วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เครือข่ายเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดร่วมกันของเกษตรกรรายเล็กและตลาดยุคโลกภิวัตน์


เราต้องการท้าทายบางส่วนของการอภิปรายเรื่องผู้ประกอบการรายเล็กและตลาด
บิล วอร์ลีย์  ผู้ประสานงาน โปรแกมความรู้เรื่องผู้ผลิตรายเล็กผู้กำหนดวิถีตนเองในตลาดโลกาภิวัตน์  แห่งสถาบันนานาชาติสำหรับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (IIED)

“We want to challenge parts of the discussion around smallholders and markets”
Anna Barnett interviews Bill Vorley (bill.vorley@iied.org), Int’l Inst. For Environment and Development (IIED), coordinating a new Knowledge Programme on Small Producer Agency in the Globalized Market
Farming Matters, December 2010, pp.26-27

เกษตรกรรายเล็กกำลังถูกชักนำให้ก้าวเข้าสู่ตลาดนานาชาติโดยอ้างว่า จะเป็นหนทางก้าวออกจากความยากจน และพวกเขาก็จำเป็นที่จะต้องป้องกันผลประโยชน์ของตัวเอง รวมทั้งตัดสินใจเลือกอย่างมีประสิทธิภาพ 

เหตุใดคุณถึงเริ่มโปรแกมใหม่เกี่ยวกับเกษตรกรรายเล็ก?  โปรแกมนี้จะตอบสนองประเด็นอะไร?
ตอนนี้ ความคาดหวังต่างๆ ได้พากันมาสุมวางอยู่ที่หน้าประตูของเกษตรกรราบเล็ก  พวกเขาถูกคาดหมายว่าจะต้องผลิจอาหารให้เพียงพอเพื่อธำรงความมั่นคงของอาหาร  พวกเขาถูกคาดหวังให้เป็นหัวจักรฉุดชนบทให้ออกพ้นจากความยากจน  พวกเขาถูกคาดหวังให้ปกปักและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและปรับตัวให้เข้ากับภูมิอากาศที่แปรเปลี่ยนไป  และพวกเขาก็ถูกคาดหวังให้รวมตัวกันเป็นรูปองค์กรในระบบตลาดในระดับภูมิภาคและระดับโลก    ด้วยการสร้างวาระเหล่านี้ในโลกของผู้ให้ทุนและเอ็นจีโอนานาชาติ  เราเสี่ยงต่อการทำผิดแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นแล้วกับการแทรกแซงการพัฒนามากมายที่ผ่านมา กระทำต่อคนยากจนและผู้ผลิตรายเล็กประหนึ่ง พวกเขาเป็นเพียงเป้าหมายรับประโยชน์แบบงอมืองอเท้า รอรับจากสิ่งที่กำหนดโดยคนข้างนอกเท่านั้น  แทนที่จะเป็นผู้กุมชะตาชีวิตของตนเอง (agents) ในการพัฒนาและเป็นตัวละครเชิงเศรษฐกิจที่มีสิทธิ์อันชอบธรรมของตนเอง   วัตถุประสงค์ของโปรแกมความรู้นี้ คือ เปลี่ยนแนวปฏิบัติการเช่นนี้

