วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Z6 HR-Aung San Suu Kyi 1 (E-T)

REITH LECTURES 2011:
SECURING FREEDOM
AUNG SAN SUU KYI
LECTURE ONE:
LIBERTY FIRST BROADCAST ON BBC RADIO 4
At  0900hrs, Tue. 28th June 2011
เพื่อความมั่นคงทางอิสรภาพ
ออง ซาน ซูจี
บีบีซี
28 มิย 2011

(ดรุณีแปล/7-3-11)
SUE LAWLEY:
Hello and welcome to the Radio Theatre in Broadcasting House, London.
Aung San Suu Kyi personifies the human aspiration for liberty. By dedicating her life to trying to secure freedom for the people of Burma, she’s become a worldwide symbol of hope.
Today, in the first of two lectures - recorded in secret and smuggled out of her country – she explains the nature of that struggle and its importance, not only to Burma, but to the world as a whole. Welcome then, to the BBC’s Reith Lectures.

They’re called “Securing Freedom” and are being given at a time when the human determination to win freedom has never been stronger. Taking heart from the struggles of others, the people of many different countries in the Middle East are seeking to oust the dictatorial regimes that run their lives. At the same time, the fight against the forces of terrorism – which seek to destroy existing liberties – goes on.
In first two Reith Lectures this year, Aung San Suu Kyi will give a first-hand account of the fight against tyranny in a country that’s been run by a military dictatorship for nearly fifty years.

The next three lectures, to be broadcast in September, will be delivered by the former head of MI5 - Britain’s security service - Eliza Manningham-Buller. Her experience of the nature of terrorism in Britain provides another perspective on freedom and those who seek to take it away.

Aung San Suu Kyi has led the opposition to the Burmese military dictatorship since she returned to her homeland in 1988. Her political party, the National League for Democracy the NLD - won a landslide victory in a general election two years later, but the generals ignored the result.

Aung San Suu Kyi was put under house arrest, separated from her family in England, not daring to visit her dying husband lest the government prevent her from returning to continue the fight. In 1991 she was awarded the Nobel Peace Prize. At the end of last year she was released from a third long spell of house arrest. So now let’s listen to the woman revered by many in Burma as ‘The Lady’. Ladies and gentlemen, the BBC’s first Reith Lecturer 2011, Aung San Suu Kyi:

Audience applause
ซู ลอว์ลีย์
ขอต้อนรับสู่รายการ โรงละครวิทยุ ที่สำนักถ่ายทอดข่าว ณ กรุงลอนดอน
ออง ซาน ซูจี เป็นแบบอย่างของความปรารถนาเสรีภาพของมนุษย์  จากการที่ท่านได้อุทิศชีวิต เพื่อเรียกร้องให้ประชาชนพม่า[1]ได้มีความมั่นคงทางอิสรภาพ ท่านได้กลายเป็นสัญญลักษณ์ของความหวังทั่วโลก
วันนี้ เป็นการบรรยายท่อนแรกของสองท่อน--ที่บันทึกอย่างลับๆ และลักลอบนำออกมาจากประเทศของท่าน--ท่านอธิบายถึงธรรมชาติและความสำคัญของการดิ้นรนต่อสู้ที่ ไม่เพียงแต่ต่อพม่า แต่ต่อชาวโลกทั้งมวลด้วย ...
หัวเรื่องบรรยาย เพื่อความมั่นคงทางอิสรภาพ ถูกตั้งขึ้นในห้วงเวลาที่มนุษย์ต่อสู้เพื่อชิงธงแห่งอิสรภาพด้วยความมุ่งมั่นที่แรงกล้าอย่างไม่เคยมีมาก่อน  พวกเราได้รับรู้การดิ้นรนในที่อื่นๆ  ประชาชนจากหลากหลายประเทศในตะวันออกกลาง กำลังหาทางขับไล่ระบอบเผด็จการ ที่บงการชีวิตของพวกเขา  ในขณะเดียวกัน การต่อสู้กับกองกำลังผู้ก่อการร้ายที่หาทางทำลายเสรีภาพที่มีอยู่ก็ดำเนินไป 
ในบรรยายท่อนแรกนี้ อองซานซูจี จะเล่าจากประสบการณ์ตรงของท่าน ถึงการต่อสู้กับอำนาจปกครองที่กดขี่ในประเทศหนึ่งที่ถูกเผด็จการทหารปกครองมานานเกือบ 50 ปี
.........
อองซานซูจี ได้เป็นผู้นำการคัดค้านต่อต้านเผด็จการทหารพม่า ตั้งแต่ท่านกลับคืนสู่มาตุภูมิในปี 1988 (2531)  พรรคการเมืองของท่าน National League for Democracy หรือ NLD ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งสองปีต่อมา แต่นายพลทั้งหลายไม่แยแสกับผลการเลือกตั้งนั้น

อองซานซูจี ถูกจำกัดบริเวณในบ้านของท่าน พรากแยกท่านจากครอบครัวในอังกฤษ ท่านไม่กล้าเดินทางออกไปเยี่ยมสามีที่ในวาระสุดท้ายของชีวิต ด้วยเกรงว่ารัฐบาลจะขัดขวาง ไม่ยอมให้ท่านกลับมานำการต่อสู้ต่อไป 
ในปี 1991 (2534) ท่านได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ  ในปลายปีที่แล้ว ท่านได้รับการปลดปล่อยจากการจำกัดบริเวณที่บ้านอันยาวนานครั้งที่ 3
ต่อไปนี้ ขอให้พวกเรารับฟังสตรีที่ได้รับการเทิดทูนจากหลายชีวิตในพม่าในฉายา ท่านสุภาพสตรี (ผู้นั้น) The Lady’...
AUNG SAN SUU KYI:
To be speaking to you now, through the BBC, has a very special meaning for me. It means that, once again, I am officially a free person. When I was officially un-free - that is to say when I was under house arrest - it was the BBC that spoke to me. I listened. But that listening also gave me a kind of freedom: the freedom of reaching out to other minds. Of course it was not the same as a personal exchange, but it was a form of human contact. The freedom to make contact with other human beings with whom you may wish to share your thoughts, your hopes, your laughter, and at times even your anger and indignation is a right that should never be violated.
Even though I cannot be with you in person today, I am so grateful for this opportunity to exercise my right to human contact by sharing with you my thoughts on what freedom means to me and to others across the world who are still in the sad state of what I would call un-freedom.
The first autobiography I ever read was providentially, or prophetically, or perhaps both, Seven Years Solitary, by a Hungarian woman who had been in the wrong faction during the Communist Party purges of the early 1950s. At 13 years old, I was fascinated by the determination and ingenuity with which one woman alone was able to keep her mind sharp and her spirit unbroken through the years when her only human contact was with men whose everyday preoccupation was to try to break her.
It is one of the most basic needs that those who decide to go into, and to persevere in, the business of dissent have to be prepared to live without. In fact living without is a huge part of the existence of dissidents. What kind of people deliberately choose to walk the path of deprivation?
Max Weber identifies three qualities of decisive importance for politicians as passion, a sense of responsibility, and a sense of proportion. The first - passion - he interprets as the passionate dedication to a cause. Such a passion is of crucial importance for those who engage in the most dangerous kind of politics: the politics of dissent. Such a passion has to be at the core of each and every person who makes the decision, declared or undeclared, to live in a world apart from the rest of their fellow citizens; a precarious world with its own unwritten rules and regulations. The world of dissidence.
There are no external signs by which the strange denizens of this world can be recognised. Come any week day to the headquarters of the NLD, a modest place with a ramshackle rough-hewn air of a shelter intended for hardy folk. More than once it has been described as the NLD “cowshed”. Since this remark is usually made with a sympathetic and often admiring smile, we do not take offence. After all, didn’t one of the most influential movements in the world begin in a cowshed?
In our shabby, overcrowded office, you will find very ordinary looking people. That elderly man with poetically unstylish hair is a veteran journalist. He is also a dissident supreme, and when he was released after 20 years in prison immediately set about writing a book about his harrowing experiences entitled Is This A Human Hell? He always wears a prison blue shirt to keep alive the awareness that there are still thousands of prisoners of conscience in Burma. This neat, bespectacled woman with a face free from lines of worry or despair is a doctor who spent 9 years in prison. Since her release 3 years ago, she has been busily involved in the social and humanitarian projects of our party. There are some sweet old ladies in their eighties.

