วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

100 ปี สตรีสากล...คนงานหญิงเอเชียฉลองอะไร?

เบิกฤกษ์การเฉลิมฉลองหนึ่งศตวรรษของวันสตรีสากล
Launch of the celebration of 100 years of International Women’s Day

เมื่อวันที่ 10 ธค 2009 ณ กรุงเทพฯ ซึ่งตรงกับวันรัฐธรรมนูญ CAW (Committee for Asian Women, มูลนิธิเพื่อแรงงานหญิง) ได้เปิดตัวการเริ่มต้นการฉลองครบรอบ  100 ปี ของวันสตรีสากล (International Women’s Day, IWD 100)  และได้ประกาศการจัดกิจกรรมตลอดหนึ่งปี เพื่อแสดงคารวะต่อการต่อสู้ของคนทำงานหญิงทั่วโลก   10 ธค ก็เป็นวันที่เครือข่ายคนทำงานบ้านสากล (International Domestic workers Network) กำหนดให้เป็น วันรณรงค์สากลสำหรับคนทำงานบ้าน (International Day of Action for Domestic Workers)

คนทำงานหญิงเกือบ 300 คน จากเกือบ 20 ประเทศในเอเชีย ลาตินอเมริกา และยุโรป เข้าร่วมการประชุมสุดยอดคนงานหญิง 2009 รวมทั้งผู้แทนจากกลุ่มเครือข่ายของ CAW และกลุ่มคนงานหญิงไทย เช่น HomeNet Thailand, มูลนิธิผู้หญิง  มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก มูลนิธิเพื่อนหญิง  โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย  กลุ่ม Solidarity สหภาพคนงาน Triumph  สหภาพมหานคร (Metropolitan Trade Union) และสหภาพกระเหรี่ยงย้ายถิ่น (Migrant Karen Trade Union)

ผู้เข้าร่วมสวมหมวกสีม่วง และผ้ากันเปื้อนสีชมพูเดินขบวนเป็นทิวแถวรอบตลาดห้วยขวาง ในขณะที่ตะโกนคำขวัญและเรียกร้องให้คนทำงานบ้านได้รับสิทธิและการคุ้มครองเท่าเทียมกัน   การรวมพลในที่สาธารณะเพื่อฉลองสองวาระซ้อนนี้ มีการกล่าวปาฐกถาโดยผู้ประสานงาน CAW และผู้แทนจาก ILO  จากนั้น ผู้แทนได้อ่านแถลงการ IWD 100 และ การสนับสนุนคนทำงานบ้าน   แถลงการณ์ทั้งสองได้ถูกนำเสนอต่อ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน  กระทรวงแรงงาน และ ILO
………
แถลงการณ์จากที่ประชุมสุดยอดของคนทำงานหญิง 2009
Statement of Women Workers Summit 2009
“Women Workers at the Front Line of Sustainable Solutions”
Statement of the First Women Workers Summit
9th-10th December 2009

พวกเรา  กว่า 100 ชีวิตในที่ประชุมครั้งที่หนึ่งของการประชุมสุดยอดของคนงานหญิงเอเชีย... จาก 20 ประเทศ  เป็นตัวแทนของขบวนการคนงานหญิงที่มาจากภาคการผลิตในโรงงาน  ในบ้านเรือน  เกษตรกรรม  สวนเกษตรพาณิชย์ คนทำงานบ้าน และคนงานย้ายถิ่น ชาวประมง ชาวไร่ชาวนา และองค์กรสนับสนุน ได้รวมตัวกัน เพื่อวิเคราะห์และเผชิญหน้ากับผลกระทบหลักจากวิกฤตการเงินโลกต่อชีวิตของพวกเรา   พวกเราแสวงหาจุดเชื่อมความเพียรพยายาม และรวบรวมพลังพี่สาวน้องสาวในการสร้างวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ร่วมเพื่อให้บรรลุทางแก้ไขที่ยั่งยืน ต่อวิกฤตเงินทุนโลกที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยการสร้างขบวนการขับเคลื่อนแรงงานหญิงที่มีจิตสำนึกในเอเชีย

