วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Z1 Nuclear-Lynas 1 (ไทย)


ความเห็นต่อรายงานของบรรษัทลีนัส (Lynas Corporation) เกี่ยวกับโครงการโรงแต่งแร่หายาก (Rare Earth Extraction Plant) ที่จะสร้างในเกบัง (Gebeng) (ใกล้เมืองกวนตัน Kuantan รัฐตรังกานู)
โดย ที่ปรึกษาทางเทคนิค (24 มิย 2011)

ข้าพเจ้าได้ทบทวนรายงานที่ส่งโดย ลีนัส และ การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของลีนัส (Lynas EIA) ลงวันที่ มกราคม 2008 ประกบกับข้อมูลอื่นๆ จากเว็บไซต์ของลีนัส  ข้าพเจ้าขอยอมรับว่า ความเห็นต่อไปนี้ บางส่วนตั้งอยู่บนสมมติฐานที่อาจจะยังไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม เพราะยังขาดข้อมูลเพียงพอ (สาเหตุสำคัญมาจาก รายงานของลีนัส ไม่ได้เปิดเผยเต็มที่)

ส่วน การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของลีนัส (Lynas EIA) ลงวันที่ มกราคม 2008 เป็นเพียงรายงานขั้นต้น   นอกเสียจากว่า หน่วยงานรัฐบาลมาเลเซียที่รับผิดชอบจะได้รับรายงานอื่นๆ ต่อมาภายหลัง รายงานชิ้นนี้ไม่สมบูรณ์พอสำหรับการตัดสินใจเพื่อให้สัมปทานด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental License) แก่ลีนัส  เหตุผลมีดังต่อไปนี้
ก.       รายงานนี้ขาดรายละเอียดเกี่ยวกับผลผลิต  ของเสียที่จะเกิดขึ้นจากกระบวนการสะกัด  กระบวนการจัดการของเสียที่ลีนัสตั้งใจจะทำ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ด้วยเหตุที่ขาดรายละเอียดข้อมูลเหล่านี้ จึงเป็นการยากที่จะคาดเดาได้ว่า หน่วยงานรัฐบาลมาเลเซียที่รับผิดชอบ จะสามารถประเมินโครงการนี้ได้อย่างเหมาะสม
ข.       โครงการนี้ เสนอว่าจะสร้างโรงงานลีนัสที่เกบัง ใกล้เมืองกวนตัน ซึ่งจะทำการล้างอ๊อกไซด็ของแร่หายาก (Rare Earth Oxides, REO) โดยใช้กรดที่แรงมาก เพื่อละลายแร่ธาตุอื่นๆ ภายใต้อุณหภูมิสูง  กระบวนการเช่นนี้ จะปล่อยไอกรดผสมกับอณุมูลกัมมันตรังสีของสารแร่หายาก (RE, rare earth)  ปริมาณมลภาวะเหล่านี้แหละที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม   เนื่องจากปริมาณมหาศาลของวัตถุดิบที่จะเข้าสู่กระบวนการ (660,000 ตันของ REO ดิบจะถูกล้างต่อปี)  ปริมาณสารพิษและของเสียกัมมันตรังสีที่ถูกผลิตออกมาแต่ละปี และสะสมต่อๆ มา ย่อมต้องมหาศาลแน่นอน
ค.       รายงานนี้ ไม่ได้นำเสนอรายละเอียดของสารเคมีที่ถูกขับออกมาในของเสียเหลว ในระหว่างการสะกัดแร่หายาก   ลีนัสเสนอว่า จะพักของเสียเหลวในบ่อเพื่อขจัดของเสียแข็งที่ลอยอยู่ (suspended solids) ก่อน จากนั้น ก็จะปล่อยของเหลวที่เหลือลงใน แม่น้ำบาลก (Balok River) และในที่สุดก็จะไหลลงสู่ทะเลจีนใต้