They have been coming regularly to our office since 1997. That was one of our “Tsunami” years when a big wave of repression swept away large members of our democracy activists into jail. At one of our party meetings, I called on the wives and small children and old parents of those who had been taken away to rally to our cause to show the Junta that we will not be defeated; that those of us who remained free would take up the standard of those whose freedom had been curtailed. The sweet old ladies were among the brave who picked up the standard. They are still holding onto it with great tenacity.
You will also see in our NLD office women and men whom the Burmese would say were of “good age”. That means they’re in their forties. When they joined the Movement for Democracy, they were in their twenties or even still in their late teens, fresh faced and flashing eyed, passionate for the cause. Now they are quieter, more mature, and more determined, their passion refined by the trials they have undergone. You do not ask them if they have ever been to prison. You ask them how many times they have been to jail.
Then there are young people, but not too young to be strangers to interrogation and incarceration. Their faces are bright with hope, but sober, free from the flush of illusion. They know what they have let themselves in for. They threw down the gauntlet to the future with clear eyes. Their weapons are their faith; their armour is their passion – our passion.
What is this passion? What is the cause to which we are so passionately dedicated as to forego the comforts of a conventional existence?
Going back to Vaclav Havel’s definition of the basic job of dissidents, we are dedicated to the defence of the right of individuals to free and truthful life. In other words, our passion is liberty.
Passion translates as suffering and I would contend that in the political context, as in the religious one, it implies suffering by choice: a deliberate decision to grasp the cup that we would rather let pass. It is not a decision made lightly - we do not enjoy suffering; we are not masochists. It is because of the high value we put on the object of our passion that we are able, sometimes in spite of ourselves, to choose suffering.

In May 2003 a motorcade of NLD members and supporters accompanying me on a campaign trip to Dabayin, a small town in North Burma, was surrounded and attacked by unknown assailants thought to be operating under the orders of the Junta. Nothing has been heard to this day of the fate of the attackers, but we, their victims, were placed under arrest. I was taken to the notorious insane jail and kept alone, but, I have to admit, kept rather well in a small bungalow built apart from the quarters of other prisoners.
One morning, while going through my daily set of physical exercises - keeping fit, as fit as possible was, in my opinion, one of the first duties of a political prisoner - I found myself thinking this is not me. I would not have been capable of carrying on calmly like this. I would have been curled up weakly in my bed, worrying my head out over the fate of those who had been at Dabayin with me. How many of them had been severely beaten up? How many of them had been dragged away to I did not know where? How many of them had died?
And what was happening to the rest of the NLD? I would have been laid low by anxiety and uncertainty. This was not me here, working out as conscientiously as any keep fit fanatic. At that time, I had no recollection of Akhmatova’s lines: “No, this is not me. This is somebody else that suffers. I could never face that and all that happened.” It was only much later, back in my own house but still under arrest, that these words of requiem came back to me. At the moment of remembrance, I felt almost as a physical force the strong bond that linked those of us who had only our inner resources to fall back on when we were most in need of strength and endurance.
Poetry is a great unifier that knows no frontiers of space or time. U Win Tin, he of the prison blue shirt, turned to Henley’s Invictus to sustain him through the interrogation sessions he had to undergo. This poem had inspired my father and his contemporaries during the independent struggle, as it also seemed to have inspired freedom fighters in other places at other times. Struggle and suffering, the bloody unbowed head, and even death, all for the sake of freedom.
What is this freedom that is our passion? Our most passionate dissidents are not overly concerned with academic theories of freedom. If pressed to explain what the word means to them, they would most likely reel off a list of the concerns nearest to their hearts such as there won’t be any more political prisoners, or there will be freedom of speech and information and association, or we can choose the kind
of government we want, or simply, and sweepingly, we will be able to do what we want to do.
This may all sound naive, perhaps dangerously naive, but such statements reflect the sense of freedom as something concrete that has to be gained through practical work, not just as a concept to be captured through philosophical argument.
Whenever I was asked at the end of each stretch of house arrest how it felt to be free, I would answer that I felt no different because my mind had always been free. I have spoken out often of the inner freedom that comes out from following a course in harmony with one’s conscience. Isaiah Berlin warned against the dangers of the internalisation of freedom.
He said: “Spiritual freedom, like moral victory, must be distinguished from a more fundamental sense of freedom and a more ordinary sense of victory. Otherwise there will be a danger of confusion in theory and justification of oppression in practice in the name of liberty itself”.
There is certainly a danger that the acceptance of spiritual freedom as a satisfactory substitute for all other freedoms could lead to passivity and resignation. But an inner sense of freedom can reinforce a practical drive for the more fundamental freedoms in the form of human rights and rule of law. Buddhism teaches that the ultimate liberation is liberation from all desire. It could be argued, therefore, that the teachings of the Buddha are inimical to movements that are based on the desire for freedom in the form of human rights and political reform. However, when the Buddhist monks of Burma went on a Metta - that is loving kindness - march in 2007, they were protesting against the sudden steep rise in the price of fuel that had led to a devastating rise in food prices. They were using the spiritual authority to move for the basic right of the people to affordable food.

