วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

การพัฒนา หรือ ภัยมนุษย์สร้าง ในนามของความเจริญ

เกินคาด! ไร่นาแดนมังกรหลายล้านไร่ พืชผล 10 กว่าล้านตัน
ปนเปื้อนพิษโลหะหนัก
เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ - สารพิษโลหะหนักปนเปื้อนพื้นที่และพืชผลเกษตรบนแดนมังกร สร้างความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพของชาวจีน เป็นปัญหาใหญ่ที่เพิกเฉยไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งสื่อทางการเผย (22 ก.พ.) ว่า พื้นที่การเกษตรหลายล้านไร่ กอปรกับพืชพันธุ์ธัญญาหารอีกกว่า 12 ล้านตันปนเปื้อนสารพิษจากโลหะหนัก

อีโคโนมิกส์ วีคลี นิตยสารภายใต้การดูแลของสำนักข่าวพีเพิลเดลีของจีน เปิดเผยผลทดสอบอันน่าตะลึงล่าสุดเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสาธารณสุขของเมล็ดข้าวบนแผ่นดินจีนในฉบับล่าสุด (21 ก.พ.) ถือเป็นข่าวที่น่าตกใจในรอบสัปดาห์ ที่สะท้อนแนวโน้มความไม่ปลอดภัยในการบริโภคของจีน

นอกจากนั้น นิตยสารเซนจูรี วีคลี เผยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า นาข้าวในจีนปนเปื้อนสารพิษจากโลหะหนักถึงร้อยละ 10 เช่น สารแคดเมียมที่ก่อมะเร็ง ขณะที่นิตยสารไชน่า อีโคโนมิกส์ วีคลี อ้างผลวิจัยของสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์ของจีน ว่า ปัญหาสารพิษจากโลหะหนักได้แพร่ระบาดสร้างความเสียหายต่อแหล่งปลูกข้าวในพื้นที่มณฑลทางตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ อวิ๋นหนาน (ยูนนาน) หูหนาน ก่วงตง (กวางตุ้ง) และก่วงซี และอ้างว่าจะส่งผลกระทบต่อคนจีนอย่างหนัก

หลังจากมีการขยายตัวของโรงงานถลุงแร่และผลิตถ่านหิน ทำให้หลายหมู่บ้านในบริเวณใกล้โรงงานเหล่านั้น ได้รับขนานนามว่าหมู่บ้านมะเร็งไปตาม ๆ กัน

สถิติจากกระทรวงทรัพยากรแผ่นดินจีนระบุว่า ข้าวปนเปื้อนฯเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนอย่างมาก โดยความเสียหายฯจากข้าวปนเปื้อนฯที่สามารถเลี้ยงคนได้มากกว่า 40 ล้านคน มีมูลค่าถึง 20,000 ล้านหยวน (ประมาณ 93,000 ล้านบาท)

สำนักข่าวซินหวา ยกคำกล่าวของ ซุน เหวินเซิ่ง อดีตรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรแผ่นดิน ว่า ปัญหาที่ดินที่มีสารพิษอยู่ในระดับที่น่าตกใจ จากพื้นที่การเกษตรจีน 750 ล้านไร่ ปนเปื้อนสารพิษจากการถลุงแร่โลหะหนักและอื่น ๆไปแล้วร้อยละ 10 หรือประมาณ 75 ล้านไร่ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นถ้อยแถลงของรัฐมนตรีฯ หรือการค้นพบนักวิจัย ก็เป็นเครื่องยืนยันแน่ชัดว่า การปนเปื้อนสารพิษในอาหารของจีนอยู่ในขั้นสาหัสแล้ว

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ระดับมณฑลบางคนไม่เห็นด้วยกับนักวิทยาศาสตร์ และมองว่าการเปิดเผยผลวิจัยฯ จะทำให้เกิดความตื่นกลัวเกินไป

สารพิษจากโลหะหนักได้แพร่กระจายออกไปตามน้ำฝน ทั้งในมณฑลหูหนาน ส่านซี เจียงซู ซานตง และก่วงตง และได้กลายเป็นข่าวอื้อฉาวใหญ่เมื่อไม่กี่เดือนมานี้

เดือนที่ผ่านมา เด็กกว่า 200 คนในมณฑลอานฮุย อายุระหว่าง 9 เดือน ถึง 16 ขวบ ได้รับสารพิษตะกั่วจากโรงงาน สถิติทางการระบุว่า ในปีที่แล้ว มีกรณีการแพร่กระจายสารตะกั่วปนเปื้อนอย่างน้อย 9 ครั้ง และมีข่าวอื้อฉาวสารพิษโลหะหนักอีก 12 ครั้งในปี 2552

ปัญหาพื้นดินปนเปื้อนไม่เพียงแต่คุกคามความปลอดภัยด้านอาหารของจีน แต่ยังก่อให้เกิดความไม่พอใจจนอาจกลายเป็นปมปัญหาใหม่ที่กระตุ้นความไม่สงบได้ เนื่องด้วยการประท้วงหลายครั้งก็ได้ยกเรื่องสารพิษจากโลหะหนักมาโจมตีรัฐบาลด้วย

กระทั่งนายกเวิน จยาเป่าของจีน และ โจว เซิงเสียน รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม ก็ยอมรับว่า ปัญหาสารพิษจากโลหะหนักเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่แย่สุดที่จีนประสบ และลั่นสัญญาว่าจะเริ่มกระบวนการแก้ไข
แต่ผู้เชี่ยวชาญ และนักสิ่งแวดล้อม ได้แสดงความผิดหวังที่รัฐบาลไม่ค่อยตระหนักหรือมีมาตรการในเรื่องนี้

