housewives in those days. I can only give a few sketches here to convey the extraordinary style of establishing a women's congress. In order to attract housewives to the first congress meeting and to make elected representatives proud of their new identity, the work teams would advertise the agenda of the meeting, which usually included talks by the district head and leaders of the SWF and special shows by professional performers. On the day of the congress meeting, housewives in each lane were organized to send their representatives away with fanfare. "The representatives all wore silk red flowers on their chests, walking in an orderly line, entering the auditorium. Behind them, teams of gongs and drums and yangge followed into the auditorium with drum beating and dancing. Every representative had a smile of pride and pleasure on her face." (24) Inside the auditorium, colorful silk flags were hanging all over and flowers were displayed on the platform. In some districts, representatives donated over one hundred silk flags and dozens of flower vases to celebrate the convening of the women's congress. But women's enthusiastic response could, at times, dismay SWF officials. One work report criticized, "Although it was the representatives' wish to celebrate the founding of their own big family, it was still too extravagant and wasteful.... Shanghainese like to fuss in a grandiose style." (25)
บทแนะนำสังเขป ถึงพัฒนาการของ สสซ สั้นๆ นี้ ได้ตัดทอนประสพการณ์ที่เข้มข้นและน่าตื่นเต้นของสหาย สสซ และแม่บ้านที่ร่วมด้วยในตอนนั้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ฉันได้แต่เลือกยกตัวอย่าง เพื่อแสดงให้เห็นคร่าวๆถึงลีลาที่ไม่ธรรมดาในการก่อตั้งคองเกรสสตรี เพื่อดึงดูดแม่บ้านให้มาร่วมประชุมคองเกรสครั้งที่ 1 และทำให้ผู้แทนที่ได้รับเลือกมีความภาคภูมิต่ออัตลักษณ์ใหม่ของตน ทีมงานได้โฆษณาวาระการประชุม ซึ่งปกติจะมีการกล่าวสุนทรพจน์โดยนายอำเภอและผู้นำของ สสซ และการแสดงพิเศษโดยนักแสดงอาชีพ ในวันประชุมคองเกรส แม่บ้านในแต่ละตรอกจะร่วมกันจัดการส่งผู้แทนของพวกเธอออกไปอย่างมโหฬาร “ผู้แทนล้วนกลัดดอกไม้แพรสีแดงที่อก เดินแถวเข้าสู่หอประชุม ตามด้วยกองดนตรี พร้อมด้วยการเต้นรำตามจังหวะกลอง ผู้แทนทุกคนมีสีหน้ายิ้มแย้มดัวยความภาคภูมิและปิติยินดี/ ภายในหอประชุม มีธงแพรสีต่างๆแขวนเต็มไปหมด และดอกไม้ประดับบนเวที ในบางอำเภอ เหล่าผู้แทนบริจาคธงแพรกว่าร้อย และแจกันหลายโหลเพื่อร่วมฉลองงานคองเกรสสตรี แต่ความกระตือรือร้นของผู้หญิงที่ตอบสนองในตอนนั้น ก็ทำให้เจ้าหน้าที่ สสซ ท้อใจ ในรายงานชิ้นหนึ่งวิพากษ์ว่า “แม้ว่าเหล่าผู้แทนจะปรารถนาที่จะเฉลิมฉลองการก่อตั้งครอบครัวใหญ่ของพวกเขา แต่มันก็ยังสุรุ่ยสุร่ายและสิ้นเปลืองจนเกินไป...ชาวเซี่ยงไฮ้ชอบจู้จี้จุกจิกในเรื่องหรูๆ หราๆ”/
FUDAIHUI (WOMEN'S CONGRESS)--A PRECARIOUS EXISTENCE
คองเกรสสตรี--การอยู่อย่างไม่มั่นคง
The Women's Federation system, together with the nationwide Trade Union and Youth Association systems, have usually been perceived as arms of the centralized state that enjoyed institutional security in socialist China . The assumption neglects a history of precarious existence for the Women's Federation system, a history that sets it apart from the other two organizations. The story of securing its grassroots organizations--the women's congresses--epitomizes the tensions this gender-based organization aroused in the early days of state building.
ระบบสหพันธ์สตรี รวมทั้งระบบสหภาพทั่วประเทศ และระบบสมาคมเยาวชน ปกติถูกมองว่าเป็นแขนของรัฐบาลกลาง เป็นสถาบันที่มั่นคงในจีนสังคมนิยม สมมติฐานนี้ละเลยประวัติศาสตร์สภาวะร่อแร่ของระบบสหพันธ์สตรี ที่ทำให้มันแยกออกจากอีกสององค์กร เรื่องราวของการสร้างองค์กรรากหญ้า—คองเกรสสตรี—เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความตึงเครียดที่องค์กรอันมีฐานในประเด็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจหญิงชาย ได้ปลุกระดมในช่วงต้นของการสร้างรัฐ
The SWF's rapid development of grassroots organizations among housewives in 1951 generated ambivalent responses from different branches of the municipal and district governments. Anxiously exploring the ways of local governance in the big city, the municipal authority recognized the value of SWF's housewives associations; for when officials in the Public Security Bureau, the Department of Civil Administration, and the district governments were puzzling over whom to organize and how to approach residents, the Women's Federation at the level of each district had already hosted frequent meetings and workshops to train women representatives as grassroots activists in their neighborhoods. The gender-specific women's congresses with their emphasis on women's special needs were much more attractive to women than the early neighborhood organizations dominated by men. If a residents meeting was called by the male-dominated neighborhood organization, few women would attend; but if the meeting was announced jointly with the women's congress, many would. (26) Because male residents were an unstable force for neighborhood work due to their higher employment rates and because many had dubious political or social histories pre-1949 and were therefore considered untrustworthy, housewives became increasingly valued by the government both for being a stable workforce in their neighborhoods and for their political "purity." Thus, the municipal government emphasized the importance of mobilizing housewives for neighborhood work and recognized the SWF's large role in organizing housewives to fulfill the Party's "central work." (27) In fact, many women representatives of the women's congresses were elected to the newly established residents committees.