The belief in spiritual freedom does not have to mean an indifference to the practical need for the basic rights and freedoms that are generally seen as necessary that human beings may live like human beings. A basic human right, which I value highly, is freedom from fear. Since the very beginning of the democracy movement in Burma, we have had to contend with the debilitating sense of fear that permeates our whole society.
Visitors to Burma are quick to remark that the Burmese are warm and hospitable. They also add, sadly, that the Burmese are in general afraid to discuss political issues.
Fear is the first adversary we have to get past when we set out to battle for freedom, and often it is the one that remains until the very end. But freedom from fear does not have to be complete. It only has to be sufficient to enable us to carry on; and to carry on in spite of fear requires tremendous courage.
No, I am not afraid. After a year of breathing these prison nights, I will escape into the sadness to name which is escape. It isn’t true. I am afraid, my darling, but make it look as though you haven’t noticed.”
The gallantry embodied in Ratushinskaya lines is everyday fare for dissidents. They pretend to be unafraid as they go about their duties and pretend not to see that their comrades are also pretending. This is not hypocrisy. This is courage that has to be renewed consciously from day to day and moment to moment. This is how the battle for freedom has to be
fought until such time as we have the right to be free from the fear imposed by brutality and injustice.
Akhmatova and Ratushinskaya were Russians. Henley was English. But the struggle to survive under oppression and the passion to be the master of one’s own fate and the captain of one’s own soul is common to all races.
The universal human aspiration to be free has been brought home to us by the stirring developments in the Middle East.

The Burmese are as excited by these events as peoples elsewhere. Our interest is particularly keen because there are notable similarities between the December 2010 revolution in Tunisia and our own 1988 uprising. Both started with what at that time seemed small, unimportant events.
A fruit-seller in a Tunisian town, unknown to the world at large, gave an unforgettable demonstration of the importance of basic human rights. One humble man showed the world that his right to human dignity was more precious to him than life itself. This sparked off a whole revolution. In Burma, a quarrel in a Rangoon teashop between university students and local men was handled by the police in a way the students considered unjust.
This led to demonstrations that resulted in the death of a student, Phone Maw. This was the spark that fired the nationwide demonstrations against the dictatorship of the Burmese Socialist Programme Party.
A friend once said she thought the straw that broke the camel’s back became intolerable because the animal had caught a glimpse of itself in a mirror. The realization dawned that the burden it was bearing was of unacceptable magnitude and its collapse was in fact a refusal to continue bearing so oppressive a load.
In Tunis and in Burma, the deaths of two young men were the mirrors that made the people see how unbearable were the burdens of injustice and oppression they had to endure. It is natural that the young should yearn for freedom. The desire to stretch newly matured wings is as strong as it is instinctive. It comes as no surprise to us in Burma that young people are at the vanguard of the Tunisian Revolution. It also comes as no surprise that a popular rapper was prominent among those who demanded that they be allowed to decide the shape of their own existence.
In Burma today, young rappers are at the core of Generation Wave, an informal organisation strongly committed to democracy and human rights. A number of them were imprisoned after the Saffron Revolution of the monks. About 15 of them still remain in jail today. The Burmese authorities, like the now ousted Tunisian government, are not fond of intense, unconventional young people.

They see them as a threat to the kind of order they wish to impose on our country. For those who believe in freedom, young rappers represent a future unbound by prejudice, by arbitrary rules and regulations, by oppression and injustice.
The similarities between Tunisia and Burma are the similarities that bind people all over the world who long for freedom. There are dissimilarities too and it is because of these dissimilarities that the outcome of the two revolutions has been so different.
The first dissimilarity is that while the Tunisian Army did not fire on their people, the Burmese Army did. The second, and in the long-run probably the more important one, is that the Tunisian Revolution enjoyed the benefits of the communications revolution.
This not only enabled them to better organise and coordinate their movements. It kept the attention of the whole world firmly focused on them. Not just every single death - but even every single wounded - can be made known to the world within minutes. In Libya, in Syria, and in Yemen now, the revolutionaries keep the world informed of the atrocities of those in power. The picture of a 13 year old boy tortured to death in Syria aroused such anger and indignation that world leaders had to raise their voices in condemnation. Communications means contact and, in the context of the Middle Eastern revolutions, it was a freedom
contact.
Do we envy the people of Tunisia and Egypt? Yes, we do envy them their quick and peaceful transitions. But more than envy is a sense of solidarity and of renewed commitment to our cause, which is the cause of all women and men who value human dignity and freedom.
In our quest for freedom, we learn to be free. We have to act out our belief in freedom. This is Vaclav Havel’s Living in Truth. We go about our duties out of our own free will, in spite of the dangers that are inherent in trying to live like free people in an un-free nation. We exercise our freedom of choice by choosing to do what we consider to be right, even if that choice leads to the curtailment of other freedoms because we believe that freedom engenders more freedoms.
Those old women and those young people who come to their unpaid jobs at NLD headquarters are exercising their right to choose the hard road to freedom.

As I speak to you, I am exercising my right to the freedom of communications; and the very fact that I am exercising this right makes me feel a much freer person.
Dissent is a vocation in accordance with Max Weber’s views on politics as a vocation. We engage in dissent for the sake of liberty and we are prepared to try again and again with passion, with a sense of responsibility and a sense of proportion to achieve what may seem impossible to some. We are struggling with open eyes to turn our dream of freedom into a reality.
I would like to end this lecture with my favourite lines from Kipling with many thanks to Tim Garton-Ash who tracked them down for me.
“I’d not give room for an Emperor - I’d hold my road for a King. To the Triple Crown I’d not bow down - but this is a different thing! I’ll not fight with the Powers of Air - sentry, pass him through! Drawbridge let fall - He’s the lord of us all - the Dreamer whose dream came true!”