ลีนัสไม่ได้กล่าวถึงมลภาวะที่เกิดจากแร่ฟอสเฟต และกรดฟอสฟอริก ที่ใช้ในดรงงาน  ฟอสฟอรัสจะกระตุ้นให้สาหร่ายเติบโต (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สาหร่ายแดง) ซึ่งสามารถทำลายอุตสาหกรรมประมงที่อยู่ตลอดชายฝั่งคาบสมุทรมาเลเซีย
ง.        ประเด็นที่ข้าพเจ้าต่อต้านรายงานชิ้นนี้มากที่สุด คือ มันไม่ได้พูดถึงส่วนประกอบของแร่ยูเรเนียม  ลีนัสเพียงแต่อ้างว่า ปริมาณแร่ยูเรเนียมจะอยู่ในระดับต่ำที่รับได้
จ.       จากข้อมูลข้างต้น ทำให้เราเห็นผลที่น่าตกตื่น  อนุมานได้ว่า ลีนัสเตรียมจะปล่อยทิ้งของเสียลงสู่ทะเลจีนใต้ โดยใช้แม่น้ำบาลก ซึ่งจะมี ธอเรียมอ๊อกไซด์ (Thorium Oxide) 303.28 ตัน (เป็นไปได้ที่ ลีนัสผลิต ธอเรียมอ๊อกไซด์ ทั้งๆ ที่ปฏิเสธ) และ ยูเรเนียมอ๊อกไซด์ 19.16 ตัน  นี่เป็นความประมาทที่เป็นอาชญากรรม ที่ปล่อยให้คนบางคนปล่อยทิ้ง ยูเรเนียมอ๊อกไซด์ (ที่เรียกกันว่า เค๊กสีเหลือง Yellow Cake) 19.16 ตัน ต่อปี ลงในทะเลจีนใต้
ฉ.       ขอใส่บริบทลงในข้อมูลข้างต้น  ภัยพิบัติเร็ว ๆ นี้ที่โรงงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ เป็นผลน้ำหล่อเย็นที่ปนเปื้อนเพียง 9,000 ตัน ที่ถูกขับสู่มหาสมุทร  น้ำดังกล่าวมีสารกัมมันตรังสีไอโอดีน (ที่มี half life 30 วัน)  ปรากฏว่า ภายใน 1 สัปดาห์ ก็พบปลาที่ตรวจมีสารกัมมันตรังสีไอโอดีนในฝั่งแคลิฟอเนียร์  ขอให้ลองจินตนาการถึงภัยพิบัติ หาก ยูเรเนียมอ๊อกไซด์ 19.16 ตัน ประกบด้วย ธอเรียมอ๊อกไซด์อีก 303.28 ตัน ถูกขับลงในทะเลจีนใต้ทุกๆ ปี  มันคงจะทำลายอุตสาหกรรมการประมงที่ทำกำไรงาม ไม่เพียงแต่ในมาเลเซีย แต่รวมถึงประเทศไทย กัมพูชา เวียตนาม ฟิลิปปินส์ จีน และอินโดนีเซีย


ภัยจากกัมตรังสีในของเสียแข็ง  
ลีนัสได้สวนกลับมาตลอด เมื่อไรที่มีการแสดงความคิดเห็นถึงความสะพรึงกลัวต่อผลกระทบจากอานุภาพกัมมันตรังสี ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ โดยอ้างว่า ปริมาณธอเรียม ต่ำมาก เพียง 1.6%  โปรดสังเกตว่า การคำนวณ (ภัย) ผลกระทบรวมของอานุภาพกัมมันตรังสี (Total Radiation Effect / hazard) มีดังต่อไปนี้

ผลกระทบของกัมมันตรังสี เป็นสัดส่วน (ผกผัน) กับ
(มวล หรือ น้ำหนัก ของสารกัมมันตรังสี) X (อัตราการปล่อยกัมมันรังสี) X
(ระยะเวลาที่สัมผัสกับรังสี) X (ระยะห่างจากแหล่งกัมมันตรังสี)

ตามรายงาน EIA (ข้อ 5-55) ลีนัสกำลังเสนอว่า จะเก็บของเสียกัมมันตรังสีในบ่อพักที่ปูลาดด้วย พีวีซี เป็นการชั่วคราว!