คนงานหญิงแบกภาระหลายชั้น และเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อน เพราะประวัติศาสตร์ของการถูกเลือกปฏิบัติ ถูกขูดรีด และกดขี่ในสังคมเอเชีย และส่วนอื่นๆ ของโลก  ในโลกของทุนนิยมเสรีใหม่ ความเหลื่อมล้ำนี้ปรากฏชัดเจนในบ้านและทื่ทำงาน  ทุกวันนี้ คนงานหญิงกำลังเผชิญหน้ากับห้วงเวลาแห้งความสับสนแปรปรวนในประวัติศาสตร์ของทุนนิยม   ลัทธิทุนนิยม ได้ประสบความล้มเหลวในการสร้างและส่งมอบความก้าวหน้าและการพัฒนาที่ได้สัญญาไว้มาหลายทศวรรษ   ที่แย่กว่านั้น วิกฤตก็มาพร้อมกับการทำลายล้างพลังการผิต  แหล่งทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานของโลก  วัฒนธรรม และชุมชน  ซึ่งแสดงออกอย่างชัดเจนในการแปรเปลี่ยนของภูมิอากาศ และวิกฤตอาหาร ยังผลเสียหายมหาศาล เช่น การบังคับให้ย้ายถิ่น ความยากจนสุดโต่ง และความอดอยาก  สำหรับคนงานหญิง วิกฤตการเงินโลกทุกวันนี้ มีรากเหง้าอยู่ในความโลภของระบบทุนนิยม ระบบปิตาธิปไตย นะบบจักรวรรดินิยม ระบบการล่าอาณานิคมยุคใหม่  ระบบคลั่งศาสนา และการแผ่แสนยานุภาพทางอาวุธยุทโธปกรณ์

70% ของคนงานยากจนเป็นผู้หญิง ซึ่งจะพบได้ในงานประเภทด้อยทักษะและไม่มั่นคง  คนงานหญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในนิคมส่งออก เผชิญหน้ากับการสูญงานและสภาพการทำงานและอยู่อาศัยที่เสื่อมโทรม  และการถูกผลักไสเป็นจำนวนมากสู้งานนอกระบบที่เสี่ยงต่ออันตรายและไม่ปลอดภัย   การไม่มีว่าจ้างทำ  การขึ้นราคาของอาหารและเชื้อเพลิง การลดรายจ่ายของภาครัฐบาลในลริการสาธารณสุขและสังคม ล้วนทับถมลงมาที่แรงงานที่ไม่มีค่าจ้างของหญิงในบ้านและชุมชน  คนงานหญิงย้ายถิ่นในเอเชีย ได้มีส่วนร่วมในการสร้างความมั่งคั่งในประเทศเจ้าภาพ แต่ไม่ถูกวัดหรือนับรวม และได้มาจากการสูญเสียของครอบครัวและชุมชนของพวกเธอ  พวกเธอเป็นกลุ่มแรกที่จะสูญเสียงานทำในยามวิกฤต

ในด้านอาหารและเกษตรกรรม โลกาภิวัตน์ ได้เพิ่มความเข้มข้นของการขยายการผูกขาดของบรรษัทเหนือห่วงโซ่ทางอาหาร ตั้งแต่กระบวนการผลิตถึงการตลาด และการขูดรีดแรงงานของผู้หญิง  ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ  อันนำไปสู่การสูฯเสียกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรสำคัญๆ เช่น ที่ดิน ป่า น้ำ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมล็ดพันธุ์ ที่เป็นพื้นที่ของผู้หญิง