Audience applause

อองซานซูจี
การที่ข้าพเจ้าได้พูดกับท่านตอนนี้ ผ่านทางบีบีซี มีความหมายสำคัญมากอย่างยิ่งสำหรับข้าพเจ้า  มันหมายความว่า ข้าพเจ้าได้เป็นบุคคลที่มีอิสรภาพอย่างเป็นทางการอีกครั้ง  ในยามที่ข้าพเจ้าไม่มีอิสรภาพอย่างเป็นทางการนั่นคือ ตอนถูกกักบริเวณในบ้านบีบีซีได้พูดกับข้าพเจ้า ๆ ได้แต่ฟัง แต่การฟังก็เป็นการให้อิสรภาพแก่ข้าพเจ้าอย่างหนึ่ง: อิสรภาพในการยื่นจิตใจออกไปสัมผัสกับจิตใจอื่นๆ   แน่นอน มันย่อมไม่เหมือนกับการแลกเปลี่ยนต่อหน้ากันในระดับบุคคล  แต่มันก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารถึงกันของมนุษย์  อิสรภาพในการติดต่อสื่อสารกับมนุษย์อื่นๆ ที่ท่านอาจปรารถนาที่จะแบ่งปันความนึกคิด ความหวัง เสียงหัวเราะ และบางครั้ง แม้แต่ความโกรธและความขุ่นเคือง ก็เป็นสิทธิประการหนึ่งที่ไม่พึงถูกละเมิด
แม้ว่าข้าพเจ้าจะไม่สามารถอยู่ (ในที่ประชุม) ร่วมกับท่านวันนี้ ข้าพเจ้าก็รู้สึกขอบคุณในโอกาสที่ได้ใช้สิทธิในการติดต่อกับมนุษย์ โดยการแบ่งปันกับท่าน ถึงความคิดของข้าพเจ้าว่า อิสรภาพมีความหมายอย่างไรต่อข้าพเจ้า และคนอื่นๆ ทั่วโลก ที่ยังจมอยู่ในสภาวะน่าเศร้าที่ข้าพเจ้าขอเรียกว่า ไม่เป็นอิสระ
หนังสือชีวประวัติส่วนตัวเล่มแรกที่ข้าพเจ้าได้อ่าน เป็นเหมือนพรหมลิขิต หรือลางทำนายชะตาชีวิต หรือทั้งสองอย่าง คือเรื่อง เจ็ดปีแห่งความโดดเดี่ยว  (Seven Years Solitary) โดยนักเขียนสตรีชาวฮังการี ซึ่งอยู่ผิดฝ่าย ในช่วงเวลาที่พรรคคอมมิวนิสต์ล้างบางการเมืองในต้นทศวรรษ 1950 (2493)  ตอนนั้น ข้าพเจ้าอายุ 13 ปี รู้สึกชื่นชอบในความมุ่งมั่น และความเฉลียวฉลาดที่ผู้หญิงคนหนึ่ง ตามลำพัง สามารถธำรงความเฉียบคมของจิตใจและจิตวิญญาณที่ไม่ยอมแตกสลาย แม้ว่าในขวบปีที่ผ่านไป การติดต่อสื่อสารกับมนุษย์มีเพียงเหล่าผู้ชาย ที่แต่ละวันจะหมกมุ่นอยู่เพียงแต่จะทำให้เธอสติแตก
มันเป็นความจำเป็นพื้นฐานที่สุด ที่ใครก็ตามที่ตัดสินใจจะเดินเข้าไป และบากบั่น ในภาระกิจ/ธุรกิจของการเป็นผู้คัดค้าน พวกเขาจะต้องเตรียมตัว เตรียมใจที่จะต้องมีชีวิตภายใต้ความจำกัด/ขาดแคลนได้   อันที่จริง การดำรงชีวิตในความจำกัดจำเขี่ย เป็นสภาวะจริงส่วนใหญ่ในการดำรงความเป็นตัวตนของผู้คัดค้าน   คนประเภทใดเล่า ที่ตั้งใจเลือกเดินในหนทางที่ถูกลิดรอน ขาดแคลน?
แม๊กซ์ เวเบอร์ ระบุคุณสมบัติ 3 ประการ ที่สำคัญยิ่งยวดสำหรับนักการเมือง คือ ความฝักใฝ่/ใฝ่ฝัน ความรู้สึกรับผิดชอบ และความรู้สึกถึงสัดส่วนที่เป็นธรรม (passion, a sense of responsibility, and a sense of proportion)  ประการแรก ความฝักใฝ่ เวเบอร์ ตีความว่า เป็นการอุทิศตัวอย่างฝักใฝ่ต่อสาเหตุหนึ่งๆ  ความฝักใฝ่ดังนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อผู้ที่เข้าไปข้องเกี่ยวกับการเมืองที่เสี่ยงที่สุด: การเมืองของฝ่ายคัดค้าน   อารมณ์ฝักใฝ่นี้จะต้องเป็นแก่นกลาง (ในจิตใจ) ของแต่ละคน และทุกๆ คนที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ ไม่ว่าจะด้วยการประกาศหรือไม่ประกาศ ที่จะมีชีวิตอยู่ได้ในโลกที่แยกจากพี่น้องพลเมืองของตน  ยอมอยู่โลกที่ไม่ปลอดภัย ที่เต็มไปด้วยกฎระเบียบที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  โลกของความขัดแย้ง
ไม่มีสัญญาณภายนอกใดๆ ที่คนในโลกนี้จะดูออก   ขอให้มาวันไหนก็ได้ในสัปดาห์หนึ่งๆ ที่สำนักงานใหญ่ของพรรค NLD ซึ่งเป็นศาลา/เพิงเปิด สำหรับชาวบ้านผู้ทรหด   มากกว่าหนึ่งครั้ง ที่สถานที่แห่งนี้ถูกบรรยายว่าเป็น คอกวัว    เนื่องจากคำกล่าวนี้มักจะถูกเอ่ยขึ้นด้วยความเห็นใจและรอยยิ้มแสดงความประทับใจ พวกเราจึงไม่ถือว่าเป็นการลบหลู่  นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวที่มีอิทธิพลมากที่สุดกระแสหนึ่ง ไม่ใช่เริ่มต้นที่คอกวัวหรอกหรือ?
ในสำนักงานโกโรโกโส และเบียดเสียด คุณจะพบเห็นหน้าคนธรรมดาๆ   ชายชราคนนั้นที่มีเรือนผมไม่ทันสมัย เป็นนักข่าวที่เจนเวที  เขายังเป็นสุดยอดของนักคัดค้าน และเมื่อเขาถูกปลดปล่อยออกมาหลังจากจองจำอยู่ 20 ปี เขาเริ่มต้นเขียนหนังสือทันทีเล่าถึงประสบการณ์ที่เลวร้ายในคุก ฤานี่นรกมนุษย์? (This A Human Hell? )   เขาสวมเสื้อคุกสีน้ำเงินตลอดเวลา เพื่อเตือนให้เขาไม่ลืมว่า ยังมีนักโทษหลายพันคนที่ถูกจองจำเพียงเพราะพวกเขามีจิตสำนึกที่ต่างจากผู้มีอำนาจ   หญิงสะอาดเรียบร้อย สวมแว่นตา คนนี้ มีใบหน้าที่ปราศจากริ้วรอยของความกังวล หรือสิ้นหวัง เป็นแพทย์ที่ใช้ชีวิตในคุกถึง 9 ปี  เธอถูกปลดปล่อยเมื่อ 3 ปีก่อน ตั้งแต่นั้นมา เธอได้ยุ่งอยู่กับโครงการสังคมและมนุษยธรรมต่างๆ ในพรรคของเรา  ยังมีสุภาพสตรีชราที่อ่อนหวานอื่นๆ ในวัย 80 อีกด้วย