การพัฒนาองค์กรรากหญ้าในหมู่แม่บ้านอย่างรวดเร็วโดย สสซ ในปี 2494 ได้รับการตอบสนองอย่างคลางแคลงจากสาขาต่างๆ ของรัฐบาลเทศบาลและอำเภอ ในการสำรวจหาวิธีการปกครองท้องถิ่นในเมืองใหญ่ๆ ด้วยความวิตกกังวล ฝ่ายบริหารในเทศบาลยอมรับคุณค่าของสมาคมแม่บ้านของ สสซ ในขณะที่เจ้าหน้าที่ในสำนักความมั่นคงสาธารณะ ฝ่ายการบริหารจัดการพลเรือน และรัฐบาลอำเภอ ต่างงุนงงอยู่ว่าจะออกไปจัดองค์กรกับใคร และจะเข้าหาชาวบ้านอย่างไร สหพันธ์สตรีในระดับทุกอำเภอได้จัดประชุมและสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่ออบรมผู้แทนสตรีอยู่เนืองๆ ให้เป็นนักกิจกรรมรากหญ้าในละแวกเพื่อนบ้าน คองเกรสสตรีที่มีประเด็นเฉพาะเรื่องความสัมพันธ์อำนาจหญิงชาย พร้อมกับจุดเน้นที่ความจำเป็น/ต้องการพิเศษของผู้หญิง สามารถดึงดูดผู้หญิงได้มากกว่าองค์กรเพื่อนบ้านก่อนๆ ที่ครอบงำโดยผู้ชาย ผู้หญิงเพียงไม่กี่คนจะเข้าร่วมการประชุมชาวบ้าน หากองค์กรเพื่อนบ้านที่มีชายเป็นใหญ่เรียกประชุม แต่ถ้าเป็นการประชุมที่คองเกรสสตรีร่วมประกาศ ผู้หญิงจะเข้าร่วมมากขึ้น/ เพราะว่าชาวบ้านชาย เป็นกำลังที่ไม่เสถียรสำหรับงานในละแวกเพื่อนบ้าน เนื่องจากอัตราการจ้างงานชายสูงกว่า และเพราะว่า หลายคนมีประวัติการเมืองและสังคมที่น่าสงสัยก่อนปี 2492 พวกเขาจึงถูกมองว่าไม่น่าเชื่อถือ ดังนั้น รัฐบาลจึงให้ค่าแก่แม่บ้านว่าเป็นแรงงานที่เสถียรในละแวกเพื่อนบ้าน และค่อนข้าง “บริสุทธิ์” ทางการเมือง รัฐบาลเทศบาลเน้นที่ความสำคัญของการขับเคลื่อนแม่บ้านสำหรับงานในละแวกเพื่อนบ้าน และยอมรับบทบาทใหญ่ของ สสซ ในการจัดรูปองค์กรแม่บ้าน เพื่อให้บรรลุ “งานส่วนกลาง” ของพรรค/ อันที่จริง ผู้แทนหญิงหลายคนของคองเกรสสตรี ได้รับเลือกสู่คณะกรรมการชาวบ้านที่ถูกตั้งขึ้นใหม่
Neighborhood work, a new term associated with the CCP's urban reorganization, encompassed all dimensions of urban management. Various orders and demands by different government branches were passed down through street offices to reach residents committees within their jurisdictions. A 1953 government report described the tasks of a street office in these words. Its major work is the campaign. After the campaign concludes, there is still much work to finish. Besides that, the civil administration section requests it to work on relief and help families of military personnel and martyrs. The health section asks it to work on street sanitation, public hygiene, and immunization. The culture and education section asks it to run literacy classes and investigate the situation of school-age children. The district People's Court asks it to work on accumulated cases. The district Political Consultative Committee asks it to send out meeting notices and to report on how well representatives to the People's Congress connected with residents. (28) The long list of tasks for residents committees also included collecting property and land taxes, rent, and scrap bronze; helping to sell insurance, local products, movie tickets, and patriotic bonds; fixing hazardous houses, dredging sewers, and repairing street lamps and wires. In short, neighborhood work covered everything in urban life except the production of commodities. Within the boundary of the miniature city--the neighborhoods--tens of thousands of housewives stepped out of their domesticity and broke gendered boundaries by engaging in all sorts of work in civil administration and public security. Many parts of the city saw an increasing physical presence of women who were "running" neighborhoods as, literally, "domesticated" social space--spaces that a few years earlier had been associated with gangland violence. Moreover, these highly efficient local managers worked without pay. In other words, identifying house-wives for neighborhood work, the CCP found the most economical and effective way to address myriad pressing issues early in its experience with urban governance.
งานในละแวกเพื่อนบ้าน เป็นคำใหม่ที่เกี่ยวพันกับการจัดโครงสร้างเมืองใหม่ของ พคจ ที่รวมทุกมิติของการบริหารจัดการเมือง คำสั่งและความต้องการต่างๆ จากสาขาต่างๆ ของรัฐบาล ได้ถูกส่งผ่านสำนักงานถนนสู่คณะกรรมการชาวบ้านตามขอบเขตอาณัติของพวกเขา รายงานรัฐบาล 2496 ฉบับหนึ่ง บรรยายถึงงานของสำนักงานถนนดังนี้ งานหลักคือการรณรงค์ หลังจากจบการรณรงค์ ก็ยังมีงานอีกมากมายที่ต้องทำให้เสร็จ นอกจากนั้น ฝ่ายการบริหารจัดการพลเรือนขอให้สำนักงานถนนทำงานบรรเทาทุกข์และช่วยเหลือครอบครัวของทหารและผู้เสียชีวิต ฝ่ายสาธารณสุขขอให้สำนักงานถนนทำงานเรื่องอนามัยบนท้องถนน สุขลักษณะสาธารณะ และการสร้างภูมิคุ้มกัน ฝ่ายวัฒนธรรมและการศึกษาขอให้เปิดสอนการอ่านเขียน และตรวจสอบสถานการณ์เด็กในวัยเรียน ศาลประชาชนของอำเภอ ขอให้ทำงานด้านเก็บสะสมคดีต่างๆ คณะกรรมการที่ปรึกษาทางการเมืองของอำเภอขอให้ส่งใบแจ้งการประชุม และให้รายงานว่า ผู้แทนของคองเกรสประชาชน ได้เชื่อมต่อกับชาวบ้านดีแค่ไหน/ รายการหางว่าวสำหรับคณะกรรมการชาวบ้าน ยังรวมถึงการเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์และที่ดิน ค่าเช่า และเศษทองเหลือง ให้ช่วยขายประกัน ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ตั๋วดูหนัง และพันธบัตร ให้ซ่อมแซมบ้านที่เสี่ยงอันตราย ลอกท่อน้ำเสีย และซ่อมไฟถนนและสายไฟ พูดสั้นๆ งานในละแวกเพื่อนบ้าน ครอบคลุมทุกอย่างในชีวิตเมือง ยกเว้นการผลิตสินค้า ภายในขอบเขตของเมืองเล็กๆ—ละแวกเพื่อนบ้าน—แม่บ้านนับหมื่นก้าวออกมาจากเหย้า และแหกคอกความสัมพันธ์อำนาจหญิงชาย ด้วยการเข้าร่วมในงานทุกชนิดของการจัดการบริหารพลเรือน และความมั่นคงสาธารณะ ในหลายๆ ส่วนของเมือง ได้เห็นผู้หญิงปรากฏกายมากขึ้นในการ “จัดการ” ละแวกเพื่อนบ้าน ประหนึ่ง “จัดการเหย้าเรือน” ในพื้นที่สังคม—พื้นที่ ๆ ในไม่กี่ปีก่อนได้ถูกกล่างวขานว่าเป็นแดนอันธพาลรุนแรง ยิ่งกว่านั้น เหล่าผู้จัดการท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพสูง ล้วนทำงานโดยปราศจากค่าจ้าง กล่าวได้ว่า การระบุให้แม่บ้านทำงานละแวกเพื่อนบ้าน พคจ ได้พบหนทางที่คุ้มค่าและมีประสิทธิผลที่สุด ในการแก้ไขปัญหากระชั้นชิดมากมายก่ายกอง ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นในประสพการณ์ของการปกครองเมือง
