วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทวงคืนสิทธิ์แม่พระธรณี การปลดแอกอาณานิคมทางอากาศ

เครือข่ายสิ่งแวดล้อมดั้งเดิม
หลักการ 4 ประการเพื่อความเป็นธรรมของภูมิอากาศ
สังคมอุตสาหกรรมจะต้องเปลี่ยนคำจำกัดความของความสัมพันธ์กับความศักดิ์สิทธิ์ของพระแม่ธรณี

1. ปล่อยให้เชื้อเพลิงฟอสซิลคงอยู่ในดิน
ปล่อยให้ถ่านหินคงอยู่ในรูน้ำมันอยู่ในผืนดิน ทรายน้ำมันดิบอยู่ในแผ่นดิน   อุบัติเหตุในท้องทะเลได้พิสูจน์แล้วว่า น้ำมันและน้ำไม่ผสมตัวกัน  การเปลี่ยนภูมิอากาศ มีสาเหตุจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล   ให้หยุดการเผาผลาญ ณ ที่แหล่ง   ให้ประชาชนลดการบริโภค    การมีประสิทธิภาพย่อมไร้ความหมายเมื่อปราศจากความพอเพียง   การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจที่ใช้คาร์บอนน้อย ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกระจายพื้นที่เศรษฐกิจและนิเวศน์ใหม่   ด้วยความตระหนักถึงรากเหง้าของปัญหาการเปลี่ยนภูมิอากาศ ประชนคมโลกจะต้องส่งเสียงร้องให้ประเทศอุตสาหกรรมและโลกดำเนินการที่ลดการพึ่งพิงเชื้อเพลิงฟอสซิล   เรียกร้องให้ระงับการสำรวจหาแหล่งใหม่ของน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน  ให้เป็นก้าวแรกของการยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ไม่ต้องมีพลังงานนิวเคลียร์  ให้ก้าวข้ามไปสู่การมีงานทำ  มีพลังงาน และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

2. เรียกร้องให้หาทางออกที่เป็นจริงและมีประสิทธิภาพ
ยุติการส่งเสริมทางออกที่ผิดๆ เช่น การค้าคาร์บอน (carbon trading) คาร์บอนชดเชย (carbon offsets) ที่ใช้ป่าและเกษตรเป็นตัวชดเชย   เชื้อเพลิงเกษตร/ชีวมวล  การเก็บกัก หรือขับออกคาร์บอน (carbon storage and sequestration) เทคโนโลยีถ่านสะอาด  วิศวกรรมธรณี  เขื่อนขนาดยักษ์ และพลังงานนิวเคลียร์    ทางออกเหล่านี้ เป็นการอนุญาตให้ประเทศอุตสาหกรรมที่ร่ำรวยกว่า หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบในการก้าวเปลี่ยนครั้งสำคัญ   ทางออกผิดๆ รังแต่จะอนุญาตให้บรรษัทที่สร้างมลภาวะสามารถทำกำไรเพิ่มต่อไป  อนุญาตให้ประเทศในซีกโลกเหนือมองข้าม (พฤติกรรม) การบริโภคในระดับสูง และขยายการผลิต และปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยังฝืนปฏิบัติเช่นเดิม ดุจไม่มีอะไรเกิดขึ้น   ให้ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ที่ปกป้องสิทธิ์ งาน และความอยู่ดีมีสุขของประชาชน