พวกเขามาที่สำนักงานของเราเป็นประจำ ตั้งแต่ปี 1997 (2540)  ปีนั้นเป็นหนึ่งในปี สึนามิ เมื่อคลื่นยักษ์แห่งการกดขี่ปราบปรามซัดพาสมาชิกของเราที่เป็นนักกิจกรรมประชาธิปไตยเป็นจำนวนมากเข้าคุก  ในที่ประชุมพรรคครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าได้ร้องขอให้บรรดาภรรยา ลูกเล็กเด็กแดง และพ่อแก่แม่เฒ่าของผู้ที่ถูกกวาดต้อนเข้าคุก ให้ออกมาชุมนุมต่อสู้เพื่อพวกเราเอง โดยแสดงให้รัฐบาลทหารเห็นว่า พวกเราจะไม่ยอมแพ้  ว่าพวกเราที่ยังมีอิสระจะทำงาน/ต่อสู้ต่อไปในระดับ/มาตรฐานเดียวกับผู้ที่ถูกลิดรอนอิสรภาพไป  สุภาพสตรีชราที่อ่อนหวานหลายคน ก็รวมอยู่ในเหล่าผู้กล้าหาญที่ก้าวออกมาหยิบเส้นทางมาตรฐานดังกล่าวมาปฏิบัติ  พวกเธอยังคงยึดถือมันอย่างมั่นคง
ที่สำนักงาน NLD ของเรา คุณจะพบหญิงชาย ที่ชาวพม่าจะเรียกว่าอยู่ใน วัยที่ดี(วัยฉกรรจ์)  นั่นคือ ในวัย 40  เมื่อพวกเขาแรกเข้าร่วมขบวนการเพื่อประชาธิปไตย พวกเขาอายุ 20 หรือยังเป็นวัยรุ่น หน้าตาสดใส ตาวาว ใฝ่ฝันที่จะต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม  เดี๋ยวนี้ พวกเขาเงียบขึ้น มีวุฒิภาวะสูงขึ้น และมุ่งมั่นยิ่งขึ้น   อารมณ์ฝักใฝ่ได้ถูกกล่อมเกลาโดยความยากลำบากที่พวกเขาได้ผ่านพ้นมา  คุณไม่ต้องถามพวกเขาว่า เคยถูกจับเข้าคุกไหม  คุณควรถามว่า พวกเขาถูกจับเข้าคุกกี่หนแล้ว
แล้วยังมีคนอายุน้อยๆ แต่ก็ไม่น้อยพอที่จะเป็นคนแปลกหน้าสำหรับการซ้อม-ไต่สวนและจองจำ  ใบหน้าของพวกเขาใสสว่างด้วยความหวัง แต่เอาจริงเอาจัง ปราศจากความเชื่อ หลงใหลผิดๆ  พวกเขารู้ว่าตัวเองได้พาตัวเองมาถึงจุดนี้เพื่ออะไร  พวกเขายื่นมือออกไปสู่อนาคตด้วยตาที่แจ่มชัด  อาวุธของพวกเขาคือ ศรัทธา เกราะ คือ ความฝักใฝ่ อารมณ์ร่วมในความใฝ่ฝัน 
อะไรคือความใฝ่ฝัน/ฝักใฝ่นี้? อะไรคือสาเหตุที่ทำให้พวกเราใฝ่ฝัน หลงใหล จนถึงขั้นอุทิศตัว ละทิ้งความสุขสบาย ในชีวิตความเป็นที่ติดกรอบ? 
ย้อนกลับไปที่คำจำกัดความของ Vaclav Havel  ว่าด้วยกิจขั้นพื้นฐานของนักคัดค้าน  พวกเราอุทิศตัวเพื่อปกป้องสิทธิส่วนบุคคลที่จะมีชีวิตที่อิสระและซื่อสัตย์ อยู่ในธรรม  หรือพูดใหม่ ความใฝ่ฝันของพวกเรา คือ เสรีภาพ
ความใฝ่ฝันแปลได้เป็นความทุกข์ และข้าพเจ้าขอยืนยันว่า ในบริบทของการเมือง เช่นเดียวกับศาสนา มันหมายถึงการเลือกที่จะเป็นทุกข์: การตัดสินใจอย่างแน่วแน่ที่จะหยิบถ้วย--ที่ในยามปกติเราคงจะปล่อยให้มันผ่านไปขึ้นมา   มันไม่ใช่การตัดสินใจที่ทำอย่างสนุกๆพวกเราไม่ได้ชอบความทุกข์เลย  พวกเราไม่ใช่พวกโรคจิตที่มีความสุขจากการทำตัวเองให้เจ็บปวดทรมาน  มันเนื่องมาจากคุณค่าที่สูงส่ง ที่พวกเราตั้งให้กับเป้าหมายของความใฝ่ฝันของเรา ที่ทำให้พวกเราสามารถเลือกความทุกข์
ในเดือนพฤษภาคม 2003 ขบวนรถของสมาชิก NLD และผู้สนับสนุนได้เดินทางไปพร้อมกับข้าพเจ้าในการรณรงค์ที่ ดาบายิน ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆในพม่าตอนเหนือ ได้ถูกโอบล้อมและคุกคามโดยผู้ประทุษร้ายนิรนาม ที่เข้าใจว่า ปฏิบัติการตามคำสั่งของรัฐบาลทหาร  จวบจนทุกวันนี้ ไม่มีวี่แววใดๆ เกี่ยวกับความเป็นไปของเหล่าผู้คุกคาม  แต่พวกเรา เหยื่อของพวกเขา กลับถูกจับกุม   ข้าพเจ้าถูกจับไปขังที่คุกวิกลจริตที่มีชื่อเสียง และถูกขังเดี่ยว  แต่ ข้าพเจ้าต้องยอมรับว่า ถูกขังอย่างค่อนข้างดีในบังกะโลเล็กๆ ที่อยู่แยกจากคุ้มนักโทษทั้งหมด
รุ่งเช้าวันหนึ่ง ในขณะที่ข้าพเจ้ากำลังออกกำลังกายตามปกติเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงมากที่สุด ในความเห็นของข้าพเจ้า เป็นหน้าที่แรกของนักโทษการเมือง--ข้าพเจ้าพบว่า ในห้วงคิดของข้าพเจ้าบอกว่า นี่ไม่ใช่ตัวข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าไม่ควรสามารถดำเนินชีวิตอย่างสงบเช่นนี้ได้  ข้าพเจ้าน่าจะนอนตัวงอ และอ่อนแอ อยู่ในเตียง ห่วงกังวลจนหัวจะระเบิดถึงชะตากรรมของผู้ที่อยู่กับข้าพเจ้าที่ ดาบายัน   กี่คนที่ถูกทำร้ายอย่างรุนแรง?  กี่คนถูกฉุดกระชากลากถูไปสู่ที่ไหน?  กี่คนที่ต้องเสียชีวิต?  แล้วสมาชิก NLD ที่เหลืออยู่ เกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา?  ข้าพเจ้าควรจะหลบต่ำด้วยความกังวลและอยู่ในสภาวะไม่แน่นอน   ตรงนี้ไม่ใช่ตัวข้าพเจ้า--คนที่กำลังออกกำลังกายอย่างตั้งใจจริงจัง เช่นเดียวกับพวกคลั่งการออกกำลังกายรักษสุขภาพอื่นๆ