Nonetheless, although the SWF's role in mobilizing housewives for neighborhood work was valued by the government initially, its emphasis on women-work soon encountered problems. Facing the emergence of residents committees, the SWF's strategy in 1951 had been to place their officials in leading bodies at district and street levels doing neighborhood work and to select women representatives to work in residents committees. However, the SWF organized housewives not simply to fulfill the party's "central work." An important component of women-work was to address women's special needs, such as women's health and childcare, and to provide literacy classes and vocational training as a means toward women's liberation. Women's congresses were the vehicle for such women-work. But to the dismay of many an enthusiastic SWF official, they soon found that male officials in street offices and district governments were reluctant to deal with demands raised by SWF officials on issues relating to women's welfare. Although the SWF emphasized that its women's congresses were parallel organizations to the residents committees and should in no way be subordinated to or controlled by the latter, the residents committees swiftly became more powerful with their direct ties to district and municipal governments and public security bureaus. The SWF officials found the territory they first entered now being claimed by someone else. (29) Wu Cuichan, who was the director of a district Women's Federation in the 1950s, recalls, "When I was in the district, I worked with pilot sites in neighborhoods. I helped neighborhood Party secretaries and residents committees with their work. Thus people in the street office would welcome you. I could not singularly work on the women's congress. If I only stressed the work of the women's congress, people would see me as a nuisance.... In our contact with the street offices, to use an unpleasant term, we had to act obsequiously. They had power but we didn't." (30)
แม้ว่า รัฐบาลจะให้คุณค่าต่อบทบาทของ สสซ ในการขับเคลื่อนแม่บ้านสำหรับงานละแวกบ้านในระยะเริ่มต้น แต่ในไม่ช้า การเน้นที่งานผู้หญิงของ สสซ ก็ประสบปัญหา นั่นคือ การเกิดขึ้นของคณะกรรมการชาวบ้าน ยุทธวิธีของ สสซ ในปี 2494 แต่แรก คือ วางเจ้าหน้าที่ของตนในกลไกนำที่ระดับอำเภอและถนน เพื่อทำงานละแวกบ้าน และเพื่อเลือกตัวแทนผู้หญิงเข้าไปทำงานในคณะกรรมการชาวบ้าน แต่ สสซ จัดองค์กรแม่บ้าน ไม่ใช่เพืยงเพื่อบรรลุ “งานส่วนกลาง” ของพรรค องค์ประกอบหลักที่สำคัญของงานผู้หญิง คือ นำเสนอและแก้ไขเรื่องที่เกี่ยวกับความจำเป็นของผู้หญิง เช่น สุขภาพของผู้หญิงและการเลี้ยงดูเด็ก และเพื่อเปิดสอนหนังสือและการฝึกวิชาอาชีวะ อันเป็นหนทางเพื่อการปลดแอกของผู้หญิง คองเกรสสตรี เป็นพาหนะของงานผู้หญิงดังกล่าว แต่เจ้าหน้าที่ สสซ ที่มีความกระตือรือร้น ก็ต้องท้อแท้ใจ ไม่นาน พวกเขาพบว่า เจ้าหน้าที่ชายในสำนักงานถนนและรัฐบาลอำเภอ ต่างไม่เต็มใจที่จะยุ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของเจ้าหน้าที่ สสซ ในประเด็นที่เกี่ยวกับสวัสดิภาพของผู้หญิง แม้ว่า สสซ จะเน้นว่า คองเกรสสตรี เป็นองค์กรคู่ขนานกับคณะกรรมการชาวบ้าน ไม่ใช่อยู่ใต้หรือถูกควบคุม แต่คณะกรรมการชาวบ้าน ก็กลายเป็นมีอำนาจขึ้นอย่างรวดเร็วกว่า ด้วยมีสายตรงต่อกับรัฐบาลอำเภอและเทศบาล และสำนักงานความมั่นคงสาธารณะ เจ้าหน้าที่ สสซ พบว่า ปริมณฑลที่พวกเขาเข้ามาก่อน บัดนี้ได้ถูกคนอื่นครองไปเสียแล้ว/ หวู ซุ่ยชาน ผู้อำนวยการสหพันธ์สตรีอำเภอแห่งหนึ่งในทศวรรษ 2490 หวลระลึก “ตอนที่ฉันอยู่ที่อำเภอ ฉันได้ทำงานกับพื้นที่นำร่องในละแวกบ้าน ฉันได้ช่วยงานของเลขานุการพรรคในละแวก และคณะกรรมการชาวบ้าน ดังนั้น คนในสำนักงานถนนจะต้อนรับฉัน ฉันไม่สามารถทำงานอย่างเดียวในเรื่องคองเกรสผู้หญิง หากฉันเพียงแต่เน้นแค่งานของคองเกรสสตรี คนจะมองฉันว่าเป็นตัวยุ่ง น่ารำคาญ... ในการติดต่อกับสำนักงานถนน ขอใช้คำไม่น่าฟัง พวกเราต้องทำตัวเหมือนช่างประจบสอพลอ พวกเขามีอำนาจ แต่พวกเราไม่มี”/
Department of Civil Administration (DCA) investigative reports described the women's congress and the residents committee as competitors who "vie for cadres, for the masses, and for work. If this one holds a meeting, the other will hold a meeting, too.... Even when both have worked on a task, they fight over who would give a talk on the work. Each regards itself as the one who accomplished the most." (31) How to address the messiness in neighborhood work became high on the DCA's agenda. Apparently, women in the women's congress did not see themselves or their organization as secondary to the residents committee. Moreover, this competition at the local level was paralleled at the municipal level; although the SWF never considered its role secondary to the DCA, SWF officials were keenly aware of unequal relations at play in their daily work. Now, not because women's congresses were emphasizing women's special interests, but rather because they refused to play a subordinate role in carrying out "central work" in neighborhoods, they also became a nuisance to the DCA.