รัฐบาลเอเชียตอบโต้วิกฤตด้วยชุดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ให้ลำดับความสำคัญต้นๆ แก่การวิดบรรษัทออกจากหล่มและยกเว้นภาษี  ทางแก้ไขเล่านี้ ไม่รวมผู้หญิงและชุมชน  มาตรการเหล่านี้ ไม่มีข้อไหนที่มุ่งแก้ที่รากเหง้าของปัญหาของวิกฤตทุนนิยมโลก และการจมลึกยิ่งขึ้นของความไม่เท่าเทียมเชิงสังคม-เศรษฐกิจและเจนเดอร์

พวกเราขอเรียกร้องให้ยกเครื่องระบบเศรษฐกิจที่มุ่งกอบโกยกำไร และเห็นชอบกับนโยบายเศรษฐกิจที่ยั่งยืน มีความเป็นธรรมทางสังคม และมีความเท่าเทียมในมิติหญิงชาย  ทั้งนี้ รวมถึงการละเลิกการขึ้นตลาดต่างชาติ แต่เข้าข้างนโยบายอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในประเทศที่เหมาะสม และ ละเลิกนโยบายที่พึ่งพิง แรงงานเพื่อการส่งออก แต่เข้าข้างการจ้างแรงงานเต็มตัวในประเทศของตน

ดังนั้น พวกเราขอเรียกร้อง
-          การสร้างงาน และวิถีชีวิตที่ยั่งยืนในระบบเศรษฐกิจเมืองและชนบท ที่มีการจ้างงานระยะยาวสำรับหญิงและชาย  การผลิตไม่ใช่กระตุ้นด้วยการค้ากำไร แต่ตอบสนองความจำเป็นของมนุษย์
-          คุ้มครองสิทธิ์ที่จะได้ประกอบสัมมาชีพ การจัดรูปองค์กรของตนเอง การตัดสินใจแบบประชาธิปไตย และ การเสริมสร้างพลัง/ศักยภาพของผู้หญิง รวมทั้งการยกระดับทักษะ
-          ยอมรับว่าคนงานนอกระบบก็เป็นคนงานที่พึงได้รับการคุ้มครองสิทธิ์
-          เพิ่มการลงทุนสาธารณะในระบบสาธารณูปโภคทางสังคม เช่น การศึกษา สุขภาพ และการดูแลเด็ก  ยุติธุรกิจเอกชนและการพาณิชย์ด้านการบริการพื้นฐาน
-          ดำเนินการปฏิรูปที่ดินที่ครอบคลุมกว้างและลงทุนในเกษตรยั่งยืน และอธิปไตยทางอาหารในที่ๆ ผู้หญิงเป็นเจ้าของ ผู้จัดการ ผู้พัฒนาที่ดินและทรัพยากรการผลิตต่างๆ
-          ยุติสงครามและความขัดแย้งในเอเชีย และให้สร้างสันติที่แท้จริง ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างมีสาระของผู้หญิงในการสร้างสันติ
-          ขจัดการเลือกปฏิบัติเชิงเจนเดอร์ทุกๆ ประเภท

สุดท้าย ถึงเวลาของการรวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และมีการแทรกแซงอย่างครั้งใหญ่จากตำแหน่งของพวกเราในขบวนการแรงงาน สหภาพ ประชาสังคม และขบวนการสตรี  พวกเราทั้งปวงล้วนร่วมอยู่ในการดิ้นรนที่เกี่ยวกับงานว่าจ้าง อาหาร น้ำ พลังงาน สงครามและความขัดแย้ง การแปรเปลี่ยนภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และสิทธิทางประชาธิปไตย

ในฐานะที่เป็นคนงานหญิงที่ยืนอยู่แนวหน้าของการดิ้นรนต่อสู้เหล่านี้  พวกเรากำลังเปิดประตู  สร้างแนวแบบอย่าง  พวกเรากำลังเขียนบทใหม่ในชีวิตของพวกเรา  พวกเรากำลังสร้างโลกที่มีความเป็นธรรมและมีมนุษยธรรม


แหล่ง  Asian Women Workers Newsletter, Vol.35, 2010 (Jan-Mar): pp.17-18, & 21-22
-แปลโดย ดรุณี 12-25-10

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น