การมีตัวแทนผู้หญิงในเวทีการเมือง เป็นกุญแจสู่การพัฒนา
Women representation in politics key to developmentBy Miriam Gathigah
ผลงานวิจัยได้ชี้ชัดว่าผู้หญิงมีมากกว่าครึ่งของประชากรในประเทศทั้งหลาย ผลการสำรวจสำมะโนประชากรในปี 2010 ย้ำว่ามีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อยในเคนยา
ถึงกระนั้น จำนวนประชากรมหาศาลของผู้หญิง ก็ยังล่องหนในตำแหน่งสำคัญๆ ในกระบวนการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการปกครอง—ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ แม้ว่าแนวโน้มนี้จะเริ่มเปลี่ยนไปอย่างช้าๆ ในเคนยา และในปัจจุบัน จำนวนผู้หญิงในรัฐสภาได้เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ผ่านมา ก็ยังจำเป็นที่จะต้องมีผู้หญิงมากขึ้นในตำแหน่งผู้นำทางการเมือง
ในจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 222 คน มีผู้หญิงเพียง 22 คน—โดยเพียง 16 คน มาจากการเลือกตั้ง และ 6 คน จากการแต่งตั้ง ตั้งแต่ปี 2003 เมื่อมีผู้หญิง 18 คน ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางบวกในพฤติกรรมการทำธุรกรรมของกระทรวงต่างๆ
เราไม่สามารถตอกย้ำจนเกินไป ถึงความจำเป็นที่จะต้องทำให้กระบวนการเมืองนี้ มีหญิงชายเท่ากันเชิงปริมาณ ด้วยความจริงที่รู้กันทั่วว่า ผู้นำทั้งหญิงและชาย ต่างก็มีความสนใจหรือเห็นผลประโยชน์ทางการเมืองต่างกัน ผลคือ ต่างมีความจำเป็น/ต้องการเชิงกลยุทธ์ / ยุทธวิธีที่ปฏิบัติการได้ต่างกัน (practical strategic needs) “ในระดับนโยบาย เราได้เห็นการออกกฎหมายต่างๆ ที่ตอบสนองต่อมิติเจนเดอร์/หญิงชาย เช่น พรบ การทำร้ายทางเพศปี 2006 (Sexual Offences Act of 2006) ที่นำเข้าสู่รัฐสภาโดย สส หญิงคนหนึ่ง แล้วยังมี พรบ เด็กปี 2002 พรบ การว่าจ้างปี 2007 พรบ พรรคการเมืองปี 2007 นัยสำคัญของกฎหมายแต่ละฉบับเหล่านี้ อยู่ที่การแสวงหาความเท่าเทียมหญิงชายเชิงสิทธิและโอกาส” Kakuvi Njoka ทนายความในมณฑล Tharaka-Nithi ภาคตะวันออกของเคนยา อธิบาย
พรบ การว่าจ้าง และ พรบ พรรคการเมือง เจาะประเด็นที่การมีตัวแทนหญิงชายในเวทีสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง โดยส่งเสริมให้ทั้งหญิงและชายมีส่วนร่วมเท่าๆ กัน เพื่อลดการเลือกปฏิบัติทางเพศ
“พรบ ทั้งสองฉบับรับรองจำนวนผู้หญิงขั้นต่ำ (คล้ายกับธรณีประตูที่ต้องก้าวข้าม) เพราะว่าผู้หญิงโดยเพศสภาพ เป็นกลุ่มที่ถูกเบียดขับ จึงสมควรได้รับการคำนึงถึง ในการว่าจ้างและในพรรคการเมือง ผู้หญิงจึงได้อ้างถึงคำสั่งของประธานาธิบดี (Presidential Decree) ที่ระบุว่า ให้มีตัวแทนผู้หญิงอย่างน้อย 30% ในหน่วยงานราชการทั้งหมด (there should be at least 30 percent of women representation in all public offices)” Jane Malika นักรณรงค์ในมิติหญิงชายในไนโรบี อธิบาย
“ด้วยการนำ กองทุนผู้หญิง มาใช้ ซึ่งเป็น การออมทรัพย์ (micro finance kitty) ผู้หญิงจำนวนมากขึ้นถึงได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนของรัฐบาล แต่ต้องผ่านการอบรมขั้นต่างๆ เพื่อสร้างสมรรถนะของผู้หญิง” Dan Maingi นักการบัญชีของ Kiambu County ที่ภาคกลางของเคนยา อธิบาย