ในรายงานเชิงสอบสวนของ ฝ่ายการบริหารจัดการพลเรือน (กบพ) บรรยายถึงคองเกรสสตรีและ คกก ชาวบ้าน ว่าเป็นคู่แข่งผู้ “แย่งชิงสหาย มวลชน และงาน ถ้าฝ่ายหนึ่งจัดประชุม อีกฝ่ายก็จะเรียกประชุมด้วย...แม้ว่าทั้งสองทำงานเรื่องเดียวกัน พวกเขาสู้กันว่าใครจะเป็นคนพูดเกี่ยวกับงาน แต่ละฝ่ายถือว่าตัวเองเป็นผู้ทำผลงานมากที่สุด”/ การหาทางแก้ไขความยุ่งเหยิงในงานเพื่อนบ้าน ได้กลายเป็นวาระต้นๆ ของ กบพ เห็นได้ชัดว่า คองเกรสสตรี ไม่เห็นว่าตนเองหรือองค์กรของตนเป็นสองรอง คกก ชาวบ้าน ยิ่งกว่านั้น การแข่งดีกันในระดับท้องถิ่นเกิดขึ้นคู่กับในระดับเทศบาล แม้ว่า สสซ ไม่เคยถือว่าบทบาทของตน เป็นรองของ กบพ เจ้าหน้าที่ของ สสซ ล้วนตระหนักถึงความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันในการทำงานประจำวัน ตอนนี้ ไม่ใช่เพราะคองเกรสสตรีเน้นผลประโยชน์พิเศษของผู้หญิง แต่เป็นเพราะพวกเธอปฏิเสธที่จะเล่นบทรองในการดำเนินการ “งานส่วนกลาง” ในละแวกเพื่อนบ้าน และพวกเธอก็ได้กลายเป็นตัวยุ่งสำหรับ กบพ
Wu's memory of a SWF official being seen as a nuisance by male officials is well substantiated by many documents in the SWF archives. On September 13, 1951, the director of the SWF, Zhang Yun, wrote a letter to the municipal Party committee, revealing that there was already strong sentiment against the SWF's work. The letter was to report on the consequences of a talk by the municipal leader Liu Xiao, with an apparently critical tone. Liu Xiao in his talk suggested that the Housewives Association should concentrate on resident work in the neighborhood. We all think this is a glorious task. But because he did not make clear the relationship between work with housewives and other work, some party secretaries and directors of districts told district Women's Federation cadres, "From now on you should not agitate for autonomy [nao dulixing]. Comrade Liu Xiao said clearly that you should concentrate on neighborhood work." Such opinion reflects that some cadres have inadequate understanding of why we need women-work, why women should have their own independent organizational system, and why we should show concern for women's special issues, and so on. (12) More than male officials' resentment toward women-work, what was at stake here was that male officials were denying the necessity of a women's organization. Significantly, in less than two weeks the municipal committee sent back a conciliatory reply to Zhang Yun's letter. Although it largely missed the point of her protest against male officials' hostility toward the SWF, it did instruct district committee members that if they misunderstood Liu Xiao's talk and disturbed the SWF's work, the municipal committee should be informed so as to check and correct such behavior. (33) This exchange is remarkably revealing of the relaxed political atmosphere within the Party in the early days of the People's Republic of China (PRC). The daring criticism by women cadres would soon disappear when political campaigns intensified. In 1958, Wu Cuichan was demoted for her "rightist tendency" simply because she had complained that the district party committee had not paid enough attention to the SWF's work.
ความทรงจำของหวู ต่อเจ้าหน้าที่ สสซ คนหนึ่งที่ถูกเจ้าหน้าที่ชายคนหนึ่งมองว่าเป็นตัวยุ่งนั้น ได้ถูกบันทึกในเอกสารหลายฉบับในห้องเก็บเอกสารของ สสซ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2494 ผู้อำนวยการของ สสซ ฉางหยุ่น ได้เขียนจดหมายถึง คกก พรรคในเทศบาล ในจดหมายเผยว่า มีทัศนคติต่อต้านงานของ สสซ อย่างแรงอยู่แล้ว จดหมายฉบับนี้เป็นการรายงานผลลัพธ์ของการกล่าวปาฐกถาโดยผู้นำเทศบาล หลิวเสี่ยว ซึ่งเขียนด้วยน้ำเสียงต่อว่าอย่างเห็นได้ชัด หลิวเสี่ยวได้แนะว่า สมาคมแม่บ้านควรจะมุ่งอยู่ที่งานชาวบ้านในละแวกเพื่อนบ้าน พวกเราทั้งหมดคิดว่า นี่เป็นงานที่เจริญรุ่งเรือง แต่เพราะว่า เขาไม่ได้พูดให้ชัดถึงความสัมพันธ์ระหว่างงานกับแม่บ้าน กับงานอื่นๆ เลขาพรรค และผอ.อำเภอบางคน ได้บอกสหายของสหพันธ์สตรีอำเภอว่า “ตั้งแต่นี้ต่อไป พวกคุณไม่ควรไปปลุกปั่นเรียกร้องความเป็นเอกเทศ สหายหลิวเสี่ยวพูดชัดเจนแล้วว่า พวกคุณควรมุ่งที่งานในละแวกเพื่อนบ้าน” ความเห็นเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นว่า สหายบางคนมีความเข้าใจไม่เพียงพอว่า ทำไมเราจึงจำเป็นต้องมีงานผู้หญิง ทำไมผู้หญิงควรมีระบบองค์กรที่เป็นอิสระของตนเอง และทำไม พวกเราควรแสดงความห่วงใยต่อประเด็นพิเศษสำหรับผู้หญิง ฯลฯ/ เหนือกว่าความไม่พอใจของเจ้าหน้าที่ชายต่องานผู้หญิง ประเด็นสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่ชายกำลังปฏิเสธความจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรของผู้หญิง ที่สำคัญ ภายใน 2 สัปดาห์ คกก เทศบาล ได้ตอบจดหมายอย่างเป็นมิตรต่อจดหมายของ ฉางหยุ่น แม้ว่าจดหมายนั้นจะไม่ได้พูดถึงการประท้วงของเธอเรื่องความมาดร้ายที่เจ้าหน้าที่ชายแสดงออกต่อ สสซ ก็ได้สั่งสมาชิก คกก อำเภอว่า หากพวกเขาเข้าใจผิดในสิ่งที่ หลิวเสี่ยวพูด และได้ขัดขวางงานของ สสซ ก็ขอให้ คกก เทศบาลได้รับทราบ เพื่อจะได้ตรวจเช็คและแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวให้ถูกต้อง/ การโต้ตอบนี้เผยถึงบรรยากาศทางการเมืองที่ค่อนข้างผ่อนคลายภายในพรรคในช่วงต้นของสาธารณรัฐประชาชนจีน คำวิพากษ์วิจารณ์ที่หาญกล้าของสหายหญิงในไม่ช้าก็สูญหายไป เมื่อการรณรงค์ทางการเมืองเริ่มเข้มข้นขึ้น ในปี 2501 หวู ซุ่ยชาน ถูกลดระดับเพราะแนวโน้มไปทางขวาของเธอ เพียงเพราะเธอได้ร้องทุกข์ว่า คกกพรรคของอำเภอ ไม่ได้ให้ความสนใจต่องานของ สสซ