ที่คุณบอกว่าเกษตรกรรายเล็กเป็นผู้กุมชะตาชีวิตของตนเองในการพัฒนานั้น คุณหมายความว่าอย่างไร?
เราให้คำนิยามคำว่า ผู้กุมชะตาชีวิตของตนเอง (agency) ว่า เป็นสมรรถนะของผู้ผลิตรายเล็กในการตัดสินใจเลือกหนทางอย่างมีประสิทธิภาพ ที่จะส่งเสริมความสนในหรือประโยชน์ของพวกเขา และสามารถปฏิบัติได้ในทางที่ตนเลือก
            ไม่มีที่ไหนที่ต้องการสมรรถนะดังกล่าว มากไปกว่าในตลาด มีคำสัญญามากมายข้างนอกโน่น เกี่ยวกับความสามารถของตลาดที่จะ ทำงานเพื่อคนยากจน   ในโลกส่วนใหญ่ โลกาภิวัตน์กำลังเปลี่ยนวิธีการทำงานของตลาด ซึ่งเผยให้ผู้ผลิตรายเล็กต้องเผชิญหน้ากับทั้งความเสี่ยงและโอกาส   ราคาอาหารจะถีบตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะอุปสงค์เพิ่ม  การแปรเปลี่ยนของภูมิอากาศ  การค้าเก็งกำไร    มีเอ็นจีโอในชนบทที่เที่ยวบอกชาวไร่ชาวนาว่า คุณจะต้องเพิ่มความหลากหลายของพืชพันธุ์ จะต้องปลูกพืชที่มีมูลค่าสูง จะต้องรวมตัวกันเป็นสหกรณ์    แล้วก็มีบริษัทที่ออกไปเป็นแมวมอง สอดส่องหาแหล่งผลผลิตใหม่ๆ    แล้วก็มีตลาดใหม่ๆ ที่ทำตัวเป็นอุปกรณ์ในการจ่าย ผู้ใช้ที่ดิน เพื่อให้พวกเขาจัดการคาร์บอนในพื้นดินของพวกเขา และจัดการกับความหลากหลายทางชีวภาพในไร่นาของตน
            ดังนั้น ผู้กุมชะตาชีวิตของตนเอง คือ ความรู้และทักษะที่จะค้นหาวิถีของตัวคุณเองโดยก้าวสู่หนทางของการเสี่ยงและโอกาสรวมทั้งการร่วมกำหนดกติกาที่ปกครองพวกเขาด้วย

แล้วโปรแกมความรู้นี้ จะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร?
            เราได้ก่อตั้งเครือข่ายสากลแห่งการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่เราได้ร่วมทำงาน สนับสนุน และชี้นำผู้ผลิตรายเล็ก   ไม่ใช่แค่นักวิจัย แต่รวมถึงผู้นำชาวไร่ชาวนา พ่อค้าแม่ขาย และนักธุรกิจ ตรงนั้น มีอดีตผู้อำนวยการของบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ของอินเดีย และตรงนี้ ก็มีเจ้าหน้าที่ของสหพันธ์ชาวไร่ชาวนาภาคพื้นอาฟริกา เหล่านี้เป็นต้น  เครือข่ายการเรียนรู้นี้กำลังดำเนินโปรแกมการวิจัยและรณรงค์  สะท้อนเสียงใหม่ๆ และการวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการรายเล็กที่กุมชะตาชีวิตตนเอง (smallholder agency) และมีส่วนร่วมในการอภิปรายของโลก   เป้าประสงค์ คือ ค้นหาชิ้นส่วนใหม่ๆ ของแผงเกมภาพต่อ เช่น ข้อตกลงการค้าในภูมิภาค  การจัดตัวที่จะเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ผลิตรายเล็กในห่วงโซ่อุปทาน  และวิธีการที่ตลาดนอกระบบจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