ลีนัสยังเสนออีกว่า จะผลิต ของเสียกัมมันตรังสีปีละ 145,200 ตัน  อันนี้ จะเป็นการผลิตกัมมันรังสีที่เป็นอันตรายอย่างต่อเนื่อง ที่เกือบตลอดกาล (โปรดระลึกด้วยว่า half-life ของธอเรียม ยาวนานถึง 14.5 ล้านปีทีเดียว!)

ตามคำยอมรับของลีนัสเอง อัตราการปล่อยรังสี (145,200 ตัน ค่าเฉลี่ยรังสี 13.90 Bq/gm) สูงเกินกว่าหลายเท่า เมื่อเทียบกับมาตรฐานของญี่ปุ่น 0.3 Bq/gm   และลีนัสก็เตรียมที่จะดำรงการผลิตอยู่ 10 ถึง 20 ปี  นี่จะเป็นการเพิ่มการทิ้งของเสียกัมมันตรังสีปริมาณมหาศาล ในพื้นที่ชุมชนหนาแน่น  บริเวณควนตันทั้งหมด รวมทั้งพื้นที่หลายพันเฮคเตอร์ที่อยู่รายรอบ มีแนวโน้มกลายเป็นบริเวณภัยพิบัติ

วิธีการเก็บของเสียกัมมันตรังสี ดังที่ลีนัสนำเสนอ ไม่เพียงพอเลย และไม่เข้ามาตรฐานสากล   ของเสียเหล่านี้ ขั้นแรก จะต้องตากให้แห้ง และจึงเก็บในอุโมงหลบภัยที่ป้องกันการแผ่กัมมันตรังสี นั่นคือ กล่องเหล็กกล้า ที่ซับในด้วยตะกั่ว และในตัวอุโมงก็ต้องมีกำแพงหนาสามชั้น ที่กันน้ำได้ กำแพงนอกและในเป็นคอนกรีต กำแพงกลางเป็นตะกั่ว   ของเสียดังกล่าว ไม่พึงเก็บในบริเวณโรงงาน หรือใกล้แหล่งชุมชน หรือในที่ๆ อาจเกิดการรั่วซึมที่สามารถปนเปื้อนน้ำบาดาลได้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ๆ เป็นแหล่งน้ำ)  เราจะต้องระลึกเสมอว่า half life ของธอเรียมนั้น ยาวนานถึง 14.5 ล้านปี  ดังนั้น ธอเรียมจะต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 50 ล้านปี จึงจะหมดฤทธิ์  ในหลายๆ ประเทศ แหล่งเก็บของเสียเหล่านี้ จะเป็นอุโมงลึกมากในบริเวณที่มีความเสถียรเชิงภูมิศาสตร์

การปล่อยก๊าซ
ลีนัสยังไม่ได้กล่าวถึงประเด็นการปล่อยก๊าซจากโรงงานกำจัดกำมะถัน   สิ่งปนเปื้อนเหล่านี้ จะสร้างภัยพิบัติต่อสุขภาพมากกว่า เพราะอยู่ในอากาศที่คนต้องหายใจ

ในกระบวนการนี้ คงต้องมีขั้นตอน/วงจรของการขัดล้างของเสียแข็งออก  เนื่องจากเป็นสภาวะที่มีความเป็นกรดสูง ก็คงไม่น่าประหลาดใจเลย ว่าอาจจะมีปัญหาฝนกรดเกิดขึ้นจากการปล่อยก๊าซดังกล่าว  อันตรายจากสารกัมมันตรังสีในก๊าซที่ปล่อยออกมาจะทวีคูณหลายเท่าตัว เมื่อถูกสูดเข้าในลมหายใจ  อนุมูลสารกัมมันตรังสีและฝนกรด จะแผ่ขยายไปกว้างไกล