ในตอนนั้น ข้าพเจ้าไม่ได้นึกถึงประโยคของ Akhmatova  ไม่ใช่ นี่ไม่ใช่ฉัน  นี่เป็นคนอื่นที่เป็นทุกข์  ฉันไม่อาจเผชิญหน้ากับมัน และสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด  อีกนานทีเดียว หลังจากที่ข้าพเจ้า กลับมาอยู่ที่บ้านของข้าพเจ้าแต่ยังถูกกักบริเวณอยู่ ที่คำสวดส่งวิญญาณผู้ตายเหล่านั้น หวนกลับมา  ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนกับว่า มีพลังที่จับต้องได้สายสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง--ที่ได้เชื่อมโยงพวกเรา ผู้ซึ่งมีเพียงภาวะภายในจิตใจตัวเองของพวกเราเท่านั้นเป็นสรณะ ในยามที่พวกเราต้องการความเข้มแข็งและความอดทนมากที่สุด
บทกวีเป็นยอดของการหลอมรวม (จิตวิญญาณ) ที่ไม่รู้จักพรมแดนของสถานที่และเวลา   อูวินทิน ในเสื้อสีน้ำเงินของนักโทษ หันหน้าอ่าน  Invictus ของ Henley  เพื่อประคองสติของตนให้ผ่านพ้นเวลาซ้อมและไต่สวน   บทกวีนี้ ได้เป็นแรงบันดาลใจคุณพ่อของข้าพเจ้า และเพื่อนร่วมอุดมการณ์ของท่านในระหว่างการกอบกู้เอกราช  เช่นเดียวกับที่ได้เป็นแรงบันดาลใจนักสู้เพื่ออิสรภาพในที่อื่นๆ ในช่วงเวลาต่างๆ   การดิ้นรนต่อสู้ และความทุกข์  ศีรษะอาบเลือดแต่ไม่ยอมก้มสยบ หรือแม้แต่ความตาย  ทั้งหมดเพียงเพื่อให้ได้อิสรภาพ
อะไรคือเจ้าอิสรภาพนี้ ที่พวกเราลุ่มหลงใฝ่ฝันหา?  ผู้ (ร่วมอุดมการณ์) คัดค้าน ที่อุทิศตัวมากที่สุด ไม่กังวลถึงทฤษฎีอิสรภาพจนเกินไป    หากซักหนักเข้า ให้เขาอธิบายความหมายของคำนี้ พวกเขาก็คงจะพูดถึงรายการข้อห่วงใยต่างๆ ที่อยู่ใกล้หัวใจของพวกเขามากที่สุด เช่น ไม่ให้มีนักโทษการเมือง หรือให้มีอิสรภาพในการพูด ข้อมูล และการรวมกลุ่ม หรือให้เราสามารถจะเลือกประเภทของรัฐบาลที่เราต้องการ หรือ เราสามารถทำสิ่งที่เราต้องการ
นี่อาจฟังเหมือนไร้เดียงสา อาจจะไร้เดียงสาอย่างอันตราย  แต่ประโยคเหล่านี้ สะท้อนถึงความรู้สึกถึงอิสรภาพที่เป็นรูปธรรม ที่จะได้มาด้วยการทำงานภาคปฏิบัติ  ไม่ใช่เป็นแค่กรอบคิด ที่คนฟังจะเข้าใจได้ด้วยการโต้เถียงทางปรัชญา
เมื่อไรก็ตาม ที่ข้าพเจ้าถูกตั้งคำถาม เมื่อการกักบริเวณสิ้นสุดลงแต่ละครั้ง คือ คุณรู้สึกอย่างไรเมื่อได้อิสรภาพ  ข้าพเจ้าจะตอบว่า ข้าพเจ้าไม่รู้สึกแตกต่าง เพราะจิตใจของข้าพเจ้าเป็นอิสระเสมอ   ข้าพเจ้ามักพูดถึงอิสรภาพภายใน ที่มาจากการดำเนินชีวิตอย่างกลมกลืนสอดคล้องกับจิตสำนึกของตน  Isaiah Berlin กล่าวเตือนถึงอันตรายของการซึมซับอิสรภาพให้เป็นภาวะภายในจิตใจ
อิสรภาพทางจิตวิญญาณ เสมือนชัยชนะทางจริยธรรม จะต้องแยกขาดจากความรู้สึกพื้นฐานเกี่ยวกับอิสรภาพ และความรู้สึกปกติของชัยชนะ   มิฉะนั้น มันจะเกิดความสับสนอย่างน่ากลัวในด้านทฤษฎี กับการสร้างความชอบธรรมในการกดขี่ปราบปรามในทางปฏิบัติ ในนามของเสรีภาพ
แน่นอน มันมีอันตรายหากยอมรับอิสรภาพทางจิตวิญญาณให้เป็นตัวแทนหนึ่งของอิสรภาพอื่นๆ เพราะอาจนำไปสู่การสยบสมยอมและนิ่งดูดาย   แต่ความรู้สึกภายในถึงอิสรภาพ สามารถจะเกื้อหนุนการขับเคลื่อนทางปฏิบัติ เพื่อให้ได้มาซึ่งอิสรภาพขั้นพื้นฐานกว่า ในลักษณะของสิทธิมนุษยชน และนิติรัฐ
ศาสนาพุทธสอนว่า การปลดปล่อยขั้นสูงสุด คือการเป็นอิสระจากตัณหา ความอยากทั้งปวง  ดังนั้น จึงอาจโต้เถียงได้ว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น ไม่เป็นมิตรกับการเคลื่อนไหว ที่ตั้งบนฐานของความใฝ่ฝัน อยากได้อิสรภาพ ในลักษณะของสิทธิมนุษยชนและการปฏิรูปทางการเมือง   แต่เมื่อพระภิกษุพม่า ออกไปเดินขบวนเมตตา ในปี 2007 พวกเขาประท้วงต่อต้านการขึ้นราคาเชื้อเพลิงแบบก้าวกระโดด ที่นำไปสู่ราคาอาหารที่สูงลิ่ว  พวกเขากำลังใช้ อำนาจหน้าที่ทางจิตวิญญาณ ในการขับเคลื่อนสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนเพื่อให้ได้อาหารที่พวกเขามีกำลังซื้อได้
ความเชื่อในอิสรภาพทางจิตวิญญาณ ไม่จำเป็นต้องหมายถึง การนิ่งดูดายต่อความต้องการเชิงปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพต่างๆ ที่ปรากฏทั่วไปว่าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อมนุษย์จะมีชีวิตอยู่เยี่ยงมนุษย์ได้   สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานซึ่งข้าพเจ้าให้คุณค่าอย่างสูง คือ อิสรภาพจากความกลัว   ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการเคลื่อนไหวสู่ประชาธิปไตยในพม่า  พวกเราจำต้องทนกับความรูสึกกลัวที่ชอนไชไปทั่วสังคมและที่ทำให้พวกเรารู้สึกอ่อนเปลี้ยไม่มีพลัง