กระทรวงสิ่งแวดล้อมจีนเผยทางเว็บไซต์สัปดาห์นี้ว่า มณฑลที่มีปัญหาหนักที่สุด 14 มณฑล ได้ขึ้นบัญชีเป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบจากสารพิษโลหะหนัก และจะดำเนินการตามแผนแก้ปัญหามลภาวะ 5 ปี ซึ่งแผนดังกล่าวได้รับอนุมัติจากการประชุมคณะมุขมนตรีที่ผ่านมา แต่ทว่าแผนฯ ก็ไม่เปิดเผยรายละเอียดใด ๆ ระบุเพียงว่าแผนดังกล่าวเป็นความลับของชาติ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 กุมภาพันธ์


เพื่อโปรดกระจายข่าวข้อเท็จจริงเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ Fukushima/Japan (11/3/2011)สาเหตุ
1.
แผ่นดินไหว 9 Richter (ออกแบบไว้เพียง 8 Richter) ทำให้เครื่องหยุดเดินทันทีอัตโนมัติ, ไฟดับทั้งเมือง
2.
เกิด Tsunami ตามมา น้ำท่วม เครื่องปั่นไฟสำรองเสียหาย
สถานการณ์ในโรงไฟฟ้า
1.
อุณหภูมิของเครื่องปฎิกรณ์นิวเคลียร์/แท่งยูเรเนียมจะอยู่ที่ประมาณ 200 – 400 C ถึงแม้เครื่องดับแล้วก็ต้องมีน้ำมาหล่อเย็นตลอดเวลา
2.
เจ้าหน้าที่จึงต้องใช้ไฟสำรองจากข้างนอกมาเดินปั้มน้ำ เพื่อฉีดน้ำระบายความร้อน
3.
ความร้อนของเครื่องสูงทำให้น้ำแตกตัวเป็นไฮโดรเจน และรวมตัวเป็นก๊าซไฮโดรเจนลอยไปสู่ด้านบนของโรงไฟฟ้า เมื่อสะสมตัวมากขึ้น ก็จะกลายเป็นลูกโป่งไฮโดรเจนความร้อนสูง เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำก็จะระเบิด
สรุป โรงไฟฟ้าหมายเลข 1, 3 และ 4 ระเบิด เป็นการระเบิดเนื่องจากก๊าซไฮโดรเจนที่ลอยอยู่บนเพดานของโรงไฟฟ้า ไม่ใช่เกิดการระเบิดจากแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ (ยูเรเนียม) แบบเชอร์โนบิล ของรัสเซีย จึงทำให้มีสารกัมมันตรังสีที่เล็ดรอดออกมาน้อยมาก
1. ญี่ปุ่นจึงอพยพคนเพื่อความปลอดภัย ในรัศมี 30 กิโลเมตร รอบโรงไฟฟ้า และให้กินเกลือไอโอดีนเพื่อป้องกันสารรังสีเข้าสู่ร่างกาย
2.
โอกาสที่ฝุ่นกัมมันตรังสีจะมาถึงเมืองไทยมีน้อยมาก ไม่ควรเป็นกังวล เพราะทิศทางลมส่วนใหญ่จะวิ่งไปทางมหาสมุทรแปซิฟิก สู่อเมริกา และระยะทางก็ไกลมาก
3.
ประเทศไทยเรามีสถานีตรวจวัดรังสีในสิ่งแวดล้อมทั้งหมด 8 แห่งรอบประเทศ (กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, ขอนแก่น, นครปฐม, สงขลา, ฯลฯ) สามารถตรวจวัดระดับรังสีที่ผิดปกติได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการส่งข้อมูล Online มายังศูนย์กลางที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ที่กรุงเทพฯ
4.
ประเทศไทยเรามีมาตรการควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินทางรังสี มาตรฐานเดียวกับญี่ปุ่น โดยใช้ของทบวงการพลังงานปรมาณูเป็นต้นแบบ
จึงเรียนมาเพื่อให้พี่ๆ และทุกคนในครอบครัวได้คลายความวิตกกังวลจากกระแสข่าวลือที่ post ไปทาง facebook, twitter, etc.สมพร จองคำ
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ
หากพี่ๆ ต้องการติดตามข่าวแปลสถานการณ์ดังกล่าว ได้ที่
www.tint.or.th (
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ)
www.oaep.go.th (
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ)
www.nst.or.th (
สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย)

--
*
ท่านได้รับข้อความนี้จากกลุ่มสานเสวนา "ผู้สร้างสรรค์ระบบสุขภาพไทยและผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน"
 
นายแพทย์อลงกต โกศัลวิทย์

ปล  สรุปแล้ว ไทยยังต้องการเดินหน้าสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ตามที่มีโฆษณาในวิทยุ สลับกับข่าวมหันตภัยในญี่ปุ่น และข่างแผ่นดินไหวในพม่า ... เพราะภัยธรรมชาติ ... ยังอยู่ห่าง ประเทศไทย และกรุงเทพฯ  .... อีกไม่นาน ทุกอย่างก็กลับสู่ปกติเอง  และเราก็ถลุงทรัพยากรธรรมชาติ และเวลาได้ต่อไป ... มันยังอยู่ไกล   
ดังนั้น ไม่ต้องตื่นตระหนก เรามีผู้เชี่ยวชาญ สำเร็จปริญญามากมาย   ...
-ดรุณี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น