คุณกำลังพูดถึงการต่อกรกับการเปลี่ยนแปลงที่คืบขยายอย่างมหึมาในโลก  คุณจะเผชิญหน้ากับความท้าทายที่มีขนาดต่างกันอย่างมหาศาลเช่นนี้อย่างไร?
            ทั่วโลกมีชาวไร่ชาวนารายเล็กอยู่ประมาณครึ่งพันล้านคน   ดังนั้น คงเป็นเรื่องขบขันที่จะพูดว่า เราจะเป็นเพียงองค์กรเดียวที่สนับสนุนผู้ผลิตรายเล็กให้ค้นหาทางเดินของพวกเขาในสถานกาณ์ที่ท้าทายอย่างใหญ่หลวงเช่นนี้
            แต่โมเดลเครือข่ายการเรียนรู้ให้อะไรได้หลายอย่าง   โปรแกมนี้ในภาพรวม เป็นการร่วมมือระหว่างเครือข่ายการเรียนรู้นี้  IIED ในสหราชอาณาจักร และ HIVOS ในเนเธอร์แลนด์   โบลิเวียเป็นผู้นำในเครือข่ายนี้ โดยมีกลุ่มสมาชิกกระจายอยู่ในเปรู  นิคารากัว  เคนยา  อูกันดา  อินเดีย และอินโดนีเซีย   กลุ่มเหล่านี้ ต่างก็มีเครือข่ายในประเทศของตน   พวกเขามีรากที่ติดดิน  และภูมิปัญญาที่พวกเขาพัฒนาขึ้น ก็สามารถจะแผ่ขยายไปทั่วเครือข่าย  มันไม่ค่อยจะเป็นการไหลจากบนสู่ล่าง หรือล่างสู่บน แต่เป็นการแบ่งปันเผยแพร่ แผ่ขยายตรงกลาง  การพัฒนานี้ได้ผ่านไป 18 เดือนแล้ว และภายในสิ้นปีหน้า ผมคิดว่า ภูมิปัญญาที่มีประโยชน์แท้จริง บางอย่างจะเกิดขึ้น

ในยุโรป คุณได้เริ่มการอภิปรายเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องใน รายการยั่วโมโห เกี่ยวกับเกษตรกรรมรายเล็ก  คุณมีจุดประสงค์อะไร?
            เราต่างตระหนักว่า นโยบายการพัฒนาส่วนใหญ่ล้วนถูกกำหนดในสำนักงานใหญ่ของกระทรวงและบรรษัทธุรกิจ  ดังนั้น คุณก็จำเป็นที่จะต้องเขย่าต้นไม้ในยุโรปด้วย   นี่คือเหตุผลที่เราริเริ่มรายการ ยั่วโมโห โดยจี้ไปที่สมมติฐานใหญ่ๆ ในเรื่องตลาดและการผลิตขนาดเล็ก

ทำไม ยั่วโมโห?  คุณกำลังพยายามปลุกปั่นประชาชนหรือ?
            เราต้องการจะท้าทายการอภิปรายบางส่วนที่เกิดขึ้นในเรื่องผู้ประกอบการรายเล็กและตลาด ที่กำลังติดหล่มอยู่  เช่น วิธีการที่วงการพัฒนาได้สร้างภาพเส้นทางการพัฒนาที่ตรงกันข้าม  ป้ายเส้นทางหนึ่งบอกว่า บนพื้นฐานกรรมสิทธิ์ ส่วนอีกป้ายหนึ่งว่า บนพื้นฐานตลาด   หรือเส้นแบ่งแยกอยู่ที่ว่า วงการพัฒนามองดูผู้ประกอบการรายเล็กอย่างไร และมองดูคนงานในไร่นาอย่างไร   ในแต่ละตอนของ ยั่วโมโห เป็นการนำเสนอสาระยาว 3 ชั่วโมง ที่ท่องไปในเมืองต่างๆ ในยุโรป เผยแพร่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตพากย์อังกฤษและสเปน รวมทั้งสื่อผ่านเว็บของ Farming Matters

เกษครกรรายเล็กจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้ได้อย่างไร?
            ในประเทศที่เรามีสมาชิกเครือข่ายการเรียนรู้นี้ ผู้ประกอบการรายเล็กจะสามารถเข้าร่วมกับพวกเขาได้   และเราก็ส่งเสริมผู้ผลิตรายเล็กและองค์กรของพวกเขาอย่างจริงจัง รวมทั้งนักธุรกิจและนักวางนโยบาย ให้เชื่อมต่อกับโปรแกมของเราทางเว็บไซต์ที่ IIED และ HIVOS เพื่อช่วยให้เราสามารถนำมุมมองใหม่ๆ สู่เวทีการอภิปรายนี้ เกี่ยวกับผู้ประกอบการรายเล็กกับตลาด

dt/12-28-10

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น