The opportunity for the DCA to restrain the women's congresses came in 1953 when the municipal government began a campaign to "rectify residents committees." The campaign was to purge impure elements from residents committees as well as fugitives from the campaign to suppress counterrevolutionaries who were taking refuge in residential areas. The DCA used the campaign to resolve the problematic relationship between residents committees and the women's congresses. It called for "a unifying leadership" in neighborhood work and created regulations that defined women's congresses as integral but subordinate to residents committees. The chair of a women's congress should be the deputy director of a residents committee in order to coordinate work between the two organizations; but the women's congress was no longer allowed to conduct any concrete work on its own initiative beyond conveying women's demands to the residents committee and carrying out tasks assigned by the residents committee. The municipal government formalized the DCA's regulation in an official document, "Tentative Regulations on the Organization of the Women's Congress in Shanghai Neighborhoods." (34)
โอกาสสำหรับ กบพ ในการยับยั้งคองเกรสสตรี มีขึ้นในปี 2496 เมื่อรัฐบาลเทศบาลเริ่มรณรงค์เพื่อ “ดัดนิสัย คกก ชาวบ้าน” การรณรงค์ต้องการขจัดมลทินใน คกก ชาวบ้าน รวมทั้งผู้หลบหลีกจากการรณรงค์ เพื่อปราบปรามพวกที่ต้องการต่อต้านการปฏิวัติ ซึ่งหลบซ่อนอยู่ในชุมชน กบพ ใช้การรณรงค์แก้ไขความสัมพันธ์ที่เป็นปัญหาระหว่าง คกก ชาวบ้าน และคองเกรสสตรี ด้วยการเรียกร้องให้มี “ความสามัคคีในภาวะผู้นำ” ในงานละแวกเพื่อนบ้าน และสร้างกฎเกณฑ์ที่นิยามให้คองเกรสสตรี เป็นส่วนหนึ่งแต่เป็นรองจาก คกก ชาวบ้าน ประธานของคองเกรสสตรี ควรเป็นรอง ผอ. ของ คกก ชาวบ้าน เพื่อประสานงานระหว่างทั้งสององค์กร แต่คองเกรสสตรีไม่ได้รับอนุญาตให้ริเริ่มทำงานที่เป็นรูปธรรมใดๆ ด้วยตัวเอง จะทำได้เพียงแค่แจ้งข้อเรียกร้องต่อ คกก ชาวบ้าน และดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจาก คกก ชาวบ้าน รัฐบาลเทศบาลได้บรรจุ กฎเกณฑ์ของ กบพ ลงในเอกสารทางการ “กฎเกณฑ์ว่าด้วยองค์กรคองเกรสสตรีในละแวกบ้านของเซี่ยงไฮ้”/
It is not clear if the SWF top leadership tried to resist this redefinition of the women's congress and its relationship to the residents committee. What is revealed in the SWF's work reports is that the major setback was taken hard by many of its officials. A dispirited sense of inferiority seemed to suddenly emerge, which led to the SWF leaders' repeated criticism of officials' complaints that women-work was not valued and was inferior to other work or was meaningless. Addressing women officials' "inferiority complex" (zibei sixiang) appeared high on the SWF's agenda. Special meetings were held to help women officials understand the "seriousness and peril in such thinking." (35)
ไม่ปรากฏชัดว่า ผู้นำระดับสูงของ สสซ ได้พยายามต่อต้านการนิยามใหม่ถึงคองเกรสสตรีและความสัมพันธ์กับคกก ชาวบ้าน สิ่งที่ปรากฏในรายงานเกี่ยวกับงานของ สสซ คือ เจ้าหน้าที่หลายคนมีปฏิกริยาอย่างแรงต่อการถดถอยครั้งสำคัญนี้ ความรู้สึกต่ำต้อยและหมดกำลังใจได้ผุดขึ้นทันที ซึ่งทำให้ผู้นำ สสซ วิจารณ์ซ้ำๆ ในคำร้องทุกข์ของเจ้าหน้าที่ว่า งานผู้หญิงไม่ได้ถูกมองว่ามีคุณค่า และต่ำต้อยกว่างานอื่นๆ หรือไม่มีความหมาย การแก้ไขปัญหา “ปมด้อย” ในหมู่เจ้าหน้าที่หญิง กลายเป็นวาระต้นๆ ของ สสซ มีการประชุมนัดพิเศษเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่หญิงให้เข้าใจ “อันตรายของความคิดเช่นนี้”/
The rising sense of inferiority was not only an expression of women officials' negative experience in seeing the women's congresses role curtailed; it was also generated by the confusion over the nature of women-work and the crisis over the SWF's identity following its defeat by the DCA. The SWF was formed for the double purpose of mobilizing women to carry out the party's "central work" and protecting women's interests. In the first few years of the SWF, the part of women-work that served women's interests included literacy education, vocational training, formation of small-scale cooperatives, finding employment opportunities for poor women and women with skills, providing information on women's health and infant care, publicizing the new Marriage Law, mediating domestic disputes that jeopardized women's interests, and so on. By the end of 1952, 40,000 women entered gainful employment through recommendations by the SWF. By mid-1956, 69,000 women in neighborhoods had become literate and 360,000 were in literacy classes. Although the SWF's accomplishments in this aspect of women-work were impressive, its major efforts were in support of the Party's central work. Large-scale mobilization of women called for patriotic donations for the Korean war (evidently housewives' donations financed eleven fighter jets), reporting on counterrevolutionaries hiding in neighborhoods, participation in the five-antis campaign (by admonishing their husbands to be law-abiding), (36) support for the state-planned economy by not rushing on commodities controlled by the government, purchasing government bonds, and participation in the general election for the People's Congress. In order to obtain housewives' support for these "central" tasks, a major part of local SWF officials' routine work was to raise women's political consciousness. Newspaper reading groups, study workshops, and activist training sessions were regular activities organized down to the neighborhood level via the women's congresses.