การเริ่มถ่ายทอดสดการอภิปรายในรัฐสภา เป็นการขยับแบบอย่าง / ความคิด (paradigm shift) ในทิศทางของการโต้วาที และในการกำหนดนโยบายอื่นๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องจากวิวาทะเหล่านั้น เช่น บทความวาระ เบอร์ 2 ของปี 2006 ว่าด้วยความเท่าเทียมเชิงมิติหญิงชายและการพัฒนา นโยบายที่ดินแห่งชาติ นโยบายอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาพแห่งชาติ นโยบายมิติหญิงชายในการศึกษา ปี 2007 และนโยบายชาติเพื่อการละเลิกการขลิบอวัยวะเพศของหญิง ปี 2008-2012 (Sessional Paper No 2 of 2006 on Gender Equality and Development, National Land Policy, National Reproductive and Health Policy, Gender Policy in Education of 2007 and the National Policy for the Abandonment of Female Genital Mutilation)
ด้วยการเร่งรัดของ สส หญิง ในปี 2007 รัฐบาลได้สัญญาจัดสรรเงิน 125,000 ดอลล่าร์ เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐาน มีข้อสังเกตว่า นักเรียนหญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบทที่ยากจน มักจะขาดเรียน 5 วันทุกเดือน เพราะไม่มีผ้าอนามัยใช้ นี่หมายถึงการขาดเรียนเป็นเวลา 2 เดือนในหนึ่งปีการศึกษา
ผลการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ของศูนย์วิจัยประชากรและสุขภาพอาฟริกา และกรมสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า ผ้าอนามัยเป็นของหายาก และเด็กหญิงในสลัมได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด
การเปิดอภิปรายสาธารณะในหัวข้อที่เคยเป็นเรื่องน่าอับอาย เพราะความที่เป็นสังคมอนุรักษ์ ได้ทำให้ผู้มีจิตกุศลบริจาคทรัพย์ เพื่อสร้างหลักประกันให้เด็กหญิงไม่ต้องขาดเรียนเพียงเพราะไม่มีผ้าอนามัยใช้
เราจำเป็นที่จะต้องพูดถึงกระบวนการทบทวนรัฐธรรมนูญ ที่ส่งผลเป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เคนยาได้ประกาศใช้เมื่อเร็วๆ นี้ “ในปี 2008 รัฐมนตรีกระทรวงกิจกรรมยุติธรรมและรัฐธรรมนูญ ฯพณฯ ท่าน Martha Karua ได้เริ่มผลักดันอย่างไม่ลดละ ให้มีตารางเวลาที่จะเป็นแนวนำการทบทวนรัฐธรรมนูญ เธอได้ทำงานร่วมกับ สส หญิงอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า กระบวนการทบทวน มีความอ่อนไหวต่อมิติหญิงชายด้วย” Jennifer Massis นักการเมือง และอดีตผู้ลงสมัครเลือกตั้ง อธิบาย
เรื่องนี้สะท้อนอยู่ในตัวองค์กรของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ที่ถูกมอบหมายให้ร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งมาตราต่างๆ ในเอกสาร เช่น การรับรองความเท่าเทียม (Affirmative Action) ที่ระบุว่า จะต้องมีอย่างน้อย 1 ใน 3 ของทั้งสองเพศเป็นตัวแทนในตำแหน่งเลือกตั้งต่างๆ
แม้ว่าการมีผู้หญิงมากขึ้นในตำแหน่งผู้นำ ไม่จำเป็นที่ความเท่าเทียมในมิติหญิงชายจะเกิดขึ้นตามมาโดยอัติโนมัต การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของผู้หญิงในกระบวนการตัดสินใจ เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งยวด
dt/12-22-10
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น