แขกผู้มาเยือนมักจะเอ่ยอย่างรวดเร็ว ว่า ชาวพม่าอบอุ่นและเป็นเจ้าภาพที่ดี  พวกเขาก็พูดต่อด้วยความเศร้าใจด้วยว่า ชาวพม่าโดยทั่วไป เกรงกลัวที่จะอภิปรายประเด็นทางการเมือง
ความกลัว เป็นปรปักษ์ตัวแรกที่เราจะต้องก้าวข้ามให้พ้น เมื่อพวกเราตัดสินใจลงสู่สมรภูมิเพื่ออิสรภาพ และมันมักจะยืนหยัดอยู่ได้จวบจนสงครามยุติลง  แต่อิสรภาพจากความกลัว ไม่จำเป็นต้องหมดจดสมบูรณ์  ขอเพียงแต่ให้มีมากพอที่จะช่วยให้เราเดินหน้าต่อไปได้  และการเดินหน้าต่อไปทั้งๆ ที่ยังกลัว ต้องอาศัยความกล้าหาญอย่างยิ่งยวด
เปล่า ฉันไม่ได้กลัว  หลังจากที่ได้สูดอากาศในคุกมาหนึ่งปี ฉันจะหลบหนีเข้าไปในความเศร้า เพื่อบอกว่าอะไรคือการหนี  มันไม่เป็นความจริงหรอก  ฉันกลัวจ๊ะ ที่รัก แต่ทำให้มันดูเหมือนว่า เธอไม่ทันสังเกตเห็น
ความกล้าหาญที่แฝงอยู่ในบทประพันธ์ของ Ratushinskaya  เป็นชีวิตประจำวันของผู้คัดค้าน  พวกเขาเสแสร้งว่าไม่กลัวในขณะที่ปฏิบัติภารกิจ และเสแสร้งว่าไม่เห็นสหายของตนว่ากำลังเสแสร้งเช่นกัน  นี่ไม่ใช่การปากว่าตาขยิบ   นี่เป็นความกล้าหาญ ที่จะต้องมีการเติมเต็มใหม่ด้วยจิตสำนึกทุกวัน และทุกขณะจิต  นี่เป็นยุทธวิธีการต่อสู้ในสงครามเพื่ออิสรภาพ จวบจนพวกเราได้สิทธิที่จะเป็นอิสระจากความกลัว ที่บังคับใช้ด้วยการทารุณกรรมที่โหดร้าย และอยุติธรรม
Akhmatova และ Ratushinskaya เป็นคนรัสเซีย  ส่วน Henley เป็นคนอังกฤษ  แต่การดิ้นรนเพื่อให้อยู่รอดภายใต้การกดขี่ และความใฝ่ฝันที่จะเป็นนายของชะตาชีวิตตัวเอง และเป็นกัปตันของวิญญาณตัวเอง เป็นความต้องการร่วมของทุกเชื้อชาติ   (ลมแห่ง) ความทะเยอทะยานสากลของมนุษย์ที่ต้องการเป็นอิสระ ได้ถูก (พัด) มาที่นี่ (พม่า) กับข่าวการต่อสู้ในตะวันออกกลาง
ชาวพม่าต่างตื่นเต้นกับเหตุการณ์เหล่านี้ที่เกิดกับประชาชนในที่อื่น  พวกเราสนใจเป็นพิเศษ เพราะมีความคล้ายคลึงกันระหว่าง การปฏิวัติเมื่อเดือนธันวาคม 2010 ในตูนีเซีย และการลุกฮือของพวกเราในปี 1988 (2531)  ทั้งสองเหตุการณ์ปะทุขึ้น ด้วยสถานการณ์ที่ดูเหมือนเล็กน้อย และไม่สำคัญในตอนนั้น   พ่อค้าผลไม้คนหนึ่งในเมืองหนึ่งของตูนีเซีย  ที่โลกไม่รู้จัก ได้ลุกขึ้นประท้วงชนิดที่โลกลืมไม่ได้ ถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน   ชายผู้ต่ำต้อยคนหนึ่งได้แสดงให้โลกเห็นว่า สิทธิในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มีค่าสำหรับเขามากกว่าชีวิตของเขา   นี่จุดประกายการปฏิวัติทั้งขบวน  ในพม่า การทะเลาะในร้านน้ำชาแห่งหนึ่งในย่างกุ้ง ระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัย กับชายท้องถิ่น ที่ถูกตำรวจจัดการด้วยวิธีการที่นักศึกษาเห็นว่าไม่ยุติธรรม
นี่เป็นชนวนนำไปสู่การประท้วง ที่ยังผลให้นักศึกษาคนหนึ่ง Phone Maw เสียชีวิต   นี่คือประกายไฟที่จุดไฟและลุกลามเป็นการประท้วงทั่วประเทศ ต่อต้านระบอบเผด็จการของพรรค Burmese Socialist Programme Party
เพื่อนคนหนึ่งบอกว่า เธอคิดว่า ฟางเส้นสุดท้ายที่หักหลังอูฐ จนกลายเป็นเรื่องทนไม่ได้อีกต่อไป เพราะเจ้าอูฐเกิดไปเห็นภาพตัวเองในกระจก  นี่เป็นการเกิดความตระหนักรู้ว่า ภาระที่หนักอึ้งที่มันเคยแบกด้วยความอดทนอดกลั้นมาตลอด มันมากเกินพิกัดอย่างรับไม่ได้ และที่มันพังลง ก็เพราะเจ้าอูฐปฏิเสธ ไม่ยอมทนรับน้ำหนักที่สุดกดขี่นั้นๆ
ในตูนิเซียและพม่า  ความตายของชายหนุ่มทั้ง 2 คน เป็นกระจกที่ช่วยให้ประชาชนมองเห็นภาระและความหนักอึ้งที่ยอมรับไม่ได้ของความอยุติธรรมและการกดขี่ ที่พวกเขาได้ยอมสยบมาตลอด  
มันเป็นธรรมชาติที่คนหนุ่มสาวจะถวิลหาอิสรภาพ  แรงปราถนาที่จะกางปีกที่เพิ่งโตเต็ม มีความแรงกล้าพอๆ กับสัญชาติญาณ  พวกเราในพม่า ไม่ประหลาดใจเลยที่เห็นคนหนุ่มสาว เป็นแนวหน้าของการปฏิวัติตูนีเซีย  และก็ไม่น่าประหลาดใจ ที่ rapper ยอดนิยมคนหนึ่ง โดดเด่นในหมู่ผู้เรียกร้องสิทธิในการตัดสิน และกำหนดชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง
ในพม่าทุกวันนี้ rapper หนุ่มสาว เป็นแก่นของ Generation Wave (คลื่นคนรุ่นใหม่?) ซึ่งเป็นองค์กรไม่เป็นทางการที่ผูกพันอย่างแรงกล้ากับประเด็นประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน   หลายคนถูกจำคุก หลังจาก Saffron Revolution (ปฏิวัติจีวร) ของพระภิกษุ  อีก 15 คนในหมู่พวกเขายังอยู่ในคุก  ผู้มีอำนาจของพม่า เช่นเดียวกับรัฐบาลตูนีเซียที่เพิ่งถูกโค่นล้มไป ต่างไม่ชอบคนหนุ่มสาวที่เข้มข้น และไม่อยู่ในกรอบ
พวกเขาเห็นว่าคนหนุ่มสาวเหล่านี้ เป็นภัยคุกคามระเบียบที่พวกเขาบงการบังคับใช้ได้ตามอำเภอใจในประเทศของพวกเรา  สำหรับพวกที่เชื่อในอิสรภาพ rapper หนุ่มสาว เป็นตัวแทนของอนาคตที่ไม่ถูกจำกัดด้วยอคติ ด้วยกฎระเบียบตามอำเภอใจผู้มีอำนาจ ด้วยการกดขี่และอยุติธรรม   ความคล้ายคลึงกันระหว่างตูนีเซียและพม่า เป็นความคล้ายคลึงกันที่ยึดโยงประชาชนทั่วโลกที่โหยหาอิสรภาพ  มีความแตกต่างกันเช่นกัน และเพราะความแตกต่างนี้แหละ ที่ผลพวงตามมาจากการปฏิวัติทั้งสอง จึงต่างกันมาก
ความแตกต่างประการแรก คือ ในขณะที่กองทัพตูนีเซียไม่ได้ยิงเข้าใส่ประชาชนของตัวเอง ทหารพม่ายิง  ประการที่สอง และในระยะยาว คงเป็นปัจจัยที่สำคัญกว่า นั่นคือ การปฏิวัติของตูนีเซียได้รับประโยชน์จากการปฏิวัติทางสื่อสาร สารนิเทศ
อันนี้ไม่เพียงช่วยให้พวกเขาจัดรูปองค์กรตัวเอง และประสานการขับเคลื่อนได้ดีกว่า  ยังช่วยให้ชาวโลกได้จ้องมองเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ไม่เพียงทุกๆ ชีวิตที่สูญเสียไป--แต่ยังรวมถึงผู้บาดเจ็บทุกๆ คนถูกนำเสนอต่อโลกทุกๆ นาที  ในลิเบีย ซีเรีย และเยเมนทุกวันนี้  การปฏิวัติต่างๆ เป็นการทำให้โลกรับรู้ถึงการกดขี่โดยผู้มีอำนาจปกครองประเทศนั้นๆ  ภาพเด็กชายอายุ 13 ที่ถูกทารุณจนตายในซีเรีย ปลุกเร้าให้ผู้นำโลกโกรธเคือง ถึงขั้นส่งเสียงประณาม  การสื่อสาร หมายถึงการติดต่อถึงกัน และในบริบทของการปฏิวัติในตะวันออกกลาง มันคือการติดต่ออิสระ
พวกเราอิจฉาประชาชนตูนีเซียและอีจิปย์หรือไม่?  ใช่ พวกเราอิจฉาที่พวกเขามีช่วงเปลี่ยนผ่านที่รวดเร็วและสันติ  แต่ที่มากกว่าอิจฉา คือ ความรู้สึกเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และการฟื้นคืนความมุ่งมั่นผูกพันต่อเป้าหมายของเรา ซึ่งเป็นเป้าหมายอันเดียวกับหญิงและชายทั้งหลาย ที่ให้คุณค่าต่อศักดิ์ศรีและอิสรภาพของมนุษย์
ในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพนี้ พวกเราได้เรียนรู้ที่จะเป็นอิสระ  พวกเราจะต้องสำแดงความเชื่อของเรา ในความเป็นอิสระ  นี่คือสิ่งที่ Vaclav Havel เขียนใน ยังชีพในสัจธรรม (Living in Truth)  พวกเราทำหน้าที่ของเราด้วยความมุ่งมั่นที่เป็นอิสระ ทั้งๆ ที่รู้ว่า มีภยันตรายในความพยายามที่จะดำรงชีวิตเยี่ยงอิสรชน ในประเทศที่ไม่มีอิสระ  พวกเราเลือกที่จะใช้อิสรภาพของเรา โดยเลือกที่จะกระทำในสิ่งที่พวกเราพิจารณาแล้วว่าถูกต้อง แม้ว่า ทางเลือกนั้น จะนำไปสู่การลดทอนอิสรภาพด้านอื่น เพราะพวกเราเชื่อว่า อิสรภาพจะทำให้อิสรภาพอื่นๆ งอกงามได้
หญิงชราและคนหนุ่มสาวเหล่านั้น ที่มาทำงานโดยไม่มีค่าตอบแทนที่สำนักงานใหญ่ NLD กำลังใช้สิทธิของพวกเขาเพื่อเลือกเดินหนทางที่ยากลำบากสู่อิสรภาพ
ในขณะที่ข้าพเจ้าพูดกับท่าน ข้าพเจ้ากำลังใช้สิทธิในการสื่อสารอิสระ และด้วยความจริงที่ว่า ข้าพเจ้ากำลังใช้สิทธินี้ ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกว่าเป็นคนที่มีอิสระมากขึ้น
การเป็นผู้คัดค้าน เป็นอาชีพหนึ่ง ในความเห็นของแมกซ์ เวเบอร์ ที่ว่าการเมืองเป็นอาชีพหนึ่ง  พวกเราเกี่ยวข้องกับการคัดค้าน ก็เพื่อเสรีภาพ และพวกเราก็เตรียมตัวที่จะพยายามต่อไปด้วยความใฝ่ฝัน ด้วยความรู้สึกรับผิดชอบ และความรู้สึกถึงสัดส่วนที่เป็นธรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่อาจดูเหมือนเป็นไปไม่ได้สำหรับบางคน  พวกเรากำลังดิ้นรนด้วยดวงตาที่เปิด เพื่อเปลี่ยนอิสรภาพในฝันให้เป็นความจริง
ข้าพเจ้าขอจบการบรรยายนี้ด้วยบทประพันธ์ของ คลิปลิ่ง และขอบคุณอย่างยิ่งต่อ Tim Garton-Ash ที่ได้ช่วยค้นหามาให้ข้าพเจ้า
ฉันจะไม่ให้ห้องว่างแก่จักรพรรดิ์ฉันจะกันถนนของฉันให้พระราชา  ต่อไตรมงกุฏ ฉันจะไม่ยอมก้มหัวให้แต่นี่เป็นสิ่งที่ต่างกัน!  ฉันจะไม่สู้กับอำนาจของอากาศยาม ปล่อยให้ผ่านไปได้!  ปล่อยสะพานชักลงมา--เขาคือเจ้านายของพวกเราทั้งหมด นักฝันผู้ที่ฝันกลายเป็นจริง!”



[1] โปรดสังเกตภาคภาษาอังกฤษที่ใช้คำว่า Burma แทนคำว่า Mynmar ซึ่งคล้ายๆ กับที่เผด็จการทหารไทยยุคหนึ่ง เปลี่ยนชื่อจาก สยาม เป็น ประเทศไทย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น