3. ประเทศอุตสาหกรรม พัฒนาแล้ว ต้องรับผิดชอบ
ผู้ที่ก่อให้เกิดวิกฤตภูมิอากาศ จะต้องรับผิดชอบต่อการปรับตัว
-          เรียกร้องให้ประเทศอุตสาหกรรมยอมรับการแก้ไข Kyoto Protocol ในระยะพันธสัญญาช่วงที่สอง ระหว่าง 2013-2017  ซึ่งประเทศพัฒนาแล้ว จะต้องยอมรับที่จะลดระดับการปล่อยก๊าซภายในประเทศอย่างมีนัยสำคัญ อย่างน้อย 50% บนฐานระดับก๊าซในปี 1990  โดยไม่รวมตลาดคาร์บอน หรือกลไกการชดเชย ที่ปกปิดความล้มเหลวในการลดการปล่อยก๊าซที่แท้จริง
-          อาศัยหลักของประวัติศาสตร์ความรับผิดชอบร่วมแต่หลากรูปแบบ   ขอเรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้ว ให้ตั้งเป้าลดปริมาณก๊าซที่จะทำให้ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกลดลงเป็น 300 หน่วยต่อล้าน (ppm) จำกัดการเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ได้สูงสุด 1 องศาเซลเซียส
-          ประเทศอุตสาหกรรมต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 95% ภายในปี 2050 เทียบกับระดับในปี 1990
-          ยุติการผลิตล้น และการบริโภคเกิน และให้ลดการบริโภคที่สิ้นเปลืองและการผลิตขยะโดยอภิสิทธิ์ชนในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้
-          ประเทศพัฒนาแล้วที่ยอมรับความรับผิดชอบประวัติศาสตร์นี้ จะต้องตระหนักและยอมรับหนี้ภูมิอากาศและนิเวศน์ ในมิติต่างๆ ว่าเป็นพื้นฐานของทางออกที่เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และเป็นวิทยาศาสตร์ ต่อการเปลี่ยนภูมิอากาศ   การคืนพื้นที่ในบรรยากาศที่ขณะนี้เต็มไปด้วยก๊าซเรือนกระจกที่พวกเขาปล่อยออกมา ที่ครอบคลุมประเทศกำลังพัฒนา เป็นการปลดความเป็นอาณานิคมทางอากาศ ด้วยการลดและดูดซับก๊าซที่ประเทศพัฒนาแล้วปล่อยออกมา
-          เรียกร้องให้ซีกโลกเหนือสนับสนุนการเงินแก่ซีกโลกใต้ เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายเพื่อการปรับตัวให้เข้ากับผลของภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และทำการพัฒนาต่อไปในเส้นทางที่ยั่งยืน และจะต้องยอมให้มีการควบคุมอย่างเป็นประชาธิปไตย
-          ยอมรับหนี้เหล่านี้ ว่าเป็นหนี้ที่กว้างใหญ่กว่าต่อพระแม่ธรณี ด้วยการยอมรับและดำเนินการตาม Cochabamba People’s Accord และ ข้อเสนอในรูป กฎบัตรสิทธิของพระแม่ธรณี (Universal Declaration on the Rights of Mother Earth)   จุดเน้นไม่ใช่แค่การชดเชยด้านการเงิน แต่รวมถึงการคืนความเป็นธรรม  ที่พึงเข้าใจว่าเป็นการสถาปนาคืนศักดิ์ศรีของพระแม่ธรณี และของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล

4. มีชีวิตอยู่ในมรรคแห่งสัมมาบนพระแม่ธรณี
-          เพื่อสร้างความเป็นธรรมของภูมิอากาศ ขอเรียกร้องให้รัฐบาล บรรษัท และประชาคมโลกให้ฟื้นฟู  ทบทวน  และสร้างความเข้มแข็ง แก่องค์ความรู้ ภูมิปัญญา และแบบแผนการปฏิบัติของบรรพชนของชาวพื้นเมืองดั้งเดิม   ยืนยันและรับรองประสบการณ์และข้อเสนอของพวกเราสำหรับ การดำรงชีพในมรรคแห่งสัมมา (“Living in a
Good Way
”)  ตระหนักว่า โลก หรือพระแม่ธรณี มีชีวิต ซึ่งพวกเรามีความสัมพันธ์ที่ไม่อาจแยกออกจากกัน  ต้องอิงอาศัยกัน พึ่งพากัน และมีจิตวิญญาณที่เชื่อมโยงกัน
-          โลกจะต้องหลอมรวมกันเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ที่ฟื้นฟูความกลมกลืนกับธรรมชาติ และในระหว่างมวลมนุษย์   เราจะสามารถบรรลุความสมดุลกับธรรมชาติ หากมีความเสมอภาคระหว่างมวลมนุษย์   ระบบทุนนิยม ได้บังคับและสะกดจิตให้พวกเราแข่งขันกัน ให้ก้าวไปข้างหน้า และการเติบโตที่ไร้ขอบเขต   ระบอบการผลิต-บริโภค เช่นนี้ ไล่ล่ากำไรอย่างไร้พรมแดน ทำให้มนุษย์แปลกแยกจากธรรมชาติ   มันได้สร้างภาวะจิตยึดมั่น กระหายหาทางครอบครองเหนือธรรมชาติ เปลี่ยนทุกสิ่งให้เป็นสินค้า : ที่ดิน น้ำ อากาศ (คาร์บอน) ป่า เกษตร  สัตว์และพืชพรรณต่างๆ  ความหลากหลายทางชีวภาพ  พันธุกรรม และแม้แต่องค์ความรู้ของชาวพื้นเมืองดั้งเดิม   ภายใต้ระบบทุนนิยม  พระแม่ธรณี ได้ถูกกระทำให้ไร้ความหมาย เป็นแค่แหล่งวัตถุดิบ   มนุษย์ถูกมองว่าเป็นผู้บริโภค และเป็นวัตถุดิบในการผลิต นั่นคือ บุคคลหนึ่งๆ ถูกกำหนดค่าด้วยสิ่งที่เขาครอบครอง ไม่ใช่ความเป็นคนของเขา   มนุษยชาติกำลังยืนอยู่ที่ทางแยก: เราจะเลือกเส้นทางลัทธิทุนนิยม การปล้นสะดมภ์ และความตาย หรือ เลือกเส้นทางสู่ความกลมกลืนกับธรรมชาติ และเคารพวงจรแห่งชีวิต Circle of Life
-          วิสัยทัศน์ร่วม เพื่อ การปฏิบัติการร่วมระยะยาว “Long-term Cooperative Action” (UNFCCC Ad Hoc Working Group)  จะต้องไม่ถูกลดทอนในการเจรจาต่อรองเรื่องการเปลี่ยนภูมิอากาศ เพื่อนิยามขอบเขตของการเพิ่มอุณหภูมิ และความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ  มันควรจะเป็นมาตรการที่สมดุล  ให้การสนับสนุนด้านการเงิน เทคโนโลยี และการปรับตัวที่ครอบคลุมต่อเนื่อง   มาตรการสร้างสมรรถนะ  แบบแผนการผลิตและบริโภค และมาตรการอื่นๆ เช่น การตระหนักถึงสิทธิ์ของพระแม่ธรณี เพื่อฟื้นฟูความกลมกลืนกับธรรมชาติ

INDIGENOUS ENVIRONMENTAL NETWORK
FOUR PRINCIPLES for CLIMATE JUSTICE
“Industrialized society must redefine its’ relationship with the sacredness of Mother Earth”