ยิปซั่มและสารเคมีแคลเซียมคาร์บอเนต
ลีนัสได้ประกาศว่า ผลผลิตเหล่านี้ ขายได้ และมีตลาดรองรับอยู่แล้วในมาเลเซีย   แต่ที่สำคัญกว่า คือ ผลผลิตเหล่านี้ จะต้องแน่ใจว่า ไม่มีสารกัมมันตรังสีเลย  หากยิปซั่มที่ปนเปื้อน ถูกใช้สร้างโรงงาน มันจะเป็นสาเหตุของภัยต่อสุขภาพที่สาหัสกว่า จากสารใยแก้ว (asbestos) ที่เป็นข่าวใน 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา  การก่อสร้างที่ใช้ยิปซั่ม (ที่แม้จะปนเปื้อนนิดเดียว) ก็จะถูกกล่าวโทษ และยิปซั่มจะถูกห้ามใช้ ซึ่งจะเป็นการขาดทุนครั้งยิ่งใหญ่

สารเคมีแคลเซียมคาร์บอเนต โดยทั่วไป จะถูกใช้เป็นส่วนประกอบของปุ๋ย  หากมันมีกัมมันตรังสี และใช้ในอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันปาล์ม  มันสามารถทำให้น้ำมันปาล์มนั้น ไม่เหมาะสำหรับการบริโภคของมนุษย์  ซึ่งจะเป็นภัยคุกคามต่อภาคอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มโดยรวมของมาเลเซีย

ของเสียในลักษณะแท่งคอนกรีต
ลีนัสได้เสนอการกำจัดของเสียที่เป็นพิษโดยการฝังในแท่งคอนกรีต   แต่หลายประเทศได้ห้ามใช้วิธีการนี้ เพราะมันเพิ่มพิษภัยหลายเท่า  แท่งคอนกรีตเหล่านี้ อาจถูกนำมาใช้ปูลาดทางเดินริมถนน หรือในสวนสาธารณะ

ผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
มาเลเซียได้ประโยชน์ทางการเงินเพียงเล็กน้อย เพราะรัฐบาลจะให้สัมปทานแก่ลีนัส ด้วยการปลอดภาษีถึง 12 ปี และยังมีอายุขัยการทำงานที่เตรียมการณ์ไว้แล้ว นานถึง 10 ปี และสามารถจะยืดอายุต่อได้อีกถึง 10 ปี  กล่าวโดยสรุป คือ โรงงานลีนัส-เกบัง เป็นกระบวนการแต่งแร่หายาก ซึ่งวัตถุดิบขุดมาจาก เหมืองภูเขาเวลด์ (Mt. Weld Mine) ในออสเตรเลียตะวันตก   ของเสียทั้งมวลที่อาจเป็นพิษและมีกัมมันตรังสี จะถูกทิ้งและธำรงอยู่ในมาเลเซียตลอดไป

ส่วนโอกาสการจ้างงานนั้น มีเพียงเล็กน้อย เพราะโรงงานนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้คนงานมาก  ส่วนมากจะใช้เพียงแรงงานไร้ฝีมือ  จะจ้างนักเทคนิคและจัดการชาวมาเลเซียเพียงไม่กี่คน นอกนั้น เป็นชาวต่างชาติเสียส่วนใหญ่

ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค
นอกจากจีนแล้ว ไม่มีผู้เชี่ยวชาญทางแร่หายากในจำนวนมากพอสำหรับโรงแต่งแร่หายากที่ลีนัสเสนอ   ประเทศจีนผลิตนักแต่งแร่หายากมากถึง 85% ของโลก  โรงงานของจีนประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมรุนแรง และหลายๆ แห่งก็ถูกปิดด้วยสาเหตุดังกล่าว


