วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประชากรชราภาพ และการเยียวยาหมัน Japan

ความเป็นมารดา ควรเป็นทางเลือกหนี่ง
Motherhood Is A Choice, Say Activists
By Suvendrini Kakuchi
TOKYO, Oct 28, 2010 (IPS)

เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ คานาโกะ นาชิมูระ ต้องการมีลูก แต่เธอถูกวินิจฉัยว่าท่อรังไข่ตัน  ด้วยแรงสนับสนุนจากสามีและญาติฝ่ายสามี เธอได้ลองวิธีการต่างๆ แต่ไม่ได้ผลสักอย่าง

เดี๋ยวนี้ นาชิมูระอายุ 55 ได้หย่าร้างกับสามีและอาศัยอยู่ตามลำพัง  เธอเล่าว่า วิธีการต่างๆ นั้นก็เป็นเรื่องลำบากต่อร่างกายของฉันอยู่แล้ว แต่ความปวดร้าวทางจิตใจที่ต้องผิดหวังครั้งแล้วครั้งเล่า ที่หมอบอกฉันในช่วงปีที่ผ่านมาว่าฉันไม่ได้ตั้งครรภ์ เป็นสิ่งที่เลวร้ายกว่ามาก
            แต่เธอเล่าต่อว่า ความเศร้าเสียใจของฉันลดลงบ้างแล้ว เมื่อฉันตระหนักว่า ทุกวันนี้ หญิงญี่ปุ่นถูกกดดันอย่างหนักจากสังคม ให้เป็นแม่  มันไม่ควรเป็นเช่นนั้น
            นี่เป็นความเห็นร่วมจากนักกิจกรรมที่ Friends of Finrrage เครือข่ายผู้หญิงที่ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น เพื่อยกประเด็นว่า การเป็นหมัน เป็นส่วนหนึ่งของการอภิปรายเกี่ยวกับสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิง
            แต่ในขณะที่สภาพประชากรชราภาพของญี่ปุ่นเป็นเรื่องกังวลของนักวางนโยบาย  การอภิปรายเกี่ยวกับการเป็นหมันในประเทศนี้ กำลังตีวงแคบเข้ามาที่วิธีปฏิบัติที่มุ่งช่วยเหลือผู้หญิงที่ไม่สามารถมีบุตร
            ประเด็นที่ถูกมองข้าม คือ คำถามเช่น ความตั้งใจของผู้หญิงที่จะมีลูกในตอนแรก และความพร้อมในการรับผิดชอบหน้าที่นี้
            ซาโตโกะ นางาโอกิ ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Keio และสมาชิกของ Finrrage กล่าว ในความเป็นจริง การขับเคลื่อนของเรา ซึ่งมุ่งที่การเป็นหมัน เราไม่เพียงแต่บอกว่า จำเป็นต้องมีการช่วยเหลือ แต่ยังบอกว่า มันเป็นสิทธิในการเลือกของผู้หญิงด้วย   แต่ในขวบปีที่ผ่านมา เสียงของพวกเราอ่อนลง  พวกเราต้องคัดค้านกระแสการรณรงค์เพื่อเพิ่มอัตราการเกิดที่มองจากจุดยืนของชาติและการแพทย์
            ในสถานการณ์ดังกล่าว สมาชิกของ Finrrage ได้ลดลงจาก 1,000 คนในตอนต้นเมือ่เครือข่ายก่อตั้งขึ้นในปี 1991 มาเป็น 200 ในปัจจุบัน
            ด้วยอัตราการเกิดทารก 1.2 คนต่อหญิง 1 คน ในปี 2009 ญี่ปุ่น มีประชากรอายุต่ำกว่า 14 เพียง 14% หรือ 127 ล้านคน  ในทางตรงข้าม ประชากรอายุกว่า 65 ปี มีอยู่ 22.7%  นี่เป็นการเพิ่มแรงกดดันให้ผู้หญิงญี่ปุ่นมีลูก และให้คนที่เป็นหมันต้องหาทางเยียวยา
            ในปี 2005 กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ ยังได้เริ่มให้เงินสงเคราะห์สนับสนุนการทำปฏิสนธิเทียม (in-vitro fertilization)  โปรแกมนี้ได้ดึงดูดผู้หญิง 17,000 คนเข้าร่วมในปีแรก  ในปี 2009 ตัวเลขพุ่งสูงขึ้นถึงเกือบ 90,000 คน
            นักกิจกรรมสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ได้เชื่อมโยงความหย่อนยานในการสนับสนุนให้ใช้ยาคุมกำเนิดในญี่ปุ่นกับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งพวกเธอกล่าวว่า มองผู้หญิงเป็น เครื่องจักรผลิตทารก มากกว่าเป็นปัจเจกบุคคลที่มีความใฝ่ฝันมากกว่าการเป็นมารดา -- และผู้ควรได้รับอนุญาตให้ตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลว่าพวกเธอต้องการจะมีลูกหรือไม่
            ยาเม็ดคุมกำเนิด ซึ่งมักจะถูกเรียกว่า เป็นสัญญลักษณ์ของ ความก้าวหน้าของสตรีนิยม ได้ถูกนำเข้าสู้ญี่ปุ่นในปี 1999 หรือ หลายทศวรรษหลังประเทศอื่นๆ
            ทุกวันนี้ คลีนิคนรีเวชทั่วไปมีขายยาคุมกำเนิดในราคาแพง  ประกันสุขภาพไม่จ่ายค่ายาคุมกำเนิดให้ ในแต่ละปี ผู้หญิงอาจต้องจ่ายค่ายาคุมกำเนิดสูงถึง 1,000 ดอลลาร์ ไม่รวมค่าตรวจร่างกายก่อนที่หมอจะยอมจ่ายยา
            มีผู้หญิงเพียง 3%     ในช่วงอายุ 16-49 ที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับ 43% ในหมู่ผู้หญิงในช่วงอายุเดียวกันในฝรั่งเศส
            ไม่น่าแปลกใจที่ ถุงยางอนามัยได้เป็นเครื่องคุมกำเนิดยอดนิยมในประเทศนี้  ซึ่งนักกิจกรรมบอกว่า เป็นการตอกย้ำบทบาทหญิงชายดั้งเดิมที่ผู้หญิงต้องพึ่ง/ตามผู้ชายในการวางแผนครอบครัว
            เมื่อเร็วๆ นี้ ความเชื่อที่ว่า ผู้หญิงจะมีความสุขที่สุดเมื่อพวกเธอมีลูก ได้ถูกตอกย้ำโดยการประโคมข่างของสมาชิกรัฐสภาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งในญี่ปุ่น
            เซอิโกะ โนดะ ซึ่งมีบทบาทสูงในการเมืองญี่ปุ่นตั้งแต่เธออายุเพียง 26 ปี ได้ประกาศว่า ในที่สุดเธอได้ตั้งึครรภ์ในวัย 49 ด้วยเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ ด้วยการใช้ไข่บริจาคของหญิงอายุ 20 กว่าจากสหรัฐฯ
            ในปีก่อนๆ เธอได้เขียนหนังสือเล่าถึงความพยายามที่ล้มเหลวในการมีลูกกับคู่ชีวิตของเธอในขณะนั้น ด้วยการใช้เทคนิคเจริญพันธุ์ต่างๆ   ตอนนี้ เธอมีคู่ชีวิตใหม่ โนดะแถลงต่อสื่อในเดือนนี้ มันเป็นสิ่งเร้นลับ (ในการตั้งครรภ์)  ทั้งจักรวาลอยู่ที่นี่ (ในท้องของฉัน)
            ที่น่าสนใจคือ โนดะไม่เคยสมรสอย่างเป็นทางการ อันเป็นการประท้วงกฎหมายญี่ปุ่นที่ว่า สามีและภรรยาจะต้องเลือกใช้นามสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะยังคงใช้นามสกุลแยกกันไม่ได้หลังจากแต่งงาน  อันนี้ได้สร้างภาพพจน์ว่าเธอเป็นผู้หญิงที่ฝ่าฝืนปทัสถานของสังคมที่มีชายเป็นใหญ่
            ความจริงที่ว่าโนดะเริ่มลองตั้งครรภ์เมื่ออายุ 40 ก็สอดคล้องกับหญิงญี่ปุ่นในวิชาชีพต่างๆ ที่แต่งงานช้า และกำลังวางแผนมีลูกเมื่ออายุ 30 หรือ 40
            แต่ นางาโอกิ แห่ง Finrrage โอดครวญว่า เรื่องของโนดะได้ทำให้ ประเด็นหมันเป็นเรื่องของการใช้เทคโนโลยี ลดความสำคัญของสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิง
            คูนิโอะ คิตาทูระ ผู้อำนวยการของคลีนิควางแผนครอบครัวของญี่ปุ่น ทำนายว่า ความจำเป็น ในการเยียวยาการเป็นหมันจะเพิ่มขึ้นในประเทศนี้  เช่นเดียวกับสมาชิกของ Finrrage เขาได้ย้ำถึงความสำคัญในการให้การศึกษาเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ที่ผนวกรวมประเด็นสิทธิสำหรับผู้หญิงด้วย

dt/11-3-10

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น