1. Leave Fossil Fuels in the Ground
Leave the coal in the hole – the oil in the soil – the tar sand in the land. Offshore accidents prove oil and water don’t mix. Climate change is caused by burning fossil fuels. Stop it at the source. Limit people’s consumption. Efficiency is meaningless without sufficiency. The transition to a low-carbon economy is not just about technology but about re-distributing economic and ecological space. In recognizing the root causes of climate change, people of the world must call upon the industrialized countries and the world to work towards decreasing dependency on fossil fuels. Demand a call for a moratorium on all new exploration for oil, gas and coal as a first step towards the full phase-out of fossil fuels, without nuclear power, with a just transition to sustainable jobs, energy and environment.
2. Demand Real and Effective Solutions
End the promotion of false solutions such as carbon trading, carbon offsets, using forests and agriculture as offsets, agro-fuels, carbon storage and sequestration, clean coal technologies, geoengineering, mega hydro dams and nuclear power. These allow the rich industrialized countries to avoid their responsibility to take major changes. False solutions allow polluting corporations to increase their profits; allow Northern countries to disregard their high levels of consumption and expand production and release of greenhouse gas emissions and conduct “business as usual” practices.
Promote a just transition to a low-carbon society that protects people’s rights, jobs and well-being.
3. Industrialized – Developed Countries take Responsibility
The burden of adjustment to the climate crisis must be borne by those who created it. This means:
·    Demand industrialized countries agree to an amendment to the Kyoto Protocol for the second commitment period from 2013 to 2017 under which developed countries must agree to significant domestic emissions reductions of at least 50% based on 1990 levels, excluding carbon markets or other offset mechanisms that mask the failure of actual reductions in greenhouse gas emissions.
·    Based on the principle of historical common but differentiated responsibilities, demand developed countries to commit with quantifiable goals of emission reduction that will allow the return of the concentration of greenhouse gases to 300 parts per million (ppm), limiting the increase in the average world temperature to a maximum of 1 degree Celsius.
·    A minimum of 95% cut in greenhouse gas emissions from industrialized countries by 2050 based on 1990 levels.
·    An end to over-production for over-consumption, and a dramatic reduction in wasteful consumption and production of waste by Northern and Southern elites.
·    Developed countries, assuming their historical responsibility must recognize and honor their climate and ecological debt in all of its dimensions as the basis for a just, effective, and scientific solution to climate change. Restore to developing countries the atmospheric space that is occupied by their greenhouse gas emissions. This implies the decolonization of the atmosphere through the reduction and absorption of their emissions.
·    Demand financial support from the North to the South to help with the cost of adjusting to the effects of climate change and continuing to develop along sustainable lines and it must be subject to democratic control.
·    Honor these debts as part of a broader debt to Mother Earth by adopting and implementing the Cochabamba People’s Accord and the proposed Universal Declaration on the Rights of Mother Earth. The focus must not be only on financial compensation, but also on restorative justice, understood as the restitution of integrity to our Mother Earth and all Life.
4. Living in a
Good Way
on Mother Earth
·    Climate justice calls upon governments, corporations and the peoples of the world to restore, revaluate and strengthen the knowledge, wisdom and ancestral practices of Indigenous Peoples, affirmed in our experiences and the proposal for “Living in a Good Way”, recognizing Mother Earth as a living being with which we have an indivisible, interdependent, complementary and spiritual relationship.
·    The world must forge a new economic system that restores harmony with nature and among human beings. We can only achieve balance with nature if there is equity among human beings. The capitalist system has imposed upon us a mindset that seeks competition, progress and unlimited growth. This production-consumption regime pursues profits without limit, separating human beings from nature. It establishes a mindset that seeks to dominate nature, turning everything into a commodity: the land, water, air (carbon), forests, agriculture, flora and fauna, biodiversity, genes and even indigenous traditional knowledge. Under capitalism,
·    Mother Earth is turned into nothing more than a source of raw materials. Human beings are seen as consumers and a means of production, that is, persons whose worth is defined by what they have, not by what they are. Humanity is at a crossroads: we can either continue taking the path of capitalism, depredation and death, or take the road of harmony with nature and respect for the Circle of Life.
·    The “shared vision” for “Long-term Cooperative Action” (UNFCCC Ad Hoc Working Group) must not be reduced in climate change negotiations to defining temperature-increase and greenhouse gas concentration limits in the atmosphere. Rather, it must undertake a balanced, comprehensive series of financial, technological and adaptation measures, measures addressing capacity building, production patterns and consumption, and other essential measures such as recognition of the rights of Mother Earth in order to restore harmony with nature.

~Digging Out the Root Causes of Climate Change – Ending CO2colonalism~

INDIGENOUS ENVIROMENTAL NETWORK – Native Energy and Climate Campaign
Main office:
P.O. Box 485, Bemidji, Minnesota USA
56619
Email: ien@igc.org or ienenergy@igc.org; Web: http://www.ienearth.org/
12-15-10

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น