ความรู้สึกต่ำต้อยที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่เป็นเพียงการแสดงออกของเจ้าหน้าที่หญิงที่มีประสพการณ์เชิงลบ ที่ได้เห็นความถดถอยในบทบาทของคองเกรสสตรี มันยังเกิดจากความสับสนอันมาจากธรรมชาติของงานผู้ญิงและวิกฤตในอัตลักษณ์ของ สสซ หลังจากพ่ายแพ้ต่อ กบพ สสซ เกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์สองด้าน ของการขับเคลื่อนผู้หญิงเพื่อดำเนินการ “งานส่วนกลาง” ของพรรค และป้องกันผลประโยชน์ของผู้หญิง ในช่วง 2-3 ปีแรกของ สสซ ส่วนของงานผู้หญิง ที่ให้บริการต่อความสนใจของผู้หญิง รวมถึงการศึกษา (อ่านออกเขียนได้) การฝึกอบรมอาชีวะทักษะ การจัดตั้งสหกรณ์ขนาดเล็ก การสร้างโอกาสจ้างงานแก่หญิงยากจน และหญิงที่มีทักษะ การให้ข้อมูลด้านสุขภาพของผู้หญิงและการดูแลทารก การประชาสัมพันธ์กฎหมายใหม่ว่าด้วยการสมรส การไกล่เกลี่ยความขัดแย้งในครัวเรือนที่เป็นภัยต่อผลประโยชน์ของผู้หญิง ฯลฯ ในปลาย 2495 ผู้หญิง 40,000 คนได้เข้าสู่การจ้างงานด้วยคำแนะนำจาก สสซ ในกลางปี 2499 ผู้หญิง 69,000 คนในละแวกบ้าน สามารถอ่านออกเขียนได้และ 360,000 คนได้เข้าเรียนในชั้นเรียนดังกล่าว แม้ว่าความสำเร็จของ สสซ ในด้านงานผู้หญิง จะน่าประทับใจ งานหลักคือ สนับสนุนงานส่วนกลางของพรรค การขับเคลื่อนผู้หญิงขนาดใหญ่ ได้เรียกร้องให้มีการบริจาคด้วยความรักชาติ เพื่อสงครามเกาหลี (ตามหลักฐาน เงินบริจาคจากแม่บ้าน ได้ใช้จ่ายสำหรับเครื่องบินเจ๊ตขับไล่ 11 ลำ) การรายงานพวกคิดต่อต้านการปฏิวัติที่หลบซ่อนในละแวกบ้าน การมีส่วนร่วมใน 5 การรณรงค์ต่อต้าน (การเตือนให้สามีของพวกเธอยึดมั่นในกฎหมาย)/ สนับสนุนระบบเศรษฐกิจที่รัฐวางแผนไว้ ด้วยการไม่กระโดดไปซื้อสินค้าที่รัฐบาลควบคุม ซื้อพันธบัตรของรัฐบาล และเข้าร่วมในการเลือกตั้งคองเกรสประชาชน เพื่อทำให้แม่บ้านสนับสนุนงาน “ส่วนกลาง” เหล่านี้ งานประจำส่วนใหญ่ของ สสซ คือ ปลุกระดมจิตสำนึกทางการเมืองของผู้หญิง กลุ่มอ่านหนังสือพิมพ์ กลุ่มศึกษา การอบรมนักกิจกรรม ล้วนเป็นกิจกรรมปกติที่จัดขึ้นในระดับเพื่อนบ้านโดยช่องทางของคองเกรสสตรี
This lopsided work pattern, a result of the SWF's following Party directives, was not unquestioned by women officials. In the biannual summary report on the SWF's work in the second half of 1953, the section reviewing its weakness contains a revealing paragraph. Because we have not done a good job on improving our cadres' work, the Women's Federation cadres sometimes do not have adequate understanding of the important significance of raising women's political consciousness and improving their organizational level through campaigns. They often express doubts, such as, "It is correct to mobilize women to participate in the central political campaigns called by the Party. But what have women gained through these campaigns? What have they given to women? What can we say about our special work for women?" After discussions on the second National Women's Congress, and after repeatedly reviewing our work for the general election campaign, cadres generally have improved their understanding in this respect. Still we must educate them again and again. (37) These forceful critical questions by women officials contrast sharply with the vague generalization of "improved understanding." Instead of presenting a routine self-criticism to its superior--the municipal Party committee--the paragraph could be read as the SWF's top leaders' euphemistic way of conveying women officials' critical voices to the Party authority. At the same time, the passage confirms that it was a common strategy for SWF leadership to use the Party's campaigns to consolidate its organizational building.