ข้าพเจ้าหวังว่า ความเห็นข้างต้น จะช่วยทำความจริงให้ปรากฏ ถึงประเด็นเทคนิคต่างๆ ที่ลินัสจะต้องเปิดเผย จนทุกฝ่ายพอใจ  ข้าพเจ้ายอมรับว่า การคำนวณที่นำเสนอนี้ ตั้งอยู่บนข้อสมมติหลายประการ ทั้งนี้เพราะความจำกัดของข้อมูลที่ข้าพเจ้าค้นหาได้   ข้าพเจ้าได้แต่นำเสนอประเด็นและสร้างรูปแบบ เพื่อให้ลินัสตอบกลับ  หากประเด็นคำถามทั้งหลายเหล่านี้ ได้รับการชี้แจงอย่างเพียงพอจากลินัส ก็จะช่วยบรรเทาความห่วงใยสาธารณะ รวมทั้งความเข้าใจผิด   นี่น่าจะเป็นเรื่องที่ลินัสพึงให้ความสนใจ ในฐานะที่เป็นบรรษัทพลเมืองที่ดี เพื่อชนะใจและแรงสนับสนุนจากของสาธารณชน เพื่อปกป้องการลงทุนของตน  มิฉะนั้น ลินัสอาจถูกกล่าวหาว่า ขาดความโปร่งใส ด้วยการไม่ยอมเปิดเผยหรือลักปิดลักเปิดข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ   ลินัสมีหน้าที่รับผิดชอบในการแถลงความเสี่ยงเชิงสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวพันกับโครงการนี้   ส่วนหน่วยงานรับผิดชอบของภาครัฐ ก็มีหน้าที่รับผิดชอบ ที่จะทำให้แน่ใจว่า ลินัสปฏิบัติตาม ก่อนที่จะออกสัมปทานบัตรให้ลินัส   หน่วยงานภาครัฐ ควรจะมุ่งมั่นในจุดนี้ เพราะเคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว โดยบรรษัท Asia Rare Earth ซึ่งสร้างภัยพิบัติในบริเวณ Bukit Merah ในมาเลเซีย   และในครั้งนั้น โรงงานใช้ REO เพียง 4,000 ตันต่อปี (ซึ่งเป็นโรงงานใหญ่ที่สุดในตอนนั้น)   หากหน่วยงานรัฐล้มเหลวที่จะทำงานรัดกุมให้แน่ใจเต็มที่ ก็สามารถเกิดผลกระทบที่เป็นภัยพิบัติต่อสุขภาพและสวัสดิภาพของมาเลเซีย  นอกจากนี้ ยังอาจสร้างหนี้สินสาหัส หากอุตสาหกรรมการประมงในทะเลจีนใต้ทั้งแถบ ถูกคุกคามหรือถูกทำลาย

มาเลเซียควรขอคำปรึกษาจากจีน ซึ่งมีผู้ชำนาญที่แท้จริงพร้อมทั้งมีประสพการณ์จริงทางปฏิบัติ  โปรดสังเกตว่า รัฐบาลจีนได้ปิดโรงงานดังกล่าวไปแล้วหลายแห่ง เพราะเหตุผลเชิงสิ่งแวดล้อม  จีนได้ประกาศแล้วว่า กำลังร่างกฎระเบียบใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติดังกล่าวในอนาคต

ข้าพเจ้าไม่มีทางเลือก ได้แต่รู้สึกว่า ทัศนคติของลีนัสนั้นอหังการ์ เพราะไม่ยอมเปิดเผยและไม่เต็มใจให้มีการปรึกษาหารือในที่สาธารณะ (public consultation)   ลินัสควรตระหนักว่า ความสำเร็จในการดำเนินการ จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือเต็มที่จากประชาชนท้องที่ นอกเหนือจากการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่รัฐบาลได้กำหนดขึ้น   ความไม่เต็มใจของลินัส ในการเปิดเผยข้อมูลทั้งหมด หรือแนวโน้มของลินัส ที่มักจะออกแถลงการณ์ ที่ขาดการหนุนรับด้วยข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้ รังแต่ทำให้ประชาชนสงสัยในความสัตย์ซื่อของลินัสเอง
………….
บทความนี้ ส่งโดย Kai-Lit Phua เอพีไอเฟลโล มาเลเซีย
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ เอพีไอเฟลโล ประเทศไทย (แปล)
6-29-11

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น