แบบแผนงานที่ไม่สมมาตร อันเป็นผลจากการที่ สสซ เดินตามพรรค ใช่ว่าจะไม่ถูกเจ้าหน้าที่หญิงตั้งคำถาม ในสรุปรายงานรอบสองปีว่าด้วยงานของ สสซ ในครึ่งหลังของปี 2496 ในบททบทวนความอ่อนแอของตนเอง มีย่อหน้าหนึ่งที่เผยชัด เพราะว่าพวกเราไม่ได้ทำได้ดีพอในการปรับปรุงงานของสหายของเรา สหายสหพันธ์สตรี บางครั้งไม่มีความเข้าใจดีพอถึงความสำคัญอย่างมีนัยสำคัญในการปลุกจิตสำนึกทางการเมืองของผู้หญิง และปรับปรุงในระดับองค์กรของพวกเธอด้วยการรณรงค์ พวกเธอแสดงออกถึงความไม่แน่ใจบ่อยๆ เช่น “มันเป็นการถูกต้องที่จะขับเคลื่อนผู้หญิงให้เข้าร่วมในการรณรงค์ทางการเมืองของส่วนกลาง ที่พรรคเรียกขาน แต่ผู้หญิงได้อะไรจากการรณรงค์เหล่านี้? พวกเขาได้ให้อะไรแก่ผู้หญิงมั่ง? เรามีอะไรจะพูดเกี่ยวกับงานพิเศษของพวกเราสำหรับผู้หญิง?” หลังจากการอภิปรายในการประชุมคองเกรสสตรีแห่งชาติครั้งที่ 2 และหลังจากการทบทวนซ้ำๆ ถึงงานของพวกเราสำหรับการรณรงค์การเลือกตั้งทั่วไป สหายได้มีความเข้าใจที่ดีขึ้น ถึงกระนั้น เราก็ต้องให้การศึกษาพวกเธออีกหลายครั้ง/ คำถามเชิงวิจารณ์อย่างแรงเหล่านี้โดยเจ้าหน้าที่ผู้หญิง แตกต่างอย่างชัดเจนกับการกล่าวรวมๆ อย่างคลุมเครือว่า “ความเข้าใจที่ดีขึ้น” แทนที่จะนำเสนอการวิจารณ์ตัวเองตามปกติต่อ--คกก พรรคของเทศบาล—ที่อยู่เหนือกว่า ย่อหน้านี้คงจะถูกอ่านว่าเป็นวิธีการของผู้นำระดับสูงของ สสซ ในการใช้ภาษาสละสลวยสื่อเสียงวิจารณ์ของเจ้าหน้าที่หญิงต่อผู้มีอำนาจของพรรค ในขณะเดียวกัน ข้อความนี้ ยืนยันว่า นี่เป็นยุทธวิธีของผู้นำ สสซ ในการใช้การรณรงค์ของพรรคเพื่อผนึกกระบวนการสร้างองค์กรของ สสซ
If the SWF top leaders had misgivings about mobilizing women for the Party's central work because it overshadowed the work for women, they had more to worry about after the DCA placed the women's congresses under the residents committees. Inside and outside the SWF, questions emerged about the necessity of the women's congresses because they performed the same tasks as the residents committees; some even suggested that the women's congresses should be incorporated into the residents committees. The SWF's emphasis on the Party's central work, therefore, turned out to prove the redundancy of the gender-based women's congresses. Seeing the legitimacy of its grassroots organizations challenged, the SWF leaders took pains to present a coherent and legitimate identity of the women's organizations while attempting to justify its concession to the residents committees. In many talks given to local women officials, the SWF leaders made great efforts to explain the necessity of having a women's organization at the grassroots level. The primary reason was what later became a familiar story to people in the PRC: that women had been the most oppressed group in the old feudal society; that even though women's lives changed rapidly in the new society, feudal remnants still remained; and that a women's organization was needed to educate women to fight against feudalistic thinking and to protect women's rights in their struggle against feudalism.
หากผู้นำระดับสูงของ สสซ มีความแคลงใจเกี่ยวกับการขับเคลื่อนผู้หญิงสำหรับงานส่วนกลางของพรรค เพราะมันได้บดบังงานสำหรับผู้หญิง พวกเธอก็น่าจะกังวลมากกว่านี้ หลังจากที่ กบพ ได้จัดให้คองเกรสสตรีให้อยู่ใต้ คกก ชาวบ้าน ทั้งภายนอกและภายใน สสซ ตั้งคำถามว่า จำเป็นต้องมีคองเกรสสตรีไหม เพราะทำงานอย่างเดียวกันกับ คกก ชาวบ้าน บางคนยังได้แนะนำให้ผนวกคองเกรสสตรีให้เป็นส่วนหนึ่งของ คกก ชาวบ้าน ด้วยเหตุนี้ การที่ สสซ เน้นงานส่วนกลางของพรรคกลายเป็นการพิสูจน์ว่า คองเกรสสตรีที่ตั้งอยู่บนฐานความสัมพันธ์อำนาจหญิงชาย เป็นเรื่องซ้ำซ้อน เมื่อเห็นว่า ความชอบธรรมขององค์กรรากหญ้าของตนถูกท้าทาย ผู้นำ สสซ พยายามอย่างยิ่งในการนำเสนออัตลักษณ์ที่สอดคล้องและชอบธรรมขององค์กรสตรี ในขณะที่พยายามสร้างความชอบธรรมในการยินยอมต่อ คกก ชาวบ้าน ในการแสดงปาฐกถาต่อเจ้าหน้าที่หญิงท้องถิ่น ผู้นำ สสซ ได้พยายามอย่างยิ่งยวดในการอธิบายถึงความจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรผู้หญิงในระดับรากหญ้า เหตุผลประการแรกคือสิ่งที่กลายเป็นเรื่องที่ประชาชนคุ้นเคยในจีน ว่าผู้หญิงเป็นกลุ่มที่ถูกกดขี่มากที่สุดในสังคมศักดินาเก่า ว่าแม้ชีวิตผู้หญิงจะได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสังคมใหม่ เศษศักดินาก็ยังหลงเหลืออยู่ และว่าจำเป็นต้องมีองค์กรผู้หญิงเพื่อให้การศึกษาแก่ผู้หญิง ให้ต่อสู้ต้านความคิดศักดินาเหล่านั้น และเพื่อป้องกันสิทธิสตรีในการดิ้นรนต่อสู้กับศักดินา
The explanation of the relationship between women's oppression and the need for women's organizations often sounded negative in its depiction of women. One talk went on at length to describe how women's long-term deprivation of any rights resulted in "their narrow-mindedness, conservative stance, dependency, lack of courage to struggle independently, lack of desire for advancement, lack of common sense, slowness in comprehending new phenomena, and lack of concern for things around them." A women's organization was needed to educate them and raise their consciousness so that they would be able to become a crucial social force in the construction of socialism. (38) As the deputy secretary of the SWF Guan Jian insisted, "The residents committee is mainly to address residents' welfare issues, whereas the women's congress is a political organization that constantly fights against feudal ideology. It seeks women's thorough liberation along with the implementation of the Party's general line. This task is not what the residents committee can fulfill." (39) As one SWF official explained, "In the past there were two systems of organizations in neighborhoods. Although they seemed to be two organizations, they had the same functions. Our women's organization did not have our own routine work. Moreover, in the central campaigns women cadres just played the role of a residents committee's cadre, without thinking from women's perspective."
คำอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกดขี่ผู้หญิง และความจำเป็นสำหรับองค์กรผู้หญิง มักจะฟังดูเป็นลบ ในการพรรณาถึงผู้หญิง ในการปาฐกถาครั้งหนึ่ง ได้สาธยายยืดยาวถึงความยาวนานที่ผู้หญิงถูกลิดรอนสิทธิ์ต่างๆ ซึ่งยังผลเป็น “ความใจแคบ อนุรักษ์นิยม พึ่งพิงคนอื่น ขาดความกล้าที่จะต่อสู้อย่างอิสระ ไร้ความปรารถนาที่จะก้าวหน้า ไร้สามัญสำนึก เชื่องช้าในการเข้าใจปรากฏการณ์ใหม่ๆ และไร้ความกังวลห่วงใยต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวพวกเธอเอง” จำเป็นที่จะต้องมีองค์กรผู้หญิง เพื่อให้การศึกษาแก่พวกเธอ เพื่อปลุกจิตสำนึกให้พวกเธอสามารถกลายเป็นพลังสำคัญของสังคมในการสร้างสังคมนิยม/ ดังที่รองเลขานุการของ สสซ กวนเจียน ย้ำว่า “คณะกรรมการชาวบ้าน จะนำเสนอประเด็นสวัสดิการของชาวบ้านเป็นหลัก ในขณะที่คองเกรสสตรี เป็นองค์กรการเมืองที่ต่อสู้กับอุดมการณ์ศักดินาตลอด แสวงหาทางให้ปลดแอกผู้หญิงไปพร้อมกับการดำเนินการตามนโยบายทั่วไปของพรรค ภารกิจอันนี้ คณะกรรมการไม่สามารถบรรลุได้”/ ดังที่เจ้าหน้าที่ สสซ อธิบาย “ในอดีต มีองค์กรสองระบบในละแวกเพื่อนบ้าน แม้ว่าจะดูเหมือนมี 2 องค์กร ก็มีหน้าที่เหมือนกัน องค์กรผู้หญิงของเราไม่มีงานประจำของเราเอง ยิ่งกว่านั้น ในการรณรงค์ส่วนกลาง สหายหญิงเป็นเพียงสมาชิกในคณะกรรมการชาวบ้าน โดยไม่ต้องคิดจากมุมมองของผู้หญิง”
The idea of an autonomous women's organization with its own distinctive role to play at the grassroots was appealing; however that was not the direction the SWF could take because declaring such autonomy would be politically suicidal. So in the same talk, this SWF official had to warn against that kind of enthusiasm. "We do not mean to separate from the residents committee now. In fact, although we have two sets of organizations, we still have one set of work. What distinguishes our work is only the perspective." She went on to explain what the different perspective meant. The examples given were all gender-specific services such as providing childcare for women who joined parades (the residents committee was responsible only for mobilizing women's participation); or, when mediating domestic disputes together with the residents committee, the women officials should approach the disputes from the perspective of protecting women's and children's rights. (40) In such detailed demarcations of difference between the two organizations, the SWF inadvertently advocated a woman-centered approach as the principle for the women's congress. Thus, retreating from the center stage of neighborhoods, the women's congress nonetheless acquired a more conscious gender identity.
ความคิดขององค์กรสตรีอิสระที่มีบทบาทเด่นของตนเองในระดับรากหญ้า เป็นเรื่องน่าสนใจ แต่นั่นไม่ใช่ทิศทางที่ สสซ จะเดิน เพราะการประกาศเป็นอิสระ/เอกเทศ จะเป็นการฆ่าตัวตาย ดังนั้น ในการระหว่างการปาฐกถาครั้งเดียวกัน เจ้าหน้าที่ สสซ คนนี้ ได้เตือนเพื่อขัดขวางความกระตือรือร้นดังกล่าว “เราไม่ได้หมายความว่าจะแยกออกจากคณะกรรมการชาวบ้านตอนนี้ ที่จริง แม้ว่าเราจะมีองค์กร 2 ชุด เราก็ยังมีงานชุดเดียวกัน สิ่งที่แยกงานของเรา เป็นเพียงมุมมอง” เธออธิบายต่อไปว่า มุมมองที่แตกต่างนั้นหมายความว่าอะไร ตัวอย่างที่เธอยกมา ล้วนเป็นการบริการที่มีความเฉพาะเชิงเพศสภาพ เช่น การจัดตั้งศูนย์ดูแลเด็กเล็กสำหรับผู้หญิงที่มาร่วมเดินขบวน (คณะกรรมการชาวบ้านรับผิดชอบเพียงการขับเคลื่อนให้ผู้หญิงเข้ามีส่วนร่วม) หรือ เมื่อทำการไกล่เกลี่ยการทะเลาะกันในครัวเรือน ร่วมกับคณะกรรมการชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ผู้หญิงควรตั้งอยู่จุดที่ปกป้องสิทธิของผู้หญิงและเด็ก/ ด้วยการแบ่งแยกในรายละเอียดเช่นนี้ ถึงความแตกต่างระหว่างองค์กรทั้งสอง สสซ มุ่งหมายสนับสนุนแนวทางที่เอาผู้หญิงเป็นศูนย์กลาง ให้เป็นหลักการของคองเกรสสตรี ดังนั้น ด้วยการถอยห่างออกจากกลางเวทีของละแวกเพื่อนบ้าน คองเกรสสตรีได้เกิดความสำนึกทางอัตลักษณ์เชิงเพศสภาพชัดเจนขึ้น
The controversy over the women's congresses in Shanghai certainly alarmed Zhang Yun, who was now the chief executive official of the ACWF. In 1955, she organized the first national conference on urban women-work. Speaking to the delegates, she did not hesitate to directly confront the situation in Shanghai and other cities undergoing similar experiences. Since residents committees were established in a few cities, some male and female cadres began to think of eliminating the women's congress...
การโต้เถียงกันเกี่ยวกับคองเกรสสตรีในเซี่ยงไฮ้ ได้ทำให้ ฉางหยุ่น ตอนนั้นเธอเป็นประธานผู้บริหารของ สสจ ตื่นตระหนก ในปี 2498 เธอได้จัดการประชุมระดับชาติครั้งแรกเรื่องงานผู้หญิงเมือง เธอกล่าวกับผู้แทนที่เข้าร่วมประชุมว่า เธอไม่ได้ลังเลในการเผชิญหน้าโดยตรงกับสถานการณ์ในเซี่ยงไฮ้ และเมืองต่างๆ ที่มีประสบการณ์คล้ายๆ กัน เนื่องจากมีการจัดตั้งคณะกรรมการชาวบ้านใน 2-3 เมือง สหายชายและหญิงบางคนเริ่มคิดที่จะขจัดคองเกรสสตรี ...
(ดึงข้อมูลได้เพียงเท่านี้ สนใจอ่านต่อในเว็บได้ -ดรุณีแปล/8-3-11)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น